• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:fb12621f5d608eb24efddbb6137a2ee5' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">\n<span style=\"color: #ff0000\"><strong>ห้ามลบ</strong> </span><span style=\"color: #0610f8\">ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.<br />\nหากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล<br />\nซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง</span> <br />\nครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล<br />\nพ่อขุนรามคำแหงมหาราช<br />\nพระปรมาภิไธย พ่อขุนรามราช<br />\nพระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย<br />\nราชวงศ์ ราชวงศ์พระร่วง<br />\nครองราชย์ พ.ศ. 1822-พ.ศ. 1841(โดยประมาณ)<br />\nระยะครองราชย์ 19 ปี (โดยประมาณ)<br />\nรัชกาลก่อนหน้า พ่อขุนบานเมือง รัชกาลถัดไป พระยาเลอไทย<br />\nข้อมูลส่วนพระองค์<br />\nพระราชสมภพ ระหว่าง พ.ศ. 1780-1790<br />\nสวรรคต พ.ศ. 1841<br />\nพระราชบิดา พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชมารดา นางเสือง<br />\nพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปีอย่างไรก็ดี ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ได้มีข้อสงสัยทางวิชาการว่า พ่อขุนรามคำแหงอาจไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นจริง โดยมีการเสนอว่าเป็นกุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทยให้ชาติตะวันตกเห็นว่ามีและรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน เป็นการป้องปัดภัยการล่าอาณานิคมในสมัยนั้น ทั้งนี้ ข้อสงสัยดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงกันอยู่<br />\nพระราชประวัติพระประสูติกาล<br />\nพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง พระเชษฐาองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามฯ ยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า พระยาบานเมือง ซึ่งได้เสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา และเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็เสวยราชย์แทนต่อมา ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งสุโขทัย พ่อขุนเม็งรายมหาราชแห่งล้านนา และพ่อขุนงำเมืองแห่งพะเยา เป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ สำนักพระสุตทันตฤๅษี ที่เมืองละโว้ จึงน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยพ่อขุนเม็งรายประสูติเมื่อ พ.ศ. 1782 พ่อขุนรามฯ น่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้<br />\nพระนาม<br />\nเมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุสิบเก้าพรรษา ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อยู่บนน้ำแม่สอดใกล้จังหวัดตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน) พระราชบิดาจึงทรงขนานพระนามว่า พระรามคำแหง ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่า พระนามเดิมของพระองค์คือ เพราะปรากฏพระนามเมื่อเสวยราชย์แล้วว่า พ่อขุนรามราช อนึ่ง สมัยนั้นนิยมนำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน ซึ่งตามศิลาจารึกหลักที่ 11 พระราชนัดดาของพระองค์มีพระนามว่า พระยาพระราม และในชั้นพระราชนัดดาของพระราชนัดดา ในเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1962 ตามพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ปรากฏเจ้าเมืองพระนามว่าพระยาบาลเมืองและพระยาราม<br />\nการเสวยราชย์<br />\nนายตรี อมาตยกุล ได้เสนอว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชน่าจะเสวยราชย์ พ.ศ. 1822 เพราะเป็นปีที่ทรงปลูกต้นตาลที่สุโขทัย<br />\nศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต จึงได้หาหลักฐานมาประกอบพบว่า กษัตริย์ไทยอาหมถือประเพณีทรงปลูกต้นไทรตอนขึ้นเสวยราชย์อย่างน้อยเจ็ดรัชกาลด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโชคชัยว่ารัชกาลจะอยู่ยืนยงเหมือนต้นไทร อนึ่ง ต้นตาลและต้นไทรเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของลังกา<br />\nการสวรรคต<br />\nจากจดหมายเหตุจีน พ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1841 และพระยาเลอไทยซึ่งเป็นพระราชโอรสได้เสวยราชย์แทนในปีนั้น<br />\nพระราชกรณียกิจ<br />\nรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นยุคที่กรุงสุโขทัยเฟื่องฟูและเจริญขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก ระบบการปกครองภายในก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐิกิจและการเมือง ประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางเกษตร การชลประทาน การอตุสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล<br />\nการบริหารรัฐกิจ<br />\nเมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงขจัดอิทธิพลของเขมรออกไปจากกรุงสุโขทัยได้ในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 การปกครองของกษัตริย์สุโขทัยได้ใช้ระบบปิตุราชาธิปไตยหรือพ่อปกครองลูก ดังข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า<br />\n ...เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่อบ้านท่อเมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู... <br />\nข้อความดังกล่าวแสดงการนับถือบิดามารดา และถือว่าความผูกพันในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ ครอบครัวทั้งหลายรวมกันเข้าเป็นเมืองหรือรัฐ มีเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว<br />\nปรากฏข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้พระราชอำนาจในการยุติธรรมและนิติบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้<br />\n1) ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง<br />\n2) ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร<br />\n3) หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้<br />\nนอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องช่วยในการปกครอง โดยได้ทรงสร้างพระแท่นมนังคศิลาบาตรขึ้น เพื่อให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์จะเสรด็จประทับเป็นประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกัน<br />\nอาณาเขต<br />\nพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางไพศาล คือ<br />\n1)ทิศตะวันออก ทรงปราบได้เมืองสระหลวง, สองแคว (พิษณุโลก), ลุมบาจาย, สะค้า (สองเมืองหลังนี้อาจอยู่แถวลุ่มแม่น้ำน่านหรือแควป่าสักก็ได้), ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเวียงจันทน์และเวียงคำในประเทศลาว<br />\n2)ทิศใต้ ทรงปราบได้คนที (บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร), พระบาง (นครสวรรค์), แพรก (ชัยนาท), สุพรรณภูมิ, ราชบุรี, เพชรบุรี, และนครศรีธรรมราช โดยมีฝั่งทะเลสมุทร (มหาสมุทร) เป็นเขตแดน<br />\n3)ทิศตะวันตก ทรงปราบได้เมืองฉอด, เมืองหงสาวดี และมีสมุทรเป็นเขตแดน<br />\n4)ทิศเหนือ ทรงปราบได้เมืองแพร่, เมืองม่าน, เมืองพลัว (อำเภอปัว น่าน), ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง) เป็นเขตแดน<br />\nความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ<br />\nทรงทำพระราชไมตรีกับพ่อขุนเม็งรายมหาราชแห่งล้านนา และพ่อขุนงำเมืองแห่งพะเยา โดยทรงยินยอมให้พ่อขุนเม็งรายมหาราชขยายอาณาเขตล้านนาทางแม่น้ำกก แม่น้ำปิง และแม่น้ำวังได้อย่างสะดวก เพื่อให้เป็นกันชนระหว่างจีนกับสุโขทัย กับทั้งยังได้เสด็จไปทรงช่วยเหลือพ่อขุนเม็งรายมหาราชหาชัยภูมิสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 ด้วย ทางประเทศมอญ มีพ่อค้าไทยใหญ่ชื่อมะกะโทเข้ารับราชการอยู่ในราชสำนักของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มะกะโทได้ผูกสมัครรักใคร่กับพระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แล้วพากันหนีไปอยู่เมืองเมาะตะมะ ต่อมาได้ฆ่าเจ้าเมืองและขึ้นเป็นแทนเมื่อ พ.ศ. 1824 แล้วจึงขออภัยโทษต่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขอพระราชทานนาม และขอยินยอมเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงได้พระราชทานนามว่าพระเจ้าฟ้ารั่วทางทิศใต้ ได้ทรงอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชผู้เรียนจบพระไตรปิฎกมาจากนครศรีธรรมราช ให้มาเผยแพ่พุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย ส่วนด้านเมืองละโว้นั้นทรงปล่อยให้เป็นเอกราชอยู่ เพราะปรากฏว่ายังส่งเครื่องบรรณาการไปจีนอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1834 ถึง พ.ศ. 1840 ทั้งนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็คงจะได้ทรงผูกไมตรีกับเมืองละโว้ไว้ นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเองก็ทรงส่งราชทูตไปจีนสามครั้งเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี<br />\nประดิษฐกรรม<br />\nพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. 1826 ตัวหนังสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีลักษณะพิเศษกว่าตัวหนังสือของชาติอื่นซึ่งขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้ กล่าวคือ พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพิ่มขึ้นให้สามารถเขียนแทนเสียงพูดของคำในภาษาไทยได้ทุกคำ กับทั้งได้นำสระและพยัญชนะมาอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะซ้อนกัน ทำให้เขียนและอ่านหนังสือไทยได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น<br />\nวรรณกรรม<br />\nวรรณกรรมสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสูญหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1835) ซึ่งแม้จะมีข้อความเป็นร้อยแก้ว แต่ก็มีสัมผัสคล้องจองทำให้ไพเราะซาบซึ้งตรึงใจ เช่น<br />\n ...ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย...เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด <br />\n  นับเป็นวรรณคดีเริ่มแรกของกรุงสุโขทัยซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบันโดยมิได้มีผู้คัดลอกให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิมอย่างไรก็ดี ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา มีข้อสงสัยทางวิชาการว่าศิลาจารึกดังกล่าวจะมิได้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และมีผู้เสนอว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพบศิลานั้นเมื่อเสด็จจาริกธุดงค์ เป็นผู้ทรงทำศิลานั้นขึ้นเพื่อเหตุผลทางการเมือง ซึ่งข้อสงสัยนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ </p>\n', created = 1726832914, expire = 1726919314, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:fb12621f5d608eb24efddbb6137a2ee5' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

รูปภาพของ TeacherRC

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระปรมาภิไธย พ่อขุนรามราช
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย
ราชวงศ์ ราชวงศ์พระร่วง
ครองราชย์ พ.ศ. 1822-พ.ศ. 1841(โดยประมาณ)
ระยะครองราชย์ 19 ปี (โดยประมาณ)
รัชกาลก่อนหน้า พ่อขุนบานเมือง รัชกาลถัดไป พระยาเลอไทย
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ ระหว่าง พ.ศ. 1780-1790
สวรรคต พ.ศ. 1841
พระราชบิดา พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชมารดา นางเสือง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปีอย่างไรก็ดี ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ได้มีข้อสงสัยทางวิชาการว่า พ่อขุนรามคำแหงอาจไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นจริง โดยมีการเสนอว่าเป็นกุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทยให้ชาติตะวันตกเห็นว่ามีและรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน เป็นการป้องปัดภัยการล่าอาณานิคมในสมัยนั้น ทั้งนี้ ข้อสงสัยดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
พระราชประวัติพระประสูติกาล
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง พระเชษฐาองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามฯ ยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า พระยาบานเมือง ซึ่งได้เสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา และเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็เสวยราชย์แทนต่อมา ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งสุโขทัย พ่อขุนเม็งรายมหาราชแห่งล้านนา และพ่อขุนงำเมืองแห่งพะเยา เป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ สำนักพระสุตทันตฤๅษี ที่เมืองละโว้ จึงน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยพ่อขุนเม็งรายประสูติเมื่อ พ.ศ. 1782 พ่อขุนรามฯ น่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้
พระนาม
เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุสิบเก้าพรรษา ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อยู่บนน้ำแม่สอดใกล้จังหวัดตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน) พระราชบิดาจึงทรงขนานพระนามว่า พระรามคำแหง ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่า พระนามเดิมของพระองค์คือ เพราะปรากฏพระนามเมื่อเสวยราชย์แล้วว่า พ่อขุนรามราช อนึ่ง สมัยนั้นนิยมนำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน ซึ่งตามศิลาจารึกหลักที่ 11 พระราชนัดดาของพระองค์มีพระนามว่า พระยาพระราม และในชั้นพระราชนัดดาของพระราชนัดดา ในเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1962 ตามพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ปรากฏเจ้าเมืองพระนามว่าพระยาบาลเมืองและพระยาราม
การเสวยราชย์
นายตรี อมาตยกุล ได้เสนอว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชน่าจะเสวยราชย์ พ.ศ. 1822 เพราะเป็นปีที่ทรงปลูกต้นตาลที่สุโขทัย
ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต จึงได้หาหลักฐานมาประกอบพบว่า กษัตริย์ไทยอาหมถือประเพณีทรงปลูกต้นไทรตอนขึ้นเสวยราชย์อย่างน้อยเจ็ดรัชกาลด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโชคชัยว่ารัชกาลจะอยู่ยืนยงเหมือนต้นไทร อนึ่ง ต้นตาลและต้นไทรเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของลังกา
การสวรรคต
จากจดหมายเหตุจีน พ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1841 และพระยาเลอไทยซึ่งเป็นพระราชโอรสได้เสวยราชย์แทนในปีนั้น
พระราชกรณียกิจ
รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นยุคที่กรุงสุโขทัยเฟื่องฟูและเจริญขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก ระบบการปกครองภายในก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐิกิจและการเมือง ประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางเกษตร การชลประทาน การอตุสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล
การบริหารรัฐกิจ
เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงขจัดอิทธิพลของเขมรออกไปจากกรุงสุโขทัยได้ในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 การปกครองของกษัตริย์สุโขทัยได้ใช้ระบบปิตุราชาธิปไตยหรือพ่อปกครองลูก ดังข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า
 ...เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่อบ้านท่อเมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู... 
ข้อความดังกล่าวแสดงการนับถือบิดามารดา และถือว่าความผูกพันในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ ครอบครัวทั้งหลายรวมกันเข้าเป็นเมืองหรือรัฐ มีเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว
ปรากฏข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้พระราชอำนาจในการยุติธรรมและนิติบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้
1) ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง
2) ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร
3) หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้
นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องช่วยในการปกครอง โดยได้ทรงสร้างพระแท่นมนังคศิลาบาตรขึ้น เพื่อให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์จะเสรด็จประทับเป็นประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกัน
อาณาเขต
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางไพศาล คือ
1)ทิศตะวันออก ทรงปราบได้เมืองสระหลวง, สองแคว (พิษณุโลก), ลุมบาจาย, สะค้า (สองเมืองหลังนี้อาจอยู่แถวลุ่มแม่น้ำน่านหรือแควป่าสักก็ได้), ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเวียงจันทน์และเวียงคำในประเทศลาว
2)ทิศใต้ ทรงปราบได้คนที (บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร), พระบาง (นครสวรรค์), แพรก (ชัยนาท), สุพรรณภูมิ, ราชบุรี, เพชรบุรี, และนครศรีธรรมราช โดยมีฝั่งทะเลสมุทร (มหาสมุทร) เป็นเขตแดน
3)ทิศตะวันตก ทรงปราบได้เมืองฉอด, เมืองหงสาวดี และมีสมุทรเป็นเขตแดน
4)ทิศเหนือ ทรงปราบได้เมืองแพร่, เมืองม่าน, เมืองพลัว (อำเภอปัว น่าน), ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง) เป็นเขตแดน
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ทรงทำพระราชไมตรีกับพ่อขุนเม็งรายมหาราชแห่งล้านนา และพ่อขุนงำเมืองแห่งพะเยา โดยทรงยินยอมให้พ่อขุนเม็งรายมหาราชขยายอาณาเขตล้านนาทางแม่น้ำกก แม่น้ำปิง และแม่น้ำวังได้อย่างสะดวก เพื่อให้เป็นกันชนระหว่างจีนกับสุโขทัย กับทั้งยังได้เสด็จไปทรงช่วยเหลือพ่อขุนเม็งรายมหาราชหาชัยภูมิสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 ด้วย ทางประเทศมอญ มีพ่อค้าไทยใหญ่ชื่อมะกะโทเข้ารับราชการอยู่ในราชสำนักของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มะกะโทได้ผูกสมัครรักใคร่กับพระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แล้วพากันหนีไปอยู่เมืองเมาะตะมะ ต่อมาได้ฆ่าเจ้าเมืองและขึ้นเป็นแทนเมื่อ พ.ศ. 1824 แล้วจึงขออภัยโทษต่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขอพระราชทานนาม และขอยินยอมเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงได้พระราชทานนามว่าพระเจ้าฟ้ารั่วทางทิศใต้ ได้ทรงอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชผู้เรียนจบพระไตรปิฎกมาจากนครศรีธรรมราช ให้มาเผยแพ่พุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย ส่วนด้านเมืองละโว้นั้นทรงปล่อยให้เป็นเอกราชอยู่ เพราะปรากฏว่ายังส่งเครื่องบรรณาการไปจีนอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1834 ถึง พ.ศ. 1840 ทั้งนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็คงจะได้ทรงผูกไมตรีกับเมืองละโว้ไว้ นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเองก็ทรงส่งราชทูตไปจีนสามครั้งเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี
ประดิษฐกรรม
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. 1826 ตัวหนังสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีลักษณะพิเศษกว่าตัวหนังสือของชาติอื่นซึ่งขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้ กล่าวคือ พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพิ่มขึ้นให้สามารถเขียนแทนเสียงพูดของคำในภาษาไทยได้ทุกคำ กับทั้งได้นำสระและพยัญชนะมาอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะซ้อนกัน ทำให้เขียนและอ่านหนังสือไทยได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น
วรรณกรรม
วรรณกรรมสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสูญหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1835) ซึ่งแม้จะมีข้อความเป็นร้อยแก้ว แต่ก็มีสัมผัสคล้องจองทำให้ไพเราะซาบซึ้งตรึงใจ เช่น
 ...ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย...เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด 
  นับเป็นวรรณคดีเริ่มแรกของกรุงสุโขทัยซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบันโดยมิได้มีผู้คัดลอกให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิมอย่างไรก็ดี ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา มีข้อสงสัยทางวิชาการว่าศิลาจารึกดังกล่าวจะมิได้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และมีผู้เสนอว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพบศิลานั้นเมื่อเสด็จจาริกธุดงค์ เป็นผู้ทรงทำศิลานั้นขึ้นเพื่อเหตุผลทางการเมือง ซึ่งข้อสงสัยนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

สร้างโดย: 
อ.รัชญา ไชยนา

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 440 คน กำลังออนไลน์