เทควันโด!!!!
ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ประวัติความเป็นมาของเทควันโด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เทควันโด คือ ศิลปะการป้องกันตัวด้วยมือเปล่าของชาวเกาหลี เท แปลว่า เท้า ควัน แปลว่า มือ โด แปลว่า สตปัญญาหรือการมีสติ เทควันโด คือ ศิลปะการต่อสู้โดยการใช้มือและเท้าอย่างมีสติ ศิลปะการป้องกันตัวของประเทศเกาหลี มีมาตั้งแต่ 2 พันกว่าปี ในปี ค.ศ 1955 องค์กรพิเศษได้ถูกจัดตั้งขึ้นในนามขององค์กรการควบคุมศิลปะแห่งชาติ ถูกตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่และควบคุมทารสอนให้แก่สาธารณชน องค์กรทางทหารซึ่งขึ้นอยู่กับเงินทุนกองกลางที่มีสมาชิกขององค์กร เป็นผู้ที่มีความคิดความสามารถที่เชี่ยวชาญ กลุ่มสมาชิกได้รวมตัวกัน โดยมีนายพล Choi Hong Hi เป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นว่า เทควันโด (Taekwondo ) จนกระทั่งทุกวันนี้ มีคนจำนวนมากกว่า 30 ล้านคนทั่วโลก จาก 140 เมืองที่ได้รับการฝึกฝนด้านเทควันโด ศูนย์กลางเทควันโดโลก คือ kukkiwon เป็นสัญลักษณ์ของเทควันโด โดยมีนายอุน ยอง คิม ( Un yong Kim ) เป็นประธานสหพันธ์เทควันโดโลก และประธานสมาคมเทควันโดของประเทศเกาหลี ค.ศ.1973 มีการแข่งขันชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรก ค.ศ.1974 มีการสัมนาผู้ตัดสินนานาชาติ และมีการแข่งขันชิงแชมป์ของเอเชียเป็นครั้งแรก ค.ศ.1986 เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 10 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี ค.ศ.1987 เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาซีเกมส์ ค.ศ.1988 เทควันโดเป็นกีฬาสาธิตในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีค.ศ.2000 เทควันโดเป็นกีฬาในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ณ ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ศูนย์กลางเทควันโดโลก คือ kukkiwon เป็นสัญลักษณ์ของเทควันโด โดยมีนาย อุน ยอง คิม ( Un yong Kim ) เป็นประธานสหพันธ์เทควันโดโลก และประธานสมาคมเทควันโดของประเทศเกาหลี ค.ศ.1973 มีการแข่งขันชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรก ค.ศ.1974 มีการสัมนาผู้ตัดสินนานาชาติ และมีการแข่งขันชิงแชมป์ของเอเชียเป็นครั้งแรก ค.ศ.1986 เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 10 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี ค.ศ.1987 เทควันโดได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาซีเกมส์ ค.ศ.1988 เทควันโดเป็นกีฬาสาธิตในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี
ค.ศ.2000 เทควันโดเป็นกีฬาในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ณ ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
|
อวัยวะของร่างกายที่ใช้เป็นอาวุธ |
ในการฝึกเทควันโดในเชิงกีฬาหรือศิลปะป้องกันตัวนั้น เป็นการใช้มือและเท้าเป็นอาวุธในการป้องกัน และการทำร้ายคู่ต่อสู้โดยมีสติคอยควบคุม ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้ก่อนว่าส่วนใดในร่างกายที่จะใช้เป็นอาวุธได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัยกับตนเองเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บทีหลัง เทควันโด จะใช้เท้ามากกว่ามือและแขน อวัยวะที่ควรทราบเพื่อเป็นแนวทางในการฝึก Mom หมายถึง ส่วนของลำตัว (body) Pal หมายถึง ส่วนของแขน (arms) ทั้ง 2 ข้าง Son หมายถึง ส่วนของมือ (hands) Joomeok หมายถึง ส่วนของกำปั้น (fist) ในการกำหมัดจะต้องอาศัยการพับข้อนิ้วแรกของนิ้วทั้งสี่นิ้วทั้งสี่นิ้วให้แน่น แล้วกดพับกำหมัดเข้าหาฝ่ามือ ใช้นิ้วหัวแม่มือกดพับทับที่ข้อนิ้วแรกของนิ้วชี้และนิ้วกลาง Deung-joomeok หมายถึง ส่วนของหลังหมัด (Back fist) เน้นที่สันนิ้วชี้และนิ้วกลาง Me-joomeok หมายถึง ส่วนของสันมือเมื่อกำหมัด (upper fist) ถัดจากฐานนิ้วก้อยมาถึงบริเวณบนสุดของฝ่ามือใกล้ข้อมือ Pyon-joomeok หมายถึง ส่วนของข้อนิ้วสุดท้ายของนิ้วทั้ง 4 (ชี้-ก้อย) พับพร้อมกับแบฝ่ามือออกหัวแม่มือพับเก็บอยู่ด้านใน Bam- joomeok หมายถึง การพับข้อนิ้วสุดท้ายของนิ้วชี้หรือนิ้วกลาง โดยมีนิ้วหัวแม่มือพับหนุนอยู่ด้านในพร้อมกำหมัด Sonnal หมายถึง ส่วนของสันมือ (Knife hand) จากฐานนิ้วก้อยไปจนถึงบริเวณฐานกระดูกใต้ข้อมือ Sonnal – deung หมายถึง ส่วนของสันมือ (head of knife hand) จากบริเวณฐานนิ้วชี้ถึงฐานกระดูกนิ้วหัวแม่มือพับนิ้วหัวแม่มือเข้าด้านใน Ageum-Son หมายถึง ส่วนของสันมือด้านใน ให้นิ้วทั้ง 4 ชิดติดกันพร้อมกับกางนิ้วหัวแม่มือออก แล้วเกร็งมือโดยให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้งอเป็นตะขอ (ใช้บีบหรือกดจิก) Batang-son หมายถึง ส่วนของฝ่ามือ (Palm) โดยการเกร็งนิ้วทั้ง 4 ชิดติดกันพร้อมกับพับนิ้วหัวแม่มือไว้ด้านในฝ่ามือใช้สันของฝ่ามือป้องกันหรือตบ Pinson-keut หมายถึง ส่วนของปลายนิ้วแทง (finger attack) โดยการเกร็งนิ้วชิดกันที่ 4 นิ้ว นิ้วกลางพับงอเล็กน้อย ให้เสมอกับนิ้วชี้และนิ้วกลาง นิ้วหัวแม่มือพับเก็บในฝ่ามือ Duson-Keut หมายถึง ส่วนของปลายนิ้วชี้กับนิ้วกลางทิ่มตา Palmok หมายถึง ส่วนของข้อมือ (Wrist) สามารถนำมาใช้ทำอันตรายต่อคู่ต่อสู้ และการป้องกันตัว โดยแบ่งตำแหน่งการใช้ ดังต่อไปนี้ - An palmok หมายถึง ข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ (radius) ข้อมือด้านใน
Palkoop หมายถึง ข้อศอก (elbow) เป็นส่วนของหัวกระดูกของแขนท่อนล่างที่แข็งแรงใช้ฟันศอกไปที่ขากรรไกรที่หน้า หรือกระทู้ที่ลิ้นปี่ Dari หมายถึง ส่วนขา (leg) ตั้งแต่ช่วงสะโพกลงไปจนถึงตาตุ่ม Bal หมายถึง ส่วนเท้า (foot) ส่วนของฝ่าเท้า คือตั้งแต่ข้อเท้าลงไป เป็นอาวุธที่ใช้มากที่สุดและสำคัญที่สุดของเทควันโด โดยแบ่งตำแหน่งการใช้ดังนี้ - Apchook คือ ส่วนของจมูกเท้า (ball of foot) ใช้เตะจิกโดยพับนิ้วเท้าเข้าหา หลังเท้าเตะจิกไปที่ลิ้นปี่ หรือที่ใบหน้า - Dwichook คือส่วนของฝ่าเท้าใต้สันเท้า (bottom of the heel)
Mooreup หมายถึง หัวเข่า (knee) ส่วนที่แข็งแรง แข็งแกร่งเป็นอาวุธที่อันตรายในการทำร้ายคู่ต่อสู้ |
คุณลักษณะของนักเทควันโด |
1. มีจิตใจและน้ำใจเป็นนักกีฬา กีฬาเสริมสร้างให้คนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและมีน้ำใจเป็นนักกีฬาดังพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรีฑาสถานแห่งชาติ กรมพลศึกษา เมื่อวันที่ 27 พ.ย 2507 มีใจความตอนหนึ่งว่า “ การกีฬานั้น นอกจากจะให้ความสนุกสนานและความสมบูรณ์แก่ร่างกายแล้ว ยังให้ผลดีทางจิตใจได้อย่างมากมายนักกีฬาที่ได้รับการฝึกหัดอบรมอย่างดีแล้วย่อมมีใจแน่วแน่ ตัดสินใจได้รวดเร็วมีความเพียงพยายามไม่ท้อถอย และมีความหนักแน่น รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย ผู้มีใจเป็นนักกีฬา จึงเป็นผู้มีประโยชน์ต่อสังคมและน่าคบหาสมาคมด้วยอย่างยิ่ง 2. จงรักภักดีต่อประเทศชาติของตนนักเทควันโดทุกคนที่เรียนศิลปะป้องกันตัวของชาติอื่นแล้ว คุณต้องไม่ลืมชาติกำเนินของตนต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์โดยการอุทิศตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฐานะอะไร ถ้าคุณเป็นผู้เรียนก็ต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอาจารย์ หรือถ้าท่านเป็นครูผู้สอน ก็ต้องหมั่นฝึกอบรมลูกศิษย์ให้เป็นคนดีไม่สร้างปัญหาให้สังคมเดือนร้อน และถ้าคุณเป็นนักกีฬาทีมชาติแล้วคุณคือตัวแทนของคนทั้งชาติ หัวใจคุณต้องเกินร้อย ขอยกตัวอย่างจากสารของท่าน พลตำรวจเอก ชุมพล อัตถศาสตร์ รองอธิบดีกรมตำรวจ นายกสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อคิดแก่นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทยว่า “ เทควันโดคือกีฬาสุภาพบุรุษนักรบใจต้องเกิน 100 ซึ่งอดีตท่านเคยเป็นนักกีฬารักบี้ทีมชาติไทยระดับเหรียญทองกีฬาซีเกมส์ และยังเป็นนักกีฬาที่ได้เชื่อว่า “ หัวใจเกินร้อย” อีกด้วย 3. เคารพพ่อแม่ ครู อาจารย์ และผู้มีพระคุณ ความกตัญญูรู้คุณ สิ่งแรกที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติคือ บุญคุณของคุณพ่อคุณแม่ผู้ให้กำเนิด ท่านทั้งสองคือ พระประจำบ้านที่เราควรเคารพกราบไหว้ต้องยกให้ท่านเป็น หนึ่งในหัวใจเรา รองลงมาก็คือครูอาจารย์ที่อบรม สั่งสอนให้ความรู้ เราควรแสดงความเคารพนับถือท่าน เราไม่ควรแสดงกิริยามารยาท ก้าวร้าว ดูถูกเหยียดหยามท่านเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณ 4. ความสุภาพ อ่อนน้อมต่อผู้อาวุโส ผู้เรียนจะต้องมีความสุภาพและเคารพนับถือครูผู้สอน ตั้งแต่ลำดับอาวุโสสูงสุดและไล่ลำดับลงมาตามขั้น ต้องให้ความสำคัญมีความอ่อนน้อมต่อผู้อาวุโสกว่า รวมทั้งรุ่นพี่ทุกคนเชื่อฟังคำสั่งสอนว่าสิ่งไหนเราทำถูกหรือทำผิด ก็ควรนำไปปรับปรุงแก้ไข 5. ความซื่อสัตย์และความจริงใจต่อเพื่อน ความซื่อสัตย์เป็นคุณสมบัติของคนดี ถ้าคุณมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและต่อผู้อื่นที่อยู่รอบข้างคุณแล้ว คุณคือผู้ที่น่าคบค้าสมาคมมากที่สุด ทุกคนจะไว้วางใจคุณ งานทุกอย่างจะสำเร็จลุล่วงด้วยดี ถ้าคุณมีความจริงใจต่อกันและกัน 6. ความกล้าหาญและบากบั่น การแสดงความกล้าหาญในเชิงการต่อสู้ ที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ได้นั้น คุณต้องมีเทคนิคที่เหนือกว่าผู้อื่น ในที่นี้ไม่ใช้การเอาเปรียบคู่ต่อสู้โดยใช้เล่ห์กล แต่เป็นการพยายามหมั้นฝึกฝนตนเองและมีความเชื่อมั่นจิตใจต้องมั่นคงมีสติในเชิงการต่อสู้ 7. อย่าทำร้ายผู้อื่นโดยไม่จำเป็น เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ในเชิงกีฬาเทควันโดแล้ว จะต้องระมัดระวังเรื่อง การนำเอาศิลปะการต่อสู้ไปใช้กับผู้ที่อ่อนแอกว่า หรือผู้ที่อยู่ในลักษณะที่เสียเปรียบเรา แต่ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ที่คับขันสามารถใช้ในการป้องกันตัวเองได้ หรือช่วยเหลือผู้อื่นที่โดนรังแก แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเอง 8. ความสะอาดของร่างกายและชุดฝึก นักกีฬาเทควันโดต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย ตลอดจนเล็บมือ เล็บเท้าต้องตัดสั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นขณะฝึกซ้อมทั้งตัวเราเองและคู่ฝึกซ้อม ส่วนชุดฝึกต้องรักษาความสะอาดเสมอไม่ปล่อยให้อับชื้น จะทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย หรือส่งกลิ่นเหม็น อาจจะทำให้บรรยากาศในการเรียนเสียไป ถ้าเรามีชุดฝึกที่สะอาดเราจะดูดี เสริมบุคลิกให้สง่างามมากขึ้น 9. การควบคุมอารมณ์ ศิลปการต่อสู้เกือบทุกประเภทในขณะที่ฝึกซ้อมหรือ การแข่งขันจะต้องมีการปะทะกันเกิดขึ้นเสมอ กีฬาเทควันโดก็เป็นกีฬาที่มีการปะทะ ฉะนั้นผู้เรียนต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองให้มั่นคงอยู่เสมอ เมื่อมีการต่อสู้หรือการฝึกซ้อม เราไม่ควรใช้อารมณ์ที่รุนแรงเกินเหตุ อาจจะทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทตามมาภายหลัง นักเทควันโดที่ดี ต้องสุขุม เยือกเย็น มีเหตุผลและโอบอ้อมอารีต่อผู้อื่น
|
ประโยนช์เทควันโด |
สำหรับผู้ใหญ่
สำหรับเด็ก
|
กฎระเบียบ
-
ต้องแสดงบัตรลงเวลาเรียนทุกครั้งก่อนเข้าเรียน
-
การขาดเรียน (นอกจากเจ็บป่วย) ชดเชยได้ 1 ครั้ง ในเดือนที่เรียน
-
ไม่มีการเรียน 2 รอบในวันเดียวกัน
-
เรียนเฉพาะรอบที่ระบุ วัน , เวลา , เรียนเท่านั้น
-
ลงชื่อในสมุดก่อนเข้าเรียนทุกครั้ง มิฉะนั้นถือว่าขาดเรียนอาจจะไม่มีสิทธิ์สอบ
ความหมายของสายคาดเอว
สายคาดเอวไม่ได้มีประโยชน์เพียงเพื่อใช้ในการเรียงลำดับขั้นในการฝึกเท่านั้น แต่สายคาดเอวแต่ละสีนั้นยังมีความหมาย และสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของการรับรู้ และพัฒนาการของผู้เรียน การพัฒนาเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่การพัฒนาทางด้านฝีมือ หรือความสามารถในการต่อสู้ในโรงฝึก (dojang) เท่านั้น แต่ยังแสดงถึงบุคลิกภาพและการเติบโตทางความคิดทั้งในการฝึกฝนวิชาเทควันโด และวิถีการดำเนินชีวิตอีกด้วย โดยสายคาดเอวแต่ละสีมีความหมายดังต่อไปนี้ คือ
สายขาว หมายถึง การเกิด หรือการเริ่มต้นของเมล็ดพันธุ์ คือจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้วิชาเทควันโด
สายเหลือง หมายถึง แสงแห่งดวงอาทิตย์ เป็นแสงสว่างเพื่อให้ชีวิต เปรียบดังการที่นักเทควันโดสายเหลืองได้รับการเริ่มต้นของการเรียนรู้ และเปิดใจพร้อมที่จะเรียนรู้ และรับฟังครูอาจารย์
สายเขียว หมายถึง การเติบโตของเมล็ดพันธุ์ที่งอกและปักลำต้นลงกับพื้นดิน เริ่มพัฒนาและเติบโตเป็นต้นไม้ เปรียบได้กับนักเทควันโดสายเขียวที่อยู่ในขั้นของการพัฒนา และเริ่มต้นการเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้อง
สายฟ้า หมายถึง การเติบโตของต้นไม้ที่งอกงามจนสูงถึงท้องฟ้า ได้รับแสงแดดในการเจริญเติบโต เปรียบได้กับนักเทควันโดสายฟ้าที่ได้พัฒนาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อพร้อมที่จะพัฒนาในวิชาเทควันโดต่อไป
สายน้ำตาล มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น
สายแดง หมายถึง ความร้อนแรงแห่งดวงอาทิตย์ที่ต้นไม้งอกงามไปถึง นักเทควันโดสายแดงถือว่าเป็นขั้นที่สูงกว่าสายอื่น ๆ มาก เรียนรู้รายละเอียดของเทควันโด เรียนรู้ความระมัดระวังในการใช้วิชาเทควันโด และรู้จักการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นประโยชน์มากขึ้น
สายดำ หมายถึง ความมืดเหนือแสงแห่งดวงอาทิตย์ นักเทควันโดสายดำ จะแสวงหาความรู้ใหม่ในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เริ่มต้นการสอนผู้อื่น เช่นเดียวกับเริ่มต้นเพาะเมล็ด อีกทั้งเพื่อเป็นการฝังรากลึกในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว แต่ก็ยังไม่หยุดเจริญเติบโตเหมือนที่นักเทควันโดสายดำไม่หยุดแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ขอให้นักเทควันโดตระหนักไว้ว่า สายที่คาดเอวอยู่นั้นแสดงถึงความเจริญเติบโต และพัฒนาการของระดับความสามารถทั้งด้านร่างกายและจิตใจ วุฒิภาวะ ทั้งในวิชาเทควันโด และในการดำเนินชีวิตประจำวัน สิ่งที่สำคัญคือ การย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ท่านได้มีการฝึกฝนร่างกายและจิตใจอย่างสม่ำเสมอสมควรแก่สายที่คาดเอวอยู่นั้นหรือไม่ ผู้ที่ฝึกฝนอยู่เป็นกิจวัตรจนกลายเป็นสิ่งปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น จึงจะเป็นนักศิลปะการต่อสู้ที่แท้จริง เป็นนักสู้ที่แท้จริงได้ หากท่านได้ปฏิบัติได้ดังกล่าวแล้วก็ขอให้ท่านภาคภูมิใจกับการเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝนสมควรแก่สายที่คาดเอวท่านอยู่แล้ว
นี้บอกได้เลยว่าทุกยิมนั้น หรือว่านักเทควันโดทุกท่านคงจะ มีชุดใส่แน่นอนอยู่แล้วชุดเทควันโด มีหลายเกรดดังนั้นเลือกใช้ให้ถูกครับ
|
|
ใช้สวมใส่ฝึกซ้อมในสถานที่ๆ เหมาะสมแต่ถ้าเป็นยิมสมัยนี้ มีพื้นจิ๊กซอที่นุ่มสบายเท้าอยู่แล้ว เลยไม่ค่อยมีใครสวมใส่ในยิม
|
|
อันนี้เป็นที่รู้กันว่าในการแข่งขัน ทุกครั้ง จำเป็นอย่างมากเพื่อช่วย ให้เราป้องกันศรีษะในขณะต่อสู้ ไม่ให้มีการกระทบกระเทือนจนถึง อันตราย
|
|
ใช้สวมใส่ในการแข่งขันเช่นกัน เพื่อป้องกันร่างกายบอบช้ำหรือ เซพลำตัวนั้นเองเป็นตัวที่บอก piontในการต่อสู้ได้ดีเหมือนกัน อย่างหนึ่งถ้าเตะแล้วเกราะดัง
|
|
ใช้สวมใส่ฝึกซ้อมในสถานที่ๆ เหมาะสมแต่ถ้าเป็นยิมสมัยนี้ มีพื้นจิ๊กซอที่นุ่มสบายเท้าอยู่แล้ว เลยไม่ค่อยมีใครสวมใส่ในยิม
|
|
ใช้ป้องกันแขนเลยละครับ ในการแข่งขันเพื่อป้องกัน การปะทะจากการเตะของ คู่ต่อสู้ครับสำคัญเหมือนกัน
|
|
ใช้ป้องกันขาเลยละครับ ในการแข่งขันเพื่อป้องกัน การปะทะกันในการเตะ
|
|
บ่งบอกว่าเรามีความสามารถใน วิชาเทควันโดขั้นใหน เริ่มต้นจากสาย ขาว/เหลือง/เขียว/ฟ้า/น้ำตาล/แดง แล้วก็ ดำ ครับ ดำนั้นมีอีก 10 Dun
|
1-10 เป็นภาษาเกาหลี
1__Hana
2__Dool
3__Set
4__Net
5__Dasut
6__Yasut
7__Eel gop
8__Yeh dul
9__Ah hap
10_Yul