ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
สุขภาพจิตใจของวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยของการเร่งเจริญเติบโตทั้งในทาง ชีวะสรีระและจิตวิทยาเป็นวัยเร่งสร้างสุขนิสัยเร่ง ปรับตัวเร่งทางวิชาการและเริ่มเลือกอาชีพ สรุปแล้วเป็นการเร่งเจริญเติบโตทุกๆด้าน คำว่า adolescent มาจากภาษาลาติน adolescere ซึ่ง หมายความว่า togrow up4 มีวัยรุ่นและพ่อแม่ของวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่ต้องเดือดร้อนวุ่นวายไป การเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายนี้แต่ในเวลา เดียวกันก็มีวัยรุ่นอีกจำนวนมากที่ผ่าน ระยะของวัยนี้ไปได้ โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด Eriksonเป็น ผู้หนึ่งที่มองว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ความผิดปกติ หรือเรื่องที่น่าจะเดือดเนื้อร้อนใจมากมายนัก ถึงแม้ Erikson จะใช้คำว่า "identity crisis"ในการบรรยายถึง วัยรุ่น เขาก็หมายถึงช่วงระยะหนึ่งของพัฒนาการตามปกติและคำนี้ก็กลายเป็นที่ยอมรับและใช้กันโดยทั่วไป
การแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง(Identity VersusRole onfusion :12-20 ปี)
การปรับตัวของวัยรุ่นเป็นพัฒนาการต่อจากวัยเด็กแต่วัยรุ่นจะต้องเผชิญกับความคาดหวังของผู้อื่น มากกว่าสมัยเมื่อเขายังเด็ก การเปลี่ยนแปลงจากเด็กที่พึ่งพาอาศัยพ่อแม่ไปเป็นคนที่กำลังจะเริ่ม เป็นผู้ใหญ่ จะเริ่มรับผิดชอบตัวเองทำให้วัยรุ่นต้องมีการปรับตัวทางอารมณ์และสังคมอย่างมาก มีการสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง สร้างทัศนคติและค่านิยมแห่งชีวิต เมื่อเริ่มห่างจากพ่อแม่ มิตรภาพระหว่างเพื่อนฝูงก็กลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของวัยรุ่น การแสวงหาเอกลักษณ์ของ ตนเองนี้ Erikson เรียกว่าเป็น identitycrisis หรือวิกฤตการณ์แห่งการแสวงหาเอกลักษณ์ มีการมองตนและเห็นตนเองตามที่ผู้อื่นเห็น เรียนรู้และยอมรับความสามารถของตน เลือกเอาความเป็น " ตน" เหมือนตัวละครเลือกสวมหน้ากาก ซึ่งตนจะแสดงบทบาทได้เหมาะสม เช่นเดียวกับการสวมหัวโขนของไทย เรียนรู้และสร้างเอกลักษณ์ของตนขึ้นมาการยอมรับตนขึ้นอยู่กับการใช้สติปัญญาของผู้นั้นด้วยถ้ามีเหตุมีผลใช้สติปัญญาก็จะเข้าใจตัวเองตามที่เป็นจริง(realistic)ถ้าใช้อารมณ์อย่างเดียวก็จะมองเห็นตนตามที่ตนอยากจะเป็น (ideal self) ผู้ที่ใช้สติปัญญาย่อมมองเห็นความแตกต่างระหว่างตัวเองจริงๆ กับตัวเองในอุดมคติการมองเห็นตัวเองนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากสังคม วัฒนธรรมที่แวดล้อมตนอยู่ ถ้าพ่อแม่เพื่อนฝูงยอมรับ ก็จะเกิดความมั่นใจในตัวเอง ถ้าเข้ากับใครไม่ได้ ก็ทำให้เกิดความสงสัยไม่มั่นใจและไม่เชื่อว่าผู้อื่นจะยอมรับตนต่อไป
ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของวัยรุ่น มีผลสืบเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเด็กนั่นเอง อาจจะแยกเป็นหลายแง่มุม ดังนี้
1. มีความต้องการใหม่ๆเกิดขึ้น และเป็นไปอย่างรุนแรง ต้องการอะไรเมื่อไม่ได้ดังใจก็จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น โกรธฮึดฮัด และจะพยายามหาความพอใจเอาทางใดทางหนึ่งให้ได้ผู้ใหญ่มักกีดกันห้ามไม่ให้เด็กได้รับความสุขเพลิดเพลิน ทั้งๆ ที่บางครั้งก็ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด
2. มีความรู้สึกทางเพศเกิดขึ้น เด็กจะมองเห็นความสวยงาม แต่จะพิถีพิถันในการแต่งตัวเพื่อ อวดเพศตรงข้ามการให้ความรู้ที่ถูกต้องในเรื่อง เพศจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในวัยรุ่น
3. เกิดความกังวลใจเรื่องการเจริญเติบโต ร่างกายเติบโตเร็ว จนทำให้เด็กกังวลว่ารูปร่างจะใหญ่ โตเทอะทะ บางคนจะอดข้าวบ้าง ยืนนั่งต้องงอๆ เพื่อให้ตัวเล็กลงบ้าง เด็กหญิงมักสวมเสื้อชั้นใน คับๆรัดรูปทรงไม่ให้รู้สึกว่าเติบโตขึ้นเด็กชาย กังวลเรื่อง เสียงเปลี่ยนไป เป็นต้น
4. สติปัญญา ความคิดเจริญมากขึ้น สนใจแสวง หาความรู้ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถ เริ่มเข้าใจความไพเราะ ความดี ความสวย
ความเจริญทางด้านนี้จะค่อยเป็นค่อยไป
5. รู้จักรับผิดชอบและต้องการเป็นอิสระ เด็กเชื่อความสามารถของตนเองรักเกียรติยศชื่อเสียงสนใจทำสิ่งที่ดีงาม และเป็นประโยชน์ชอบแสดงความคิดเห็น และกระทำสิ่งต่างๆตามลำพัง ชอบ ทดลองสิ่งนั้นสิ่งนี้เรื่อยไป สิ่งใดที่พอใจก็รับเอา ไว้ การเข้าใจเด็กวัยรุ่นและ แนะนำให้รู้จักการตัดสินใจโดยถูกต้องเหมาะสมจึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ
6. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย และรุนแรง ประเดี๋ยวรักประเดี๋ยวโกรธทำอะไรสำเร็จก็ดีใจ พลาดพลั้งก็เสียใจ กระตือรือร้น
7. มีจินตนาการมากขึ้น โดยถือตนเองเป็นคน สำคัญในจินตนาการและมักเกี่ยวกับความรัก ความสำเร็จ ความปลอดภัย ความสงสารตนเอง
8. ความเชื่อมั่นต่างๆเป็นไปอย่างรุนแรง เชื่ออะไร ก็มักจะเชื่อเอาจริงๆจังๆ เช่น เชื่อเรื่องของความถูกต้อง ความดีแต่ในขณะเดียวกันก็จะเกิดระแวงไม่ยอมเชื่ออะไรง่ายๆ นอกจากจะมีหลักฐานมาประกอบอ้างอิง
9. ความสนใจในการสมาคมมีมากขึ้น เข้าใจความสัมพันธ์และหน้าที่ที่ตนจะต้องปฏิบัติ หมู่คณะมี อิทธิพลเหนือเด็ก เด็กวัยนี้จะคล้อยตามระเบียบปฏิบัติของหมู่คณะหรือสังคม ดังนั้น การจัดสิ่งแวดล้อม สโมสรสังคมสิ่งที่ดีงาม ก็จะเป็นประโยชน์แก่เด็ก
10. ประสาทและความรู้สึกด้านสัมผัสตื่นตัวขึ้นมาก เด็กจะสนใจ ดนตรี วรรณกรรม ศิลปกรรม ต่างๆ ผู้ที่มีความเป็นพิเศษอยู่ทางด้านนี้บ้างแล้วก็จะก้าวหน้าไปมาก นิสัยการกระทำหลายๆอย่างก็ มักจะเกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงหรือเลิกไปในวัยนี้รวมทั้งนิสัยในการคิดและรู้สึกด้วย เช่น สร้างนิสัยอด ทนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นต้น
สภาพจิตใจของผู้ใหญ่
โดยทั่วไปความ เป็นผู้ใหญ่ (adulthood) มักจะหมายถึงช่วงระยะเวลาที่พ้นจากวัยรุ่น และก่อนที่ จะถึงวัยสูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงอายุประมาณ 18-60หรือ 65 ปีช่วงระยะเวลานี้
แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
วัยหนุ่มสาว (young adultyears) ช่วงอายุ 18-35 ปี
วัยกลางคน (middle adult years) ซึ่งเป็นช่วงอายุ35-50 ปี
ส่วนช่วงอายุ 50-65 ปี นั้น บางคนจะถือว่าเป็นระยะของการ บรรลุวุฒิภาวะของความเป็นผู้ใหญ่เต็มที (maturity)และเริ่มต้นของการเปลี่ยนวัยไปสู่การเป็นผู้สูงอายุ6อย่างไรก็ตาม การแบ่งช่วง ระยะวัยต่างๆนี้ อาจจะแตกต่างกันได้ เช่น Levinson's(1978) ได้แบ่ง
ชีวิตคนออกเป็น 4 ช่วง คือ
1. เด็กและวัยรุ่น อายุตั้งแต่เกิดถึง 22 ปี
2. ผู้ใหญ่วัยต้น อายุ 17-45 ปี
3. วัยกลางคน อายุ 40-65 ปี
4. วัยสูงอายุ อายุ60 ปีขึ้นไป
เรื่องการพัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งศึกษาโดย Erikson ที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้นของบทนี้ จะ เห็นได้ว่า Erikson ได้มองว่า ถ้าพัฒนาการทางด้านจิตใจของคนใน วัยหนุ่มสาว (young adult) ได้เป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้วจะมีการพัฒนา บุคลิกภาพในส่วนของความสามารถที่จะ สร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นได้อย่างสนิทชิดเชื้อ (capacityfor intimacy) แต่ถ้าพัฒนาการนี้ล้มเหลว ก็จะทำให้เกิดการหยุดชะงักของการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นและเกิดการแยกตัวออกจากสังคม ไม่สามารถมีสัมพันธ์ที่สนิทแน่นกับใครได้ Eriksonเรียกผลที่เกิดจากความล้มเหลวของพัฒนาการนี้ว่า isolation5 ส่วนในช่วงของวัยกลางคน (middle adult years)นั้น Erikson ได้
สรุปว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพของคนในวัยนี้ถ้าเกิดขึ้นอย่างเหมาะสมก็จะทำให้คนๆนั้น มีความสามารถที่จะ "ให้"หรือ "ใส่ใจ"บุคคลอื่นนอกเหนือไปจากตัวของตัวเองได้ และEriksonเรียกความ สามารถอันนี้ว่า "generativity" แต่ถ้าการพัฒนานี้ไม่สามารถเป็นไปได้ ก็จะทำให้คนๆนั้นไม่สามารถจะนึกถึงคนอื่น ไม่สามารถ "ให้" หรือ "ใส่ ใจ" คนอื่นได้ จะยังคงสนใจแต่ตนเองความรู้สึกของตนและสิ่งที่ตนจะได้รับจากผู้อื่นเท่านั้น ผลที่ เกิดขึ้นแบบนี้ Erikson เรียกว่า"stagnation" หรือ"selfabsorption" ระยะหรือ stageของพัฒนาการช่วงนี้ Eriksonให้ไว้จนถึงอายุ 60 ปีการแบ่งเป็นช่วงอายุระยะต่างๆนี้ ต้องคำนึงถึงความแตกต่างในแต่ละบุคคลและอิทธิพลของวัฒนธรรม สังคมสิ่งแวดล้อมร่วมด้วยเสมอ เช่น คนที่ต้องดิ้นรน ช่วยเหลือตนเองตั้งแต่เด็ก ก็ย่อมมีภาระและความรับผิดชอบเป็นผู้ใหญ่เร็วกว่าคนที่มีพ่อแม่ปกป้องดูแลแม้ในวัย 20-30 ปี ก็อาจจะยังไม่มีความเป็น ผู้ใหญ่เลยก็ได้ เป็นต้น