ของดีเมืองแพร่..ไปแล้วต้องแวะ

          ถ้าคิดแค่ว่า “ฤดูหนาว” ต้องขึ้นเหนือท้าลมหนาว “ฤดูร้อน” ต้องไปอาบแดดชายทะเล โต้ลมร้อน “แพร่” ก็คงไม่ใช่จังหวัดที่นักท่องเที่ยวหมายมั่นจะไปให้ถึง
          ใครที่เคยไปแพร่จะรู้ว่า แพร่ไม่ใช่เมืองคึกคัก 
          ยิ่งได้ผ่านไปในช่วงที่ไม่มีงานเทศกาล หรืองานประจำปี บรรยากาศอาจดูเงียบเหงาไปบ้าง
          นักท่องเที่ยวที่ตั้งใจไปภาคเหนือ ลองวางแผนการเดินทาง แวะไปเมืองแพร่ดูบ้าง จะแวะเที่ยวแบบทางผ่าน ใช้เวลาอยู่ในอำเภอเมือง รับรองว่าไม่ถึงครึ่งวัน เที่ยวได้ตั้งหลายที่ 
          แต่ถ้าต้องการค้างสักคืน ราคาห้องพักถูกมาก แม้ในช่วง high season ก็ตาม
โรงแรมขนาดใหญ่ในอำเภอเมืองมีเพียงสองแห่ง คือ โรงแรมนครแพร่ทาวเวอร์ และภูมิไทยการ์เด้น ตั้งอยู่ใกล้ๆ กัน ขับรถไม่ถึงสามนาที โทรศัพท์สายตรงสอบถามราคาห้องพักที่โรงแรมได้เลย ไม่จำเป็นต้องจองผ่านอินเทอร์เน็ตแต่อย่างใด 
          อาหารการกิน สามารถฝากท้องได้ที่ตลาดโต้รุ่ง ตลาดไม่ใหญ่แต่ก็มีเมนูให้เลือกมากมาย

          ในอำเภอเมืองแพร่ แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก คือ  “วัดพระธาตุช่อแฮ” ด้านหน้าบริเวณวัดมีของฝาก เช่น ผ้าพื้นเมือง ราคาไม่แพง แต่ต้องรู้จักต่อรองราคาตามประสานักช็อป
 
          วัดพระธาตุช่อแฮ


          วัดพระธาตุช่อแฮ สร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 สมัยพระยาลิไท โดยขุนลวะอ้ายก้อม ชาวละว้าเป็นผู้สร้าง องค์พระธาตุบุด้วยทองดอกบวบ สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 10 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง อันเป็นศิลปะเชียงแสน เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า 
          ชื่อพระธาตุช่อแฮได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดี ทอจากสิบสองปันนา ชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ

          สำหรับที่เที่ยวภายในตัวเมืองที่น่าสนใจมีอีกเยอะ เช่น


           @ อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์


          พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) เป็นบุคคลสำคัญของจังหวัดแพร่ ด้วยท่านเป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองแพร่ ระหว่างพ.ศ.2440-2445 
          วันที่ 25 กรกฎาคม 2445 พวกเงี้ยวในเมืองแพร่ เป็นกบฎคุมสมัครพรรคพวกข้าปล้นตีสถานที่ราชการต่างๆ พระยาไชยบูรณ์ได้รวบรวมกำลังต่อสู้อย่างเข้มแข็ง แต่มีไพร่พลน้อยกว่ามาก จึงถูกจับตัวบังคับให้มอบการปกครองบ้านเมืองให้แก่พวกเงี้ยว พระยาไชยบูรณ์ขัดขืน จึงถูกฆ่าตาย 
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการให้กองทัพจากกรุงเทพฯ ยกมาปราบจนได้ชัยชนะ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ พระยาไชยบูรณ์เป็น พระยาราชฤทธานนท์พหลภักดี และโปรดให้สร้างอนุสาวรีย์ประดิษฐานได้เป็นเครื่องหมายแห่งความกล้าหาญ เสียสละ และความจงรักภักดี

          @ วัดจอมสวรรค์



         

          วัดจอมสวรรค์สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2443-2455 จองนันต่า คหบดีชาวไทยใหญ่ที่เข้ามาค้าขายในเมืองแพร่ ได้รวบรวมชาวไทยใหญ่ ช่วยกันก่อสร้างศาสนสถานที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบพม่า สร้างด้วยไม้สัก ตกแต่งด้วยการฉลุไม้ ตัวพระอารามเป็นทั้งโบสถ์ วิหาร และกุฏิเพดาน ประดับกระจกสี ส่วนใหญ่จัดทำเป็นรูปสัตว์หิมพานต์นานาชนิด มีหลังคาซ้อนลดหลั่นเป็นชั้น 
          วัดจอมสวรรค์สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของชาวไทยใหญ่ที่เดินทางเข้ามาทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าพื้นเมืองกับชาวท้องถิ่นในจังหวัดแพร่ จนมีฐานะมั่งคั่ง ร่ำรวย ด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้ร่วมมือกับเพื่อนฝูงสร้าง วัดขึ้นในปีพ.ศ.2437 ใช้เวลาสร้างประมาณ 5 ปี จึงแล้วเสร็จ
          ต่อมาวัดจอมสวรรค์ได้ร้างและมีสหภาพทรุดโทรมลง ชาวไทยใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ได้สร้างเสริมบูรณะเพิ่มเติม พร้อมทั้งสร้างเจดีย์รูปแบบสถาปัตยกรรมพม่าไว้ทางทิศตะวันออกของวัด ภายในพระอุโบสถนอกจากความงดงามของศิลปะการตกแต่งกระจกตามเสาเพดานแล้ว ยังมีคัมภีร์งาช้างหรือคัมภีร์ปาฏิโมกข์ โดยนำงาช้างมาบดแล้วอัดเป็นแผ่นบางๆ เขียนลงรักสีแดงจารึกเป็นอักษรพม่า รวมทั้งมีพระพุทธรูปที่สร้างโดยใช้ไม้ไผ่สานเป็นองค์พระลงรักปิดทองมีชื่อว่า หลวงพ่อสาน และพระพุทธรูปงาช้างศิลปะแบบพม่า

          @ ศาลหลักเมือง

          แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า สะดือเมือง ตั้งอยู่ถนนคุ้มเดิม เยื้องจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นศาลหลักเมืองที่สวยงาม สร้างด้วยศิลปะแบบล้านนาลงรักปิดทอง ประกอบด้วยเสาไม้สักขนาดใหญ่ฝังในผนังปูนอย่างกลมกลืนทั้งสี่มุม 
          ยอดหลังคาเป็นรูปทรงเจดีย์พลิ้วงามด้วยใบโพธิ์ ต่อมาได้รับพระราชทานเสาหลักเมืองแพร่เป็นเสาไม้ยมหินขนาดเขื่องจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้อัญเชิญมาประดิษฐานในศาลหลักเมืองแพร่หลังใหม่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2537 ส่วนศิลาจารึกที่ใช้เป็นหลักเมืองแพร่เดิม ตั้งไว้ด้านหลังของเสาหลักเมือง

          @ คุ้มเจ้าหลวง

          สร้างขึ้นก่อนสมัยเงี้ยว (ไทยใหญ่) ปล้นเมืองแพร่ประมาณ 10 ปี ประมาณพ.ศ.2435 หลังจากเจ้าหลวงเมืองแพร่ เจ้าพิริยเทพวงศ์อุดร เจ้าเมืองแพร่องค์สุดท้าย ได้ลี้ภัยไปอยู่เมืองหลวงพระบาง คุ้มเจ้าหลวงได้กลายเป็นที่ตั้งของกองทหารม้าที่ทางกรุงเทพฯ ส่งมารักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองแพร่
          คุ้มเจ้าหลวงเป็นสถาปัตยกรรมทรงไทยผสมยุโรปสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ให้ป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารสถาบันและสาธารณะเมื่อปี พ.ศ.2536

          @วัดพงษ์สุนันท์


          การก่อสร้างและบูรณะวัดพงษ์สุนันท์ เกิดขึ้นจากแรงศรัทธาของคนหลายตระกูล และชาวแพร่ โดยมีจุดที่น่าสนใจ อาทิ หลวงพ่อสุรัสวดี พระนอน พระยืน หอเก็บธรรม และพระธาตุพงษ์สุนันท์มงคล ซึ่งเป็นชื่อที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานนาม
          พระนอนที่วัดพงษ์สุนันท์ มีจุดเด่นอยู่ตรงที่องค์พระนอนขนาดใหญ่ นอนหันหน้าเข้าหาวัด ติดกับกำแพงหน้าวัด

          @ วัดพระนอน

          วัดพระนอนมีพระอุโบสถแบบเชียงแสน ไม่มีหน้าต่าง แต่ทำเป็นช่องรับแสงแทน ส่วนหน้าบันแกะสลักอย่างงดงามเป็นลายก้านขด มีภาพรามเกียรติ์ประกอบ ส่วนวิหารตกแต่งชายคาด้วยไม้ฉลุโดยรอบ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นยาว 9 เมตร ลงรักปิดทองทั้งองค์ 

          เล่ากันว่า เมืองนครโกศัยไม่มีเจ้าปกครอง เป็นวัดร้าง มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นคลุมบริเวณวัด มีเถาวัลย์ขนาดใหญ่ ชื่อว่า ผักหละ หรือผักชะอม จนบริเวณนั้นกลายเป็นป่า ต่อมามีพ่อค้าต่างเมืองเดินทางมาค้างแรมบริเวณดังกล่าว เห็นผักหละขึ้นงาม จึงเอาไปเป็นอาหารและได้พบก้อนอิฐอยู่ทั่วไป พวกพ่อค้าจึงสงสัยว่าเป็นวัดร้างและนำความไปเล่าให้ชาวบ้านฟัง ชาวบ้านก็แตกตื่น ช่วยกันหักล้างถางพง พบต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุมพระนอนคล้ายกับร่ม  ชาวบ้านเกิดศรัทธาจึงช่วยกันบูรณะซ่อมแซมให้สวยงามและแข็งแรง และได้ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า “วัดม่วงคำ”
          การบูรณะครั้งนั้นได้พบแผ่นทองคำจารึกของพระนางพิมพา จึงได้รู้ว่าวัดม่วงคำ แต่เดิมนั้นคือวัดพระนอน และสันนิษฐานว่า วัดพระนอนได้สร้างสำเร็จในเดือนเก้าเหนือขึ้นสิบห้าค่ำ โดย ถือเอาคำจารึกในแผ่นทองคำเป็นหลัก และพระประธานในวิหารใหญ่ ชื่อว่าหลวงพ่อมงคลทิพณี
          

          @ บ้านวงศ์บุรี

          สร้างโดยเจ้าพรหม(พลวงพงษ์พิบูลย์) และ เจ้าสุนันตา วงศ์บุรี ธิดาเจ้าบุรี (พระยาบุรีรัตน์) ช่างที่สร้างบ้านหลังนี้มาจากเมืองกวางตุ้งประเทศจีน และใช้ช่างไม้พื้นถิ่น เป็นบ้านไม้สักสองชั้นแบบยุโรปประยุกต์ ฐานเป็นอิฐและซีเมนต์สูงจากพื้น 1 เมตร หลังคาสองชั้นมีช่องระบายลมระหว่างชั้นทั้งสอง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศเนื่องจากบ้านหันหน้าเข้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อให้มีลมพัดเย็นในช่วงฤดูร้อน และมีเพดานสูง หลังคาสูง ทรงปั้นหยา 2 ชั้น
          จุดเด่นของอาคารนี้คือลวดลายไม้แกะสลักที่หน้าจั่ว ชายคา ระเบียง ช่องลม ชายน้ำ หน้าต่าง และประตู ที่ประตูด้านหน้าเป็นปูนปั้นรูปแพะซึ่งเป็นตัวแทนของหลวงพงษ์พิบูลย์และแม่เจ้าสุนันทาซึ่งเกิดในปีแพะ ต่อมาได้มีการซ่อมแซม แต่ลวดลายแกะสลักยังคงเป็นของเดิม หลังคาไม้สักของเดิมยังคงอยู่แต่ถูกนำออกไปเมื่อปี พ.ศ.2518 เพราะความเก่าแก่ และถูกแทนที่ด้วยเหล็ก ภายในบ้านตกแต่งด้วยสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่ของตระกูลที่ถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุ ได้แก่ เครื่องเรือน เครื่องเงิน เครื่องปั้นดินเผา เอกสารที่สำคัญ เช่น เอกสารการซื้อขายทาส บ้านวงศ์บุรีได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น ปี 2536 ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

           @ บ้านประทับใจ

          บ้านไม้สักหลังใหญ่ที่สุดในโลก มีเนื้อที่ 34 ไร่ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2515 โดยคุณพ่อกิจจา ใช้ระยะเวลาสร้าง 5 ปี มีเสาจำนวนทั้งหมด 130 ต้น 
          แบบแปลนการปลูกสร้างและลักษณะทั่วไปของบ้านประทับใจ เป็นแบบทรงไทยประยุกต์ หลังคาสูงติดต่อกัน 3 หลัง หลังคามีหน้าจั่วประดับด้วยกาแล 
          ตัวบ้านมีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 3 งานเศษ ประกอบด้วยห้องพักส่วนตัวชานมะปราง ซึ่งเป็นชานนั่งเล่นที่มีร่มของต้นมะปราง อายุนานกว่า 50 ปี มีห้องพักแขก 5 ห้อง ด้านหลังมีชานตะวันสำหรับนั่งรับแสงแดด มีชุดรับแขกแกะสลักที่ทำจากไม้แผ่นเดียว ตลอดทั้งโต๊ะยาวที่ทำจากไม้ ซึ่งเป็นตอไม้ที่เหลือจากการทำสัมปทานไม้ของบริษัทเอเชียติ๊ก
          หน้าต่างทางซีกขวาของตัวบ้านเป็นไม้มีสลักไม้เป็นกลอนหน้าต่างฝากระดานใช้ไม้สักกว้างประมาณ 20-24 นิ้ว
          ชั้นล่างของตัวบ้านบางส่วนจัดทำเป็นโชว์รูมและที่จำหน่ายสินค้า เพื่อเป็นของที่ระลึก
          แวะที่นี่เสียค่าเข้าชม 20 บาท ได้พวงกุญแจเป็นที่ระลึกคนละอัน
          สอบถามรายละเอียด 054-625784, 054-511282


โดย พี่นู๋ "ซูชี๋" thaigoodview.ryo@gmail.com

 

ถ้ามีโอกาสคงต้องไปเที่ยวซักครั้งนึง

Best Price Sony KDL40v5100 LCD HDTV.

Best Price Sony KDL32L5000 LCD HDTV.

Best Price Garmin 885T GPS.

Best Price Nuvi 885T GPS.

Best Price Nuvi 785T GPS.

Best Price Nuvi 775T GPS.

Best Price Garmin 1350 GPS.

Best Price Garmin 1200 GPS.

Best Price Garmin 1250 GPS.

Best Price Garmin 1260T GPS.

Best Price Nuvi 755T GPS.

Best Price Garmin 760 GPS.

Best Price Garmin 1390T GPS.

Best Price Nuvi 1200 GPS.

Best Price Nuvi 1390T GPS.

Best Price Nuvi 1250 GPS.

Best Price Nuvi 1260T GPS.

Best Price Garmin 1370T GPS.

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 354 คน กำลังออนไลน์