ก้อนระเบิดน้ำเสียใยบวบ

รูปภาพของ ynwsuptawee

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


 ก้อนระเบิดน้ำเสียใยบวบ 


               ในปัจจุบันแหล่งน้ำหลายแห่งในประเทศไทย กำลังประสบกับปัญหามลพิษทางน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งน้ำธรรมชาติที่ในอดีตเคยใสสะอาดก็กลับเสื่อมโทรมลงมาก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์ แหล่งน้ำกลายเป็นที่รวมของของเสียจากการอุปโภคบริโภคอีกทั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจำนวนมากก็ยังก่อปัญหาสารเคมีตกค้างในน้ำด้วย ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบทั้งในทางตรงและทางอ้อมแก่มนุษย์เองทั้งสิ้น ทำให้ไม่สามารถที่จะนำน้ำนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศทางน้ำถูกทำลายลง ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะร่วมมือกันแก้ปัญหาเหล่านี้เพื่อฟื้นฟูแหล่งน้ำของไทยให้กลับมา

               การบำบัดน้ำเสียเป็นสิ่งที่ประชาชนในชุมชนแออัดไม่สามารถจัดการแก้ไขได้ด้วยตนเองเพราะขาดทั้งความรู้และปัจจัย อีกทั้งเป็นความเคยชินมาเป็นเวลายาวนานจนยากต่อการแก้ไขให้ถูกต้องได้   การกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์และร่วมมือพลิกฟื้นแหล่งน้ำให้เป็นน้ำที่ดีมีคุณภาพ  ทางเลือกหนึ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม  คือ  การใช้พืชน้ำผสมผสานกับการใช้น้ำหมักชีวภาพหรือน้ำจุลินทรีย์ชีวภาพ(Effective Microorganism:EM.)  ซึ่งเป็นสิ่งที่สมควรนำมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพของน้ำในชุมชนให้ดีขึ้น การจัดทำโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต้องมีการจัดการน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียในระยะแรกมักใช้น้ำหมักชีวภาพ โดยการเทลงในคลองเพื่อกำจัดไขมัน กลิ่นเหม็นและย่อยสลายตะกอน ซึ่งสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แต่ถ้าเป็นคลองน้ำไหล  การเทน้ำ EM.จะสิ้นเปลืองมากเพราะน้ำ EM จะไหลตามน้ำไป 

               การทำจุลินทรีย์ EM แบบเป็นก้อนกลมๆ ผูกหรือโยนไว้ใต้น้ำ จึงใช้ได้ดีแต่โดยหลักการแล้วถ้าสามารถทำก้อนจุลินทรีย์ให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสน้ำมากจะมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียได้ดีกว่าแต่ในการทำลักษณะนั้นต้องใช้เครื่องจักร ถ้าทำด้วยมือหรือปั๊มพ์เองจะแตกร่วน  จึงน่าจะศ฿กษาหาตัวเลือกหรือวิธีการอื่นๆมาทำก้อนจุลินทรีย์

             

                  จากการสังเกต การปลูกบวบ ถ้าบวบแก่แล้วไม่ได้เก็บปล่อยจนแก่แห้งแล้วจะเหลือแต่เส้นใย ซึ่งขนาดของใยบวบ ยาวประมาณ 5 - 50 ซม. มีลักษณะโครงสร้างเป็นทรงกระบอก เส้นใยบวบมีความพรุนอีกทั้งมีช่องว่างตรงกลาง ซึ่งน่าจะเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ได้ดีอีกทั้งพื้นที่ผิวสัมผัสเพิ่มขึ้นและคงรูปร่างได้ดี

ลักษณะของต้นบวบจนกลายมาเป็นใยบวบ

                     

                                      

luffa

             จึงทำการทดลองโดยนำใยบวบมาทำเป็นก้อนจุลินทรีย์และนำไปทดลองกับน้ำในคลองเปรียบเทียบกับ ก้อนจุลินทรีย์ E.M.  เพื่อศึกษาโครงสร้างของใยบวบสามารถเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ EM.และสามารถทำให้น้ำเสียคุณภาพดีขึ้นได้หรือไม่ 

 

ก้อนจุลินทรีย์ E.M.
              ลักษณะโครงสร้างก้อนจุลินทรีย์  ปั้นแล้วมีลักษณะเป็นก้อนกลมแน่นเมื่อนำไปผึ่งในที่ร่มไม่ตากแดดหรือตากลม  ทิ้งไว้ 3 วัน  จะเห็นว่ามีใยขาวเกาะตามก้อน
 
 
ก้อนจุลินทรีย์ E.M. จากใยบวบ
                  ลักษณะโครงสร้างใยบวบก่อนการทดลองเป็นเส้นใย 2 ชั้น วางในทิศทางที่ขัดกัน มีความนุ่ม ยืดหยุ่นและดัดโค้งได้เมื่อทำเป็นก้อนจุลินทรีย์ใยบวบแล้ว  มีความแข็งแต่มีรูพรุนทิ้งไว้ 2-3 วัน  ก้อนใยบวบมีจุลินทรีย์เกาะเต็มก้อนและ ตามรู  เป็นใยสีขาว

                 จากการทดลองพบว่า ก้อนจุลินทรีย์ E.M. จากใยบวบ มีลักษณะที่เอื้อเหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์  โดยโครงสร้างมีลักษณะเป็นรูพรุน  ทำให้เพิ่มพื้นที่ ในการอาศัยของจุลินทรีย์  และมีพื้นที่ผิวสัมผัสกับน้ำเสียมากกว่าทำให้มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย    จากการวัดค่าออกซิเจนในน้ำ
 
วิเคราะห์และสรุปผลจากการทดลอง                       
                   ก้อนจุลินทรีย์  มีประสิทธิภาพดีกว่า น้ำจุลินทรีย์ EM. เพราะว่าสามารถถ่วงอยู่ในน้ำได้นานกว่า จึงย่อยสลายตะกอนที่เป็นอินทรีย์วัตถุได้    เมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างก้อนจุลินทรีย์กับก้อนระเบิดน้ำเสียใยบวบ  ตัวใยของบวบมีลักษณะเป็น 2 ชั้น วางในทิศทางที่ขัดกัน จึงเป็นเหตุทำให้เกิดความนุ่ม ยืดหยุ่น  และดัดโค้งได้ง่าย  ลักษณะรูปแบบโครงสร้างของใยบวบ มีศักยภาพทำเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงได้แต่การเกาะตัวกันของเส้นใยบวบมีขนาดที่แตกต่างกัน  ใยบวบไม่มีสารเคมีเจือปน  ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีกว่านำก้อนจุลินทรีย์ใส่ไว้ในขวดพลาสติก  เมื่อใช้แล้วจะตกค้างอยู่ในลำคลอง ทำให้ทราบว่า ก้อนระเบิดน้ำเสียใยบวบมีรูพรุนทำให้เพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสในน้ำ ทำให้สามารถบำบัดน้ำเสียได้ดี ค่าออกซิเจนเพิ่มขึ้น สามารถปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง  และปริมาณฟอสเฟตได้
ข้อเสนอแนะ
  • สามารถที่จะนำไปประยุกต์ หรือปรับปรุงเปลี่ยนรูปแบบ หรือวัสดุในการผลิตก้อนจุลินทรีย์ E.M.
  • โครงสร้างใยบวบเหมาะที่จะนำมาทำเป็นก้อนจุลินทรีย์ระเบิดน้ำเสียได้ เส้นใยบวบมีขนาดที่แตกต่างกัน  จึงควรควบคุม ขนาดหรือน้ำหนักที่ใช้ในการทดลอง   
  • เมื่อใส่คลองหรือท้องร่องแล้วสามารถบำบัดน้ำเสีย  กำจัดยุงลายและกลิ่นเหม็นโดยไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

 

 

สร้างโดย: 
ครูทรัพย์ทวี อภิญญาวาท

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 430 คน กำลังออนไลน์