การโฆษณา

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


   การโฆษณา

   การวิวัฒนาการทางอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ได้ช่วยให้การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์มีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้นและมีการคิดไปถึงการโฆษณาตรงถึงผู้ซื้อและตัดสินใจซื้อเลย

   สื่อใหม่ทางอินเทอร์เน็ตนับว่ามีบทบาทมาก และแตกต่างจากการโฆษณาสมัยก่อนมาก ในสมัยเดิมเป็นสื่อทางเดียวและวิธีการคิดค่าโฆษณาจะใช้เนื้อที่ขนาดความกว้างใหญ่ของสิ่งพิมพ์เป็นหลักและก็ด้วยวิธีการประเมินว่าสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ๆ จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนเท่าไร แล้วก็คิดเป็นราคาคอลัมน์นิ้ว

   ในกรณีทีวีก็เช่นเดียวกัน ก็จะใช้วิธีคิดค่าโฆษณาเป็นจำนวนนาที วินาที เพื่อมีโอกาสให้ถ่ายทอดให้คนดูเป็นด้านหลัก
และดูว่าช่วงเวลาไหน คนดูน้อยดูมาก และประเมินค่าราคาโฆษณา

   ปัญหาเหล่านี้มีคนกลุ่มหนึ่งคิดว่า แล้วจะเอาอะไรวัดประสิทธิภาพกัน จริง ๆ ว่าเมื่อโฆษณาสินค้าผ่านสื่อเหล่านี้แล้วมีคนดูและตัดสินใจซื้อสินค้าที่โฆษณานั้นกี่คนจริง ๆจะวัดได้อย่างไร คุ้มหรือไม่ คือมักจะจ่ายค่าโฆษณาก่อนแล้วมาประเมินรู้ทีหลัง

   คนกลุ่มนี้คิดว่าจะโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตทั้งที ต้องให้รู้เลยว่ามีคนซื้อสินค้าแล้วค่อยมาคิดเงินค่าโฆษณากัน วิวัฒนาการเริ่มจากคุณ บิล กรอสส์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีการ pay per click หรือคิดค่าโฆษณาต่อการคลิกเข้าที่จอสินค้าต่อครั้ง คือถ้าหากใครสนใจจะซื้อสินค้าก็จะเข้าไปกดดูรายละเอียดว่าสินค้านั้นเป็นเช่นไร ก็คิดค่าโฆษณาในช่วงนั้น

   คุณบิล กรอสส์ ก็เลยตั้งบริษัท โอเวอร์เจอร์ ขึ้น และเคยไปติดต่อกับเจ้าของบริษัท กูเกิ้ล ในสมัยนั้นปี 2001 แต่ไม่ได้รับความสนใจ แต่ต่อมากูเกิ้ลเริ่มเห็นความสำคัญจึงได้เริ่มคิดเอง โดยใช้ความคิดของคุณบิล กรอสส์ นี่แหละ โดยตั้งบริษัทโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตอีกบริษัทหนึ่ง ชื่อ แอควอร์ดส์
ธุรกิจไปดีเลยตั้งอีกบริษัทชื่อ แอดเซนส์ ผนวกเข้าไปอีก ปีที่แล้ว 2 บริษัทดังกล่าว สามารถสร้างรายได้ถึง 6.1 พันล้านเหรียญ หรือประมาณ 240,000 ล้านบาท

   ในปี 2003 ยาฮู หรือ Yahoo ไม่ยอมแพ้ ไปซื้อบริษัทโอเวอร์เจอร์ ของคุณ บิล กรอสส์ ด้วยเงิน 1.6
พันล้านเหรียญ หรือ ประมาณ 64,000 ล้านบาทและก็ลุยเสียเอง

   ไม่นานนัก บริษัทไมโครซอฟท์ ของคุณบิล เกตส์ ก็สร้างบริษัท แอดเซนเตอร์ บน MSN-เอ็มเอสเอ็น เพื่อทำการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต

   อีเบย์ หรือ eBay เป็นเว็บ อี-อ๊อคชั่น หรือการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็ตั้งบริษัท แอคคอนเทกซ์ เพื่อดำเนินธุรกิจการโฆษณาบนเว็บตนเอง

   ข้างต้นทั้งหมดก็มีความเชื่อว่า ถึงผู้ซื้อได้ประสิทธิภาพการโฆษณามากกว่า เพราะถึงตัวผู้ซื้อเลย ซึ่งประสิทธิภาพถึงผู้บริโภคจะดีกว่าทีวีมาก

   หลังจากขายบริษัท โอเวอร์เจอร์ไปแล้ว คุณบิล กรอสส์ แกเลยมีความคิดใหม่ ประเภทเรียกว่า จะคิดค่าโฆษณาบนเว็บก็ต่อเมื่อมีคนเข้ามาซื้อสินค้ากันเลย
โดยเขาได้ตั้งบริษัทสแนปดอทคอม หรือ Snap.com ซึ่งเป็นเครื่องค้นหาและรู้จนกระทั่งถึงว่าคนเข้าไปคลิกหน้าจอแล้วซื้อหรือจ่ายเงินเลย เช่น กรณีบริษัทขายตั๋วเครื่องบินที่มีคนเข้าไปซื้อบัตรเดินทางทางอินเทอร์เน็ต

   เพราะฉะนั้น ก็เหมือนกับการคิดค่าคอมมิสชันแบบขายตรงได้เลย อีกหน่อยสาวไดเร็กเซลล์จะตกงานหรือเปล่าก็ไม่รู้

   แม้วิวัฒนาการการโฆษณาบนสื่ออินเทอร์เน็ตจะไปถึงไดเร็กเซลล์หรือขายตรงแต่จากการสำรวจของสมาคมสื่อออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา ก็ยังพบว่า ปีที่แล้วค่าใช้จ่ายการโฆษณาบนเว็บมีแค่ 6%
ของสื่อโฆษณาทั้งหมดเท่านั้นแหละ ในขณะที่ผู้บริโภคใช้เวลาบนเว็บมากขึ้นเยอะคือ 23% ของสื่อโฆษณาทั้งหมด

 

ประวัติความเป็นมาของการโฆษณาในประเทศไทย * ไม่ได้ระบุไว้แน่ชัดว่าการโฆษณาเกิดขึ้นเมื่อไร แต่เข้าใจว่าการโฆษณาของไทยนั้น คงมีมาแต่ครั้งโบราณกาล นับตั้งแต่คนไทยเริ่มมีสินค้า มีคนขายและคนซื้อ
การโฆษณาสินค้าของคนไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ คือ การร้องขายสินค้าของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลาย โดยอาศัยการบอกกล่าวขายสินค้าของตนไปยังลูกค้าโดยตรง ซึ่งรูปแบบของการโฆษณาสินค้าในลักษณะนี้
ยังคงสืบทอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากบรรดาหาบเร่ รถเข็น และพัฒนารูปแบบ มาเป็นรถบรรทุกเล็ก ที่วิ่งขายสินค้าไปตามแหล่งชุมชนและที่อยู่อาศัยเพื่อขายสินค้าทั่วไป

 

วิวัฒนาการการโฆษณาในไทย

 

แสดงการปิดประกาศตามกำแพงในสมัยโรมัน
(ที่มา : Jack Engel. Advertising the Process and Practice. 1980)
 

   ย้อนหลังไปประมาณเกือบ 200 ปี การโฆษณานั้นเป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้น และพัฒนามาจากประเทศกลุ่มตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา
ได้แพร่ขยายเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกพร้อมๆ กับการพัฒนาของสื่อมวลชนชนิดแรก คือ หนังสือพิมพ์

วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 นายแพทย์ Dan Beach Bradley ได้ออกหนังสือพิมพ์ภาษาไทยชื่อ หนังสือจดหมายเหตุฯ หรือ
The Bangkok Recorder โดยออกเป็นรายปักษ์ความหนาจำนวน 8 หน้า ด้วยยอดพิมพ์ 300 ฉบับ
และพร้อมกำเนิดของหนังสือพิมพ์ฉบับแรกนี้โฆษณาชิ้นแรกของไทยก็ได้ปรากฎขึ้นด้วย นั่นคือ โฆษณาของอู่ต่อเรือบางกอกด๊อก และนับจากนั้นมา เมื่อมีนิตยสารอื่นๆ เกิดขึ้น
ก็จะมีสินค้าลงโฆษณาในนิตยสารเหล่านั้นด้วยแทบทุกฉบับ

 

 

แสดงหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของเมืองไทย ชื่อ The Bangkok Recorder หรือหนังสือจดหมายเหตุฯ
วางจำหน่ายครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ.2387
แต่เริ่มมีการโฆษณาครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2408 โดยอู่ต่อเรือบางกอกด๊อก
 

รากฐานของการจัดทำโฆษณาอย่างเต็มรูปแบบ ถูกวางพื้นฐานขึ้น เมื่อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงตั้งแผนกโฆษณากรมรถไฟ
พร้อมทั้งการวางแผนและหลักปฏิบัติงานโฆษณาไว้ให้อย่างดี โดยทรงนำเอาตัวอย่าง แผนการโฆษณากิจการรถไฟในประเทศอังกฤษ มาใช้ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก ต่อมาได้ทรงวางแผนและทรงรณรงค์โฆษณา
 ให้กับการคลังออมสินจนประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง การโฆษณาครั้งนั้นได้กลายเป็นรูปแบบปฏิบัติ ของการพัฒนามาตราบเท่าทุกวันนี้

 

 

แสดงนิตยสารไทยฉบับแรกซึ่งจัดทำโดยคนไทย ในสมัยรัชกาลที่ 4
ชื่อ ดรุโณวาท มีการรับจ้างลงโฆษณาย่อยเล็กๆ น้อยๆ เช่น การขายเลหลัง เป็นต้น
 

เมื่อธุรกิจการค้าขยายตัว การสื่อสารเพื่อแจ้งข่าวสารต่อมวลชนจึงทวีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 6
การโฆษณาเจริญมาก เพราะเป็นหนังสือพิมพ์และนิตยสารได้เปลี่ยนมือผู้บริหาร จากการเป็นของเจ้านายมาสู่สามัญชน และต้องดำเนินการในรูปธุรกิจเพื่อเลี้ยงตัวในรอด
การโฆษณาจึงได้กลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชนประเภทอื่นๆ ในเวลาเดียวกัน การโฆษณาก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดกิจการค้าอีกด้วย


ในปี พ.ศ. 2467 มีเหตุการณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งของวงการโฆษณาเกิดขึ้น นั่นคือ ได้มีบริษัทที่รับจ้างทำงานโฆษณา เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
ดำเนินงานในลักษณะของบริษัทโฆษณาท้องถิ่นชื่อ บริษัทสยามแอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด จากการก่อตั้งของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และผู้เล็งเห็นประโยชน์อย่างคุ้มค่า
 ของการใช้บริการจากบริษัทโฆษณารายแรกคือ ห้างนายเลิศ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสินค้าหลายประเภท นอกจากนี้ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ยังได้ทรงถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมของเมืองไทย
เช่น โรงงานสบู่ของบริษัท สยามอินดัสตรี จำกัด ผู้ผลิตสบู่ซันไลต์ เป็นต้น

 

พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร
กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
(ต้นราชสกุล ฉัตรชัย)
พระบิดาแห่งวงการโฆษณาไทย
 
ฉะนั้น การเกิดของ บริษัท สยามแอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ย่อมแสดงให้เห็นว่า การโฆษณาในสมัยนั้นเจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งมีผู้คิดทำธุรกิจเกี่ยวกับการโฆษณา
ขึ้น ในรูปของบริษัทการค้า ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของธุรกิจโฆษณาในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น โดยเปลี่ยนจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายสินค้า ติดต่อโดยตรงกับเจ้าของสื่อโฆษณา มาเป็นตัวกลางรับจัดทำโฆษณา
และติดต่อสื่อสารต่างๆให้ ซึ่งเป็นลักษณะของธุรกิจการโฆษณาในปัจจุบัน การที่กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินทรงเป็นผู้บุกเบิก และนำเอากิจการโฆษณาแบบตะวันตก เข้ามาใช้ในกิจการหลายแห่ง
และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายเป็นอย่างดี หลักการปฏิบัติก็ยังคงทันสมัยอยู่เสมอ จึงทำให้พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็น พระบิดาแห่งวงการโฆษณาไทย


วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ได้มีการเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น คือ สถานีวิทยุกรุงเทพที่พญาไท จึงนับเป็นสื่อหนึ่ง ที่ผลักดันให้
ธุรกิจโฆษณาได้ขยายขอบข่ายให้กว้างไกลออกไป การโฆษณาทั้งปวงก็หยุดบทบาทลง เมื่อภาวะของสงครามเกิดขึ้น ธุรกิจแทบทุกชนิดหยุดชะงัก เศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลกระทบกระเทือนไปทั่วทุกวงการ


ในปี พ.ศ. 2489 เมื่อสงครามสงบ ภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ตลาดการค้าขยายตัวมากขึ้น ธุรกิจหลายแขนงเริ่มมีการแข่งขันครั้งใหม่ สินค้าบางประเภทก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่
หาวิธีให้ผู้บริโภคใช้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น มีสินค้าใหม่ๆ จากต่างประเทศทยอยเข้ามาเปิดดำเนินกิจการ มีการแย่งส่วนแบ่งของตลาดระหว่างสินค้าใหม่และสินค้าเก่า ซึ่งลักษณะเช่นนี้ทำให้การโฆษณา
ก้าวกลับมาสู่ความสำคัญอีกครั้งหนึ่ง และเป็นพลังผลักดันให้เกิดบริษัทโฆษณาขึ้นอีก 3 บริษัท คือ บริษัท โกร๊กแอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ของ นายเจฟฟี่ โกร็ก ซึ่งเป็นบริษัทโฆษณาท้องถิ่นแห่งแรกที่เปิดประเดิมขึ้นมา
ในยุคหลัง แล้วในปี พ.ศ. 2496 บริษัทโฆษณาสากลแห่งแรกที่เข้ามาในเมืองไทย คือ บริษัท แกร๊นท์ แอนด์ อี แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด และตามติดมาด้วย บริษัท คาเธ่ย์แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทโฆษณา
จากฮ่องกงในปี พ.ศ. 2497 พร้อมกับการก้าวกระโดดไปสู่ความเป็นสากลของการโฆษณา สื่อมวลชนเองก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะการโฆษณามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด กับระบบของสื่อสารมวลชนตั้ง
แต่ยุคแรกๆ และมีวิวัฒนาการที่เกื้อกูลต่อความเจริญก้าวหน้าของกันและกันตลอดมา

 

ผู้ประกาศหญิงคนแรกของวงการโทรทัศน์เมืองไทย
เย็นจิตร สัมมาพันธ์
ปัจจุบัน ก็คือ เย็นจิตร ระพีพัฒน์
อดีต ส.ส. กรุงเทพฯ สังกัดพรรคประชากรไทย
ภาพนี้ถ่ายในห้องส่งไทยทีวีช่อง 4
เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2498
 
ในปี พ.ศ. 2495 โครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ได้เริ่มต้นขึ้น โดยมีการแพร่ภาพออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498
ใช้ชื่อสถานีว่า สถานีไทยโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ ของประเทศไทย ที่มีการดำเนินงานในรูปของบริษัทจำกัด คือ
บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด จึงนับได้ว่าสื่อหลักของการโฆษณาได้เกิดขึ้นอย่างครบถ้วนแล้ว ในระยะนี้เองบริษัทโฆษณาใหญ่ๆ จากต่างประเทศก็เริ่มเข้ามาเปิดกิจการรับจ้างทำโฆษณา
ให้กับบรษัทห้างร้านในประเทศไทย ที่ต้องการโฆษณาสินค้าหรือบริการของตน นับเป็นยุคเริ่มต้นของการทำธุรกิจโฆษณาอย่างจริงจัง
และเป็นยุคที่สื่อโฆษณาที่สำคัญๆ ทุกชนิดเกิดขึ้น ดังนั้น การโฆษณาจึงได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนรูปแบบของการโฆษณาเองนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 เป็นต้นมา

ในช่วงปี พ.ศ. 2500 การโฆษณาได้พัฒนาตัวเองเข้าสู่รูปแบบของการเป็นอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง บริษัทการค้าใหญ่ๆ ก็มีแผนกโฆษณาของตนเอง ในช่วงนี้ยังไม่มีการควบคุมจากรัฐบาล
อัตราค่าโฆษณาของสื่อมวลชนทุกสื่อ ยังไม่มีการกำหนดตายตัว สามารถต่อรองกันได้ ไม่มีการจัดทำวิจัยสื่อ ต่อมาการโฆษณาเริ่มเจริญ และเป็นปึกแผ่นมั่นคงขึ้นประกอบกับเป็นยุคของการปฏิวัติตลาด
 เกิดภาวะวิกฤตการณ์ของน้ำมัน การขาดดุลการค้าและอื่นๆ รัฐจึงต้องมีการออกกฏหมายควบคุมจำกัดการนำเข้า พร้อมทั้งส่งเสริมการผลิตในประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็ว
 ส่งผลให้ธุรกิจโฆษณาพัฒนาตามไปด้วย แรงผลักดันทางการเมือง ก่อให้เกิดการจำกัดอาชีพและสิทธิของคนต่างด้าว ทำให้บรษัทโฆษณาต่างชาติต้องเปลี่ยนรูปแบบ ให้คนไทยมีหุ้นและมีสิทธิในการบริหารมากขึ้น
จึงเกิดบริษัทโฆษณาของคนไทยขึ้นหลายแห่ง และแผนกโฆษณาของหลายบริษัทก็พากันแยกตัวออกมาเป็นบริษัทโฆษณาอิสระ

 

 

 

บรรยากาศของห้องส่ง ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม เมื่อคืนวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2500
ซึ่งมีทั้งนางสาวไทย ดาราภาพยนตร์ และดาราทีวีร่วมกันนั่งรับโทรศัพท์ ประมูลสินค้า
และบริจาคเพื่อการกุศลจากทางบ้าน สังเกตความเก่าแก่ในยุคนั้น หมายเลขโทรศัพท์มีเพียง 5 ตัว เท่านั้น แถวหน้าจากซ้ายไปขวา คือ ประชิตร ทองอุไร นางสาวไทยในยุคนั้น นั่งกลางและหันหน้าด้านข้าง
 คือ อารีย์ นักดนตรี ผู้ประกาศยุคแรก และขวาสุด ดาเรศร์ ศาตะจันทร์ ลูกหม้อทีวีช่อง 4 ที่ยังทำงานทีวีอยู่ในปัจจุบัน
แม้ช่อง 4 จะพัฒนามาเป็นช่อง 9 อ.ส.ม.ท.แถวกลางนั้นคือ งามตา ศุภพงศ์ นั่งซ้ายสุดสวมเสื้อเปิดไหล่ ขณะนั้นกำลังดับคับฟ้าเมืองไทยจากหนังเรื่อง "ชั่วฟ้าดินสลาย" ที่คุณาวุฒิ กำกับการแสดง
คนกลางคือ เรวดี ศิริวิไล และอมรา อัศวนนท์ 2 นางเอกยอดนิยมในสมัยนั้น
ส่วนสองคนที่นั่งบนลุด คือ นวลละออ ทองเนื้อดี และ ม.ร.ว. ประสาสน์ศรี ดิศกุล
 

ในยุคปัจจุบัน บริษัทโฆษณามีแนวโน้มจะรวมตัวกับบริษัทโฆษณาขนาดใหญ่จากต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มของวงการโฆษณาที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ปัจจัยสำคัญคือ
ตลาดอาเซียนกำลังจะกลายเป็นตลาดที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จึงทำให้บริษัทการค้าใหญ่ๆ ต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย อันเป็นเหตุให้บริษัทโฆษณาซึ่งทำโฆษณาให้สินค้าเหล่านั้น
ต้องตามเข้ามาเพื่อรักษาลูกค้าของตนไว้ และเมื่อเข้ามาก็ต้องดำเนินการในลักษระของการร่วมทุนกับบริษัทโฆษณาของไทยดังกล่าวแล้ว

การโฆษณาเป็นการติดต่อสื่อสารอย่างหนึ่งทีเข้าถึงคนจำนวนมากโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ในธุรกิจการโฆษณาต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นต้องมีการวางแผนโฆษณา
 การเลือกใช้สื่อประเภทต่าง ๆ ที่จะนำข่าวสารไปยังผู้บริโภคให้ได้จำนวนมากสุด รวดเร็วสุด เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและจูงใจให้ได้มากที่สุด ฉะนั้น นักโฆษณาจึงควรพิจารณาลักษณะของสื่อโฆษณาแต่ละประเภท
 เพื่อวางแผนเลือกใช้โฆษณาให้ประสพผลสำเร็จด้วย

ประเภทของการโฆษณา

-การโฆษณาระดับชาติ National Advertising
     เป็นการโฆษณาที่เหมาะสำหรับสินค้าที่มีจำหน่ายแพร่หลายทั่วไปทั้งประเทศ หรือรวมไปถึงต่างประเทศด้วย การใช้สื่อควรเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมอาณาเขตกว้างไกลทั่วไปทั่วประเทศ
เช่น หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่วางจำหน่ายทั่วประเทศ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ที่มีกำลังส่งสูง รับได้ทั่วประเทศหรือถ่ายทอดในระบบเครือข่าย (Network) ไปทั่วประเทศ
     การใช้สื่อโฆษณาระดับชาติจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าสื่อโฆษณาระดับท้องถิ่นมาก แต่ให้ผลคุ้มค่าเมื่อเทียบอัตราเฉลี่ยระหว่างค่าโฆษณากับจำนวนประชาชนที่รับทราบข่าวสารการโฆษณานั้น


-การโฆษณาการค้าปลีก Retail Advertising
     หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการโฆษณารับท้องถิ่น (Local Advertising) เป็นการโฆษณาที่เหมาะสำหรับสินค้าหรือบริการที่มีขอบเขตการจำหน่ายอยู่แต่ละท้องถิ่น
เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร อู่ซ่อมรถยนต์ ฯลฯ ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้สื่อโฆษณาระดับท้องถิ่น เช่น การโฆษณาทางไปรษณีย์ การทำป้ายโฆษณากลางแจ้งขนาดใหญ่ (Cut-Out)
โปสเตอร์ (Poster) หรือ “ใบปิด” ใบปลิว ใบโฆษณาพับ จดหมายขาย วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์(เคเบิ้ลท้องถิ่น) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น


-การโฆษณาการค้า Trade Advertising
     เป็นการโฆษณาสินค้าของผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย โฆษณาไปยังผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่งทั่วไป เพื่อให้รับซื้อสินค้าไว้จำหน่ายให้กับผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง
สื่อที่นิยมใช้ ได้แก่ การส่งจดหมายโดยตรง ใบโฆษณาพับ แคตตาล็อก (catalogs) เอกสารแนะนำประกอบ (Brochure) การจัดนิทรรศการแนะนำสินค้า เป็นต้น


-การโฆษณานำทางพนักงานขายสินค้าพิเศษ Advertising to get  leads  for special salesman
      คือการโฆษณาเพื่อขายสินค้าที่มีราคาแพงหรือมีน้ำหนักมาก นำติดตัวเพื่อไปแสวงหาลูกค้าลำบาก โดยนิยมโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ 
เช่น หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารและมีแบบฟอร์มให้กรอกแล้วส่งกลับมาทางไปรษณีย์ เพื่อให้ทราบว่าผู้สนใจสินค้าเป็นใคร อยู่ที่ไหน จะได้ส่งพนักงานขายไปพบอันเป็นการประหยัดเวลา
ในการแสวงหาลูกค้าของพนักงานขาย เพราะผู้ที่ติดต่อมาคือผู้ที่มีความสนในสินค้าอยู่ก่อนแล้วการตกลงซื้อขายก็จะง่ายขึ้น


-การโฆษณาสินค้าที่ใช้ในแวดวงอุตสาหกรรม Industrial Advertising
      เป็นการโฆษณาสินค้าของผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย โฆษณาไปยังผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่งทั่วไป เพื่อให้รับซื้อสินค้าไว้จำหน่ายให้กับผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง
      สื่อที่นิยมใช้ ได้แก่ การส่งจดหมายโดยตรง ใบโฆษณาพับ แคตตาล็อก (catalogs) เอกสารแนะนำประกอบ (Brochure) การจัดนิทรรศการแนะนำสินค้า


-การโฆษณาในงานอาชีพ  Professional Advertising
     เป็นการโฆษณาที่ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย โฆษณาให้แก่บุคคลผู้มีอาชีพต่าง ๆ ได้ซื้อสินค้าเอาไว้ใช้ในการประกอบอาชีพ หรือให้ผู้ที่มีอาชีพเหล่านั้นแนะนำให้ลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องได้ซื้อสินค้าไว้ใช้
เพราะผู้มีอาชีพต่าง ๆ มักจะได้รับการยอมรับและเชื่อถือของบุคคลทั่วไปมาก เช่น แพทย์ วิศวกร เกษตรกร กุ๊ก ดารา นักร้อง-นักแสดง นักกีฬา นักออกแบบเสื้อผ้า ช่างผมคนดัง ฯลฯ


-การโฆษณาสั่งซื้อสินค้าทางไปรษณีย์ Mail - Order Advertising
     เป็นการโฆษณาพร้อมทั้งชายสินค้าไปในตัว โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องพบกัน เพียงแต่ใช้บริการไปรษณีย์เท่านั้น เหมาะสำหรับสื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์ เช่น จุลสาร (booklet)
ใบโฆษณาพับ และที่นิยมใช้กันมาก คือ นิตยสาร โดยการพิมพ์รูปภาพของสินค้าพร้อมทั้งแบบฟอร์มสั่งซื้อไว้ให้ผู้สนใจกรอกแบบฟอร์มสั่งซื้อ ซึ่งผู้ขายจะส่งสินค้าไปให้โดยวิธีเก็บเงินปลายทาง วิธีนี้ให้ความสะดวก
เหมาะสำหรับผู้ไม่มีเวลาไปหาซื้อสินค้าด้วยต้นเอง แต่มีปัญหาว่าการไม่ได้ไปดูสินค้าด้วยตนเองนั้น เมื่อสั่งซื้อสินค้ามาแล้วอาจจะได้ของที่ไม่ถูกใจก็ได้


-การโฆษณาที่ไม่เกี่ยวกับสินค้า Non Product  Advertising
     ได้แก่การโฆษณาที่ไม่เกี่ยวกับสินค้า (Non-Product or Idea Advertising) ได้แก่ การโฆษณาสถาบัน พรรคการเมือง หรือองค์กรต่าง ๆ
รวมถึงบริษัท ห้างร้านที่มิได้เน้นการจำหน่ายสินค้า หรือบริการแต่เพื่อต้องการสร้างชื่อเสียงเพื่อเผยแพร่ข่าวสารกิจการต่าง ๆ หรือเพื่อเผยแพร่แนวความคิดต่าง ๆ ให้ได้รับความยอมรับ เชื่อถือ
หรือร่วมมือตามที่ผู้โฆษณาต้องการ อันเป็นการโฆษณาในลักษณะของประชาสัมพันธ์    

 

วัฏจักรการโฆษณา

 1.ขั้นริเริ่ม หรือขั้นบุกเบิก (Pioneering Stage) ได้แก่ ขึ้นตอนแรกของการโฆษณาสำหรับสินค้าใหม่ที่ออกสู่ตลาดครั้งแรก ซึ่งจะต้องทุ่มงบประมาณโฆษณาค่อนข้างสูง
ระดมสื่อหลาย ประเภทให้ประชาชนได้พบเห็นอย่างทั่วถึง หรือเน้นเฉพาะสื่อประเภทใดประเภทหนึ่งและย้ำความถี่บ่อย ๆ โดยเน้นความแปลก-ใหม่ ที่น่าสนใจ ให้เกิดการยอมรับ
เกิดความต้องการซื้ออย่างมั่นใจว่าดีกว่าหรือไม่ด้วยกว่าสินค้ายี่ห้ออื่น ๆ ที่มีอยู่เดิม เพื่อจะได้อุดหนุนกันเป็นประจำต่อไป

2.ขั้นแข่งขัน (Competitive Stage) เมื่อสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดและเป็นที่สนใจของประชาชน สินค้าประเภทเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อกันอาจจะสูญเสียลูกค้าไปบางส่วน
ถ้ายังไม่คิดดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดก็อาจจะสูญเสียลูกค้าไปเรื่อย ๆ ระยะนี้จึงถึงเวลาที่จะต้องต่อสู้กับคู่แข่งขัน โดยสินค้าเก่าที่เคยครองตลาดอยู่ก่อนต่างตื่นตัวขึ้นมาปรับปรุงพัฒนาสินค้าของตนให้น่าสนใจ
 อาจจะปรับปรุงคุณภาพใหม่ เติมสูตรเดิมสารพิเศษใหม่ ๆ หรือเปลี่ยนแปลงหีบห่อใหม่ที่น่าสนใจ ฯลฯ หรือออกสินค้ารุ่นใหม่มาต่อสู้กับคู่แข่งในขั้นนี้จะต้องทุ่มทุนโฆษณาค่อนข้างหนัก
โดยพยายามเน้นส่วนดีที่เหนือกว่าสินค้าของคู่แข่งขัน เพื่อให้ลูกค้าสนใจ

3.ขั้นรักษาตลาด (Retentive Stage) เนื่องจากขั้นแข่งขันจำเป็นต้องทุ่มโฆษณาค่อนข้างหนัก ด้วยการระดมสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ ทั้งต้องย้ำความถี่บ่อย ๆ
เมื่อเห็นว่าสินค้าที่โฆษณาได้รับความนิยมดีแล้วจำเป็นต้องลดบทบาทการโฆษณาลงบ้าง เพื่อการประหยัด แต่การโฆษณาจะหยุดโดยสิ้นเชิงไม่ได้เพราะอาจจะต้องสูญเสียตลาดไปอย่างถาวร จำ
จำเป็นต้องทำการโฆษณาเพื่อรักษาความนิยมให้คงอยู่เสมอ เรียกการโฆษณาขั้นนี้ว่า “ขั้นรักษาตลาด”

สร้างโดย: 
ชวนพิศ เที่ยวแสวง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 476 คน กำลังออนไลน์