World War I

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

เป็นความขัดแย้งระดับโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) ถึง พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งไม่เคยปรากฏสงครามขนาดใหญ่ที่มีทหารหรือสมรภูมิเกี่ยวข้องมากขนาดนี้มาก่อน
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองของทวีปยุโรป โดยเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป การสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของการปฏิวัติรัสเซีย การพ่ายแพ้ของประเทศเยอรมนีในสงครามครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)    

สงครามโลกครั้งที่1
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามความขัดแย้งบนฐานการล่าอาณานิคม ระหว่างมหาอำนาจยุโรปสองค่าย คือ ฝ่ายไตรพันธมิตร (Triple Alliance) ซึ่งประกอบไปด้วยเยอรมนี  และอิตาลี กับฝ่าย (Triple Entente) ประกอบไปด้วยบริเตนใหญ่ ฝรั่งเศสและรัสเซีย เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914 – 1918

ประวัติ

ในสมัยบิสมาร์คเป็นผู้นำในการสร้างจักรวรรดินิยมเยอรมัน เมื่อบิสมาร์ครบชนะฝรั่งเศส และประกาศจักรวรรดิเยอรมันแล้วจึงดำเนินการตั้ง The Three Emperor's League ซึ่งแสดงความเป็นสัมพันธมิตรระหว่าง เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ด้วยเจตนาสำคัญประการแรกคือ ป้องกันการแก้แค้นของฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังเมื่อออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์กัน จนมิอาจเป็นพันธมิตรต่อกันได้ บิสมาร์คจึงชักชวนอิตาลีเข้าแทนที่รัสเซีย จึงเกิด Triple Alliance ขึ้น

ครั้งบิสมาร์คหมดอำนาจลง จักรพรรดิเยอรมัน (Kaiser Wilhelm II) ทรงเลิกนโยบายเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และสร้างความไม่พอใจให้อังกฤษด้วยการเริ่มโครงการขยายกองทัพเรือและขยายอิทธิพลดินแดนตะวันออก ฝรั่งเศสจึงได้โอกาสเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียและเข้าใจอันดีกับอังกฤษ และในที่สุดเมื่อทั้งสามมหาอำนาจตกลงในความขัดแย้งเรื่องอาณานิคมที่เคยมีต่อกันได้แล้ว จึงจัดตั้ง Triple Entente ในปี ค.ศ. 1907

จุดแตกหักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เมื่อ อาร์คดยุคฟรานซิส เฟอร์ดินัลด์ (Archduke Francis Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเจโวในแคว้นบอสเนีย โดยนักศึกษาชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ชื่อ กาวริลโล ปรินซิป (Gavrilo Princip)รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีจึงตัดสินใจจะทำลายล้างเซอร์เบียให้ราบคาบ และเมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากเยอรมนี จึงยื่นข้อเรียกร้องที่เซอร์เบียไม่อาจยอมรับได้ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย รัสเซียได้เข้าสนับสนุนเซอร์เบียและระดมพลเตรียมต่อสู้ เยอรมนีจึงได้เรียกร้องมิให้รัสเซียและฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง ครั้นสองมหาอำนาจไม่ปฏิบัติตาม เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914 และฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ตามลำดับ

หลังจากเยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซียและฝรั่งเศสแล้ว ได้เคลื่อนกำลังพลเข้าละเมิดความเป็นกลางของประเทศเบลเยียมเพื่อขอเป็นทางผ่านในการบุกฝรั่งเศส อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจของโลกจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 มหาอำนาจในยุโรปจึงเข้าสู่สงคราม ยกเว้นอิตาลีที่เข้าร่วมในปี ค.ศ. 1915

ฝ่ายเยอรมนี ออสเตรีย-อังการี อิตาลีได้ตุรกีและบัลแกเรียเป็นพันธมิตร ตุรกีเข้าโจมตีจักรวรรดิเปอร์เซีย บัลแกเรียเข้าผนวกโรมาเนีย แอลเบเนีย และโจมตีกรีซ ซึ่งต่อมาถูกเรียกโดยรวมว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ส่วนอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามฝ่ายพันธ-มิตร (the Allies)ได้ประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศเข้าร่วม รวมทั้งประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น แต่ในปี ค.ศ. 1917 รัสเซียได้ถอนตัวออกจากสงครามครั้งนี้ เนื่องจากเลนินผู้นำกลุ่มบอลเชวิคส์ทำการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นในรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาก็ได้เข้ามาแทนที่รัสเซีย หลังจากเยอรมนีประกาศจะใช้เรือดำน้ำทำลายเรือข้าศึกและเรือสินค้าของทุกชาติโดยไม่มีขอบเขต สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 โดยส่งทหารอาสาสมัครเข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรปจำนวน 1200 คน

ในช่วงแรกของสงคราม มหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่หลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร พร้อมกับส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพลเกือบ 5 ล้านคน ทำให้พันธมิตรกลับมาได้เปรียบและสามารถเอาชนะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้อย่างเด็ดขาด ในที่สุดเมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางยอมแพ้และเซ็นต์สัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกินระยะเวลายาวนาน 4 ปี 5 เดือนจึงยุติลงอย่างเป็นรูปธรรม

ผลกระทบ

หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมรบและประกาศศักดาในสงครามครั้งนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในมหาอำนาจโลกเสรีบนเวทีโลกเคียงคู่กับอังกฤษและฝรั่งเศส
รัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจโลกสังคมนิยม หลังจากเลนินทำการปฏิวัติยึดอำนาจ และต่อมาเมื่อสามารถขยายอำนาจไปผนวกแคว้นต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ยูเครน เบลารุส ฯลฯ จึงประกาศจัดตั้งสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Republics -USSR) ในปี ค.ศ. 1922
เกิดการร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย (The Treaty of Veraailles) โดยฝ่ายชนะสงครามสำหรับเยอรมนี และสนธิสัญญาสันติภาพอีก 4 ฉบับสำหรับพันธมิตรของเยอรมนี เพื่อให้ฝ่ายผู้แพ้ยอมรับผิดในฐานะเป็นผู้ก่อให้เกิดสงคราม ในสนธิสัญญาดังกล่าวฝ่ายผู้แพ้ต้องเสียค่าปฏิกรรมสงคราม เสียดินแดนทั้งในยุโรปและอาณานิคม ต้องลดกำลังทหาร อาวุธ และต้องถูกพันธมิตรเข้ายึดครองดินแดนจนกว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ประเทศผู้แพ้ไม่ได้เข้าร่วมในการร่างสนธิสัญญา แต่ถูกบีบบังคับให้ลงนามยอมรับข้อตกลงของสนธิสัญญา จึงก่อให้เกิดภาวะตึงเครียดขึ้น
เกิดการก่อตัวของลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมัน และเผด็จการทหารในญี่ปุ่น ซึ่งท้ายสุดประเทศมหาอำนาจเผด็จการทั้งสามได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรระหว่างกัน เพื่อต่อต้านโลกเสรีและคอมมิวนิสต์ เรียกกันว่าฝ่ายอักษะ (Axis)
มีการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ เป็น ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อรักษาความมั่นคง ปลอดภัยและสันติภาพในโลก แต่ความพยายามดังกล่าวก็ดูจะล้มเหลว เพราะในปี ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามที่รุนแรงขึ้นอีกครั้ง นั่นคือ สงครามโลกครั้งที่ 2


 การแข่งขันการสะสมอาวุธ
การแข่งขันแสนยานุภาพทางทะเลระหว่างอังกฤษและเยอรมนีนั้นเริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อกองทัพเรืออังกฤษสร้างเรือประจัญบานชั้นเดรตนอท ซึ่งเป็นเรือประจัญบานขนาดหนัก สำเร็จในปี ค.ศ. 1906 การคิดค้นเรือดังกล่าวนับเป็นการปฏิวัติทั้งขนาดและพลังอำนาจที่เหนือกว่าเรือประจัญบานธรรมดาอย่างยิ่ง ยิ่งกว่านั้น อังกฤษยังคงสามารถรักษาความเป็นผู้นำทางทะเลได้เหนือกว่าเยอรมนีและอิตาลี พอล เคเนดี้ได้ชี้ว่าทั้งสองประเทศมีความเชื่อว่า แนวคิดของอัลเฟรด เทย์เลอร์ มาฮานเกี่ยวกับการบัญชาการรบทางทะเลว่าเป็นความสำคัญต่อสถานภาพของประเทศอย่างมาก แต่การผ่านการจารกรรมทางพาณิชย์อาจพิสูจน์ว่าแนวคิดของเขาอาจจะผิดก็ได้

เดวิด สตีเวนสัน นักประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวบริเตน ได้กล่าวถึงการแข่งขันการสะสมอาวุธว่าเป็น "การสร้างเสริมตัวเองเป็นวงกลมแห่งการเตรียมความพร้อมด้านการทหารอย่างแรงกล้า" เดวิด เฮอร์มันน์ได้มองการแข่งขันแสนยานุภาพทางทะเลว่าเป็นหลักที่จะชี้ชะตาทิศทางของสงคราม อย่างไรก็ตาม ไนอัล เฟอร์กูสัน นักประวัติศาสตร์ชาวสก็อต ได้โต้แย้งว่า ความสามารถของอังกฤษที่จะรักษาความเป็นผู้นำทางการทหารไว้มิได้เป็นปัจจัยของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในเวลาต่อมา

อังกฤษและเยอรมนีต่างใช้จ่ายเงินในการแข่งขันสะสมอาวุธเป็นจำนาวนมาก จากสถิติแล้ว หกชาติมหาอำนาจยุโรป อันได้แก่ อังกฤษ จักรวรรดิรัสเซีย ฝรั่งเศส เยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและอิตาลี ได้ใช้งบประมาณเพื่อการแข่งขันการสะสมอาวุธเพิ่มขึ้นถึง 50% เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี ค.ศ. 1908 กับปี ค.ศ. 1913

 แผนการ ความไม่ไว้วางใจและการประกาศระดมพล
แนวคิดดังกล่าวถูกเสนอโดยนักปกครองจำนวนมากว่าแผนการระดมพลของเยอรมนี ฝรั่งเศสและรัสเซียนั้นได้ทำให้ความขัดแย้งขยายไปกว้างขึ้น ฟริทซ์ ฟิสเชอร์ได้กล่าวถึงความรุนแรงโดยเนื้อหาของแผนการชลีฟเฟ็นซึ่งได้แบ่งเอากองทัพเยอรมันต้องทำการรบทั้งสองด้าน การทำศึกทั้งสองด้านหมายความว่ากองทัพเยอรมันจำเป็นที่จะต้องรบให้ชนะศัตรูจากทางด้านหนึ่งอย่างรวดเร็วก่อนที่จะทำการรบกับศัตรูที่เหลือได้ มันถูกเรียกว่าเป็นอุบายการตีกระหนาบ เพื่อที่จะทำลายเบลเยี่ยมและทำให้กองทัพฝรั่งเศสกลายเป็นอัมพาตโดยการโจมตีอย่างรวดเร็วก่อนที่ฝรั่งเศสจะพร้อมระดมพล หลังจากได้ชัยชนะแล้ว กองทัพเยอรมันจะเคลื่อนไปยังทิศตะวันออกโดยทางรถไฟและทำลายกองทัพรัสเซียซึ่งระดมพลได้อย่างเชื่องช้า

แผนการที่สิบเจ็ดของฝรั่งเศสมีจุดประสงค์ที่จะส่งกองทัพของตนเข้าเป็นยึดครองหุบเขารูร์อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหัวใจหลักของอุตสาหกรรมของเยอรมนี ซึ่งทางทฤษฏีแล้วจะเป็นการทำให้เยอรมนีหมดสภาพที่จะทำสงครามสมัยใหม่ต่อไป

ส่วนแผนการที่สิบเก้าของจักรวรรดิรัสเซียมีเป้าหมายที่จะมองการณ์ไกลและระดมกองทัพของตนเพื่อต่อต้านทั้งจักรรวรดิออสเตรีย-ฮังการีและจักรรวรดิเยอรมนี

แผนการของทั้งสามประเทศได้ก่อให้เกิดบรรยากาศซึ่งต้องทำให้ได้มาซึ่งชัยชนะอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะสามารถกุมชัยชนะได้ ทุกฝ่ายต่างมีตารางเวลาซึ่งถูกคำนวณอย่างละเอียดลออ เมื่อมีการระดมพลเกิดขึ้น โอกาศที่จะถอยหลังก็หมดสิ้นไปแล้ว ความล่าช้าทางการทูตและการคมนาคมขนส่งที่เลวทำให้แผนการเหล่านี้ประสบความติดขัดหรือหยุดชะงัก และเหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือ แผนการของทั้งสามประเทศนี้เป็นปฏิบัติการเชิงรุก ซึ่งทำให้ต้องมีการพัฒนาความสามารถในการป้องกันและการขุดสนามเพลาะเพื่อการป้องกันประเทศ

ลัทธินิยมทหารและเอกาธิปไตย

ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันแห่งสหรัฐอเมริกาและคนอื่นๆ ได้มีความเห็นว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอาจเกิดจากลัทธินิยมทหาร บางคนอาจโต้เถียงว่าเป็นเพราะการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย และพวกนายทหารชั้นสูงในกองทัพมีอำนาจมากมายดังเช่นในประเทศอย่างเยอรมนี รัสเซียและออสเตรีย-ฮังการี สงครามนั้นเป็นโอกาสทองที่พวกเขาจะสามารถได้รับตอบสนองความต้องการเพื่ออำนาจทางการทหารและดูถูกการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นอย่างโดดเด่นในโฆษณาต่อต้านเยอรมนี เนื่องจากว่าผู้สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวได้เรียกร้องให้มีการสละราชสมบัติของผูนำประเทศ อย่างเช่น สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี รวมไปถึงการกำจัดพวกชนชั้นสูงซึ่งมีส่วนร่วมในการปกครองของยุโรปมาหลายศตวรรษรวมไปถึงลัทธินิยมทหารด้วย เวทีนี้ได้ให้เหตุผลอันสมควรแก่สหรัฐอเมริกาที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อจักรวรรดิรัสเซียยอมจำนนเมื่อปี 1917

ฝ่ายพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส มีการปกครองระบบประชาธิปไตย ได้ต่อสู้กับฝ่ายมหาอำนาจกลางซึ่งประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการีและจักรวรรดิออตโตมาน รวมไปถึงรัสเซีย พันธมิตรของอังกฤษและฝรั้งเศสเอง ยังคงมีการปกครองระบบจักรวรรดิจนกระทั่งถึงปี 1917-1918 แต่มันก็ตรงกันข้ามกับการปราบปรามเชื้อชาติสลาฟของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยหลังฉากนี้ มุมมองของสงครามของหนึ่งในกลุ่มประชาธิปไตยกับการปกครองแบบเผด็จการมาตั้งแต่ต้นนั้นดูมีเหตุผลและน้ำหนักพอสมควร แต่กลับสูญเสียความน่าเชื่อถือไปเรื่อยๆ จณะที่ความขัดแย้งได้ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ

วิลสันนั้นหวังว่าสันนิบาตชาติและการปลดอาวุธนั้นจะช่วยให้สามารถธำรงสันติภาพให้คงอยู่กาลนาน โดยยืมแนวคิดมาจากเอช.อี.เวลส์ เขาได้อธิบายเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งว่าเป็น "สงครามเพื่อที่จะยุติสงครามทั้งมวล" เขายังหวังที่จะเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรของอังกฤษและฝร่งเศสตั้งแต่ต้นจนจบ แม้ว่าท้งสองประเทศจะมีลัทธินิยมทหารอยู่บ้าง

สมดุลแห่งอำนาจ

หนึ่งในเป้าหมายของประเทศมหาอำนาจก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็คือ การรักษา "สมดุลแห่งอำนาจ" ในทวีปยุโรป ทำให้ต่อมาได้กลายเป็นระบบที่ประณีตของข้อตกลงและสนธิสัญญาต่างๆ ทั้งต่อหน้า (เผยแพร่ต่อสาธารณชน) และลับหลัง (เป็นความลับ) ตัวอย่างเช่น หลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย อังกฤษก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่เยอรมนีอันแข็งแกร่ง ซึ่งอังกฤษหวังว่าจะช่วยรักษาสมดุลกับศัตรูทางวัฒนธรรมของอังกฤษ นั่นคือ ฝรั่งเศส แต่ว่าภายหลังจากที่เยอรมนีเริ่มที่จะสร้างกองทัพเรือขึ้นมาแข่งขันกับอังกฤษ ก็ทำให้สถานภาพนี้เปลี่ยนไป ฝรั่งเศสผู้กำลังหาพันธมิตรใหม่เพื่อรักษาความปลอดภัยจากอันตรายของเยอรมนี ซึ่งก็คือจักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเผชิญหน้ากับภัยจกรัสเซีย ได้รับความช่วยเหลือจากเยอรมนี
เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุ สนธิสัญญาเหล่านี้เป็นแค่ตัวตัดสินว่าพวกเขาจะเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายใด อังกฤษผู้ไม่มีสนธิสัญญาผูกพันกับฝรั่งเศสและรัสเซีย แต่ก็เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายพันธมิตร ทางด้านอิตาลีมีทั้งสนธิสัญญาผูกพันกับทั้งเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี แต่ก็ไม่ได้เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง กลับเป็นฝ่ายพันธมิตร บางที สนธิสัญญาที่น่าสังเกตที่สุดน่าจะเป็นสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันระหว่างเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเยอรมนีได้ร่างขึ้นในปี 1909 โดยได้กล่าวไว้ว่า เยอรมนีจะยืนเคียงข้างจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี แม้ว่าพวกเขาจะเป็นฝ่ายเริ่มสงครามก่อนก็ตาม


 เศรษฐกิจลัทธิจักรวรรดินิยม
วลาดีมีร์ เลนินได้ยืนยันว่าสาเหตุของสงครามนั้นตั้งอยู่บนจักรวรรดินิยม เขาได้กล่าวพรรณาถึงแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของคาร์ล มาร์กซ และนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ จอห์น เอ. ฮอบสัน ซึ่งได้ทำนายว่าการแข่งขันอย่างไม่สิ้นสุดเพื่อการขยายตลาดการค้านั้นจะนำไปสู่ความขัดแย้งในระดับโลก โดยเหตุผลดังกล่าวนั้นมีผู้เชื่อถือเป็นจำนวนมากและได้สนับสนุนการเจริญเติบโตของลัทธิคอมมิวนิสต์ เลนินยังได้กล่าวว่าความสนใจในการเงินของมหาอำนาจลัทธิทุนนิยม-จักรวรรดินิยมจำนวนมากได้ก่อให้เกิดสงคราม


 การกีดกันทางการค้า
คอร์เดล คูล ซึ่งเป็นเลขานุการของประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ เชื่อว่าการกีดกันทางการค้าเป็นทั้งสาเหตุของทั้งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 1944 เขาได้มีส่วนในการร่วมร่างระบบเบร็ตตัน วูดส์เพื่อลดการกีดกันทางการค้าและกำจัดสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง

 การแข่งขันทางการเมืองและมนุษยชาติ
สงครามบนคาบสมุทรบอลข่านระหว่างจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและเซอร์เบียนั้นถูกพิจารณาว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ด้วยอิทธิพลของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้เสื่อมถอยและการเจริญเติบโตของลัทธิรวมเชื้อชาติสลาฟ และความเจิรญขึ้นของลัทธิชาตินิยมภายในประจวบกับการเจริญเติบโตของเซอร์เบีย ซึ่งความรู้สึกต่อต้านชาวออสเตรียอาจจะมีความรุนแรงมากที่สุด จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้นได้ยึดครองแคว้นบอลเนีย-เฮอร์เซโกวิเนียของจักรวรรดิออตโตมาน ซึ่งมีจำนวนประชากรชาวเซิร์บเป็นจำนวนมากในปี 1878 และจากนั้นก็ได้ถูกยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในปี 1908 ความรู้สึกรักชาติที่เพิ่มมากขึ้นพร้อมกับที่จักรวรรดิออตโตมาน รัสเซียนั้นได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อการรวมเชื้อชาติสลาฟ และกระตุ้นโดยมนุษยธรรมและความจงรักภักดีต่อศาสนาและการแข่งขันกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีย้อนกลับไปยังสงครามไครเมีย เหตุการณ์ปัจจุบันอย่างเช่น สนธิสัญญาล้มเหลวระหว่างออสเตรีย-ฮังการีกับรัสเซีย และความฝันเก่าตั้งแต่ต้นศตวรรษเรื่องท่าเรือน้ำอุ่นก็ได้ถูกกระตุ้นในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

นอกจากในบอสเนียแล้ว ก็ยังมีเจตนอยู่ในสถานที่อื่นๆ อีกเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นการสูญเสียแคว้นอัลซาซและแคว้นลอร์เรนภายหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียได้ก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านในกลุ่มประชากรไปโดยปริยาย ในที่สุด ฝรั่งเศสก็ได้รัสเซียเป็นพันธมิตร และได้สร้างสิ่งที่ตั้งเค้าว่าจะกลายเป็นบศึกสองด้านกับเยอรมนี

วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคมและการประกาศสงคราม

รัฐบาลของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี ได้ยกเอาเหตุผลของการลอบปลงพระชนม์ อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย เป็นการตั้งคำถามกับเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ออสเตรีย-ฮังการีได้ยื่นคำขาดแก่เซอร์เบียโดยมีความต้องการสิบข้อ ซึ่งบางข้อนั้นเซอร์เบียเห็นว่ารุนแรงเกินไป จึงปฏิเสธคำขาดข้อที่หก เซอร์เบียนั้นไว้ใจว่าตนจะได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากรัสเซีย จึงทำให้เกิดการปฏิเสธคำขาดบางกรณี และหลังจากนั้นก็มีการออกคำสั่งระดมพล จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้ตอบสนองโดยการประกาศสงครามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ในตอนเริ่มต้น กองทัพรัสเซียได้สั่งระดมพลเป็นบางส่วน มุ่งตรงมายังชายแดนของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม หลังจากที่กองเสนาธิการทั่วไปของรัสเซียได้ทูลแก่พระเจ้าซาร์ว่า การส่งกำลังบำรุงแก่ทหารเกณฑ์นันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จึงได้เปลี่ยนเป็นการระดมพลเต็มขนาดแทน แผนการชลีฟเฟ็นซึ่งมีเป้าหมายที่จะโจมตีสายฟ้าแลบต่อฝรั่งเศสนั้น ไม่สามารถให้รัสเซียสามารถระดมพลได้ นอกจากภายหลังกองทัพเยอรมันได้เข้าโจมตีแล้ว ดังนั้น เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม และฝรั่งเศสในอีกสองวันต่อมา หลังจากนั้นเยอรมนีก็ได้ฝ่าฝืนต่อความเป็นกลางของเบลเยี่ยมโดยการเดินทัพผ่านเพื่อไปโจมตีกรุงปารีส ซึ่งส่งผลให้จักรวรรดิอังกฤษเข้าสู่สงคราม ด้วยสาเหตุนี้ ห้าในหกประเทศมหาอำนาจของยุโรป จึงเข้ามาพัวพันอยู่ในความขัดแย้งวงกว้างภายในทวีปยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามนโปเลียน

 

อุบัติแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1  ได้คุกกรุ่นมาตั้งแต่ พ.ศ.2413 เมื่อเยอรมันและฝรั่งเศสประกาศเป็นศัตรูกันเนื่องจากผลของสงครามฟรังโก - ปรัสเชียน ทำให้สองประเทศต่างแสวงหาพันธมิตรเพื่อป้องกันตัวจนแงเป็นสองกล่มซึ่งมีความขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์และกรณีพิพาทเกี่ยวกับอาณานิคม จนถึง พ.ศ. 2457 ชนวนแห่งสครามจึงระเบิดขึ้น เมื่อ อาร์ชดยุค ฟรานซิสเฟอร์ดินัน แห่งออสเตรีย และพราชายาถูกชาวเซอร์บลอบยิงสิ้นประชนม์ที่เมืองซาราเจโว แคว้นบอสเนีย ทำให้ออสเตรียถือเป็นสาเหตุในการประกาศสงครามกับเซอร์เบีย เมื่อ 28 ก.ค.2457 ความขัดแย้งดังกล่าวได้ลกลามจนขยายเป็นสงครามโลกระหว่างฝ่ายอักษะซึ่งประกอบด้วยเยอรมันออสเตรีย อังการี ตุรกี บุลกาเรีย และฝ่ายสัมพันธมิตร ประกองด้วยประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรป อมริกา และเอเชีย เช่น รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

ไทยกับสงครามโลกครั้งที่1
เมื่อเกิดสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ขึ้นในยุโรป ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ นั้น ประเทศไทยยังคงยึดมั่นอยู่ ในความเป็นกลาง แต่พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสังเกตความเคลื่อน ไหวของคู่สงครามอย่างใกล้ชิด

การสงครามได้รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกราน จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมนี และออสเตรีย -ฮังการี เมื่อ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ แล้วประกาศเรียกพลทหารอาสา สำหรับกองบินและกองยานยนต์ทหารบก เพื่อส่ง ไปช่วยสงครามยุโรป การส่งทหารไปรบครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะเท่ากับได้เรียนรู้ วิชาการทางเทคนิคการรบ และ การช่างในสมรภูมิ

จริง ๆ เมื่อเสร็จสงคราม สัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ ประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าประชุม ณ พระราชวังแวร์ซา ยด้วย ผลพลอยได้จากการเข้าสงครามนี้ ก็คือ สัญญา ต่าง ๆ ที่ไทยทำ กับเยอรมนี และ ออสเตรีย -ฮังการี ย่อมสิ้นสุดลง ตั้งแต่ไทยประกาศสงครามกับประเทศ นั้น และไทยก็ได้พยายามขอเจรจา ข้อแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ซึ่งทำไว้กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และ ชาติอื่น ๆ แต่ ก็ประสบความยากลำบากอย่างมาก อาศัยที่ไทยได้ความช่วย เหลือ จาก ดร. ฟราน ซิส บี แซยร์ (Dr. Francis B. Sayre) ชาวอเมริกา ซึ่ง เคยเป็นที่ปรึกษา ต่างประเทศ จนได้รับพระ ราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น พระยากัลยา ณ ไมตรี ใน ที่สุด ประเทศต่าง ๆ 13 ประเทศ รวม ทั้ง อังกฤษ ตามสนธิ สัญญา พ.ศ. ๒๔๖๘ และ ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๖๗ ตกลงยอมแก้ไขสัญญา โดยมี เงื่อนไขบางประการ เช่น จะ ยอมยกเลิกอำนาจศาลกงสุล เมื่อ ไทยมีประมวลกฎหมายครบถ้วน และ ยอมให้อิสรภาพ ในการเก็บภาษีอาการ ยกเว้น บางอย่าง ที่ อังกฤษขอลดหย่อนต่อไป อีก ๑๐ ปี เช่น ภาษี สินค้า ฝ้าย เป็น เหล็ก ไทยพยายามเร่งชำระประมวลกฎหมายต่าง ๆ ต่อมาจนแล้วเสร็จ และ เปิดการเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดประเทศต่างๆ ก็ยอมทำสัญญาใหม่ กับ ไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ไทยได้อิสรภาพทางอำนาจศาล และ ภาษีอากร คืนมา โดย สมบูรณ์

ทหารไทยไปร่วมรบ แบ่งออกเป็น 2 กอง คือ

1. กองบินทหารบก มีพันตรีหลวงทยานพิฆาต เป็นผู้บังคับบัญชา ประกอบด้วย 3 กอง คือ กองบินใหญ่ที่ 1 คือกองบินขับไล่ ...2. กองบินใหญ่ที่ 2 คือกองบินลาดตระเวน 3. กองบินใหญ่ที่ 3 คือ กอบินทิ้งระเบิด ในแต่ละกองบินใหญ่มีผู้บังคับบัญชา พลทหาร นักบิน ช่างเครื่อง แพทย์ และพยาบาล รวม 135 นาย เมื่อรวมทั้ง 3 กองบินใหญ่มีกำลังพล 405 นาย

2. กองทหารบกรถยนต์ มร้อยเอกหลวง ราม ฤทธิรงค์ เป็นผุ้บังคัะบบัญชา ประกอบด้วย 8 กองร้อย แต่ละกองร้อย มีนายทหร นายสิบ และพลทหาร ประมาณ 100 นาย รวมกำลังพลทั้งหมดจำนวน 850 นาย

กองทหารอาสาทั้งหมดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ พันเอก พระเฉลิมอากาศ โดยทหารอาสาได้ออกเดินทางออกจาก กรุงเทพ เมื่อ วันที่ 19 มิ.ย.2461 ไปยังเกาะสีชังโดย เรือศรีสมุทร และเรือกล้าทะเล ต่อจากนั้นได้ขึ้นเรือ เอ็มไปร์ของอังกฤษไปถึงประเทศฝรั่งเศส เมื่อ 30 ก.ค.2461 สงครามโลกได้ยุติลง เมื่อเยอรมันยอมแพ้และลงนามในสัญญายุติการรบบนรถไฟที่ป่าคองเบียลส์ เมื่อ 11 พ.ย.2461 หลังจากนั้นได้มีการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายศ์ เมื่อ 28 มิ.ย.2462 จึงทำให้เกิดองค์การสันนิบาตชาติ และศาลโลกขึ้น

หลังจากนั้นทหารไทได้เดินทางกลับประเทศ โดยถึงกรุงเทพ เมื่อ 21 ก.ย.2462 หลังจากนั้นได้มีพิธีฝังอัฐิทหารไทย ซึ่งเสียชีวิตจำนวน 19 นาย เมื่อ 24 ก.ย.2462 ณ อนุสาวรีย์ทหารอาสา

ผลที่ได้ได้รับจากสงคราม

1. ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เข้าร่วมทำสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์ ได้และรับเกียรติให้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสันติบาตชาติ

2. ประเทศไทยได้แก้สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับประเทศต่าง ๆ รวม 13 ประเทศ ให้เป็นธรรมกับประเทศไทย โดยไม่ต้องเสียอะไรเป็นค่าตอบแทน

3. ได้เผยแพร่ชื่อเสียและเกียรติภูมิทหารไทย ประเทศไทย และได้เข้าร่วมการสวนสนามกับทหารชาติ ต่าง ๆ

สงครามโลกครั้งที่ 1 มีสาเหตุมาจาก 4 ประการ คือ

1. การแข่งขันทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญคือ การแข่งขันระหว่างอังกฤษกับเยอรมัน

2. การทะเลาะเบาะแว้งเรื่องอาณานิคม ปลาย ค.ศ. ที่ 19 ยุโรปต่างแข่งขันช่วงชิงอาณานิคมเพื่อจักรวรรดิของตน ซึ่งก่อให้เกิดความแตกร้าวระหว่างชาติขึ้น เช่น

-อังกฤษกับเยอรมัน เรื่องแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้

-อังกฤษกับฝรั่งเศส เรื่องลุ่มแม่น้ำไนล์

-อังกฤษกับรัสเซีย เรื่องเปอร์เซียและอาฟกานิสถาน

-เยอรมันกับฝรั่งเศส เรื่องมอร็กโกและแอฟริกาตะวันตก

3. ระบบภาคีพันธมิตร ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ

- สัญญาไตรภาคี ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย - ฮังการี และอิตาลี

- สัญญาไตรพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย

4. ความใฝ่ฝันทะเยอทะยานด้วยความรู้สึกทางชาตินิยม

*** วิกฤติกรรมณ์ซาราเจโว

*สาเหตุปัจจุบันของสงครามโลกครั้งที่ 1 เชื่อว่าเกิดจากการลอบปลงพระชนม์ อาชดุ๊กฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ แห่งออสเตรีย ด้วยฝีมือของนักศึกษาบอสเนียเชื้อสายเซอร์ป ชื่อ กาวริโล ปรินซิป ที่ซาราเจโว เมืองหลวงของแคว้นบอสเนีย

**ใน ค.ศ. 1917 เป็นช่วงที่พลิกโฉมสงครามยุโรปเป็นสงครามโลก เพราะมีเหตุการณ์สำคัญ 2 ประการคือ การปฏิวัติรัสเซีย และการเข้าร่วมสงครามของสหรัฐ

* สงครามโลกยุติลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์ ซึ่งเป็นไปตามหลัก 14 ประการ ของประธานาธิบดีดีวิลสัน ของสหรัฐฯ ซึ่งสนธิสัญญาแวร์ซายส์ข้อที่ 1 ทำให้เกิด "สันนิบาตแห่งประชาชาติ"

สงครามทางทะเล
กองเรือรบประจัญบานแห่งกองเรือทะเลหลวงในมหาสมุทรแอตแลนติกในตอนเริ่มต้นของสงคราม จักรวรรดิเยอรมนีนั้นมีเรือลาดตระเวนเป็นจำนวนประปราย แต่อยู่ทั่วทั้งโลก ในภายหลังกองทัพเรือเยอรมันได้ใช้เรือรบดังกล่าวเพื่อการจมเรือพาณิชย์ของฝ่ายพันธมิตร กองทัพเรืออังกฤษนั้นได้พยายามตามล่าเรือรบเหล่านี้อย่างเป็นระบบ แต่ว่ากองเรือเหล่านี้มีความอับอายเนื่องจากเรือรบเหล่านี้ไม่สามารถป้องกันเรือพาณิชย์ได้ จึงได้มีการกระทำบางประการ เช่น มีเรือลาดตระเวนเบาอันสันโดษของเยอรมัน "เอมเดน" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือเอชียตะวันออก ประจำการอยู่ในเมืองท่าซิงเทา ถูกเผาและพ่อค้า 15 ตนบนเรือเสียชีวิต รวมไปถึงการจมเรือลาดตระเวนเบาของรัสเซียและเรือพิฆาตฝรั่งเศสอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ด้วยขนาดใหญ่โตของกองเรือเอเชียตะวันออกของเยอรมัน-ซึ่งประกอบด้วยเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะ Scharnhorst และ Gneisenau เรือลาดตระเวนเบา Nürnberg และ Leipzig และเรือบรรทุกอีกสองลำ- นั้นมิได้รับคำสั่งให้เข้าปล่นเรือสินค้าฝ่ายพันธมิตรแต่อย่างใด และกำลังเดินทางกลับสู่เยอรมนีเมื่อกองเรือเหล่านี้ปะทะเข้ากับกองเรืออังกฤษ กองเรือเล็กเยอรมัน พร้อมด้วยเรือเดรสเดน ได้จมเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะไปสองลำในยุทธนาวีโคโรเนลแต่ว่ากองเรือดังกล่าวก็เกือบจะถูกทำลายจนสิ้นในยุทธนาวีหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ ในเดือนธันวาคม 1914 เหลือเพียงเรือเดรสเดนเท่านั้นที่สามารถหลบหนีได้

ไม่นานหลังจากการรบทางทะเลเริ่มต้น อังกฤษก็ได้ทำการปิดล้อมทางทะเลกับเยอรมนี ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่พิสูจน์ว่าได้ผลในสงครามครั้งนี้ การปิดล้อมได้ตัดเสบียงและทรัพยากรของเยอรมนี แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการละเมิดประมวลกฤหมายนานาชาติซึ่งถูกร่างขึ้นโดยทั้งสองประเทศก็ตาม กองทัพเรืออังกฤษยังได้วางทุ่นระเบิดตามนานน้ำสากลเพื่อป้องกันมิให้กองเรือใดๆ เข้าออกเขตมหาสมุทร ซึ่งเป็นอันตรายแม้แต่กับเรือของประเทศที่เป็นกลาง และเนื่องจากอังกฤษไม่ออกมารับผิดชอบต่อผลเสียที่เกิดจากยุทธวิธีนี้ เยอรมนีจึงได้กระทำแบบเดียวกันกับกลยุทธ์เรือดำน้ำของตนเช่นกัน


เรือรบหลวงไลออนระหว่างยุทธนาวีคาบสมุทรจัตแลนด์ ภายหลังถูกระดมยิงอย่างหนักจากเรือรบเยอรมันปี 1916 ยุทธนาวีแห่งคาบสมุทรจัตแลนด์ (ภาษาเยอรมัน: "Skagerrakschlacht", หรือ "Battle of the Skagerrak") ได้กลายเป็นยุทธนาวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งนี้ ซึ่งเป็นการปะทะกันเต็มอัตราศึกของกองทัพเรือทั้งสองฝ่าย ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 1916 บริเวณทะเลเหนือห่างจากคาบสมุทรจัตแลนด์ กองเรือทะเลหลวงของกองทัพเรือเยอรมันบัญชาการโดยพลเรือโท Reinhard Scheer เผชิญหน้ากับกองเรือหลวงของกองทัพเรืออังกฤษภายใต้การนำของพลเรือเอก เซอร์ John Jellicoe ผลชองยุทธนาการครั้งนี้คือเสมอกัน ฝ่ายเยอรมันนั้นมีชัยชนะเชิงเล่ห์เหลี่ยมเหนือกองทัพอังกฤษที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งกองเรือเยอรมันวางแผนที่จะหลบหนีและได้สร้างความเสียหายต่อกองทัพเรืออังกฤษมากกว่าที่กองเรือเยอรมันได้รับ แต่ทางยุทธศาสตร์แล้ว กองทัพเรืออังกฤษยังคงครองความเป็นเจ้าสมุทรเหนือมหาสมุทรต่อไป และกองทัพเรือบนผิวน้ำก็ถูกกักให้อยู่แต่ในท่า (ไม่สามารถปฏิบัติการได้) อีกเลยตลอดช่วงเวลาของสงคราม

เรืออูของเยอรมันนั้นมีความพยายามที่จะตัดเส้นทางสนับสนุนระหว่างสหรัฐอเมริกากับอังกฤษ และเป็นธรรมชาติของกลยุทธ์เรือดำน้ำที่จะทำการโจมตีโดยไม่มีการกล่าวตักเตือน เรือสินค้าที่ถูกจมจึงมีความหวังน้อยมากที่ลูกเรือจะมีชีวิตรอด สหรัฐอเมริกาจึงประท้วง เยอรมนีจึงปรับปรุงรูปแบบการทำการรบ ภายหลังจากการจมเรือโดยสารลูซิทาเนียอันโด่งดัง ในปี 1915 เยอรมนีสัญญาว่าจะไม่โจมตีเส้นทางของเรือพาณิชย์อีก ขณะที่อังกฤษได้ติดอาวุธให้กับเรือพาณิชย์ของตน ในที่สุดแล้ว ต้นปี 1917 เยอรมนีได้กักนโยบายกลยุทธ์เรือดำน้ำแบบไม่จำกัด เนื่องจากกลัวว่าสหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่สงคราม ด้านแยอรมนีพยายามที่ค้นหาเส้นทางการเดินเรือของฝ่ายพันธมิตรก่อนที่สหรัฐอเมริกาจะขนส่งกองทพขนาดใหญ่ข้ามทะเลมาได้

ภัยขากเรืออูนั้นเริ้มลดลงเมื่อปี 1917 เมื่อเรือพาณิชย์ของอังกฤษได้เข้าร่วมกับขบวนเรือคุ้มกันซึ่งประกอบไปด้วยเรือพิฆาต ยุทธวิธีดังกล่าวทำให้เป็นการยากที่เรืออูของเยอรมันจะสามารถค้นหาเป้าหมาย ทำให้เกิดความสูญเสียน้อยลง ภายหลังการเปิดตัวไฮโดรโฟนและระเบิดน้ำลึก ทำให้เรือพิฆาตมีความหวังที่จะโจมตีเรือดำน้ำซึ่งยังปฏิบัติการอยู่ได้ แต่ว่าการใช้ระบบขบวนเรือดังกล่าวก็ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งเสบียง เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการรวบรวมเรือเข้าจัดตั้งเป็นขบวน เหตุการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างเรือบรรทุกสินค้าแบบใหม่ จากนั้นเรือทหารก็ไม่สามารถตกเป็นเป้าของเรือดำน้ำเยอรมนีได้อีกต่อไป


แนวรบด้านตะวันออก

เยอรมนีรบชนะตลอดทางขณะที่สถานการณ์ในแนวรบด้านตะวันตกยังคงเสมอกัน ในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพรัสเซียวางแผนที่จะโจมตีหลายทิศทางโดยพุ่งเป้าหมายไปยังแคว้นกาซิเลียของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและปรัสเซียตะวันออกของเยอรมนี ถึงแม้ว่าการรุกเข้าไปยังแคว้นกาซิเลียจะประสบความสำเร็จอย่างงดงาม แต่ด้านปรัสเซียตะวันออกนั้นกลับถูกตีโต้ออกมาหลังความพ่ายแพ้ที่ยุทธการเทนเนนเบริ์กและยุทธการทะเลสาบมาซูเรี่ยนครั้งที่หนึ่ง ระหว่างเดือนสิงหาคมกับเดือนกันยายนของปี 1914 เนื่องจากว่าพื้นฐานทางอุตสาหกรรมที่ไม่มั่นคงของรัสเซียและการนำกองทัพที่ไม่มีประสิทธิภาพกำลังจะนำไปสู่ความพ่ายแพ้ของรัสเซียในไม่ช้านี้ ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 1915 กองทัพรัสเซียได้ถอยทัพถึงแคว้นกาซิเลีย และเดือนพฤษภาคม กองทัพฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ตีแนวรบรัสเซียด้านทางทิศใต้ในโปแลนด์ได้อย่างน่าประหลาดใจ วันที่ 5 สิงหาคม กรุงวอร์ซอว์แตกและกองทัพรัสเซียล่าทัพออกจากโปแลนด์อีก เหตุการณ์นี้รู้จักกันในนาม "การล่าถอยครั้งใหญ่" ของรัสเซีย และ "การรุกครั้งใหญ่" ของเยอรมนี


การปฏิวัติรัสเซีย
ดูบทความหลักที่ การปฏิวัติรัสเซีย (1917) และ การทัพรัสเซียเหนือ
เนื่องจากความไม่พอใจต่อความพ่ายแพ้ของกองทัพรัสเซีย แม้ว่าจะมีความสำเร็จอยู่บ้างในการรุกบรูซิลลอฟต่อแคว้นกาลิเซียตะวันออก แต่ความสำเร็จนั้นถูกขัดขวางโดยเหล่านายพลซึ่งไม่เต็มใจในการส่งกองกำลังของตนเข้าไปสู่สนามรบ กองทัพพันธมิตรและกองทัพรัสเซียฟื้นตัวแค่เพียงชั่วคราวเมื่อโรมาเนียเข้าสู่สงครามเป็นฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม กองทัพเยอรมันสามารถสมทบกับกองทัพออสเตรีย-ฮังการีในทรานซิลวาเนียและกรุงบูชาเรสต์ถูกยึดครองโดยฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ไม่นานนัก ความไม่สงบก็แผ่กระจายไปทั่วรัสเซีย ขณะที่ซาร์แห่งรัสเซียยังคงบัญชาการรบอยู่ที่แนวหน้า จักรพรรดินีอเล็กซานดราซึ่งไร้ความสามารถในการปกครองไม่สามารถปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงได้และก็นำไปสู่การฆาตกรรมรัสปูติน ปลายปี 1916


เลนินกำลังทำงานในสำนักงานของเขาที่เครมลินเมื่อเดือนมีนาคม 1917 การชุมนุมที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ได้ลงเอยด้วยการสละราชบัลลังก์ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียและการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวของรัสเซียซึ่งมีความอ่อนแอและแบ่งปันอำนาจกับกลุ่มสังคมนิยมเปโตรกราดโซเวียต การจัดการดังกล่าวได้สร้างความสับสนและนำไปสู่ความวุ่นวายทั้งในแนวหน้าและในแผ่นดินรัสเซีย กองทัพรัสเซียยิ่งมีประสิทธิภาพด้อยลงกว่าเดิม

สงครามและรัฐบาลชั่วคราวของรัสเซียไม่เป็นที่นิยมของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ ความไม่พอใจดังกล่าวได้ในไปสู่การขึ้นครองอำนาจของพรรคบอลเชวิค นำโดย วลาดีเมียร์ เลนิน ซึ่งเขาได้ให้สัญญากับชาวรัสเซียว่าจะดึงรัสเซียออกจากสงครามและทำให้รัสเซียกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ชัยชนะของพรรคบอลเชวิคในการปฏิวัติเดือนตุลาคมนั้นตามด้วยการสงบศึกชั่วคราวและการเจรจากับเยอรมนี ในตอนแรก พรรคบอลเชวิคปฏิเสธข้อเสนอของเยอรมนี แต่เมื่อกองทัพเยอรมันทำสงครามต่อไปและรุกถึงยูเครน เขาจึงต้องยอมเซ็นสนธิสัญญาเบรสต์-ลีโตเวส เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1918 ซึ่งทำให้รัสเซียได้ออกจากสงคราม แต่ว่าต้องยอมยกดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของรัสเซีย รวมไปถึงฟินแลนด์ มลรัฐบอลติก บางส่วนของโปแลนด์และยูเครนแก่ฝ่ายมหาอำนาจกลาง แผ่นดินส่วนที่เยอรมนีได้รับจากสนธิสัญญาดังกล่าวสามารถชดเชยความล้มเหลวของการรุกฤดูใบไม้ผลิได้ แต่ว่าด้านอาหารและยุทธปัจจัยนั้นได้รับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เนื่องจากพรรคบอลเชวิคได้เซ็นสนธิสัญญาเบรสต์-ลีโตเวส พันธมิตรไตรภาคีจึงล่มสลาย กองทัพพันธมิตรได้นำกองกำลังขนาดเล็กของตนเข้ารุกรานรัสเซียเพื่อป้องกันเยอรมนีมิให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจำนวนมากของรัสเซีย และสนับสนุนกองทัพรัสเซียขาวในสงครามกลางเมืองรัสเซีย กองทัพพันธมิตรขึ้นบกที่เมืองอาร์คแองเจิลและวลาดิวอสตอก

 


จักรวรรดิออตโตมาน
 
ที่ตั้งปืนใหญ่ของกองทัพอังกฤษระหว่างยุทธการแห่งเยรูซาเล็ม ปี 1917ดูบทความหลักที่ เขตปฏิบัติการตะวันออกกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
จักรวรรดิออตโตมานเข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งได้เซ็นสัญญาพันธมิตรออตโตมาน-เยอรมันในเดือนสิงหาคม 1914 ซึ่งได้คุกคามต่อความมั่นคงของเขตคอเคซัสของรัสเซีย และการติดต่อคมนาคมกับอินเดียผ่านทางคลองสุเอซ อังกฤษและฝรั่งเศสได้เปิดแนวรบโพ้นทะเลด้วย การรณรงค์กัลลิโปลี และ การรณรงค์เมโสโปเตเมีย ที่กัลลิโปลี จักรวรรดิออตโตมานสามารถขับไล่กองทัพอังกฤษ ฝรั่งเศสและกองทัพแอนแซกได้ แต่ในเมโสโปเตเมียนั้นกลับตรงกันข้าม จักรวรรดิออตโตมานพ่ายแพ้อย่างหายนะจากการล้อมเมืองคุท กองทัพอังกฤษรวบรวมทัพใหม่และสามารถยึดครองกรุงแบกแดดได้ในเดือนมีนาคม 1917 ส่วนทางทิศตะวันตก ในการรณรงค์คาบสมุทรไซนายและปาเลสไตน์ กองทัพอังกฤษสามารถพลิกกลับจากการเพลี่ยงพล้ำเป้นเอาชนะได้เมื่อกรุงเยรูซาเลมแตกในเดือนธันวาคม 1917 กองทัพอียิปต์นิกประเทศใต้การบังคับบัญชาของจอมพลเอ็ดมุน อัลเลนบี สามารถตีกองทัพจักรวรรดิออตโตมานแตกหลังยุทธการมากิดโด้ ในเดือนกันยายน 1918

ด้านเทือกเขาคอเคซัส กองทัพออตโตมานภายใต้รองจอมทัพเอนเวอร์ พาชา ผู้บัญชาการของกองทัพติดอาวุธออตโตมานนั้นทะเยอทะยานและใฝ่ฝันถึงการยึดครองเอเชียกลาง แต่เขาก็เป็นผู้บัญชาการที่อ่อนแอ เขาได้ออกคำสั่งให้โจมตีกองทัพรัสเซียในเขตเทือกเขาคอเคซัสในเดือนธันวาคม 1914 ด้วยกำลังพล 100,000 นาย เขายืนกรานที่จะโจมตีที่ตั้งของกองทัพรัสเซียเมื่อฤดูหนาว ซึ่งเขาสูญเสียกำลังพลไปกว่า 86% ระหว่างยุทธการซาริคามิส

ผู้บัญชาการกองทัพรัสเซียระหว่างปี 1915-1916 นายพล นิโคไล ยูเดนนิช สามารถผลักดันกองทัพออตโตมานให้ออกไปจากเขตเทือกเขาคอเคซัสตอนใต้ ในปี 1917 แกรนด์ ดยุค นิโคลัสได้เข้ามาบัญชาการกองทัพรัสเซียแนวรบคอเคซัส เขาได้วางแผนสร้างทางรถไฟจากจอร์เจียไปยังดินแดนยึดครอง ดังนั้นกองทัพรัสเซียจึงมีเสบียงอย่างพอเพียงต่อการรุกครั้งใหม่ในปี 1917 อย่างไรก็ตาม เดือนมีนาคม 1917 พระเจ้าซาร์ถูกล้มล้างหลัง การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ และกองทัพรัสเซียคอเคซัสก็เริ่มที่จะแตกออกจากกัน

การปฏิวัติอาหรับนั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิออตโตมาน การปฏิวัติเริ่มขึ้นด้วย ยุทธการเมกกะ โดย ชารีฟ ฮัสเซน แห่งเมกกะ ด้วยความช่วยเหลือของอังกฤษในเดือนมิถุนายน 1916 และจบลงด้วยการยอมแพ้ของจักรวรรดิออตโตมานที่กรุงดามัสกัส หลังจากนั้นตามแนวชายแดนของลิเบียอิตาลีและอียิปต์อังกฤษได้มีเผ่าซานุสซี่ ซึ่งจักรวรรดิออตโตมานได้ส่งเสริมและติดอาวุธกลุ่มคนเหล่านี้ ได้ทำการรบแบบกองโจรต่อต้านกองทัพพันธมิตร กลุ่มเหล่านี้ถูกกำจัดเมื่อกลางปี 1916


อิตาลี
ดูบทความหลักที่ เขตปฏิบัติการอิตาลีระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และ ยุทธการแห่งไอซอนโซ
อิตาลีนั้นเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีตั้งแต่ปี 1882 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของไตรพันธมิตร อย่างไรก็ตาม อิตาลีนั้นมีเจตนาของตนบนพื้นที่ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีใน เทรนติโน อิสเตรียและดัลมาเทีย อิตาลีนั้นได้แอบทำสนธิสัญญาลับกับฝรั่งเศสในปี 1902 ซึ่งลบล้างพันธมิตรของตนอย่างสิ้นเชิง ในตอนเริ่มต้นของความเป็นปรปักษ์กัน อิตาลีปฏิเสธที่จะส่งทำเข้าร่วมรบกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง และโต้เถียงว่าไตรพันธมิตรนั้นเป็นการรวมตัวเพื่อสนับสนุนกันและกันเมื่อชาติใดชาติหนึ่งถูกโจมตี แต่ว่าจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีกลับเป็นผู้เริ่มสงครามเสียเอง รัฐบาลของออสเตรีย-ฮังการีเริ่มการเจรจาซึ่งพยายามจะให้อิตาลีเป็นกลางในสงคราม ซึ่งเสนอตูนิเซีย ซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นการตอบแทน อย่างไรก็ตาม อิตาลีเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อเดือนเมษายน 1915 และประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการีในเดือนพฤษภาคม และประกาศสงครามกับเยอรมนีในอีกสิบห้าเดือนต่อมา

อิตาลีนั้นมีทหารจำนวนมาก แต่ว่าอิตาลีไม่ได้รับความได้เปรียบมากนัก เนื่องจากว่าต้องผ่านภูมิประเทศที่ยากลำบาก และยังรวมไปถึงยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ใช้ด้วย จอมทัพอิตาลี ลุยดิ คาดอร์นา พยายามอย่างแข็งขันที่จะโจมตีจากทางด้านหน้า ฝันว่าจะโจมตีผ่านกองทัพข้าศึกไปยังที่ราบสูงสโลเวนเนี่ยน ตีเมืองลูบลิยานา และคุกคามกรุงเวียนนา ซึ่งเป็นแผนของสงครามนโปเลียน แต่ว่าแผนดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้อีกแล้วสำหรับยุคแห่งรั้วลวดหนาม ปืนกล การระดมยิงปืนใหญ่ และประกอบกับภูมิประเทศซึ่งเป็นหุบเขาและภูเขา แต่เขาก็ยังดึงดันที่จะโจมตีที่แนวไอซอนโซ

จอมทัพคาดอร์นาได้ออกคำสั่งโจมตีสิบกว่าครั้งโดยไม่คำนึ่งถึงความสุญเสียของทหารที่เกิดขึ้น กองทัพอิตาลีนั้นพยายามอย่างยิ่งที่จะโจมตีแนวรบดังกล่าวเพื่อปลดเปลื้องความกัดดันทางด้านแนวรบอื่นๆ บนแนวรบเตรนติโน กองทัพออสเตรีย-ฮังการีมีความได้เปรียบจากภูมิประเทศซึ่งเป็นภูเขา ซึ่งให้ประโยชน์แก่ฝ่ายตั้งรับ ภายหลังการการล่าถอยทางยุทธสาสตร์ในตอนต้นของการรบ แต่ว่าแนวรบดังกล่าวก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ระหว่างที่กองทัพของทั้งสองฝ่ายต้องเข้ามารบกันในระยะประชิดอันขมขื่นอีกนาน ช่วงฤดูร้อน กองทัพออสเตรีย-ฮังการีพยายามตีโต้ในเมือง Asiago มุ่งหน้าไปยังเมืองเวโรนาและพาดัว ในฤดูใบไม้ผลิปี 1916 แต่ก็ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย

ตอนเริ่มต้นของปี 1915 กองทัพอิตาลีได้โจมตีประมาณสิบกว่าครั้งตามแนวแม่น้ำไอซอนโซ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของตรีเอสเต ซึ่งการโจมตีทั้งหมดก็ถูกตีโต้โดยกองทัพออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งอยู่ในชัยภูมิซึ่งสูงกว่า เมื่อฤดูร้อนของปี 1916 กองทัพอิตาลีสามารถตีเมืองกอร์ริซเซียได้ แต่ว่าแนวรบนี้ก็ยังคงเดิมไปเป็นเวลาอีกหนึ่งปี แม้จะมีการโจมตีอีกหลายครั้ง เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วงของปี 1917 เนื่องจากสถานการณ์ในแนวรบด้านตะวันออกดีขึ้น กองทัพออสเตรีย-ฮังการีได้รับกำลังสนับสนุนจากทหารเยอรมัน ซึ่งก็ได้แก่พลรบวายุ และ Alpenkorps ฝ่ายมหาอำนาจกลางได้เริ่มการรุกครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 1917 และได้ชัยชนะงดงามที่เมืองคาปอร์เรตโต้ กองทัพอิตาลีต้องถอยร่นไปเป็นระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร และมารวบรวมกองทัพใหม่ได้ที่แม่น้ำ Piave นับตั้งแต่การรบที่ยุทธการแห่งคาปอร์เรตโต้ กองทัพอิตาลีประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก รัฐบาลอิตาลีจำเป็นต้องเกณฑ์ทหารซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี เมื่อปี 1918 กองทัพออสเตรีย-ฮังการีก็ประสบความล้มเหลวที่จะโจมตีผ่านแนวฝ่ายพันธมิตรระหว่างยุทธการแห่งที่ราบสูง Asiago และท้ายที่สุดก็พ่ายแพ้ยับเยินในยุทธการแห่งวิตโตริโอ วีเนโตในเดือนตุลาคมปีนั้น และท้ายที่สุดจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีก็ยอมจำนนในต้นเดือนพฤศจิกายน 1918


คาบสมุทรบอลข่าน
ดูบทความหลักได้ที่ เขตปฏิบัติการคาบสมุทรบอลข่าน (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง), เขตปฏิบัติการเซอร์เบีย (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) และ เขตปฏิบัติการมาซิโดเนีย (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)

เนื่องจากต้องเผชิญหน้ากับรัสเซีย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจึงสามารถส่งกองทัพได้เพียงหนึ่งในสามเพื่อเข้าโจมตีเซอร์เบีย ออสเตรีย-ฮังการีต้องพบกับความสูญเสียอย่างหนักกว่าจะยึดครองเมืองหลวงของเซอร์เบีย กรุงเบลเกรด แต่ว่ากองทัพเซอร์เบียก็สามารถตีโต้กองทัพออสเตรีย-ฮังการีได้จนหมดตอนปลายปี 1914 สิบเดือนต่อมา ออสเตรีย-ฮังการีต้องใช้กองทัพจำนวนมากเพื่อสู้กับอิตาลี ทูตของเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีพยายามชักชวนให้บัลแกเรียร่วมเข้าโจมตีเซอร์เบีย ด้านมอนเตเนโกรเข้าเป็นพันธมิตรกับเซอร์เบีย

ในเดือนตุลาคม ฝ่ายมหาอำนาจกลางได้เข้าโจมตีทางทิศเหนือ และอีกสี่วันต่อมา กองทัพบัลแกเรียก็เข้าโจมตีทางทิศตะวันออก กองทัพเซอร์เบียต้องสู้ศึกทั้งสองด้าน จากนั้นก็ประสบกับความพ่ายแพ้ และต้องถอยไปถึงอัลเบเนีย กองทัพเซอร์เบียพยายามสู้อีกครั้งหนึ่งแต่ก็พ่ายแพ้ และต้องนำเรือมาลำเลียงผู้คนหนีไปยังกรีซ

ช่วงปลายปี 1915 กองทัพพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่เธสสโลนิกิของกรีซ เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลกรีซประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง แต่ว่ากษัตริย์กรีก พระเจ้าคอนสแตนตินที่หนึ่ง ได้ออกพระบรมราชโองการให้รัฐบาลพ้นจากตำแหน่ง ก่อนที่กองทัพพันธมิตรจะขึ้นบกสำเร็จ

แนวรบเธสสโลนิกิหยุดหนึ่ง ที่ในตอนท้าย กองทัพพันธมิตรก็สามารถโจมตีผ่านได้สำเร็จ เนื่องจากกองทัพฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ถอนตัวออกไป กองทัพบัลแกเรียพ่ายแพ้ใน ยุทธการโดโบล โพล แต่ว่าไม่กี่วันต่อมา กองทัพบัลแกเรียก็สามารถรบชนะกองทัพอังกฤษและกองทัพกรีซได้ที่ทะเลสาบ Doiran อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันการถูกยึดครอง บัลแกเรียจึงได้เซ็นสัญญาสงบศึกเมื่อวันที 29 กันยายน 1918 และถอนตัวออกจากฝ่ายมหาอำนาจกลาง


อินเดีย

สงครามเริ่มต้นจากความจงรักภักดีและความปรารถนาดีไปยังสหราชอาณาจักรจากภายในเหล่าผู้นำทางการเมือง ตรงกันข้ามกับอังกฤษซึ่งหวาดกลัวการปฏิวัติของชาวอินเดีย อินเดียภายใต้การปกครองของอังกฤษถูกบังคับให้สนับสนุนการทำสงครามด้วยการจัดหากำลังคนและทรัพยากรธรรมชาติให้แก่อังกฤษ ซึ่งสภาคอนเกรสของอินเดียได้ปฏิบัติตามด้วยหวังว่าอังกฤษจะมอบโอกาสให้อินเดียปกครองตัวเอง แต่อังกฤษก็ทำให้ชาวอินเดียผิดหวัง และนำไปสู่ยุคของมหาตมา คานธี ระหว่างสงคราม ทหารอินเดียและแรงงานถูกส่งออกไปปฏิบัติการกว่า 1.3 ล้านคนทั้งในทวีปยุโรป แอฟริกาและตะวันออกกลาง ขณะที่รัฐบาลอินเดียและราชวงศ์ส่งเสบียงอาหาร เงินและเครื่องกระสุนเป็นจำนวนมาก หลังสงคราม มีทหารอินเดียเสียชีวิตราว 48,000 คน และบาดเจ็บราว 65,000 คน


การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช
 
หนังสือ Ghadar di Gunj ซึ่งเป็นการรวบรวมงานเขียนเกี่ยวกับลัทธิชาตินิยมและลัทธิสังคมนิยม ถูกห้ามเผยแพร่ในอินเดียเมื่อปี 1913รัฐเบนกอลและรัฐปัญจาบนั้นเป็นแหล่งของขบวนการปฏิวัติอินเดีย ในรัฐเบนกอลนั้นมีการก่อการร้ายเพิ่มมากขึ้น และเชื่อมโยงกับความไม่สงบในรัฐปัญจาบ ผลที่เกิดขึ้นทำให้การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นด้อยประสิทธิภาพลง ประกอบด้วยตอนช่วงต้นของสงคราม ชาวอินเดียที่ถูกเนรเทศ โดยเฉพาะในเยอรมนี สหรัฐอเมริกาและแคนาดา นำโดยคณะกรรมการอิสระแห่งอินเดีย และพรรค Ghadar ได้พยายามก่อการกบฎในอินเดีย ซึ่งเรียกว่า การปฏิวัติอินเดีย (1857) โดย ลัทธิสาธารณรัฐนิยมอินเดีย จักรวรรดิเยอรมนีและจักรวรรดิออตโตมานได้มีส่วนช่วยเหลือในแผนการครั้งใหญ่ซึ่งถูกเรียกว่า แผนลับฮินดู-เยอรมัน แผนการดังกล่าวนั้นต้องการให้อเมียแห่งอัฟกานิสถานพยายามต่อต้านอินเดียของอังกฤษ (แผนเยอรมันสู่คาบูล) เริ่มต้นด้วยกระบวนการทางการเมืองซึ่งสุดท้ายก็ลงเอยด้วยการลอบสังหารอเมีย Habibullah และผลจาก สงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถานครั้งที่สาม ความล้มเหลวจำนวนมากในการพยายามแข็งเมืองต่ออังกฤษในอินเดีย แผนการที่โด่งดังได้แก่ แผนการแข็งเมืองเดือนกุมภาพันธ์และการแข็งเมืองสิงคโปร์ การเคลื่อนไหวดังกล่าวถูกกำจัดโดยปฏิบัติการตอบโต้หน่วยข่าวกรองจากนานาชาติและพระราชบัญญัติทางการเมือง ซึ่งรวมไปถึง พระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งอินเดียปี 1915 ซึ่งถูกประกาศใช้เป็นเวลาเกือบสิบปี

พรรค Ghadar นั้นก็ได้พยายามบุกรุกอาณาเขตทางชายแดนด้านตะวันตกของอินเดีย และได้เกณฑ์เชลยสงครามชาวอินเดียจากจักรวรรดิออตโตมาน เยอรมนีและแถบเมโสโปเตเมีย กบฎ Ghadar นำโดยอัมบา พรีแซด ได้สู้เคียงข้างทหารออตโตมานในอิหร่านและตุรกี ได้มีการเตรียมแผนการในคอนสแตนติโนเปิลซึ่งกำหนดว่าจะเคลื่อนทัพจากเปอร์เซีย ผ่านรัฐ Baluchistan และไปสู่รัฐปัญจาบ กองทัพกบฎได้มีส่วนร่วมในการรบประปรายและเสียเมือง Karman ซึ่งอยู่ใต้การอารักขาของกงสุลของอังกฤษ ภารกิจของนายพล Percy Sykes ในเปอร์เซียนั้นมุ่งไปยังการกำจัดกองกำลังเหล่านี้

ถึงแม้ว่าความขัดแย้งในอินเดียจะไม่เป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งนี้ แต่ว่ามันก็เป็นเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับแผนการยุทธศาสตร์ของอังกฤษ ฝ่ายอังกฤษนั้นพยายามที่จะปราบปราม ทำให้ต้องโยกย้ายกองกำลังบางส่วนมายังอินเดีย แทนที่จะส่งไปยังแนวรบด้านตะวันตก ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการสู้รบอยู่


สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงคราม
 
กองทัพพันธมิตรหลบภัยในสนามเพลาะระหว่างยุทธการแห่งแม่น้ำซอมม์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1917เหตุการณืในปี 1917 นั้นได้พิสูจน์ถึงชัยชนะของฝ่ายพันธมิตร และสงครามก็ใกล้จะจบลง แต่ว่าก็ยังไม่เห็นผลจนกระทั่งปลายปี 1918 ผลจากการปิดล้อมของกองทัพเรืออังกฤษนั้นทำให้เกิดผลกระทบใหญ่หลวงต่อเยอรมนี เยอรมนีได้โต้ตอบด้วยการออกปฏิบัติการเรือดำน้ำแบบไม่จำกัดขอบเขตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1917 โดยมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ การกำจัดเสบียงของฝ่ายตรงกันข้าม ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม เรือรบอังกฤษถูกยิงจมไปคิดเป็นปริมาณเฉลี่ยกว่า 500,000 ตันต่อเดือน โดยความสูยเสียที่สูงที่สุดมในเดือนเมษายน (กว่า 800,000 ตัน) หลังจากเดือนกรกฎาคม ระบบขบวนเรือคุ้มกันก็เริ่มได้ผล ทำให้เรือดำน้ำเยอรมันปฏิบัติการได้ยากขึ้น ระหว่างนั้น อุตสาหกรรมของเยอรมนีก็หยุดชะงักไป

ชัยชนะของฝ่ายมหาอำนาจกลางที่ยุทธการแห่งคาร์ปาเร็ตโตได้ส่งผลให้ฝ่ายพันธมิตรต้องมีการจัดตั้งสภาสูงสุดฝ่ายพันธมิตรขึ้น ตามผลของการประชุมราเพลโลเพื่อให้มีการวางแผนร่วมกันของผู้บัญชาการฝ่ายพันธมิตร ซึ่งก่อนหน้านั้น กองทัพอังกฤษและกองทัพฝรั่งเศสต่างก็แยกกันวางแผนต่างหาก

ในเดือนธันวาคม ฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ลงนามในสนธิสัญญาพักรบกับรัสเซีย ทำให้ฝ่ายมหาอำนาจกลางดึงทหารจำนวนมากมารบทางด้านตะวันตก เมื่อกองทัพเยอรมันและกองทัพอเมริกันที่เข้ามาใหม่มาเผชิญหน้ากันในแนวรบด้านตะวันตก จะเป็นการตัดสินผลของสงคราม ฝ่ายมหาอำนาจกลางรู้ดีว่าตนไม่สามารถเอาชนะการรบยืดเยื้อได้ แต่สามารถรอคอยเวลาสำหรับการรุกอย่างรวดเร็วได้ นอกเหนือจากนั้น ผู้นำฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลางต่างก็หวั่นเกรงต่อความไม่สงบของสังคมและการปฏิวัติที่มีมากขึ้นในทวีปยุโรป เพราะฉะนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงต้องการชัยชนะขั้นเด็ดขาดอย่างรวดเร็วเหมือนกันทั้งสองฝ่าย


ประธานาธิบดีวิลสันปราศรัยต่อสภาคองเกรสเกี่ยวกับการตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1917สหรัฐอเมริกาซึ่งเคยปฏิบัติตามลัทธิแยกตัวอยู่โดดเดี่ยว เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความขัดแย้งระหว่างประเทศและรักษาสันติภาพ เป็นผลให้เกิดความตึงเครียดในสหราชอาณาจักร เมื่อเรืออูเยอรมันจมเรือลูซิมาเนียของอังกฤษในปี 1915 ซึ่งมีชาวอเมริกันอยู่บนเรือ 128 คน ประธานาธิบดีวิลสันสาบานว่า "สหรัฐอเมริกามีทิฐิมากเกินกว่าจะสู้" และต้องการให้เยอรมนียกเลิกการโจมตีเรือพลเรือน ซึ่งเยอรมนีก็ยอมตาม แต่วิลสันก็ไม่สามารถที่จะเข้าประนีประนอมได้ เขาได้เตือนว่าสหรัฐอเมริกาจะไม่ทนต่อการใช้เรือดำน่ำโดยไม่จำกัด วิลสันได้รับแรงกดดันมาจากธีโอเดอร์ รูสเวลต์ ผู้ซึ่งเรียกการกะทำของเยอรมันว่าเป็นโจรสลัด ความต้องการของวิลสันที่จะได้นั่งเก้าอี้ในการเจรจาสันติภาพหลังสงครามเองก็เป็นส่วนสำคัญ ส่วนเลขาธิการแห่งรัฐ วิลเลียม เจนนิ่งส์ ไบรอันได้ลาออกเพื่อประท้วงต่อนโยบายผู้ค้าสงครามของวิลสัน ส่วนชาติอื่นที่ต้องการดึงสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงคราม รวมถึงข้อสงสัยที่ว่าเยอรมนีจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการวางระเบิดนครต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา

เมื่อถึงเดือนมกราคม 1917 หลังจากแรงกดดันของกองทัพเรือที่มีต่อจักรพรรดิไกเซอร์ ทำให้การใช้เรือดำน้ำแบบไม่จำกัดเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง หน่วยถอดรหัสของราชนาวีอังกฤษ ที่เรียกว่า ห้อง 40 สามารถแกะรหัสลับทางการทูตของเยอรมนีได้ ที่เป็นที่รู้จักกันในภายหลังว่า โทรเลขซิมเมอร์แมนน์ ถูกส่งมาจากเบอร์ลินไปยังเม็กซิโกโดยเชิญชวนให้เม็กซิโกเข้าเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและต่อต้านสหรัฐอเมริกา ซึ่งข้อความดังกล่าวได้เสนอว่า หากสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงคราม เม็กซิโกก็ควรจะประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและประกาศตัวเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น เนื่องจากการกระทำดังกล่าวน่าจะเป็นการดึงไม่ให้สหรัฐอเมริกาเข้ากับฝ่ายพันธมิตรและส่งทหารเข้าสู่ภาคพื้นยุโรป และให้เวลากับเรืออูเยอรมันที่จะทำลายเรือของอังกฤษและเสบียงจำนวนมาก เพื่อเป็นการตอบแทน เยอรมนีเสนอให้เม็กซิโกได้ดินแดนมลรัฐเท็กซัส มลรัฐนิวเม็กซิโกและมลรัฐแอริโซนา


โปสเตอร์เรียกระดมพลของสหรัฐอเมริกา โดยลูอิส ดี. แฟนเชอร์หลังจากที่อังกฤษได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่สหรัฐอเมริกาแล้ว ประธานาธิบดีวิลสัน ผู้ซึ่งชนะการเลือกตั้งใหม่ และความพยายามที่จะกันตัวเองในการเข้าไปพัวพันกับสงคราม เขาได้รีบเปิดเผยข้อความในโทรเลขนั้นแก่สาธารณชนเพื่อที่จะหาเสียงสนับสนุนการนำสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงคราม เขาเคยประกาศว่าจะวางตัวเป็นกลาง ขณะที่มีการส่งยุทธสัมภาระให้แก่อังกฤษ และให้การสนับสนุนการปิดล้อมทางทะเลแก่เยอรมนีอย่างลับ ๆ และวางทุ่นระเบิดในเขตน่านน้ำสากล และป้องกันไม่ให้เรือส่งอาหารส่งให้แก่เยอรมนี ภายหลังจากที่เรืออูเยอรมันจมเรือพาณิชย์อเมริกันไปเจ็ดลำ และมีการตีพิมพ์ข้อความในโทรเลขซิมเมอร์แมนน์ วิลสันก็ได้เรียกร้องให้มีการประกาศสงครามกับเยอรมนี ซึ่งสภาคองเกรสก็ได้ประกาศสงครามเมื่อวันที่ 6 เมษายน 1917

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่สงครามโดยอยู่ข้างเดียวกับฝ่ายพันธมิตร แต่ไม่เคยเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของฝ่ายพันธมิตรเลย โดยเรียกตัวเองว่าเป็น "อำนาจผู้ให้ความช่วยเหลือ" สหรัฐอเมริกามีกองทัพเพียงเล็กน้อย แต่กระนั้น ก็เป็นจำนวนกว่าสี่ล้านนาย และภายในฤดูร้อน 1918 ก็มีการส่งทหารใหม่กว่า 10,000 นายไปยังฝรั่งเศสทุกวัน ทางด้านฝ่ายเยอรมนีก็ประมาทสหรัฐอเมริกามากเกินไป เพราะเชื่อว่าการส่งกำลังพลมายังทวีปยุโรปต้องใช้เวลาหลายเดือน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น เรืออูของตนจะสามารถหยุดยั้งกองทัพอเมริกันเอาไว้ได้


ทหารแอฟริกันอเมริกันกำลังเดินสวนสนามในฝรั่งเศสกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้ส่งกองเรือรบไปยังสกาปาโฟลว์เพื่อเข้าร่วมกับกองเรือรบหลวงอังกฤษ และมีส่วนช่วยในการป้องกันกองเรือพาณิชย์ นาวิกโยธินจำนวนมากของสหรัฐอเมริกาได้ถูกส่งไปยังฝรั่งเศส ทางด้านอังกฤษและฝรั่งเศสต่างก็มีความต้องการให้ทหารอเมริกันเข้าเสริมกำลังในพื้นที่ และไม่ต้องการใช้เรือเพื่อเป็นการขนส่งเสบียง ซึ่งฝ่ายสหรัฐอเมริกาปฏิเสธความต้องการแรก แต่ยินยอมตามความต้องการข้อหลัง นายพลจอห์น เจ. เพอร์ชิง ผู้บัญชาการทหารอเมริกันต่างประเทศปฏิเสธที่จะใช้ทหารอเมริกันเพื่อเป็นกำลังสนับสนุนให้แก่ทหารอังกฤษหรือทหารฝรั่งเศส เขาได้มีแนวคิดที่จะใช้เพื่อเป็นการบุกทางด้านหน้าแทน ซึ่งทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสล้มเลิกวิธีการนี้ไปแล้ว เพราะว่าประสบกับความสูญเสียชีวิตจำนวนมหาศาล

ที่มาhttp://www.geocities.com/tri129/war1.html
     http://schoolnet.nectec.or.th/library/create-web/10000/history/10000-5933.html

สร้างโดย: 
พีรทิพย์ สุคันธเมศวร์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 471 คน กำลังออนไลน์