• user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('สุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย หมวด ศ ส', 'node/49077', '', '3.145.101.192', 0, '4ac7e55a27da814fa5e2b535b354ccde', 129, 1715931828) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.
  • user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บล็อก', 'blog/7179/feed', '', '3.145.101.192', 0, '4ac7e55a27da814fa5e2b535b354ccde', 499, 1715931848) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

สังคมการปกครอง อารยธรรมโรมัน

อารยธรรมโรมัน

สังคมการเมืองการปกครอง 

     อารยธรรมโรมันเกิดจากบริเวณคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปยุโรป โดยมีลักษณะเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เรียกว่า "แหลมอิตาลี"

    เดิมทีตามความเชื่อในตำนานเล่าว่า พวกแรกที่เข้ามาในอารยธรรมโรมันคือ "พวกอีทรัสกัน" เดิมทีมีถิ่นเดิมอยู่ในเอเชียไมเนอร์ และเมื่ออพยพเข้ามาในแหลมอิตาลีก็ได้นำเอาความเชื่อในศาสนาของกรีก ศิลปะการแกะสลัก การทำเครื่องปั้นดินเผา อักษรกรีก ฯลฯ เข้ามาเผยแพร่ในคาบสมุทรอิตาลี

    ชาวโรมันเดิมเป็นคนเชื้อสายอินโด-ยุโรเปียน ต่อมามีชาวอินโด-ยุโรเปียนกลุ่มหนึ่งเดินทางเข้ามาบุกรุกดินแดนของแหลมอิตาลี คนพวกนี้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณอิตาลีทางตอนเหนือและตอนกลาง และต่อมาก็ได้ผสมกลมกลืนกับพวกชนพื้นเมืองเดิม จนเกิดเป็นชนกลุ่มใหม่อีกกลุ่มหนึ่งมีชื่อว่า "อิตาลิค(Itslics) "  ชนพวกนนี้มีพัฒนาการที่มากขึ้นมากกว่าชนเผ่าเดิมในแหลมอิตาลี คนพวกนี้ตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่อยู่ใน"ลาติอุม(Latium)" ทางตอนใต้ของแม่น้ำ"ไทเบอร์(Tiber)"  มีชื่อเรียกว่า "พวกละติน(Latins)"

    ต่อมาพวกละตินได้มีการติดต่อกับพวกอีทรัสกัน จากนั้นพวกละตินนี้ก็ได้ขับไล่กษัตริย์ของอีทรัสกันออกจากบัลลังก์ และจัดตั้งโรมมีรูปแบบการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ อำนาจในการปกครองส่วนใหญ่เป็นของพวกคนชนชั้นสูง คือ พวกแพทริเชียน(Patricians)

    การปกครองของโรมันได้แบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่ม

1). พวกแพทริเชียน(Patricians) คือพวกชนชั้นสูง ได้แก่ กลุ่มผู้ดีมีสกุล มีความมั่งคั่งร่ำรวย พวกแพทริเชียน มีอำนาจในการปกครองสาธารณรัฐและพยายามรักษาอำนาจของตนด้วยการห้ามปะปนโลหิตกับพวกสามัญ

2).พวกเพลเบียน(Plebeians) คือ พวกชนชั้นต่ำ หรือสามัญ ได้แก่ ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ ซึ่งแทบจะไม่มีอำนาจหรือสิทธิทางการเมืองและสังคมเลย

    ต่อมาก็ได้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างพวกแพทริเชียนและเพลเบียน เกี่ยวกับอำนาจและสิทธิในสังคมทางการเมือง พวกเพลเบียนได้มีสิทธิออกกฏหมายร่วมกับพวกแพทริเชียน เป็นการออกประมวลกฏหมายเป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมัน เรียกว่า "กฏหมายสิบสองโต๊ะ"  (Law of the Twelve tables) ซึ่งถูกจารึกไว้บนแผ่นไม้ ถือกันว่าเป็นกฏบัตรแห่งเสรีภาพของประชาชนโรมัน และเพื่อใช้บังคับให้ชาวโรมันทุกคนปฏิบัติ อยู่ในกรอบเดียวกันของกฏหมาย กฏหมายสิบสองโต๊ะดังกล่าวนับว่าเป็นมรดกชิ้นสำคัญของโรม

                                      

 ต่อมาโรมได้ทำสงครามพิวนิก(Punic Wars) กับพวกคาร์เทจ และพวกคาร์เทจเองก็เป็นฝ่ายผ่ายแพ้ และต้องสูญเสียอาณาจักร เป็นการเปิดโอกาสให้โรมันเป็นเจ้าทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเป็นรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในขณะนั้น โดยผูกขาดการค้ากับยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออก และเอเชียไมเนอร์ จนมีฐานะมั่งคั่ง

     เมื่อ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช โรมันได้ยุติการปกครองในระบอบสาธารณรัฐและหันมาใช้การปกครองแบบจักรวรรดิอย่างเป็นทางการ ออคเทเวียน(Octavian)ได้รับสมญานามว่า ออกุสตุส(Augustus) และสภาโรมันยกย่องให้เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน

    ในคริสต์ศัตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันก็อ่อนแอลง ในที่สุดกรุงโรมก็ถูกพวกเผ่าเยอรมันหรือเผ่ากอท(Goth) หรอืโกล์ ซึ่งเป้นเผ่าที่ใหญ่ที่สุด เข้าปล้นและโจมตีกรุงโรม เมื่อสิ้นสุด โรมันก็เข้าสู้ยุคมืด

  

สร้างโดย: 
นางสาว ธัญญาพร เจริญพรสมบัติ ชั้น ม.6/4 เลขที่ 6
รูปภาพของ silavacharee

 

ตรวจแล้ว

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 365 คน กำลังออนไลน์