ประวัติท้องถิ่น...ของดีตำบลบ้านยาง

รูปภาพของ phuangphayorm1


มาเรียนรู้ประวัติท้องถิ่น...เกี่ยวกับตำบลบ้านยางกันครับ 

   ตำบลบ้านยาง...เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเกษตรสมบูรณ์  จังหวัดชัยภูมิ ครับ มีประวัติความเป็นมายาวนาน ที่อยากเล่าขานให้ได้รับรู้เพื่อเป็นสิ่งที่เตือนให้รัก และหวงแหนในถิ่นที่อยู่ของเรา กว่าจะมาถึงวันนี้ มีเหตุการณ์อะไรบ้างที่เกิดขึ้นมาในอดีต  ...ลูกหลานรุ่นใหม่ควรศึกษาเพื่อเป็นข้อคิดในการดำเนินชีวิต อย่างมีสตินะครับ  มี  6 ประวัติที่จะนำมาให้เรียนรู้กัน พร้อมแล้วตามมาเลยครับ

   มาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติพ่อเมือง...เกษตรสมบูรณ์กันครับ  
                                                      พระไกรสิงหนาท
 

                                  อนุสาวรีย์ของท่านตั้งอยู่ บ้านยาง หมู่ที่ 1 อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ 

    ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราว ร.ศ. 28 (พ.ศ.  2352)  ในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมืองเกษตรสมบูรณ์ มีเจ้าเมืองปกครองชื่อ  หลวงไกรสิงหนาท ขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์
          หลวงไกรสิงหนาท เป็นลูกเจ้าเมืองเวียงจันทน์ เข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับเจ้าพ่อพระยาแล  หลวงไกรสิงหนาท เป็นผู้มีอำนาจวาสนา ปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยความร่มเย็นเป็นสุข มีความดีความชอบ และจงรักภักดีต่อพระเจ้ากรุงสยาม  จึงได้เลื่อนชั้นบรรดาศักดิ์เป็นพระไกรสิงหนาท เนื่องจากท่านไม่มีบุตร และธิดา เมื่ออายุมากหากล้มตายลงเกรงว่าบ้านเมืองจะเกิดความวุ่นวาย แย่งชิงอำนาจขึ้นจึงมอบอำนาจให้ นายฦาชา  ซึ่งเป็นหลานชายและรายงานให้กรุงรัตนโกสินทร์รับทราบ  นายฦาชา หลานชายได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงไกรสิงหนาท เป็นเจ้าเมืองเกษตรสมบูรณ์ คนที่ 2 ท่านได้ทำความดีความชอบ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็ง  ซื่อสัตย์สุจริต จึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระไกรสิงหนาทในเวลาต่อมา พระไกรสิงหนาท(ฦาชา)  มีบุตรชาย  3 คน คือ ท้าวบุญมา ท้าวบุญคง  และท้าวบุญจัน  เมื่อชราภาพลงได้รายงานกรุงรัตนโกสินเพื่อมอบอำนาจให้ท้าวบุญมา บุตรชายคนที่ 1 เป็นเจ้าเมืองแทน และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงไกรสิงหนาท (บุญมา)  

         
ส่วนพระไกรสิงหนาท(ฦาชา) ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภักดีฦาชัยจางวาง 
เมื่อ ร.ศ. 115(พ.ศ. 2439)  ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) หลวงไกรสิงหนาท ซี่งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองแกล้ว ได้ย้ายเมืองจากกุดเงือก(บ้านยาง) ไปตั้งเมืองที่บ้านโนนเสลา(ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอภูเขียว)  เห็นว่าเหมาะสมและอยู่กึ่งกลางพอดี  เหมาะแก่การปกครอง เพราะอาณาเขตของเมืองเกษตรสมบูรณ์กว้างใหญ่มาก (เขตอำเภอแก้งคร้อ บ้านแท่น ภูเขียว คอนสาร หนองบัวแดง ภักดีชุมพล อยู่ในอำเภอเกษตรสมบูรณ์สมัยนั้น) หลวงไกรสิงหนาทเป็นเจ้าเมือง ท่านไม่ได้เก็บส่วยภาษีจากราษฎร ท่านให้กรมการเมืองนำราษฎรไปขุดร่อนทองคำที่เขาพระยาฝ่อในเขตตำบลนางแดด( อำเภอหนองบัวแดงปัจจุบัน) หลอมเป็นแท่ง ๆ ส่งไปถวายแก่เจ้ากรุงสยามเป็นเครื่องราชบรรณาการทุกปี ด้วยความดีความชอบได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระไกรสิงหนาทคนที่   

                                         
พระไกรสิงหนาท(บุญมา) ได้ย้ายเมืองจากบ้านโนนเสลา ไปตั้งที่บ้านลาดหนองสามหมื่น(เขตอำเภอภูเขียว) และย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านยาง คือ ที่ตั้งอำเภอเกษตรสมบูรณ์ในปัจจุบัน ให้กรมการเมืองปลูกสร้างจวนอย่างใหญ่โต มีการสร้างกำแพงเมือง โดยเอาซุงมาตัดเป็นท่อนฝังเป็นพืดล้อมรอบจวนเจ้าเมือง  และปลูกต้นตาลเป็นแถวสำหรับผูกช้าง  และท่านพิจารณาว่าตำบลนางแดด  และตำบล
หนองบัวแดงอยู่ไกลยากแก่การติดต่อราชการ จึงรายงานไปยังกรุงรัตนโกสินทร์  ขอแต่งตั้งให้พระชุมพลภักดี ปกครอง
ตำบลนางแดดและตำบลหนองบัวแดง  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเกษตรสมบูรณ์

          พระไกรสิงหนาทเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้ากรุงรัตนโกสินทร์มาก เป็นเจ้าเมืองที่ปกครองประชาชนด้วยความร่มเย็นเป็นสุข  ท่านเป็นคนซื่อสัตย์  สนใจพระพุทธศาสนา ชาวอำเภอเกษตรสมบูรณ์  จึงถือว่าท่านเป็นผู้สร้างและพัฒนาให้เกิดอำเภอเกษตรสมบูรณ์  จนถึงปัจจุบัน
                       
   
 พระธาตุกุดจอก

           ตามหลักฐานปรากฏในพงศาวดารลาวว่า ประมาณปีพุทธศักราช  1578  ก่อนที่ชนชาติขอมจะมามีอำนาจ  อาณาจักร  ล้านช้างได้แผ่ขยายอำนาจ มาปกครองพื้นที่ภาคอีสานจนถึงเขตเมืองละโว้  (ปัจจุบัน คือ เมืองลพบุรี) ชาวอาณาจักรล้านช้าง ได้นำเอาวัฒนธรรมประเพณีมาเผยแพร่  และประดิษฐานไว้ จะเห็น จากการก่อสร้างองค์พระธาตุกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในท้องที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์  พระธาตุกุดจอก เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่และสำคัญต่อชาวอำเภอเกษตรสมบูรณ์ เป็นอย่างยิ่ง  มีอายุประมาณ  1,200  ปี แต่เดิมมีองค์พระธาตุอยู่  3 องค์  คือ  องค์แรกมีความสูงประมาณ  15 เมตร  มีลักษณะคล้ายสถูป  บนยอดพระธาตุมีเศียรพญานาค 8 เศียร อยู่รอบทั้งแปดทิศ  ปัจจุบันชำรุดพังลงเหลือเพียงเศียรเดียวและมีพระพุทธรูปปางถวายเนตร  ประทับยืนทอดพระเนตรไปข้างหน้าด้วยพระอาการสำรวม  พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาด้านหน้าพระเพลาโดยพระหัตถ์ขวาซ้อนพระหัตถ์ซ้ายประดิษฐานอยู่ด้านใน สำหรับองค์ที่สองนั้นได้พังลงเหลือเพียงครึ่งเดียว  และองค์ที่สามซึ่ง ตั้งอยู่ด้านหลังองค์ใหญ่ได้ถูกพวกมิจฉาชีพขุดและทำลาย เพื่อค้นหาพระหรือวัตถุโบราณ หลบหนีตาย สักครู่หนึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวก็จะหายไป  จึงรู้ว่าไม่มีฝนตกและน้ำท่วม  ทำให้ได้รับบาดเจ็บ ประชาชนเรียกชื่อว่า  พระธาตุกุดจอก  เนื่องจากมีลำห้วยกุดจอกอยู่ใกล้ ๆ ทางทิศเหนือ เดิมเป็นลำห้วยที่ยาวมีน้ำลึกมาก  เป็นที่อยู่อาศัยของจระเข้เผือกที่ดุร้าย  และฝูงจระเข้เป็นบริวารจำนวนมาก  ในด้านอภินิหารนั้น ผู้สูงอายุได้เห็นเหตุการณ์ เล่าว่า  หากผู้ใดพูดจาหรือแสดงกริยาอาการลบหลู่  หรือไม่เคารพจะมีอันเป็นไปทันที เช่น ฝูงจระเข้จะขึ้นมาจากลำห้วยรุมทำร้ายกัดฉีกกินเป็นอาหาร  บางครั้งเกิดมหัศจรรย์ กล่าวคือ มีลมหมุนพัดแรงคล้ายฝนตก น้ำท่วมบริเวณรอบ ๆ พระธาตุ  ผู้คนจึงพยายาม

            ในอดีตและปัจจุบัน  ประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านบริเวณข้างเคียงศรัทธาเลื่อมใสมาก จะพากันหลั่งไหลมานมัสการพระธาตุกุดจอก จัดงานประเพณี สรงน้ำพระธาตุ ในวันขึ้น  15  ค่ำ เดือน  5 ของทุกปี โดยมิได้นัดหมายกัน   และชาวบ้านยางน้อย ได้จัดงานรักษาขนบธรรมเนียมไว้ทุกปี บางครั้งมีการจัดงานประจำปี  3 วัน  3 คืน มีมหรสพสมโภชยิ่งใหญ่มาก

                     

                                                        หลวงปู่ต้อน
                                                   
                         ประดิษฐานอยู่ในโรงเรียนชุมชนบ้านเมืองเก่า
หมู่ที่  12  ตำบลบ้านยาง
อำเภอเกษตรสมบูรณ์  จังหวัดชัยภูมิ

           หลวงปู่ต้อน เป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งในสมัยโยคะ มีประชาชนศรัทธานับถือมาก  ตามประวัติที่เล่าลือกันสืบมา ท่านเป็นคนบ้านเมืองเก่า มีต้นตระกูลเกิดที่บ้านเมืองเก่า  ไม่มีผู้ใดทราบชื่อบิดามารดาของท่าน  ทราบแต่เพียงว่าท่านเป็นพี่ชายของนายจันทา  นายจันทาได้แต่งงานกับนางปา ซึ่งเป็นแม่ของคุณย่าเหลือง หินเมืองเก่า หลวงปู่ต้อนเกิดในสมัยรัชกาลที่  3  ขาของท่านพิการข้างหนึ่งมาตั้งแต่เด็ก  เด็ก ๆ เดินขาเขยกหรือขาต้อน คนจึงเรียกชื่อท่านว่า ต้อน  ท่านบวชตั้งแต่สมัยเป็นสามเณร และอุปสมบทต่อเป็นพระภิกษุโดยไม่เคยสึกเลย เป็นพระที่เป็นผู้นำสร้างวัดแจ้งบ้าน เมืองเก่า ตำบลบ้านยาง  อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ  ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน มีความรู้ด้านไสยศาสตร์ มีวิชาอาคมแก่กล้าสามารถปลุกเสกเครื่องรางของขลัง และอยู่ยงคงกะพันเป็นที่เลื่องชื่อลือชา  ของคนทั่วไปในเขตภูเขียวอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ และหนองบัวแดงในสมัยโบราณ

ในสมัยรัชกาลที่ 4พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้รับ สมณศักดิ์เป็นพระครูพิพัฒน์ศีลคุณ
  พระครูองค์แรกของอำเภอภูเขียว ประชาชนให้ความเคารพนับถือ  ศรัทธามาก ผู้ใดจะไปศึกสงคราม หรือออกจากบ้านเสี่ยงโชคหางานทำที่ห่างไกล หรือประกอบอาชีพทำมาค้าขายใด ๆ  ก็ตามจะมาขอให้ท่านปลุกเสกเครื่องรางของขลังผ้ายันต์เพื่อป้องกันภัยอันตรายให้เกิด ศิริมงคลเป็นประจำ   ด้านอภินิหาร มีคนเล่าต่อกันมาว่า ท่านสามารถปลุกเสกหญ้า หรือใบไม้ หรือขึ้นฝึกต่อสู้กับข้าศึกศัตรูหรือขับไล่ภูตผีปีศาจ ได้ครั้งหนึ่ง มีคนขี่ม้าเข้าไปในวัด ม้าเกิดชักล้มทั้งยืน ทำอย่างไรก็ไม่หายเจ้าของม้าได้ไปกราบขอขมาท่าน มาจึงหายชัก  หลายครั้งที่ผู้คนใส่รองเท้าขึ้นไปบนกุฏิ  แล้วมีอันเป็นไปปวดหัว เจ็บท้อง ชักดินชักงอ  พอไปกราบขอขมาท่านอาการดังกล่าวก็หายไป

             
หลวงปู่ต้อนเป็นคนที่พูดจาน่าเกรงขาม  ค่อนข้างดุคนกลัวมาก  พูดอย่างไรต้องเป็นอย่างนั้น มีอายุประมาณ  80 ปีเศษ ก่อนมรณภาพท่านได้บอกไว้ว่า  หากตายไปให้นำศพไปเผาและฝังหลักเสนี้เป็นที่เคารพสักการะของผู้คน พากันกราบไหว้มาโดยตลอด และเคยแสดงอภินิหารให้คนเห็นหลายครั้ง  เช่น ครั้งหนึ่งมีหนุ่มคนจีนคนหนึ่งขับรถยนต์ สมัยเก่ามาถึงหลักเสหลวงปู่ต้อน  ได้พูดขึ้นว่า
หลักอะไรทำไมมีคนไปกราบไหว้บูชา เพียงพูดเท่านั้น  รถยนต์ก็ไม่สามารถขับไปได้ทั้งที่ดินแห้ง เจ้าของรถเก่งเครื่องรถยนต์จนฝุ่นตลบ  ไต่ไม่สามารถแล่นไปได้ คนจึงแนะนำให้ไปกราบขอขมาหลักเส  ชายคนนั้นจึงขับรถไปได้  ครั้งหนึ่งมีคนนำช้างมาแสดงให้คนดูที่ลานหญ้าข้างวัดแจ้งบ้านเมืองเก่าก่อนการแสดงได้นำช้างเข้าไปกินใบใผ่ใกล้ ๆ บริเวณหลักเสหลวงปู่ต้อน คนจึงบอกไม่ให้นำช้างไปไว้บริเวณนั้น เจ้าของช้างไม่เชื่อ ปรากฎว่าช้างตื่นตกใจร้องแปร๋นวิ่งหนีไป  เจ้าของตามไปจับได้พยายามนำช้างมาแสดงแต่ช้างก็ไม่ยอม คนจึงแนะนำให้ไปกราบขอขมาหลวงปู่ต้อน จึงสามารถนำช้างกลับมาแสดงให้คนดูได้

                                   
         
ครั้งหนึ่ง อาจารย์เปล่ง ศิลปยามานันท์ ครูสอนโรงเรียนวัดแจ้งบ้านเมืองเก่า เห็นว่าที่ดินนั้นเป็นที่จองไว้สำหรับสร้างโรงเรียนและทำสนามกีฬา จึงได้ขุดเอาหลักเสออกและนำไปฝังไว้ที่วัดแจ้งได้เพียง  2
3วันเท่านั้น ก็เกิดป่วยเสียสติ หนีโรงเรียนไปสอนตามป่าอยู่ประมาณเกือบครึ่งเดือน คนจึงได้นำพามาขอขมาและนำหลักเสกลับไปฝังไว้ที่เดิม จึงหายป่วยและกลับมาสอนโรงเรียนได้ตามปกติ  ต่อมาเมื่อวันที่  3  กันยายน 2515 อาจารย์เสงี่ยม  หว้าพิทักษ์ ครูใหญ่และนายเข็มชัย หินเมืองเก่า ทำหน้าที่ผู้ช่วยครูใหญ่โรงเรียนบ้านเมืองเก่า สมัยนั้น ได้นำคณะครู ประชาชนบ้านเมืองเก่า ทำพิธีสักการะบวงสรวงขอย้ายหลักเสออกจากบริเซรที่จะสร้างสนามฟุตบอล ไปประดิษฐ์ไว้ที่ข้างสนามและก่อสร้างเจดีย์ครอบหลักเส  เป็นอนุสาวรีย์สร้างรูปปั้นหลวงปู่ต้อน ประดิษฐานไว้ในเจดีย์ ณ บริเวณที่ตั้งปัจจุบัน ทำพิธีบวงสรวงสักการะ และจัดงานฉลอง 3 วัน 3 คืนให้คนได้ไปกราบไหว้บูชาในวันเพ็ญเดือน 3
    ต่อมา พ.ศ. 2527 ชาวบ้านได้พร้อมใจกันสร้างเหรียญหลวงปู่เป็นที่ระลึกให้คนที่เลื่อมใสศรัทธานำไปกราบไหว้บูชา เพื่อเป็นศิริมงคงสวัสดี มีชัย 
ในวันเพ็ญ
วันเพ็ญเดือน  3 ทุกปี  ชาวบ้านเมืองเก่า จะพร้อมกันจัดงานกุศลประเพณีนมัสการหลวงปู่ต้อน เป็นงานใหญ่ประเพณีประจำปี ของหมู่บ้าน  มีมหรสพสมโภช  ผู้คนจะหลั่งไหลมากราบคารวะอย่างเนืองแน่นตลอดมาจนถึงปัจจุบัน             
                             
 

                                            พระธาตุท่าเลิง(งูทรวง)

                                   
                             ตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่า  หมู่ที่  11 
                 ตำบลบ้านยาง
อำเภอเกษตรสมบูรณ์  จังหวัดชัยภูมิ

      ในสมัยโบราณเดิม อำเภอเกษตรสมบูรณ์  จะเรียกว่า เมืองเก่าหรือ เมืองกลาง จะมีกองทัพและชนชาวลาวได้ยกทัพมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหนองจอก  (พระธาตุกุดจอกในปัจจุบัน ) เพราะเห็นว่ามีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การตั้งกองทัพ และถิ่นฐานต่อมาชาวบ้านได้เชื่อว่ามีงูทรวง หรือพญานาค ลงมาจากเขาเขียว และงูทรวงได้มาอาศัยอยู่บริเวณพระธาตุกุดจอก  เมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นลานกว้าง มีหญ้าขึ้นรอบ ๆ งูจะลงมาเล่นในหนองน้ำทุก ๆวันขึ้น  15 ค่ำ  ตรงที่งูอาศัยอยู่จะมีลักษณะเป็นรอยแป่ว( แป่ว คือ  รูที่มีลักษณะเป็นช่อง หรือ รูที่สัตว์ใช้สำหรับหายใจ,หลบภัย)


งูทรวงหรือพญานาค  จะออกมาอาละวาดชาวบ้านที่อยู่ในละแวกนั้น  ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าออกไปประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ชาวบ้านเดือดร้อนมาก  ไม่มีใครสามารถทำร้ายงูทรวงได้  ในที่สุดก็มีคนแปดศอกเป็นชาวรามัญ  ได้นำกำลังคนมาสร้างองค์พระธาตุปิดแป่วไว้ คือ พระธาตุกุดจอกเป็นส่วนหัวของงู  พระธาตุหอแดง หรือพระธาตุขี่อ้น พระธาตุงูทรวง(ท่าเลิง) คือ  ส่วนหางของงู  เป็นที่น่าประหลาดใจยิ่ง  ตั้งแต่สร้างพระธาตุครอบไว้  ชาวบ้านไม่ได้รับอันตรายใด    อีกเลย  ชาวบ้านจะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ  ทำพิธีบวงสรวงทุกปี  ในวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน 5  มีการแห่บั้งไฟ  จุดพลุฉลอง  ร่วมกันทำบุญตักบาตร  ทำความสะอาดองค์พระธาตุ

ปู่ตาแสง

                                    ประดิษฐานอยู่ที่บ้านเมืองเก่า  หมู่ที่  5 
                        ตำบลบ้านยาง
อำเภอเกษตรสมบูรณ์  จังหวัดชัยภูมิ

              ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประมาณ  ..  2320  ที่บ้านเมืองเก่า เดิมตั้งเป็นเมืองเล็ก  ๆ เมืองหนึ่ง  มีหลวงไกรสิงหนาทเป็นเจ้าเมือง แต่ไม่มีบุตร  จึงตั้งนายฦาชา ซึ่งเป็นหลาน ขึ้นเป็นบุตรบุญธรรม เป็นเจ้าเมืองแทน และได้อพยพประชาชนไปตั้งเมืองใหม่ชื่อว่า  เมืองยาง  แต่มีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งประมาณ   30  ครอบครัว  ไม่อพยพไปด้วยซึ่งมีตาแสง  เป็นหัวหน้า  ขออนุญาตตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่ที่เดิม  พระยาไกรสิงหนาทจึงได้ตั้งตาแสงเป็นหัวหน้าปกครองหมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้านเมืองเก่า  และคอยสอดแนมข้าศึกษาศัตรูที่ยกทัพผ่านมา และรีบส่งข่าวให้ทราบ  นายแสงเป็นคนที่รูปร่างใหญ่  อยู่ยงคงกระพัน  ชอบการต่อสู้และชอบผจญภัย    ครั้งหนึ่งตาแสงออกตรวจดูแลความสงบเรียบร้อยของหมู่บ้านในตอนกลางคืน  ได้พบทหารเวียงจันทน์  จำนวน  3  คนมาลาดตระเวน และเกิดการต่อสู้กัน  ตาแสงได้ฆ่าข้าศึกตายทั้ง  3  คน ตาแสงได้ปกครองหมู่บ้านด้วยความร่มเย็นเป็นสุขจนชราภาพ  และได้ถึงแก่กรรมลง  ชาวบ้านจึงได้นำศพไปฝังไว้บริเวณทิศตะวันตกของหมู่บ้าน  ชาวบ้านได้สร้างศาลปู่ตาแสงไว้เคารพสักการะบูชา  เรียกว่าศาลเจ้าพ่อหัวแสง  และปัจจุบัน ได้จัดงานประเพณีนมัสการเจ้าพ่อหัวแสงเป็นประจำทุกปี    ในวันพุธที่สองของเดือน 6 (นับตามปีไทย)

                                           พระเจ้าองค์ตื้อ
                                        
ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าเดื่อ  หมู่ที่  9  ตำบลบ้านยาง  อำเภอเกษตรสมบูรณ์  จังหวัดชัยภูมิ
          ปี  2498  นายหา  สีทา  ผู้ใหญ่บ้านท่าเดื่อนำเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร สำรวจโบราณวัตถุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และได้สำรวจวัดพระเจ้าองค์ตื้อ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำพรม  เนื้อที่ประมาณ  9 ไร่เศษ  ซึ่งสร้างในสมัยโบราณเก่าแก่หลายพันปี  ในสมัย โบราณบริเวณแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรลาว   ซึ่งจากการสันนิษฐาน

          เมื่อประมาณ  ค.ศ. 300  ลาวเป็นใหญ่ในแคว้นนี้ โบราณวัตถุมักจะสร้างข้าง ๆแม่น้ำใหญ่ ๆ เพื่ออาศัยแม่น้ำลำเลียง  ก้อนหินและไม้มาก่อสร้างองค์พระประธาน(พระเจ้าองค์ตื้อ)  ก่อสร้างด้วยอิฐ  ฉาบด้วยยางไม้ทั้งองค์  หน้าตักกว้าง 3 เมตร  สูง 4.2 เมตร  เป็นพระปรางค์ประทานพร  พระองค์และยอดพระเกศา ได้ปรักหักพังไปตามกาลเวลา เมื่อปี พ.ศ. 2504  ได้มีการซ่อมแซมบางส่วน แต่ฝีมือหยาบมาก ไม่เหมือนของที่มีอยู่เดิม
       
     
     ปี  2506 หลวงปู่เต้ กิตฺติธมฺโม  ซึ่งเป็นพระนิกายธรรมยุต   ได้ธุดงค์มาปักกรดที่วัดพระเจ้าองค์ตื้อ และได้ชักชวนชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ญาติโยม บูรณะปฏิสังขรณ์สร้างกุฏีขึ้น 1 หลัง  ศาลาการเปรียญ  1 หลัง  ฐานอุโบสถก่อสร้างด้วยอิฐ ฉาบด้วยยางไม้ กว้าง  8เมตร ยาว 16 เมตร  เมตร  เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จ  3 ปีท่านก็ธุดงค์ต่อไป           
           ปี  2510 นายหา สีทา เสียชีวิต และนายลุน  ขิดภูเขียว เป็นผู้ใหญ่บ้านแทน และได้ยื่นเรื่องให้ทางราชการออก น.ส. 3 ก. บริเวณวัดประเจ้าองค์ตื้อ ในปี  2518  พร้อมกับชาวบ้านได้นืมนต์ หลวงปู่แอ็ด  จิตฺธมฺโม  จากจังหวัดขอนแก่นเป็นเจ้าอาวาส 
และใน        
           วันที่
 
28 มกราคม  2536  นายลุน ขิดภูเขียว เกษียณอายุราชการ นายสนาม  ไผ่โสภาได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านสืบแทน และได้บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งปลูกสร้างให้มั่นคงแข็งแรงสืบมา
           ปี  2538  ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงปู่จันทร์ และหลวงปู่แป้น มาจำพรรษา จนถึงปัจจุบัน 
 ปี  2541  นายสนาม  ไผ่โสภา  หมดวาระ นายประเนียร  ฦาชา  ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านแทน และได้บูรณะต่อเนื่องกับคณะกรรมการหมู่บ้าน ได้รับปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาคจำนวนมาก
  
                                          

สร้างโดย: 
นางพวงพยอม เจียมภูเขียว

ผมมีโอกาสไปที่พระธาตุกุดจอกอีกครั้ง ( กลับไปเยี่ยมบ้านเกิด )หลังจากมาทำงานที่ต่างจังหวัด 10 กว่า ปี องค์พระยังสมบูรณ์ดี
อยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรักษาไว้ให้ดี เพราะสิ่งที่มีค่าคู่บ้านคู่เมืองถ้าถูกทำลายหรือหายไปคงรู้สึกไม่ดีกันทังหมด

รูปภาพของ phuangphayorm1

ประชาชนชาวบ้านยางน้อย มีการจัดบุญประเพณีในช่วงเดือนเมษายน ในงานบุญนมัสการพระธาตุกุดจอก  ปีนี้หากมีโอกาสขอเชิญร่วมงานนะคะ  ขอสนับสนุนความคิดเห็นค่ะ ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องระดับอำเภอ  ตำบล และหมู่บ้าน ทุกหน่วยงานร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่บ้านไป เป็นแหล่งรวมใจของลูกหลานในอนาคตนะคะ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 294 คน กำลังออนไลน์