กำเนิดสุริยะจักรวาล

รูปภาพของ phannapa

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


กำเนิดสุริยะจักรวาล

   จักรวาลของเราที่มีดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางนั้นได้ ถือกำเนิดมาจากกลุ่มแก๊สร้อนกลุ่มหนึ่ง ของทางช้างเผือก เมื่อประมาณ 5,000 ล้านปีมาแล้ว จักรวาลนี้เป็นจักรวาลที่มีความไม่ธรรมดา อยู่หลายประการ เช่น มีสิ่งมีชีวิต มีวงโคจรของดาวเคราะห์บริวารของจักรวาลนี้ ที่แทบจะอยู่ในระนาบเดียวกันหมด นอกจากนี้ดาวเคราะห์ส่วนมาก จะหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียวกัน ยกเว้นดาวศุกร์และพลูโต ซึ่งหมุนสวนทิศกับดาวดวงอื่นๆ ที่แปลกสุดแปลกคือดาวมฤตยูนั้น จะตะแคงตัวหมุน ครั้นเมื่อนักดาราศาสตร์ เปรียบเทียบความเร็วในการโคจร ของดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์แล้ว เขาก็พบว่าดวงอาทิตย์ของเรา หมุนช้าอย่างแทบไม่น่าเชื่อ แค่นี้ยังไม่พอ นักวิทยาศาสตร์ก็ยังรู้แปลก ที่ยังตอบไม่ได้ว่าเหตุใดดวงจันทร์ ของโลกและดวงจันทร์ของดาวพลูโตจึงมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับดาวแม่ ในขณะที่ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์อื่นๆ นั้นเล็กนิดเดียว และดวงจันทร์เหล่านั้นมาจากไหน เหตุใดดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์จึงประกอบด้วยธาตุหนัก แต่เหล่าดาวที่อยู่ไกลจึงมีองค์ประกอบที่เป็นธาตุเบา เหตุใด เหตุใด และเหตุใดทฤษฎีใดๆ ของสุริยจักรวาลที่ถูกต้อง และสมบูรณ์จะต้องอธิบายและตอบคำถามต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ได้หมด

ในอดีตเมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว นักดาราศาสตร์เคยวาดฝันเกี่ยวกับกำเนิดของสุริยจักรวาลว่าได้มีดาวฤกษ์ดวงใหญ่อีกหนึ่งดวงโคจรมาใกล้ดวงอาทิตย์ของเรา และแรงดึงดูดอันมหาศาลของดวงดาวนั้นได้ดึงดูดแก๊สร้อนจากดวงอาทิตย์ให้หลุดปลิวลอยไปในอวกาศ เมื่อแก๊สนั้นเย็นลง มันจึงจับตัวแข็งเป็นดาวเคราะห์ แต่หลักฐานต่างๆ ในปัจจุบันส่อแสดงให้เห็นแล้วว่า ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ต่างๆ นั้นเกิดมาพร้อมๆ กัน ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงต้องตกไป

ส่วนนักปราชญ์ชื่อ Kant และนักฟิสิกส์ชื่อ Laplace นั้นเคยเชื่อว่า สุริยจักรวาลเกิดจากกลุ่มแก๊สที่หมุนรอบตัวเองจนมีลักษณะเป็นจานกลมเมื่อส่วนต่างๆ ของขอบจานเย็นลงมันจะหดตัวและจับตัวรวมกันเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ แต่ถ้าทฤษฎีนี้เป็นจริง เมื่อดาวเคราะห์ต่างๆ ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว ดวงอาทิตย์ก็ควรจะหมุนเร็วขึ้น แต่กลับปรากฏว่าดวงอาทิตย์นั้นหมุนช้ามาก ทฤษฎีนี้จึงต้องมีการปรับปรุง 

 จักรวาล

 เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เอาเสียเลย สำหรับมนุษย์ที่จะรู้ขนาดของจักรวาล เราไม่เพียงไม่รู้ว่าจักรวาลใหญ่แค่ไหนหากยังลำบากในการ จินตนาการว่ามันจะใหญ่แค่ไหนอีกด้วย หากเราเริ่มจากโลกของเรา และค่อยๆเคลื่อนออกไป โลกของเราเป็นส่วนเล็กๆของ ระบบสุริยจักรวาลซึ่งประกอบ ไปด้วยดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ที่ โคจรรอบๆดวงอาทิตย์ และดาวดวงเล็กอื่นๆ และระบบสุริยจักรวาลก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรา เรียกว่า กาแล็กซี่ ซึ่งประกอบไปด้วยดาวหลายล้านดวง และในบรรดาดาวเหล่านี้ มีดาวไม่น้อยที่มีขนาดใหญ่กว่า วงอาทิตย์ของเรา มากนัก และอาจมีระบบสุริยะของมันเอง

ดังนั้นดาวทุกดวงที่เรามองเห็นในกาแล็กซี่ของเราซึ่งเรียกว่า ทางช้างเผือกนั้นล้วน เป็นดวงอาทิตย์ ดาวเหล่านี้ อยู่ห่างจากเรามากจนต้องใช้ หน่วยวัดเป็นปีแสงแทนที่จะเป็นไมล์ ใน 1 ปีแสงเดินทางได้ประมาณ 6,000,000,000,000 ไมล์ ดาวที่ส่องแสงสว่าง ที่อยู่ใกล้โลกเรา มากที่สุดคือ Alpha Centauri ซึ่งห่างจากโลกเราประมาณ 25,000,000,000,000 ไมล์ อย่าลืมว่าตอนนี้เรากำลังพูดถึง กาแล็กซี่ของเราเท่านั้นที่ประมาณว่า มีความกว้าง ประมาณ100,000 ปีแสง หรือ 100,000 x 6,000,000,000,000 ไมล์! และกาแล็กซี่ของเราเป็นเพียง ส่วนประกอบเล็กๆของระบบที่ใหญ่กว่าอาจจะมี หลายล้านกาแล็กซี่นอกจากทางช้างเผือก ของเรา และกาแล็กซี่เหล่านี้อาจจะเป็น ส่วนประกอบ เล็กๆของระบบที่ใหญ่ ขึ้นไปกว่า จะเห็นได้ว่าเป็นไปไม่ได้เลย ที่เราจะรู้ขนาดของจักรวาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า จักรวาลนั้นกำลังขยายขนาด ขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายความว่า ทุกๆ 2 พันล้านปี กาแล็กซี่ 2 กาแล็กซี่จะมีระยะทางห่างกัน2 เท่า

ดวงอาทิตย์

 ลักษณะทั่วไปของดวงอาทิตย์และดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ

ดวงอาทิตย์เป็นดาวที่สร้างพลังงานต่าง ๆ ขึ้นมาเอง จึงเรียกว่าดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็กที่มีอุณหภูมิพื้นผิวสูง 6000 เคลวิน (หน่วยวัดอุณหภูมิ) จึงจัดว่าเป็นดาวฤกษ์สีเหลือง เพราะมีอุณหภูมิสูงและเป็นดาวฤกษ์หลัก อายุประมาณ 5 พันล้านปี ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลกประมาณ 109 เท่า ดวงอาทิตย์มีเนื้อสารมากและมีแรงโน้มถ่วงสูง จึงสามารถดึงสิ่งต่าง ๆ ให้เคลื่อนไปรอบ ๆ ได้ เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าบริวารของดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์และบริวารรวมกันเรียกว่า ระบบสุริยะ บริวารของดวงอาทิตย์ที่สำคัญ คือดาวเคราะห์ 9 ดวง ดวงจันทร์ บริวารดาวเคราะห์รวมกันกว่า 60 ดวง ดาวเคราะห์น้อยหลายหมื่นดวงและดาวหางจำนวนมาก ระบบสุริยะจึงเป็นระบบเล็ก ๆ ที่อยู่ท่ามกลางดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปมาก ดังนั้นดวงอาทิตย์และบริวารดวงอาทิตย์จึงเป็นพวกที่อยู่ใกล้โลกมาก ในขณะที่ดาวอื่น ๆ อยู่ไกลโลกมาก

บริวารทั้งหลายของดวงอาทิตย์ต่างได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ด้วยปริมาณต่าง ๆ กัน ดวงที่อยู่ใกล้ได้รับพลังงานมากกว่าพวกที่อยู่ไกล โลกอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับพลังงานพอเหมาะจึงทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยบนโลกไม่หนาวและไม่ร้อนเกินไป สภาพแวดล้อมของโลกจึงเอื้ออำนวยต่อการมีชีวิตเป็นอย่างยิ่ง

ดวงอาทิตย์ ดาวกฤษ์สีเหลืองขนาดเล็กจึงเป็นผู้ให้ชีวิตแก่โลก ดังนั้นหากจะค้นหาโลกอื่นนอกระบบสุริยะจึงควรค้นหาระบบที่มีดาวกฤษ์สีเหลืองแบบเดียวกับดวงอาทิตย์

จุดบนดวงอาทิตย์ และวิธีสังเกตจุดบนดวงอาทิตย์อย่างปลอดภัย

ดวงอาทิตย์มีแสงจ้ามาก ทั้งนี้เพราะมีอุณหภูมิสูง ภายในใจกลางซึ่งเป็นต้นกำเนิดพลังงานมีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ทำให้ไฮโดรเจน 2 อะตอมรวมกันกลายเป็น 1 อะตอมของฮีเลียม เรียกว่าปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ เนื้อสารของ 1 อะตอมฮีเลียมน้อยกว่าเนื้อสารของ 2 อะตอมไฮโดรเจน เนื้อสารไฮโดรเจนไม่ได้หายไปไหน แต่ได้กลายเป็นพลังงานทั้งหมด

ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ที่ไฮโดรเจนหลอมรวมกันกลายเป็นฮีเลียมคือปฏิกิริยาของระเบิดไฮโดรเจน ดังนั้นภายในใจกลางดวงอาทิตย์ จึงมีระเบิดไฮโดรเจนจำนวนมากกำลังระเบิด พลังงานภายในถ่ายทอดสู่ผิวโดยการพา และดวงอาทิตย์ถ่ายทอดพลังงานสู่อวกาศโดยการแผ่รังสี

มนุษยุ์พยายามสร้างพลังงานโดยการเลียนแบบปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์จนประสบผลสำเร็จ หากควบคุมพลังงานนี้ได้เมื่อใดก็จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษยชาติ

เมื่อสังเกตพื้นผิวดวงอาทิตย์จากภาพถ่ายผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือดูภาพดวงอาทิตย์บนฉากของกล้องโทรทรรศน์ จะพบว่าพื้นผิวดวงอาทิตย์ไม่สม่ำเสมอ แต่มีบริเวณมืดเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ เปลี่ยนแปลงไม่คงที่ เราเรียกบริเวณมืดเหล่านี้ว่า จุดดำ หรือ จุดมืด บนดวงอาทิตย์ (Sunspot)

จุดดำเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณข้างเคียงซึ่งมีอุณหภูมิสูงประมาณ 6000 เคลวิน ในขณะที่บริเวณจุดดำมีอุณหภูมิ 4000 เคลวิน เมื่อดูจุดมืดหรือจุดดำให้ละเอียด จะพบว่าใจกลางของจุดมืดมีความมืดมากกว่าขอบรอบนอก

ยังไม่ทราบชัดเจนว่าจุดเกิดจากอะไร แต่มีการค้นพบว่าบริเวณจุดเป็นบริเวณที่มีความเข้มของสนามแม่เหล็กสูงมาก สนามแม่เหล็กบริเวณทั่วไปไม่ถึง 1 เกาสส์ แต่บริเวณจุดสูงหลายพันเกาสส์

จุดบนดวงอาทิตย์เกิดขึ้นและหายไปโดยมีอายุประมาณ 1 เดือน จุดมักจะเกิดขึ้นเป็นคู่ ๆ อยู่ใกล้กัน คล้ายมีแม่เหล็กเกือกม้าฝังอยู่ภายในดวงอาทิตย์ จำนวนจุดไม่คงที่ แต่จะเปลี่ยนทุกปี บางปีมีจุดมาก บางปีมีจุดน้อย จำนวนจุดจะมีมากทุก ๆ 11 ปี

 

ดาวเคราะห์ (The Planets)

ระบบสุริยะจักรวาลของเรา ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (Sun) เป็นศูนย์กลาง และดาวเคราะห์ (The Planets) 9 ดวง รวมทั้งโลกของเรา ที่โคจรไปรอบๆดวงอาทิตย์ โดยที่โลกของเรา ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 149,600,000 กิโลเมตร ซึ่งเรานิยามว่า ระยะ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (AU: Astronomical Unit) ส่วนดาวฤกษ์ ที่ใกล้โลกของเรา ถัดจากดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์แคระสีแดง ชื่อ Proxima Centauri (หรือ Cen: Rigil Kentaurus) ซึ่งห่างจากโลกของเรา ประมาณ 4.3 ปีแสง ในขณะที่ระบบสุริยะจักรวาลของเรา เป็นส่วนหนึ่ง ของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก (The Milky Way)

ดาวเคราะห์ทั้ง 8 สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้

แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ

    ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner or Terrestrial Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เย็นตัวแล้วมากกว่า ทำให้มีผิวนอกเป็นของแข็ง เหมือนผิวโลกของเรา จึงเรียกว่า Terrestrial Planets (หมายถึง "บนพื้นโลก") ได้แก่ ดาวพุธ (Mercury), ดาวศุกร์(Venus), โลก (Earth) และดาวอังคาร (Mars) ซึ่งจะใช้แถบของ ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt) เป็นแนวแบ่ง

 ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer or Jovian Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าอีกกลุ่ม เป็นดาวเคราะห์ที่เพิ่งเย็นตัว ทำให้มีผิวนอก ปกคลุมด้วยก๊าซ เป็นส่วนใหญ่ เหมือนพื้นผิวของดาวพฤหัส ทำให้มีชื่อเรียกว่า Jovian Planets (Jovian มาจากคำว่า Jupiter-like หมายถึง คล้ายดาวพฤหัส) ได้แก่ ดาวพฤหัส (Jupiter), ดาวเสาร์ (Saturn), ดาวยูเรนัส (Uranus) และ ดาวเนปจูน (Neptune

 

สร้างโดย: 
นางสาวพรรณนภา กำบัง ร.ร.สตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 446 คน กำลังออนไลน์