ยาเสพติด

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


 สิ่งเสพติด สู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุ่นแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมหรือที่เรียกกันว่า "ยาเสพติด" ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้า

ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสียเงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติดบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ

 ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการป้องกัน

ยาเสพติด หมายถึง สารเคมี หรือสารใดก็ตาม ซึ่งเมื่อบุคคลเสพ หรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพ และแก่สังคมด้วย ทั้งจะต้องทำให้ผู้เสพแสดงออกซึ่งลักษณะ ดังนี้

  1. ผู้เสพมีความต้องการอย่างแรงกล้า ที่จะเสพยาชนิดนั้น ๆ ต่อเนื่องกันไป และต้องแสวงหายาชนิดนั้น ๆ มาเสพให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม
  2. ผู้เสพจะต้องเพิ่มปริมาณของยาที่เคยใช้ให้มากขึ้นทุกระยะ
  3. ผู้เสพจะมีความปรารถนาอยากเสพยาชนิดนั้น ๆ อย่างรุนแรง ระงับไม่ได้ คือ มีการติดและอยากยาทั้งทาง ด้านร่างกายและจิตใจ

 ประเภทของยาเสพติด

 

จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท

  1. ประเภทกดประสาท ได้แก่  มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ   เครื่องดื่มมึนเมา  ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น   น้ำมันเบนซิน  เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า   โคเคน เครื่องดื่มคาเฟอีน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น ได้แก่ กระท่อม ยาอี
  3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่  และ ยาเค เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต ได้แก่ ดี.เอ็ม.ที เห็ดขี้ควาย แอล เอส ดี
  4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้แก่ กัญชา

สาเหตุของการติดยาเสพติด

การติดยาเสพติดอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก

ความอยากรู้อยากลอง ด้วยความคึกคะนอง

เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน

มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ

ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว หากใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขาดการแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร

สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย มีการค้ายาเสพติด หรือมี ผู้ติดยาเสพติด

ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้

 

การสังเกตผู้ติดยาเสพติด

ยาเสพติดเมื่อเกิดการเสพติดแล้ว จะมีผลกระทบต่อร่างกายและ จิตใจ ซึ่งทำให้ลักษณะและความประพฤติของผู้เสพเปลี่ยนไป จากเดิมที่อาจสังเกตพบได้ คือ

ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม

อารมณ์ฉุนเฉียว หรือเงียบขรึมผิดปกติ จึงมักพบผู้เสพติดชอบทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกัน บางคนอาจชอบแยกตัวอยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง

ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่า ผลการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคน ทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย

ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านใน หรือรอยกรีดตรงต้นแขนด้านใน

ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ

ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด

ขโมย ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด

ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง

 

ป้องกันยาเสพติด

  1. ป้องกันตนเอง ไม่ทดลองยาเสพติดทุกชนิด ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรปรึกษาพ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬาหรือทำงานอดิเรกต่างๆตามความสนใจ และความถนัดระมัดระวัง การใช้ยาและศึกษาให้เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด
  2. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็ก และบุคคลในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อบรมสั่งสอน ให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติดดูแลเรื่องการคบเพื่อนคอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็น ประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ เพื่อป้องกันมิให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด สิ่งสำคัญก็คือทุกคนในครอบครัวควรสร้างความรัก ความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
  3. ป้องกันชุมชน หากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว การสมัครเข้า ขอรับการบำบัดรักษายาเสพติดก่อนที่ความผิดจะปรากฏต่อเจ้าหน้าที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ และ เมื่อรู้ว่าใครผิด นำเข้าส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากรนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(สำนักงาน ป.ป.ส.)

สถานที่ให้คำปรึกษาด้านป้องกัน และแนะนำการบำบัดรักษาขั้นต้น

  1. สำนักงานศึกษาป้องกันการติดยา (กระทรวงสาธารณสุข) 286 ถนนพระราม 6 พญาไท กรุงเทพ ฯ
  2. สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ศูนย์อาสาสมัครยาเสพติด ตึกมหิดล กรุงเทพ ฯ
  3. ศูนย์สุขวิทยาจิต พญาไท กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 2815241
  4. สมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 2452733
  5. สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กรุงเทพ ฯ โทร.(02) 2459340-9
  6. โรงพยาบาลตำรวจ แผนกจิตเวช กรุงเทพ ฯ โทร.(02) 2528111-7
  7. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แผนกจิตเวช กรุงเทพ ฯ โทร.(02) 2461946
  8. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทร. (02) 5310080-8
  9. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรุงเทพ ฯ โทร.(02) 4681116-20
  10. โรงพยาบาลทหารเรือ กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 4112191
  11. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพ ฯ ลุมพินี ซอยปลุกจิตต์ ถ.วิทยุ โทร.(02) 2512970
  12. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพ ฯ สี่พระยา โทร. (02) 2364055
  13. สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก จ.สระบุรี
  14. สำนักสงฆ์ถ้ำเขาทะลุ จ.ราชบุรี
  15. หน่วยงานบริการสังกัดกรมสุขภาพจิตทุกแห่ง 

สร้างโดย: 
ศศนันท์ กฤษณะวนิช

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 727 คน กำลังออนไลน์