ภาษาร้อยกรอง

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


                       

บทกลอน   นับเป็นบทร้อยกรองไทย ที่เป็นที่นิยมแพร่หลายมากกว่าบทร้อยกรองชนิดอื่น   อาจเป็นเพราะความอ่านง่ายแต่งง่าย 
           

คำสัมผัสคล้องจอง หมายถึง พยางค์ที่คล้องจองด้วยเสียงของสระหรือเสียงของพยัญชนะ
หากคล้องจองด้วยเสียงสระเรียกว่า สัมผัสสระ
หากคล้องจองด้วยเสียงพยัญชนะเรียกว่า สัมผัสอักษร

ตัวอย่างเสียงสัมผัสสระ
เสียงไอ ได้แก่ ได้ ไม่ ใส่ ไหน ไทย ไร้ ให้ ไป ไต ไว้ ใบ ใย ฯลฯ
เสียงอาย ได้แก่ ขาย ย้าย ตาย หลาย คล้าย หน่าย ทราย พราย หาย ยาย ฯลฯ
เสียงเอือ ได้แก่ เรือ เหลือ เชื่อ เหงื่อ เบื่อ เถือ มะเขือ เพรื่อ เนื้อ ฯลฯ
เสียงอู ู ได้แก่ งู ชู้ ผู้ หนู หู ชู อู้ หมู ฯลฯ

เสียงสัมผัสอักษร  
เสียง ค ได้แก่ คุณ ควร คิด ครวญ คำ คล้าย เคียง คลอง ข้าง ขอบ คู ฯลฯ
เสียง ก ได้แก่ กล กานต์ เกรียง ไกร ก้อง เก่ง กาจ แก้ว โกรธ ฯลฯ
เสียง ร ได้แก่ ร้อย รัก เรียง รัด รอบ ฯลฯ
เสียง ล ได้แก่ ลม ลอย โล่ง ลา ลับ แล้ว ฯลฯ

สัมผัสนอก สัมผัสใน
สัมผัสนอก คือสัมผัสนอกวรรคและนอกบท หรือระหว่างวรรคและระหว่างบท
เป็นสัมผัสบังคับด้วยเสียงสระ เมื่อไรที่พูดถึงสัมผัสนอกก็คือสัมผัสบังคับนั่นเอง

สัมผัสใน คือสัมผัสในวรรคเดียวกัน ซึ่งมีทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสอักษร เป็นสัมผัสที่มีเพื่อความไพเราะ
สุนทรภู่บรมครูด้านการแต่งกลอน เป็นผู้ริเริ่มนำสัมผัสในมาเล่นในการแต่งกลอน
 

                                                    

                         แผนผังกลอนสุภาพจำนวน ๑ บท

                                                                   
เมื่อแต่งมากกว่า ๑ บท ต้องมีสัมผัสระหว่างบท สังเกตสัมผัสระหว่างบทจากแผนผังด้านล่าง

                                                               

                                       

                                         

 

ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง)
. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์
บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้

ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)

๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง

หลักการจำตำแหน่งวรรณยุกต์ แบบฉบับลุงอ่ำ

    กากากาก่าก้า
กาก่ากากากา
กากาก่ากากา
กาก่ากากาก้า
กากา (00)
ก่าก้า
กาก่า (00)
ก่าก้ากากา

๕. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้
เอกโทษ
และโทโทษ เอกโทษ และโทโทษ คืออะไร?

คำเอกคำโท หมายถึงพยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุต์โท กำกับ
อยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้
คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ล่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ
และให้รวมถึงคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ปะ พบ รึ ขัด ชิด
(ในโคลงและร่ายใช้ คำตาย แทนคำเอกได้)

คำตาย คือ
1. คำที่ประสมสระเสียงสั้นแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่นกะ ทิ สิ นะ ขรุ ขระ เละ เปรี๊ยะ เลอะ โปีะ ฯลฯ
2. คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด เช่น เลข วัด สารท โจทย์ วิทย์ ศิษย์ มาก โชค ลาภ ฯลฯ


คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม
เช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน


คำเอก คำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท "โคลง" และ "ร่าย"และถือว่าเป็นข้อ
บังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้
เอก และ โท ได้ เช่น เล่น นำมาเขียนใช้เป็น เหล้น ได้ เรียกว่า "โทโทษ"
ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น ฮ่าม ค่อน เรียกว่า "เอกโทษ"

ตัวอย่างคำประพันธ์ที่นิยมท่องเป็นต้นแบบเพื่อง่ายต่อการจดจำแผนผัง

 เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ
  ลิลิตพระลอ

          

                                                

  ฉันท์ คือลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ร้อยกรองขึ้น เพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสเป็นมาตรฐาน

  ฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤต ไทยนำเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมในคำประพันธ์ไทย ตำราฉันท์ที่เป็นแบบฉบับของฉันท์ไทย คือ คัมภีร์วุตโตทัย

การเลือกใช้ฉันท์ชนิดต่าง ๆ

         การเลือกใช้ฉันท์ ต้องเลือกให้เหมาะกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อเรื่องที่จะเขียน

     ๑. บทนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บทไหว้ครู บทสรรเสริญพระเกียรติ ความขลัง ใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ หรือสัทธราฉันท์

   ๒. บทเล่าเรื่อง บทชม คร่ำครวญ นิยมใช้ อินทรวิเชียรฉันท์ หรือวสันดิลกฉันท์

   ๓. บทแสดงอารมณ์รุนแรง เช่นโกรธ ตื่นเต้น วิตกกังวล หรือบรรยายความในใจเกี่ยวกับความรักที่ต้องการให้เห็นอารมณ์สะเทือนใจอย่างมาก นิยมใช้ อิทิสังฉันท์ ซึ่งเป็นฉันท์ที่สลับเสียงหนักเบาเน้นเสียงเป็นจังหวะทุกระยะ

๔. บทพรรณนาโวหารหรือบรรยายข้อความที่น่าตื่นเต้น หรือเป็นที่ประทับใจ นิยมใช้ภุชงคประยาตฉันท์

๕. บทสนุกสนานขบขัน หรือคึกคักสับสน ให้เหตการณ์บรรยายไปอย่างรวดเร็ซจะนิยมใช้ โตฏกฉันท์ มาณวกฉันท์ หรือจิตรปทาฉันท์

๖. บทบรรยายความ นิยมใช้ อุเปนทรวิเชียรฉันท์ อินทวงสฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ หรือสาลินีฉันท์ แผนผังและตัวอย่างคำประพันธ์ประเภทฉันท์ที่นิยมแต่ง

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ หมายถึงฉันที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร

              

แบบท่องจำ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

๏   พวกราชมัลโดย พลโบยมิใช่เบา
สุดหัตถแห่งเขา ขณะหวดสิพึงกลัว
๏   บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีร์รัว
ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไหว
๏   แลหลังละโลมโล- หิตโอ้เลอะหลั่งไป
เพ่งผาดอนาถใจ ระกะร่อยเพราะรอยหวาย
๏   เนื่องนับอเนกแนว ระยะแถวตลอดลาย
เฆี่ยนครบสยบกาย สิรพับพะกับคา
  (สามัคคีเภทคำฉันท์)

ตัวอย่างคำประพันธ์

สิบเอ็ดบอกความนัย หนึ่งบาทไซร้องพยางค์

วรรคหน้าอย่าเลือนราง จำนวนห้าพาจดจำ

หกพยางค์ในวรรคหลัง ตามแบบตั้งเจ้าลองทำ

สัมผัสตามชี้นำ โยงเส้นหมายให้เจ้าดู

สุดท้ายของวรรคหนึ่ง สัมผัสตรึงสามนะหนู

หกห้าโยงเป็นคู่ เร่งเรียนรู้สร้างผลงาน

 

ตัวอย่างคำประพันธ์

ฉบังสิบหกความหมาย หนึ่งบทเรียงราย

นับได้สิบหกพยางค์  

สัมผัสชัดเจนขออ้าง เพื่อเป็นแนวทาง

ให้หนูได้คิดคำนึง  

พยางค์สุดท้ายวรรคหนึ่ง สัมผัสรัดตรึง

สุดท้ายวรรคสองต้องจำ  

สุดท้ายวรรคสามงามขำ ร้อยรัดจัดทำ

สัมผัสรัดบทต่อไป  

บทหนึ่งกับสองว่องไว จงจำนำไป

เรียงถ้อยร้อยกาพย์ฉบัง

            

               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                  
 

                            

         

    

  

                                       

 

 

             

                            


 

 

 

 

สร้างโดย: 
อ.รัตนา สถิตตานนท์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 426 คน กำลังออนไลน์