• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:8a878043c2e32545f0eb786ede59ccf2' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">\n <span style=\"font-size: large\"><strong>เรื่อง  </strong></span><span style=\"font-size: medium\">ขุนข้างขุนแผน</span>\n</p>\n<p align=\"center\">\n&nbsp;\n</p>\n<p align=\"center\">\n<img height=\"288\" width=\"387\" src=\"/files/u4642/10.jpg\" border=\"0\" />\n</p>\n<p align=\"center\">\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n                <span style=\"color: #800000\">เรื่องขุนข้างขุนแผน มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แล้วเล่าบต่อกันมาจนกลายเป็นนิยายพื้นเมืองของเมืองสุพรรณบุรี ต่อมาภายหลังได้มีผู้นำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนเสภาแล้วใช้ในการขับเสภา จึงทำให้เรื่องนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น ครั้นเสียกรุงแล้วบางตอนก็สูญหายไป บางตอนยังมีต้นฉบับเหลืออยู่ เรื่องไม่ติดต่อกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้กวีหลายคนช่วยกันรวบรวมและแต่งขึ้นเรียกว่า     &quot;เสภาหลวง&quot;<br />\nการชุมนุมกวีครั้งนั้นจึงเป็นการประกวดฝีปากเชิงกลอนอย่างเต็มที่ ทำให้เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนมีความไพเราะเพราะพริ้งมากอย่างไร<br />\nก็ตาม ได้มีนักขับเสภาระยะหลังได้แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนอีกหลายสำนวนเพื่อใช้ขับเสภาเป็นตอน ๆ</span>\n</p>\n<p>\n     <span style=\"color: #808000\"><u>การพิมพ์และการและการชำระบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน<br />\n</u>                บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งได้เริ่มแต่งกันเมื่อสมัยรัชกาลที่ 2 นั้น มีทั้งฉบับหลวง คือ รัชกาลที่ 2 ทรงเป็นพระธุระให้กวีช่วยกันแต่งขึ้น และบทนักเสภาเอกชนคิดขับแต่งเป็นอาชีพ ครั้นถึง    พ.ศ. 2415   ในรัชกาลที่ 5   หมอสมิธได้นำเสภาฉบับหลวงมาจำหน่ายเป็นครั้งแรก บทเสภาฉบับหลวงจึงแพร่หลายไปถึงประชาชนแต่คราวนั้น   อย่างไรก็ดี   บทเสภาที่หมอสมิธพิมพ์ก็ยังมีขาด<br />\nตกบกพร่องอยู่ ต่อมากรมการหอสมุดวชิรญาณมีสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชาเป็นประธานได้ชำระ<br />\nบทเสภานี้ให้ถูกต้องบริบูรณ์ขึ้น คือ ได้นำบทเสภาฉบับของเอกชนและของหลวง มาสอบทานและลำดับความ คัดเลือกเฉพาะบทที่ดี<br />\nเยี่ยม พิจารณาแก้ไขอักษรและบทกลอน และจัดพิมพ์เสร็จเรียบร้อยเป็นครั้งแรกในพ.ศ. 2460<br />\n  <br />\n</span>     <u> <span style=\"color: #800000\">การชำระเรื่องนี้ได้พบสำนวนที่พอทราบนามผู้แต่ง</span></u>    ได้ดังนี้\n</p>\n<p>\n<br />\n               <span style=\"color: #333300\">1.  บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มี 4 ตอน คือ<br />\n                    1.1 พลายแก้วได้นางพิม<br />\n                    1.2 พลายแก้วได้เป็นขุนแผนและขุนช้างได้นางวันทอง<br />\n                    1.3 ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและได้นางแก้วกิริยา<br />\n                    1.4 ขุนแผนพานางวันทองหนี</span>\n</p>\n<p><span style=\"color: #333300\"></span></p>\n<p>\n<br />\n              <span style=\"color: #008000\"> 2.  บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 3 มี 2 ตอน คือ<br />\n                    2.1 ขุนช้างขอนางพิม<br />\n                    2.2 ขุนช้างตามนางวันทอง</span>\n</p>\n<p></p>\n<p>\n<br />\n              <span style=\"color: #339966\"> 3.  สำนวนของสุนทรภู่ มี 1 ตอน คือ<br />\n                    3.1 กำเนิดพลายงาม</span>\n</p>\n<p>\n<br />\n           <span style=\"color: #008080\">    4.  สำนวนของครูแจ้ง มี 5 ตอน คือ<br />\n                    4.1 กำเนิดกุมารทอง<br />\n                    4.2 ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ<br />\n                    4.3 ขุนแผนและพลายงามจับพระเจ้าเชียงใหม่<br />\n                    4.4 ขุนแผนและพลายงามยกทัพกลับ<br />\n                    4.5 จระเข้เถรขวาด</span>\n</p>\n<p><span style=\"color: #008080\"></span></p>\n<p>\n<br />\n     <span style=\"color: #993300\"> เวลาแต่ง แต่งในสมัยรัชกาลที่ 2  ลักษณะการแต่ง เป็นกลอนเสภา</span><br />\n              <span style=\"color: #003300\"><u> ความมุ่งหมาย</u>   แต่งถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />\n</span>            \n</p>\n<p></p>\n<p>\n           <span style=\"color: #3366ff\">    <u><strong><span style=\"font-size: small\">เนื้อเรื่อง</span></strong></u>         ขุนช้าง ขุนแผน และนางพิมพิลาไลย ต่างเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เล็ก ขุนแผน เดิมชื่อพลายแก้ว รักอยู่กับ<br />\nนางพิมพิลาไลย แต่ขุนช้างก็หลงรักนางพิมพิลาไลยเช่นกัน จึงขอร้องให้นางเทพทองผู้เป็นมารดาไปสู่ขอนางพิมพิลาไลย แต่นาง<br />\nพิมพิลาไลยไม่ยินยอม ต่อมาพลายแก้วแต่งานกับนางพิมพิลาไลย หลังจากแต่งงานได้สองวันก็เกิดศึกเมืองเชียงทอง พลายแก้วต้อง<br />\nไปราชการสงคราม   ระหว่างนี้นางพิมพิลาไลยป่วยจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง ฝ่ายขุนช้างได้ออกอุบายว่าพลายแก้วตายในสงคราม นางศรีประจันมารดาของนางวันทองรับปากจะยกนางวันทองให้ขุนช้าง ส่วนพลายแก้วกลับจากราชการสงครามได้เป็นขุนแผนแสนสะท้าน<br />\nและได้นางลาวทองเป็นภรรยา นางวันทองกับนางลาวทองเกิดหึงหวงกัน ขุนแผนจึงพานางลาวทองไปอยู่กาญจนบุรี ขุนช้างได้นาง<br />\nวันทองเป็นภรรยา ต่อมาขุนช้างกล่าวโทษขุนแผนว่าละทิ้งหน้าที่ราชการอยู่เวร ขุนแผนจึงได้รับโทษไปเป็นนายด่านตระเวณชายแดน <br />\nระหว่างนี้ขุนแผนได้ดาบฟ้าฟื้น ม้าสีหมอก และกุมารทอง ขุนแผนจึงขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยาและพานางวันทองหนี ต่อมา <br />\nเมื่อนางวันทองตั้งท้อง จึงพากันไปหาพระพิจิตรเพื่อให้พาเข้าสู้คดีที่กรุงศรีอยุธยา ขุนแผนชนะคดีได้นางวันทองกลับคืน ขุนแผน <br />\nทูลขอนางลาวทองซึ่งถูกกักขังอยู่ในวัง สมเด็จพระพันวสากริ้วจึงให้จำคุกขุนแผนไว้ ขุนช้างพาพรรคพวกฉุดนางวันทอง ต่อมา<br />\nนางวันทอง คลอดพลายงามบุตรขุนแผน ขุนช้างลวงพลายงามไปฆ่าแต่ไม่ตาย เมื่อพลายงามโตขึ้นได้ถวายตัวเป็น มหาดเล็กและ <br />\nได้อาสาทำศึกเมืองเชียงใหม่ พร้อมขอตัวขุนแผนไปช่วยสงคราม และพลายงามได้นางศรีมาลาลูกสาวเจ้าเมืองพิจิตรเป็นภรรยา<br />\n  ครั้นเสร็จศึกเมืองเชียงใหม่แล้ว พลายงามได้เป็นจมื่นไวยวรนาถพร้อมกับได้รับพระราชทาน นางสร้อยฟ้า ธิดาพระเจ้าเชียงใหม่เป็นภรรยา ในวันประกอบพิธีแต่งงานจมื่นไวยวรนาถกับนางศรีมาลา นางวันทองกับขุนช้างมาในงานด้วย ขุนช้าง ดื่มเหล้าเมาจึงมีเรื่องกับจมื่นไวยวรนาถ ขุนช้างถูกทำร้ายจึงถวายฎีกากล่าวโทษจมื่นไวยวรนาถ มีการพิสูจน์ดำน้ำ ขุนช้างถูกตัดสินประหารชีวิต แต่จมื่นไวยวรนาถขอชีวิตไว้ตามที่นางวันทองขอร้อง และลักพานางวันทองไปอยู่กับขุนแผน ขุนช้างถวายฎีกาพระพันวสาทรงให้นางวันทองเลือกจะอยู่กับใคร นางวันทองตัดสินใจไม่ได้ จึงกริ้วให้นำนางวันทองไปประหารชีวิต ต่อมานางสร้อยฟ้าและนางศรีมาลาเกิดวิวาทกันด้วยความหึงหวง นางสร้อยฟ้าจึงให้เถรขวาดทำเสน่ห์ให้ จมื่นไวยวรนาถหลงรักตน พลายจุมพลซึ่งเป็นลูกขุนแผนกับนางแก้วกิริยามาช่วยแก้เสน่ห์ แต่ไม่สำเร็จ ขุนแผนมาช่วยแก้ก็ไม่สำเร็จ ทำให้ขุนแผนโกรธคบคิดกับพลายจุมพลปลอมตัวเป็นมอญยกทัพมาล้อมกรุง เพราะหวังจะฆ่าจมื่นไวยวรนาถ ความทรงทราบถึงพระพันวสาจึงทรงตัดสินคดี นางสร้อยฟ้า พิสูจน์ด้วยการลุยไฟ แต่เป็นฝ่ายแพ้ จึงถูกส่งตัวกลับไปอยู่เมืองเชียงใหม่ ส่วนเถรขวาดแปลงเป็นจระเข้ มาอาละวาดที่กรุงศรีอยุธยา พลายจุมพลอาสาปราบจระเข้เถรขวาด และจับเถรขวาดได้ จึงมีรับสั่งให้ ประหารชีวิต ส่วนพลายจุมพลได้เป็นหลวงนายฤทธิ์ <br />\n <br />\n</span><strong><span style=\"font-size: small\">       <u>ตัวอย่าง</u></span></strong>\n</p>\n<p><strong><u><span style=\"font-size: small\"></span></u></strong></p>\n<p align=\"center\">\n<br />\n<span style=\"color: #800000\"><u>บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย</u> <br />\nตอนขุนแผนต่อว่านางวันทอง เป็นคำเปรียบเปรยคมคายลึกซึ้ง</span> <br />\n <br />\n<span style=\"color: #ff6600\">เมื่อแรกเชื่อว่าเป็นเนื้อทับทิมแท้  <br />\nมาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้<br />\nกาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ  ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา<br />\nคิดว่าหงส์จึงหลงด้วยลายย้อม  ช่างแปลงปลอมท่วงทีดีหนักหนา<br />\nดังรักถิ่นมุจลินทร์ไม่คลาดคลา ครั้นลับตาฝูงหงส์ก็ลงโคลน <br />\n  </span>\n</p>\n<p align=\"center\">\n<br />\n<span style=\"color: #993300\"><u>บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว <br />\n</u>ตอนขุนช้างขอนางพิม <br />\n</span> <br />\n<span style=\"color: #ff6600\">ครานั้นขุนช้างฟังแม่ถาม  <br />\nจะบอกความมิใคร่จะบอกได้<br />\nกลุ้มกลัดอัดอั้นให้ตันใจ  ร้องให้สะอึกสะอื้นโฮ<br />\nมือเช็ดน้ำตาแล้วว่าพลาง  ทุกข์ของลูกช้างนี้อักโข<br />\nอกลูกเป็นหนอนพอกะโต เหมือนใครโค่นต้นโพธิ์ลงทับกาย<br />\nดังกระดูกแตกระเอียด เคร่งเครียดร้องปีไม่มีหาย<br />\nยิ่งหนักลงเห็นคงตัวจะตาย จะช่วยรอดปรอดดายแต่มารดา<br />\nแก่นแก้วตายแล้วไม่มีสุข  ทุกข์ถึงเมียรักเป็นหนักหนา<br />\nเช้าค่ำพร่ำกินแต่น้ำตา  เป็นหม้ายทรมามากว่าปี<br />\nเงินทองกองเกลื่อนอยู่มากมาย  จะหายหรือจะอยู่มิรู้ที่<br />\nจะตรวจตราว่าไปทำไมมี  เมื่อขัดสนคนที่จะครอบครอง<br />\nหญิงอื่นหมื่นแสนลูกไม่เห็น  ใครจะเป็นแม่เรือนอยู่ร่วมห้อง<br />\nจะช่วยรักษาทรัพย์ประคับประครอง ลูกเที่ยวท่องดูทั่วทั้งสุพรรณ<br />\nเห็นแต่นางพิมพิลาไลย  อยู่เรือนใหญ่บ้านท่าพี่เลี้ยงนั่น<br />\nนางเป็นลูกยายศรีประจัน  รักกันกับข้ามาช้านาน<br />\nรบให้ไปขอเป็นหอห้อง  ครั้นมีท้องก็จะอายแก่เพื่อนบ้าน<br />\nเร่งเร้าเช้าค่ำลูกรำคาญ  แสนสงสารสุดที่จะทำวล<br />\nแม่จงปรานีกับลูกช้าง  ไปขอนางเป็นทีดูสักหน<br />\nถ้าหม่อมแม่ของหล่อนไม่ผ่อนปรน ลูกจะพาพิมด้นมาจากเรือน<br />\nถ้าพิมยอมพร้อมใจให้ปั่น  ทุนสินกองกันไม่อายเพื่อน<br />\nได้สัญญามาแน่ไม่แชเชือน ในเดือนนี้ขึ้นค่ำเป็นวันดี<br />\nต้องเอกะปาสังเป็นอย่างดี  จะเสกขี้ผึ้งให้แม่สี<br />\nแม่จงเมตตาปรานี วันนี้วันดีแม่จงไป ฯ<br />\n  <br />\n(ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ)</span>\n</p>\n<p align=\"center\">\n<br />\n<span style=\"color: #993300\"><u>สำนวนสุนทรภู่</u><br />\nการแสดงความผูกพันระหว่างแม่กับลูก (ตอนกำเนิดพลายงาม) <br />\n</span> <br />\n<span style=\"color: #ff6600\">ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ <br />\nเจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน<br />\nแล้วพาลูกออกมาข้างท่าเกวียน  จะจากเจียนใจขาดอนาถใจ<br />\nลูกก็แลดูแม่แม่ดูลูก ต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล<br />\nสะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัย  แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา</span><br />\n  \n</p>\n<p align=\"center\">\n <img height=\"374\" width=\"299\" src=\"/files/u4642/7.jpg\" border=\"0\" style=\"width: 199px; height: 256px\" />\n</p>\n<p>\n      <strong><span style=\"color: #99cc00; font-size: small\"><u><span style=\"color: #000080\">คุณค่า</span></u></span></strong>\n</p>\n<p><strong><u><span style=\"color: #000080; font-size: small\"></span></u></strong></p>\n<p>\n<br />\n         <span style=\"color: #008080\"> 1. <u>สำนวนโวหาร</u>    มีสำนวนดี ใช้ถ้อยคำสามัญแต่ไพเราะ การบรรยายใช้ถ้อยคำเหมาะสมกับ ท้องเรื่อง กระบวนกลอน มีความคมคาย ดูดดื่มใจ ได้รสวรรณคดีทุกรส</span>\n</p>\n<p><span style=\"color: #008080\"></span></p>\n<p>\n<br />\n          2. <u>ด้านวรรณศิลป์</u>   วรรณคดีสโมสรยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนสุภาพ เพราะมีรสวรรณคดีครบทุกรส กระบวนกลอนดี<br />\n          3. <u>โครงเรื่อง</u>        จัดระเบียบโครงเรื่องดี แม้จะมีผู้แต่งหลายคนก็ตาม แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ในเรื่องมีความสัมพันธ์ กัน บุคลิกภาพของตัวละครก็คงเส้นคงวา ตลอดจนเนื้อเรื่องและลีลากลอนก็ราบรื่นสอดคล้องกัน\n</p>\n<p>\n<br />\n          4. <u>เนื้อเรื่อง</u>          มีความสมจริงทั้งเหตุการณ์ ตัวละคร สถานที่และถิ่นฐานบ้านเมืองถูกต้องตามภูมิศาสตร์ ไม่ว่าจะ เป็นสถานที่ หมู่บ้าน ตำบล ทิศทาง ระยะทางถูกต้องตามสภาพความเป็นจริง ตัวละครมีชีวิตจิตใจและมีความสมจริง มีทั้งรัก โลภ โกรธ หลง ตามความเป็นจริงแห่งปุถุชน จึงเป็นหนังสือที่ถ่ายทอดชีวิตของคนในสังคมไทยในสมัยก่อน ได้อย่างดี\n</p>\n<p>\n<br />\n          5. <u>ด้านความรู้</u>       ให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย เช่น ความเชื่อทางเวทมนตร์คาถา ความเชื่อใน โชคลางต่าง ๆ เช่น แมงมุมตีอก ขิ้งขกทักถือว่าเป็นลางไม่ดี ความเชื่อมั่นและ ความเคารพในพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เช่น การทำบุญฟังเทศน์ การแต่งงาน การทำศพ การเกิด การบวช การรับขวัญ การพิสูจน์ดำน้ำลุยไฟ การคลอดลูก การแต่งกาย และยังให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาของคนไทยสมัยก่อน การเล่นของเด็กรายชื่อกับข้าวและขนม เป็นต้น\n</p>\n<p>\n<br />\n          6. <u>ด้านค่านิยม</u>      ให้ความรู้เกี่ยวกับค่านิยมของคนไทย เช่น ความซื่อสัตย์สุจริตต่อพระมหากษัตริย์ ลูกผู้หญิงจะ ต้องได้รับการฝึกฝนการบ้านการเรือน ลูกผู้ชายจะต้องเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาบาลี คาถาอาคม อันเป็นประโยชน์ตามความ นิยมในสังคมไทยสมัยก่อน และการถวายตัวในราชสำนัก เป็นต้น\n</p>\n<p>\n<br />\n          7. ให้ความรู้เกี่ยวโยงถึงวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น เรื่อง รามเกียรติ์ ไตรภูมิพระร่วง อิเหนา\n</p>\n<p></p>\n<p>\n<span style=\"background-color: #33cccc; color: #008000; font-size: large\"></span>\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n', created = 1715594315, expire = 1715680715, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:8a878043c2e32545f0eb786ede59ccf2' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

วรรณคดีไทย

 เรื่อง  ขุนข้างขุนแผน

 

 

                เรื่องขุนข้างขุนแผน มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แล้วเล่าบต่อกันมาจนกลายเป็นนิยายพื้นเมืองของเมืองสุพรรณบุรี ต่อมาภายหลังได้มีผู้นำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนเสภาแล้วใช้ในการขับเสภา จึงทำให้เรื่องนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น ครั้นเสียกรุงแล้วบางตอนก็สูญหายไป บางตอนยังมีต้นฉบับเหลืออยู่ เรื่องไม่ติดต่อกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้กวีหลายคนช่วยกันรวบรวมและแต่งขึ้นเรียกว่า     "เสภาหลวง"
การชุมนุมกวีครั้งนั้นจึงเป็นการประกวดฝีปากเชิงกลอนอย่างเต็มที่ ทำให้เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนมีความไพเราะเพราะพริ้งมากอย่างไร
ก็ตาม ได้มีนักขับเสภาระยะหลังได้แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนอีกหลายสำนวนเพื่อใช้ขับเสภาเป็นตอน ๆ

     การพิมพ์และการและการชำระบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
                บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งได้เริ่มแต่งกันเมื่อสมัยรัชกาลที่ 2 นั้น มีทั้งฉบับหลวง คือ รัชกาลที่ 2 ทรงเป็นพระธุระให้กวีช่วยกันแต่งขึ้น และบทนักเสภาเอกชนคิดขับแต่งเป็นอาชีพ ครั้นถึง    พ.ศ. 2415   ในรัชกาลที่ 5   หมอสมิธได้นำเสภาฉบับหลวงมาจำหน่ายเป็นครั้งแรก บทเสภาฉบับหลวงจึงแพร่หลายไปถึงประชาชนแต่คราวนั้น   อย่างไรก็ดี   บทเสภาที่หมอสมิธพิมพ์ก็ยังมีขาด
ตกบกพร่องอยู่ ต่อมากรมการหอสมุดวชิรญาณมีสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชาเป็นประธานได้ชำระ
บทเสภานี้ให้ถูกต้องบริบูรณ์ขึ้น คือ ได้นำบทเสภาฉบับของเอกชนและของหลวง มาสอบทานและลำดับความ คัดเลือกเฉพาะบทที่ดี
เยี่ยม พิจารณาแก้ไขอักษรและบทกลอน และจัดพิมพ์เสร็จเรียบร้อยเป็นครั้งแรกในพ.ศ. 2460
  
      การชำระเรื่องนี้ได้พบสำนวนที่พอทราบนามผู้แต่ง    ได้ดังนี้


               1.  บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มี 4 ตอน คือ
                    1.1 พลายแก้วได้นางพิม
                    1.2 พลายแก้วได้เป็นขุนแผนและขุนช้างได้นางวันทอง
                    1.3 ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและได้นางแก้วกิริยา
                    1.4 ขุนแผนพานางวันทองหนี


               2.  บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 3 มี 2 ตอน คือ
                    2.1 ขุนช้างขอนางพิม
                    2.2 ขุนช้างตามนางวันทอง


               3.  สำนวนของสุนทรภู่ มี 1 ตอน คือ
                    3.1 กำเนิดพลายงาม


               4.  สำนวนของครูแจ้ง มี 5 ตอน คือ
                    4.1 กำเนิดกุมารทอง
                    4.2 ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ
                    4.3 ขุนแผนและพลายงามจับพระเจ้าเชียงใหม่
                    4.4 ขุนแผนและพลายงามยกทัพกลับ
                    4.5 จระเข้เถรขวาด


      เวลาแต่ง แต่งในสมัยรัชกาลที่ 2  ลักษณะการแต่ง เป็นกลอนเสภา
               ความมุ่งหมาย   แต่งถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
            

               เนื้อเรื่อง         ขุนช้าง ขุนแผน และนางพิมพิลาไลย ต่างเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เล็ก ขุนแผน เดิมชื่อพลายแก้ว รักอยู่กับ
นางพิมพิลาไลย แต่ขุนช้างก็หลงรักนางพิมพิลาไลยเช่นกัน จึงขอร้องให้นางเทพทองผู้เป็นมารดาไปสู่ขอนางพิมพิลาไลย แต่นาง
พิมพิลาไลยไม่ยินยอม ต่อมาพลายแก้วแต่งานกับนางพิมพิลาไลย หลังจากแต่งงานได้สองวันก็เกิดศึกเมืองเชียงทอง พลายแก้วต้อง
ไปราชการสงคราม   ระหว่างนี้นางพิมพิลาไลยป่วยจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง ฝ่ายขุนช้างได้ออกอุบายว่าพลายแก้วตายในสงคราม นางศรีประจันมารดาของนางวันทองรับปากจะยกนางวันทองให้ขุนช้าง ส่วนพลายแก้วกลับจากราชการสงครามได้เป็นขุนแผนแสนสะท้าน
และได้นางลาวทองเป็นภรรยา นางวันทองกับนางลาวทองเกิดหึงหวงกัน ขุนแผนจึงพานางลาวทองไปอยู่กาญจนบุรี ขุนช้างได้นาง
วันทองเป็นภรรยา ต่อมาขุนช้างกล่าวโทษขุนแผนว่าละทิ้งหน้าที่ราชการอยู่เวร ขุนแผนจึงได้รับโทษไปเป็นนายด่านตระเวณชายแดน
ระหว่างนี้ขุนแผนได้ดาบฟ้าฟื้น ม้าสีหมอก และกุมารทอง ขุนแผนจึงขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยาและพานางวันทองหนี ต่อมา
เมื่อนางวันทองตั้งท้อง จึงพากันไปหาพระพิจิตรเพื่อให้พาเข้าสู้คดีที่กรุงศรีอยุธยา ขุนแผนชนะคดีได้นางวันทองกลับคืน ขุนแผน
ทูลขอนางลาวทองซึ่งถูกกักขังอยู่ในวัง สมเด็จพระพันวสากริ้วจึงให้จำคุกขุนแผนไว้ ขุนช้างพาพรรคพวกฉุดนางวันทอง ต่อมา
นางวันทอง คลอดพลายงามบุตรขุนแผน ขุนช้างลวงพลายงามไปฆ่าแต่ไม่ตาย เมื่อพลายงามโตขึ้นได้ถวายตัวเป็น มหาดเล็กและ
ได้อาสาทำศึกเมืองเชียงใหม่ พร้อมขอตัวขุนแผนไปช่วยสงคราม และพลายงามได้นางศรีมาลาลูกสาวเจ้าเมืองพิจิตรเป็นภรรยา
  ครั้นเสร็จศึกเมืองเชียงใหม่แล้ว พลายงามได้เป็นจมื่นไวยวรนาถพร้อมกับได้รับพระราชทาน นางสร้อยฟ้า ธิดาพระเจ้าเชียงใหม่เป็นภรรยา ในวันประกอบพิธีแต่งงานจมื่นไวยวรนาถกับนางศรีมาลา นางวันทองกับขุนช้างมาในงานด้วย ขุนช้าง ดื่มเหล้าเมาจึงมีเรื่องกับจมื่นไวยวรนาถ ขุนช้างถูกทำร้ายจึงถวายฎีกากล่าวโทษจมื่นไวยวรนาถ มีการพิสูจน์ดำน้ำ ขุนช้างถูกตัดสินประหารชีวิต แต่จมื่นไวยวรนาถขอชีวิตไว้ตามที่นางวันทองขอร้อง และลักพานางวันทองไปอยู่กับขุนแผน ขุนช้างถวายฎีกาพระพันวสาทรงให้นางวันทองเลือกจะอยู่กับใคร นางวันทองตัดสินใจไม่ได้ จึงกริ้วให้นำนางวันทองไปประหารชีวิต ต่อมานางสร้อยฟ้าและนางศรีมาลาเกิดวิวาทกันด้วยความหึงหวง นางสร้อยฟ้าจึงให้เถรขวาดทำเสน่ห์ให้ จมื่นไวยวรนาถหลงรักตน พลายจุมพลซึ่งเป็นลูกขุนแผนกับนางแก้วกิริยามาช่วยแก้เสน่ห์ แต่ไม่สำเร็จ ขุนแผนมาช่วยแก้ก็ไม่สำเร็จ ทำให้ขุนแผนโกรธคบคิดกับพลายจุมพลปลอมตัวเป็นมอญยกทัพมาล้อมกรุง เพราะหวังจะฆ่าจมื่นไวยวรนาถ ความทรงทราบถึงพระพันวสาจึงทรงตัดสินคดี นางสร้อยฟ้า พิสูจน์ด้วยการลุยไฟ แต่เป็นฝ่ายแพ้ จึงถูกส่งตัวกลับไปอยู่เมืองเชียงใหม่ ส่วนเถรขวาดแปลงเป็นจระเข้ มาอาละวาดที่กรุงศรีอยุธยา พลายจุมพลอาสาปราบจระเข้เถรขวาด และจับเถรขวาดได้ จึงมีรับสั่งให้ ประหารชีวิต ส่วนพลายจุมพลได้เป็นหลวงนายฤทธิ์ 
 
       ตัวอย่าง


บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ตอนขุนแผนต่อว่านางวันทอง เป็นคำเปรียบเปรยคมคายลึกซึ้ง

 
เมื่อแรกเชื่อว่าเป็นเนื้อทับทิมแท้  
มาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้
กาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ  ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา
คิดว่าหงส์จึงหลงด้วยลายย้อม  ช่างแปลงปลอมท่วงทีดีหนักหนา
ดังรักถิ่นมุจลินทร์ไม่คลาดคลา ครั้นลับตาฝูงหงส์ก็ลงโคลน
  


บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอนขุนช้างขอนางพิม
 
ครานั้นขุนช้างฟังแม่ถาม  
จะบอกความมิใคร่จะบอกได้
กลุ้มกลัดอัดอั้นให้ตันใจ  ร้องให้สะอึกสะอื้นโฮ
มือเช็ดน้ำตาแล้วว่าพลาง  ทุกข์ของลูกช้างนี้อักโข
อกลูกเป็นหนอนพอกะโต เหมือนใครโค่นต้นโพธิ์ลงทับกาย
ดังกระดูกแตกระเอียด เคร่งเครียดร้องปีไม่มีหาย
ยิ่งหนักลงเห็นคงตัวจะตาย จะช่วยรอดปรอดดายแต่มารดา
แก่นแก้วตายแล้วไม่มีสุข  ทุกข์ถึงเมียรักเป็นหนักหนา
เช้าค่ำพร่ำกินแต่น้ำตา  เป็นหม้ายทรมามากว่าปี
เงินทองกองเกลื่อนอยู่มากมาย  จะหายหรือจะอยู่มิรู้ที่
จะตรวจตราว่าไปทำไมมี  เมื่อขัดสนคนที่จะครอบครอง
หญิงอื่นหมื่นแสนลูกไม่เห็น  ใครจะเป็นแม่เรือนอยู่ร่วมห้อง
จะช่วยรักษาทรัพย์ประคับประครอง ลูกเที่ยวท่องดูทั่วทั้งสุพรรณ
เห็นแต่นางพิมพิลาไลย  อยู่เรือนใหญ่บ้านท่าพี่เลี้ยงนั่น
นางเป็นลูกยายศรีประจัน  รักกันกับข้ามาช้านาน
รบให้ไปขอเป็นหอห้อง  ครั้นมีท้องก็จะอายแก่เพื่อนบ้าน
เร่งเร้าเช้าค่ำลูกรำคาญ  แสนสงสารสุดที่จะทำวล
แม่จงปรานีกับลูกช้าง  ไปขอนางเป็นทีดูสักหน
ถ้าหม่อมแม่ของหล่อนไม่ผ่อนปรน ลูกจะพาพิมด้นมาจากเรือน
ถ้าพิมยอมพร้อมใจให้ปั่น  ทุนสินกองกันไม่อายเพื่อน
ได้สัญญามาแน่ไม่แชเชือน ในเดือนนี้ขึ้นค่ำเป็นวันดี
ต้องเอกะปาสังเป็นอย่างดี  จะเสกขี้ผึ้งให้แม่สี
แม่จงเมตตาปรานี วันนี้วันดีแม่จงไป ฯ
  
(ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ)


สำนวนสุนทรภู่
การแสดงความผูกพันระหว่างแม่กับลูก (ตอนกำเนิดพลายงาม)
 
ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ 
เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน
แล้วพาลูกออกมาข้างท่าเกวียน  จะจากเจียนใจขาดอนาถใจ
ลูกก็แลดูแม่แม่ดูลูก ต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล
สะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัย  แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา

  

 

      คุณค่า


          1. สำนวนโวหาร    มีสำนวนดี ใช้ถ้อยคำสามัญแต่ไพเราะ การบรรยายใช้ถ้อยคำเหมาะสมกับ ท้องเรื่อง กระบวนกลอน มีความคมคาย ดูดดื่มใจ ได้รสวรรณคดีทุกรส


          2. ด้านวรรณศิลป์   วรรณคดีสโมสรยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนสุภาพ เพราะมีรสวรรณคดีครบทุกรส กระบวนกลอนดี
          3. โครงเรื่อง        จัดระเบียบโครงเรื่องดี แม้จะมีผู้แต่งหลายคนก็ตาม แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ในเรื่องมีความสัมพันธ์ กัน บุคลิกภาพของตัวละครก็คงเส้นคงวา ตลอดจนเนื้อเรื่องและลีลากลอนก็ราบรื่นสอดคล้องกัน


          4. เนื้อเรื่อง          มีความสมจริงทั้งเหตุการณ์ ตัวละคร สถานที่และถิ่นฐานบ้านเมืองถูกต้องตามภูมิศาสตร์ ไม่ว่าจะ เป็นสถานที่ หมู่บ้าน ตำบล ทิศทาง ระยะทางถูกต้องตามสภาพความเป็นจริง ตัวละครมีชีวิตจิตใจและมีความสมจริง มีทั้งรัก โลภ โกรธ หลง ตามความเป็นจริงแห่งปุถุชน จึงเป็นหนังสือที่ถ่ายทอดชีวิตของคนในสังคมไทยในสมัยก่อน ได้อย่างดี


          5. ด้านความรู้       ให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย เช่น ความเชื่อทางเวทมนตร์คาถา ความเชื่อใน โชคลางต่าง ๆ เช่น แมงมุมตีอก ขิ้งขกทักถือว่าเป็นลางไม่ดี ความเชื่อมั่นและ ความเคารพในพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เช่น การทำบุญฟังเทศน์ การแต่งงาน การทำศพ การเกิด การบวช การรับขวัญ การพิสูจน์ดำน้ำลุยไฟ การคลอดลูก การแต่งกาย และยังให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาของคนไทยสมัยก่อน การเล่นของเด็กรายชื่อกับข้าวและขนม เป็นต้น


          6. ด้านค่านิยม      ให้ความรู้เกี่ยวกับค่านิยมของคนไทย เช่น ความซื่อสัตย์สุจริตต่อพระมหากษัตริย์ ลูกผู้หญิงจะ ต้องได้รับการฝึกฝนการบ้านการเรือน ลูกผู้ชายจะต้องเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาบาลี คาถาอาคม อันเป็นประโยชน์ตามความ นิยมในสังคมไทยสมัยก่อน และการถวายตัวในราชสำนัก เป็นต้น


          7. ให้ความรู้เกี่ยวโยงถึงวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น เรื่อง รามเกียรติ์ ไตรภูมิพระร่วง อิเหนา

 

สร้างโดย: 
ศรีสวาสดิ์ บุนนาค

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 259 คน กำลังออนไลน์