กว่าจะเป็นประเทศไทย

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


ยุคเริ่มแรก


          ประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือที่บ้านเชียง โดยสิ่งของที่ขุดพบมาจากในสมัยยุค 3,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีการพัฒนาเครื่องบรอนซ์ และมีการปลูกข้าว รวมถึงการติดต่อระหว่างชุมชนและมีระบอบการปกครองขึ้น

          มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาที่มาของชนชาติไท ทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อว่าชาวไทยในสมัยก่อนเคยมีถิ่นอาศัยอยู่ขึ้นไปทางตอนเหนือถึงแถบเทือกเขาอัลไต จากนั้นได้มีการทยอยอพยพเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน หลายละลอกเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายพันปี โดยเชื่อว่าเกิดจากการแสวงหาทรัพยากรใหม่ แต่ทฤษฎีนี้ขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าเชื่อถือได้ ในขณะเดียวกันก็มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าเดิมชนชาติไท ได้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้างขวางในทางตอนใต้ของจีนจนถึงภาคเหนือของไทยและได้มีการอพยพลงใต้เรื่อย ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน จากนั้นได้อาศัยกระจัดกระจายปะปนกับกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ โดยไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอาจเนื่องด้วยดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนในช่วงเวลานั้นยังมีพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีกลุ่มชนอาศัยอยู่เบาบาง ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจึงไม่รุนแรง รวมทั้งลักษณะนิสัยของชาวไทนั้นเป็นผู้อ้อนน้อมและประนีประนอม ความสัมพ้นธ์ระหว่างชาวไทยกลุ่มต่างๆ อาจมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดอยู่บ้าง ในฐานะของผู้มีภาษาวัฒนธรรมและที่มาอันเดียวกัน แต่การรวมตัวเป็นนิคมขนาดใหญ่หรือแว่นแคว้นยังไม่ปรากฏ ในเวลาต่อมา เมื่อมีชาวไทยอพยพลงมาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นจำนวนมากขึ้น ชาวไทยจึงเริ่มมีบทบาทในภูมิภาค แต่ก็ยังคงจำกัดอยู่เพียงการเป็นกลุ่มอำนาจย่อย ๆ ภายใต้อำนาจการปกครองของชาวมอญและเขมร กระทั่งอำนาจของเขมรในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มอ่อนกำลังลง กลุ่มชนที่เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของเขมร รวมทั้งกลุ่มของชาวไทย

          ในช่วงต่อมา มีการปกครองของหลายอาณาจักรในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ชาวมาเลย์ ชาวมอญ ชาวเขมร โดยอาณาจักรที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรทวารวดีในตอนกลาง อาณาจักรศรีวิไชยในตอนใต้ และอาณาจักรเขมรซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองที่นครวัด โดยคนไทยมีการอพยพมาจากดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ของจีน ผ่านทางประเทศลาว


 ภาคกลาง
อาณาจักรทวารวดี
อาณาจักรละโว้

 ภาคใต้
อาณาจักรศรีวิชัย
อาณาจักรตามพรลิงก์

 ภาคอีสาน
อาณาจักรฟูนาน
อาณาจักรขอม

 ภาคเหนือ
อาณาจักรหริภุญชัย
แคว้นโยนก
แคว้นเงินยางเชียงแสน

 ยุคสมัยสุโขทัย


          ในปี พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981 ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน

          พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์

          อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ ในสมัยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ


1. การปกครองส่วนกลาง
ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง

เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง

เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง 4 ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่

(1) ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)

(2) ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)

(3) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)

(4) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)


 2. การปกครองหัวเมือง
หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี 2 ลักษณะคือ

(1) หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร

(2) หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ

 

 

 ที่มา images.google.co.th/

 


 ยุคสมัยล้านนา


          ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดย พระเจ้าเม็งรายมหาราช และได้อยู่ภายใต้การปกครองโดยพม่าในปีพ.ศ. 1901 และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม


 

 

 

ที่มา images.google.co.th/

 

 

 ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา


          อยุธยาในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่างๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจอย่างหลวม ๆ ได้ กระทั่งเมื่อพม่าได้เข้ามารุกรานและสามารถครอบครองอยุธยาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อยุธยาจึงได้หล่อหลอมเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง ซึ่งก็ได้สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับอยุธยาเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งภายในที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดอยุธยาก็ไม่สามารถเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชาวไทยทั้งมวลได้ ทำให้ต้องถูกทำลายลงโดยกองทัพของพม่าอย่างง่ายดายเกินความคาดหมาย

          การล่มสลายลงของอาณาจักรอยุธยาทำให้ระบบระเบียบที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารนั้นถูกทำลายลง ความเข้มแข็งของอยุธยาจึงถูกแสดงออกภายหลังจากการล่มสลายลงของตัวมันเอง การประกาศเอกราชจากพม่าในเวลาอันสั้นในขณะที่ฝ่ายพม่าก็มีปัญหาเช่นกันอาจมิใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะยกมาอ้างอิง แต่การก่อร่างสร้างอาณาจักรของชาวไทยขึ้นมาใหม่ ท่ามกลางสภาพความแตกแยกและความพยายามที่จะเข้ามารุกรานจากกลุ่มชาวต่างๆ รายรอบนั้นย่อมแทบที่จะเป็นไปไม่ได้หากอาณาจักรอยุธยามิได้ฟูมฟักความเข้มแข็งนี้ไว้ให้

          อาณาจักรใหม่ของชาวไทยยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายในอีกรอบหนึ่งระหว่างกลุ่มขุนนางระดับล่างและกลุ่มขุนนางระดับสูงจาก อาณาจักรอยุธยาเดิม ซึ่งในที่สุดกลุ่มขุนนางระดับสูงจากอาณาจักรอยุธยาเดิมก็ได้รับชัยชนะ เนื่องจากเมื่ออาณาจักรเริ่มมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ความสามารถในเชิงรัฐศาสตร์และการเมืองอันลึกซึ้ง ย่อมทวีความสำคัญมากกว่าความสามารถในการสงครามประการเดียว

 

 

 

ที่มา  images.google.co.th/
 

ยุคสมัยกรุงธนบุรี


          ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่พระเจ้าตากสินมหาราชได้ขับไล่อาณาจักรพม่าออกจากอยุธยา และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง

การปกครองส่วนกลาง


          ฝ่ายทหารมีสมุหกลาโหมดูแล
ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกดูแล
นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งจตุสดมภ์ แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ส่วน คือ เวียง วัง คลัง นา

การปกครองหัวเมืองชั้นใน


          หัวเมืองชั้นใน(เมืองจัตตวา) คือหัวเมืองที่มีขนาดเล็กง่ายต่อการเดินทางไป มีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง
หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร คือเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี แบ่งออกเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ตรี ตามลำดับความสำคัญ มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าเมือง โดยได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
หัวเมืองประเทศราช คือ มีเจ้านายปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามเวลาที่กำหนดและต้องส่งกองทัพมาช่วยเมื่อราชธานีเกิดศึกสงคราม ได้แก่ กัมพูชา ลาว เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช

 

 

 

ที่มา  images.google.co.th/

 

 ยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


          ข้อเสียของการปกครองในสมัยอยุธยาได้ถูกพยายามกำจัดลงในสมัยรัตนโกสินทร์ การกำหนดตัวบุคคลผู้จะเข้าสู่อำนาจมีความชัดเจนและเด็ดขาด ปัญหาความขัดแย้งเนื่องด้วยการแก่งแย่งอำนาจจึงเบาบางลง อย่างไรก็ตามปัญหาการรุกรานจากชาติตะวันตกกลายเป็นปัญหาใหม่ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งก็ทำให้ฝ่ายปกครองต้องมีสมาธิในการบริหาร การตัดสินใจปรับปรุงพัฒนาประเทศอย่างทันท่วงทีทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก แต่ก็ส่งผลให้แนวคิดทางการเมืองการปกครองใหม่ ๆ ได้หลั่งไหลมาสู่ประเทศไทย

          ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เศรษฐกิจของโลกตกต่ำเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยเป็นอันมาก และทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้มีอำนาจปกครองซึ่งถูกมองว่ามีการหาประโยชน์ใส่ตนและพวกพ้องทั้งที่ประชาชนตกอยู่ในสภาวะยากแค้น ในที่สุดจึงเกิดการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศ แล้วเปลี่ยนการปกครองของประเทศเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยหวังว่าจะทำให้ประชาชนสามารถมีปากมีเสียงเข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ให้กับตนเองได้อย่างถ้วนหน้า อย่างไรก็ตามระบอบประชาธิปไตยในช่วงแรกนั้นยังไม่เหมาะกับสภาพทางสังคมของไทย ประชาชนไม่สามารถรักษาอำนาจอธิปไตยไว้กับตนได้ อำนาจอธิปไตยจึงถูกดึงให้ตกไปอยู่ในมือของฝ่ายทหารเป็นเวลาหลายทศวรรษ

          หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน

 

 

 

ที่มา   images.google.co.th/

 


การเตรียมการเปลี่ยนแปลง


          คณะราษฎรได้มีการประชุมเตรียมการหลายครั้ง รวมถึงได้มีการล้มเลิกแผนการบางแผนการ เช่น การเข้ายึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาซึ่งตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน แต่เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่วังไกลกังวล ทำให้เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนอยู่ในกรุงเทพ

          ในการวางแผนดังกล่าวกระทำที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อม


          ประชาชนหลั่งไหลเข้ามาดูเหตุการณ์ ณ ลานพระราชวังดุสิตหลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้านพระยาทรงสุรเดช โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ 24 มิถุนายนจะดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็น 4 หน่วยด้วยกัน คือ

          หน่วยที่ 1 ทำหน้าที่ทำลายการสื่อสารและการคมนาคมที่สำคัญ เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ดำเนินการโดยทั้งฝ่ายทหารบกและพลเรือน ทหารบกจะทำการตัดสายโทรศัพท์ของทหาร ส่วนโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบมี นายควง อภัยวงศ์ นายประจวบ บุนนาค นายวิลาศ โอสถานนท์ ดำเนินการ โดยมีทหารเรือทำหน้าที่อารักขา ส่วนสายโทรศัพท์และสายโทรเลขตามทางรถไฟและกรมไปรษณีย์เป็นหน้าที่ของ หลวงสุนทรเทพหัสดิน หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นต้น ซึ่งหน่วยนี้ยังรับผิดชอบคอยกันมิให้รถไฟจากต่างจังหวัดแล่นเข้ามาด้วย โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา 06.00 น.
หน่วยที่ 2 เป็นหน่วยเฝ้าคุม โดยมากเป็นฝ่ายพลเรือนผสมกับทหาร ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต จากวังสวนผักกาดมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระประยุทธอริยั่น จากกรมทหารบางซื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย โดยหน่วยนี้ดำเนินงานโดย นายทวี บุณยเกตุ นายจรูญ สืบแสง นายตั้ว ลพานุกรม หลวงอำนวยสงคราม เป็นต้น โดยฝ่ายนี้เริ่มงานตั้งแต่เวลา 01.00 น.
หน่วยที่ 3 เป็นหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนย้ายกำลัง ซึ่งทำหน้าที่ประสานทั้งฝ่ายทหารบกและทหารเรือ เช่น ทหารเรือจะติดไฟเรือรบ และเรือยามฝั่ง ออกเตรียมปฏิบัติการณ์ตามลำน้ำได้ทันที
หน่วยที่ 4 เป็นฝ่าย " มันสมอง " มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจากับต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจภายหลังการปฏิบัติการสำเร็จแล้ว
แม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายามที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ 4 คน คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำเข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน


 การยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475


 
          หมุด ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ มีข้อความว่า "...ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ"เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป

หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า


 ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์สังคม
          อาจกล่าวได้ว่า "กบฏ ร.ศ. 130" เป็นแรงขับดันให้คณะราษฎร ก่อการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า "ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม" และหลวงประดิษมนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า "พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130"

 

 

 

ที่มา  images.google.co.th/

 

 

ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย


          ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีมาจากประชาชนในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 การปกครองของอังกฤษซึ่งค่อย ๆ ดำเนินไปสู่ระบบรัฐสภาแห่งเสรีประชาธิปไตย โดยไม่ต้องมีการปฏิวัติเสียเลือดเนื้อ การเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของสหรัฐอเมริกาจากอังกฤษใน พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) และการปฏิวัติฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) หลังจากนั้นความคิดแบบประชาธิปไตยก็แพร่ขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ประเทศไทยก็ได้รับแนวความคิดเรื่องการปกครองประเทศระบอบประชาธิปไตย ด้วยการติดต่อกับประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

          การติดต่อกับต่างประเทศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่มีพระราชไมตรีทางการค้ากับประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2367 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาพวกมิชชันนารีจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในประเทศไทย คนไทยเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษ ศึกษาวิทยาการต่าง ๆ โดยเฉพาะพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ กลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ และกลุ่มข้าราชการก็ศึกษาวิชาการต่าง ๆ ด้วย ดังนั้นสังคมไทยบางกลุ่มจึงได้มีค่านิยมโลกทัศน์ตามวิทยาการตะวันตก

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2394 นั้นพระองค์ทรงตระหนักว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องยอมเปิดสันติภาพกับประเทศตะวันตกในลักษณะใหม่ และปรับปรุงบ้านเมืองให้ก้าวหน้าเยี่ยงอารยประเทศ ทั้งนี้เพราะเพื่อนบ้านกำลังถูกคุกคามด้วยลัทธิจักรวรรดินิยม จึงทรงเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของไทยมาเป็นการยอมทำสนธิสัญญาตามเงื่อนไขของประเทศตะวันตก และพยายามรักษาไมตรีนั้นไว้เพื่อความอยู่รอดของประเทศ

          ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะปฏิรูปประเทศไทยให้เจริญทัดเทียมกับประเทศตะวันตก ปัจจัยที่จะนำไปสู่จุดหมายได้คือ คน เงิน และการบริหารที่ดี ทรงมีพระราชดำริว่า หนทางแห่งความก้าวหน้าของชาติจะมีมาได้ก็ต้องอาศัยการศึกษาเป็นปัจจัย จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยเด็ดเดี่ยวว่า เยาวชนรุ่นใหม่ทั้งของราชวงศ์และบุตรขุนนางจะต้องได้รับการศึกษาอย่างดีกว่ารุ่นพระองค์เอง ในระยะแรกอิทธิพลของประเทศตะวันตกที่มีต่อประเทศไทยคือ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ หม่อมเจ้าเจ๊ก นพวงศ์ กับพระยาชัยสุรินทร์ (หม่อมราชวงศ์เทวหนึ่ง สิริวงศ์) ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษเป็นพวกแรก นับว่าเป็นครั้งแรกที่ทรงส่งนักเรียนหลวงไปเรียนถึงยุโรป ต่อมาก็ส่งพระราชโอรสและนักศึกษาไปศึกษาวิชาทหารที่ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเดนมาร์ก และประเทศรัสเชีย ก่อนหน้านั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคัดเลือกหม่อมเจ้า 14 คน ไปเรียนหนังสือที่สิงคโปร์ 2 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2413 - พ.ศ. 2415 ในโอกาสที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2413 นั่นเป็นการเตรียมคนที่จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาพระราชภาระในการปรับปรุงประเทศ การเตรียมปัจจัยการเงินเป็นการเตรียมพร้อมประการหนึ่ง ถ้าขาดเงินจะดำเนินกิจการใดให้สำเร็จสมความมุ่งหมายคงจะเป็นไปได้ยาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า การจัดการเงินแบบเก่ามีทางรั่วไหลมาก พวกเจ้าภาษีนายอากรไม่ส่งเงินเข้าพระคลังครบถ้วนตามจำนวนที่ประมูลได้ พระองค์จึงทรงจัดการเรื่องการเงินของแผ่นดินหรือการคลังทันทีที่พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินเต็มที่ เริ่มด้วยให้ตราพระราชบัญญัติตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ จ.ศ. 1235 (พ.ศ. 2416) มีพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติในปี จ.ศ. 1237 (พ.ศ. 2418) เพื่อจะได้ใช้จ่ายทุนบำรุงประเทศ ต่อมาทรงให้จัดทำงบประมาณจัดสรรเงินให้แต่กระทรวงต่าง ๆ เป็นสัดส่วน

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่ทรงทันได้ปรับปรุงการปกครองประเทศให้เป็นไปตามที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ ก็มีกลุ่มเจ้านายและข้าราชการทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดินเมื่อ ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2427) ทั้งนี้อาจจะวิเคราะห์ได้ว่า ที่พระองค์ยังไม่ทรงปรับปรุงงบการบริหารประเทศก่อน พ.ศ. 2428 เพราะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือ วิกฤติการณ์วังหน้า เมื่อ พ.ศ. 2417 การที่ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ให้รวมเงินมาอยู่ที่เดียวกัน กระทบกระเทือนต่อเจ้านาย และข้าราชการ โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมหมื่นไชยชาญ วิกฤติการณ์วังหน้าเป็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า แสดงถึงปฏิกิริยาโต้ตอบ การริเริ่มดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือสถาบันกษัตริย์ เห็นได้ชัดเจน ว่าเมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทิวงคต ในปี พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปรับปรุงการบริหารการปกครองส่วนกลางเป็น 12 กรม (ต่อมาเรียกว่า กระทรวง) ในปี พ.ศ. 2432

          ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ได้เริ่มมีมาแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีความเคลื่อนไหวมาตลอดจนถึงวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แนวความคิดและความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้แก่

          การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการใน ร.ศ. 103
ร่างรัฐธรรมนูญ แผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทความเกี่ยวกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเทียนวรรณ
ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของกลุ่มกบฏ ร.ศ. 130
แนวพระราชดำริและการเตรียมการเรื่องระบอบประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

ที่มา  images.google.co.th/

 

 

 การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการใน ร.ศ. 103
          ร.ศ. 103 ตรงกับ พ.ศ. 2427 เป็นปีที่ 17 ของการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีเจ้านายและข้าราชการ จำนวนหนึ่งที่รับราชการ ณ สถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอน และกรุงปารีส ได้ร่วมกันลงชื่อในเอกสารกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 ทูลเกล้าฯ ถวาย ณ วันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือน 2 ปีวอก ฉอศอ ศักราช 124 ตรงกับวันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ. 2427

เจ้านายและข้าราชการที่จัดทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นครั้งนั้น มีพระนามชื่อปรากฏอยู่ท้ายเอกสาร ได้แก่

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์)
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา)
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์)
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์)
นายนกแก้ว คชเสนี (พระยามหาโยธา)
หลวงเดชนายเวร(สุ่น สาตราภัย ต่อมาเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยพิพิธ)
บุศย์ เพ็ญกุล (จมื่นไวยวรนาถ)
ขุนปฏิภาณพิจิตร (หุ่น)
หลวงวิเสศสาลี (นาค)
นายเปลี่ยน
สัปเลฟเตอร์แนนสะอาด
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ได้ทรงมีบันทึกไว้ว่า

...ตกลงกันเป็นอันจะทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นร่วมกันรับผิดชอบ
ด้วยกัน ซึ่งเป็นความเห็นของพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณมากข้อ ข้าพเจ้าเป็น

ผู้เรียบเรียง กรมหมื่นนเรศร์พระองค์โสณบัณฑิตฯ พระองค์สวัสดิ์เป็นผู้

แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมทำ 4 ฉบับ ส่งเข้าไปให้สมาชิก ส โมสรหลวง สุด

แต่จะมีผู้ใด... เต็มใจลงนามร่วมเห็นพ้องด้วย ทูลเกล้าถวาย 1 ฉบับ สำหรับ

พระราชทานลงนาม ทูลเกล้าถวาย 1 สำหรับสำนักทูตทั้ง 2 เมือง

สำนักละฉบับให้นายเสน่ห์ หุ้มแพร นำเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวายและ

ชักชวนผู้อื่นให้ลงนามด้วย...
สาระสำคัญของคำกราบบังคมทูล นี้อยู่สามข้อ กล่าวคือ

          ภัยอันตรายจะมาถึงบ้านเมือง เนื่องจากการปกครองในขณะนั้น
การที่จะรักษาบ้านเมืองให้พ้นอันตราย ต้องอาศัยความเปลี่ยนแปลงบำรุงรักษาบ้านเมืองแนวเดียวกับที่ญีปุ่นได้ทำตามแนวการปกครองของประเทศในยุโรป
การที่จะจัดการตามข้อ 2 ให้สำเร็จ ต้องลงมือจัดให้เป็นจริงทุกประการ
ภัยอันตราย ที่จะมาถึงบ้านเมือง คือ ภัยอันตรายที่จะมีมาจากประเทศที่มีอำนาจมากกว่าประเทศไทย ถ้ามหาอำนาจในยุโรปประสงค์ จะได้เมืองใดเป็นอาณานิคม ก็จะต้องอ้างเหตุผลว่าเป็นภารกิจของชาวผิวขาวที่มีมนุษยชาติ ต้องการให้มนุษย์มีความสุขความเจริญ ได้รับความยุติธรรมเสมอกัน ประเทศที่มีการปกครองแบบเก่านอกจากจะกีดขวางความเจริญของประเทศในเอเชียแล้ว ยังกีดขวางความเจริญของประเทศที่เจริญรุ่งเรืองแล้วด้วย แล้วสรุปว่า รัฐบาลที่มีการปกครองแบบเก่าจัดการบ้านเมืองไม่เรียบร้อย เกิดอันตรายทำให้อันตรายนั้นมาถึงชาวยุโรป นับว่าเป็นช่องทางที่ชาวยุโรปจะเข้าจัดการให้หมดอันตราย และอีกประการหนึ่ง ถ้าปิดประเทศไม่ค้าขายก็จะเข้ามาเปิดประเทศค้าขายให้เกิดประโยชน์ ทั้งหมดเป็นเหตุผลที่ประเทศในยุโรปจะยึดเอาเป็นอาณานิคม

การป้องกันอันตรายที่จะบังเกิดขึ้นอยู่หลายทางแต่คิดว่าใช้ไม่ได้คือ

          การใช้ความอ่อนหวานเพื่อให้มหาอำนาจสงสาร ประเทศญี่ปุ่นได้ใช้ความอ่อนหวานมานานแล้ว จนเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์ จึงได้จัดการเปลี่ยนการบริหารประเทศให้ยุโรป นับถือ จึงเห็นว่าการใช้ความอ่อนหวานนั้นใช้ไม่ได้
การต่อสู้ด้วยกำลังทหารซึ่งก็เป็นความคิดที่ถูกต้อง กำลังทหารของไทยมีไม่เพียงพอทั้งยังต้องอาศัยซื้ออาวุธจากต่างประเทศได้รบกันจริง ๆ กับประเทศในยุโรป ประเทศในยุโรปจะยอมแพ้ทั้งประเทศอื่น ๆ ที่เป็นมิตรประเทศของคู่สงครามกับประเทศไทยก็จะไม่ขายอาวุธให้ประเทศไทยเป็นแน่
การอาศัยประโยชน์ที่ประเทศไทยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศที่เป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส ประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสอาจให้ประเทศไทยเป็นรัฐกันชน (Buffer State) และก็คงให้มีอาณาเขตแดนเพียงเป็นกำแพงกั้นระหว่างอาณานิคมประเทศไทยก็จะเดือดร้อนเพราะเหตุนี้
การจัดการบ้านเมืองเพียงเฉพาะเรื่อง ไม่ได้จัดให้เรียบร้อยตั้งแต่ฐานราก ไม่ใช่การแก้ปัญหา
สัญญาทางพระราชไมตรีที่ทำไว้กับต่างประเทศ ไม่เป็นหลักประกันว่าจะคุ้มครองประเทศไทยได้ ตัวอย่างที่สหรัฐอเมริกาสัญญาจะช่วยประเทศจีนครั้นมีปัญหาเข้าจริงสหรัฐอเมริกาก็มิได้ช่วย และถ้าประเทศไทยไม่ทำสัญญาให้ผลประโยชน์แก่ต่างประเทศ ประเทศนั้น ๆ ก็จะเข้ามากดขี่ให้ประเทศไทยทำสัญญาอยู่นั่นเอง
การค้าขายและผลประโยชน์ของชาวยุโรปที่มีอยู่ในประเทศไทย ไม่อาจช่วยคุ้มครองประเทศไทยได้ถ้าจะมีชาติที่หวังผลประโยชน์มากขึ้นมาเบียดเบียน
คำกล่าวที่ว่า ประเทศไทยรักษาเอกราชมาได้ก็คงจะรักษาได้อย่างเดิม คำกล่าวอย่างนั้นใช่ไม่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งเป็นเวลาที่ประเทศในยุโรปกำลังแสวงหาเมืองขึ้นและประเทศที่ไม่มีความเจริญก็ตกเป็นอาณานิคมไปหมดแล้ว ถ้าประเทศไทยไม่แก้ไขก็อาจจะเป็นไปเหมือนกับประเทศที่กล่าวมา
กฎหมายระหว่างประเทศจะคุ้มครองประเทศที่เจริญและมีขนบธรรมเนียมคล้ายคลึงกัน ประเทศญี่ปุ่นได้แก้ไขกฎหมายให้คล้ายกับยุโรปก็จะได้รับความคุ้มครอง ประเทศไทยต้องปรับปรุงการจัดบ้านเมืองให้เป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่นมิฉะนั้นกฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่ช่วยประเทศไทยให้พ้นอันตราย
ในหนังสือกราบบังคมทูล ได้เสนอความเห็นที่เรียกว่าจัดการบ้านเมืองตามแบบยุโรป รวม 7 ข้อ ดังนี้

          ให้เปลี่ยนการปกครองจากแอบโสลูดโมนากี (Absolute Monarchy) ให้เป็นการปกครองที่เรียกว่า คอนสติติวชั่นแนลโมนากี (Constitutional Monarchy) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานของบ้านเมือง มีข้าราชการรับสนองพระบรมราชโองการ เหมือนสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ในยุโรป ที่มิต้องทรงราชการเองทั่วไปทุกอย่าง
การทำนุบำรุงแผ่นดินต้องมีพวกคาบิเนต รับผิดชอบและต้องมีพระราชประเพณีจัดสืบสันตติวงศ์ให้เป็นที่รู้ทั่วกัน เมื่อถึงคราวเปลี่ยนแผ่นดินจะได้ไม่ยุ่งยาก และป้องกันไม่ให้ผู้ใดคิดหาอำนาจเพื่อตัวเองด้วย
ต้องหาทางป้องกันคอรัปชั่นให้ข้าราชการมีเงินเดือนพอใช้ตามฐานานุรูป
ต้องให้ประชาชนมีความสุขเสมอกันมีกฎหมายให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนทั่วไป
ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขขนบธรรมเนียม และกฎหมายที่ใช้ไม่ได้ที่กีดขวางความเจริญ ของบ้านเมือง
ให้มีเสรีภาพในทางความคิดเห็น และให้แสดงออกได้ในที่ประชุมหรือในหนังสือพิมพ์ การพูดไม่จริงจะต้องมีโทษตามกฎหมาย
ข้าราชการทุกระดับชั้นต้องเลือกเอาคนที่มีความรู้ มีความประพฤติดี อายุ 20 ขึ้นไป ผู้ที่เคยทำชั่วถูกถอดยศศักดิ์ หรือเคยประพฤติผิดกฎหมาย ไม่ควรรับเข้ารับราชการอีก และถ้าได้ ข้าราชการที่รู้ขนบธรรมเนียมยุโรปได้ยิ่งดี
ในข้อเสนอนั้นได้ระบุว่า “ทางที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบบังคมทูลพระกรุณาว่าเป็น คอนสติติวชั่นยุโรปนั้นหาได้ประสงค์ที่จะมีปาลิเมนต์ในเวลานี้ไม่หมายความผู้เสนอขอให้มีรัฐธรรมนูญ (Constitution) ยังไม่ได้ต้องการรัฐสภา (Parliament) เหมือน “ดังกรุงอังกฤษฤๅอเมริกา” ซึ่งอำนาจและความผิดชอบอยู่ในเนื้อมือราษฎรทั้งสิ้นให้มี “เคาเวอนเมนต์ และกำหนดกฎหมายความยุติธรรมอันแน่นอน” หมายถึงให้มีคณะรัฐบาล (Government) ซึ่งประกอบด้วยเสนาบดีหรือรัฐมนตรีพร้อมทั้งมีกฎหมายที่ให้ความยุติธรรม

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอบ ความเห็นของคณะที่กราบบังคมทูลจะให้เปลี่ยนแปลงการปกครองว่า พระองค์ทรงตระหนักในอันตรายที่กล่าวมานั้นและไม่ต้องห่วงว่าพระองค์จะทรง “ขัดขวางในการที่จะเสียอำนาจซึ่งเรียกว่า แอบโซลูด” พระองค์ทรงกล่าวต่อไปว่าเมื่อพระองค์ทรงครองราชสมบัติใหม่ ๆ ทรงไม่มีอำนาจอันใดเลย ขณะพระองค์ทรงมีอำนาจบริบูรณ์ ในเวลาที่ทรงมีอำนาจน้อย ก็มีความลำบาก เวลานี้มีอำนาจมากก็มีความลำบาก พระองค์จึงทรงปรารถนาอำนาจปานกลาง ได้ทรงครองราชย์มาถึง 17-18 ปี ได้ทรงศึกษาเหตุการณ์บ้านเมืองอื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่เหมือนคางคกในกะลาครอบหรือทรงอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทรงทำอะไรเลย ที่เรียกร้องให้มีรัฐบาล (คอเวอนเมนต์) ก็มีเสนาบดีเป็นรัฐบาลแล้ว แต่ยังไม่ดี สิ่งที่พระองค์ทรงต้องการคือ “คอเวอนเมนตรีฟอม” หมายถึงให้พนักงานของราชการแผ่นดินทุก ๆ กรมทำการให้ได้เต็มที่ ให้ได้ประชุมปรึกษากัน ติดต่อกันง่ายและเร็ว อีกประการหนึ่งทรงหาผู้ทำกฎหมายสละที่ปรึกษากฎหมายการกระทำทั้งสองประการต้องได้สำเร็จก่อน การอื่น ๆ ก็จะสำเร็จตลอด

          แท้จริงแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราโชบายที่จะทรงปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินมาตั้งแต่พระองค์ทรงมีอำนาจในการปกครองอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ ใน พ.ศ. 2417 ได้ทรงสถาปนาสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์เป็นองค์กรใหม่ช่วยบริหารประเทศ โดยทรงมีพระราชดำริว่า “ราชการบ้านเมืองที่จะเกิดขึ้นใหม่และที่คั่งค้างมาแต่เดิมนั้น ไม่สามารถที่จะทรงจัดการให้สำเร็จโดยลำพังพระองค์เอง” ถ้ามีผู้ช่วยกัน คิดหลายปัญญาแล้ว การที่รกร้างมาแต่เดิม ก็จะปลดเปลื้องไปทีละน้อย ๆ ความดีความเจริญก็ยังเกิดแก่บ้านเมือง... สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) มีสมาชิกเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยา 12 นาย ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาข้อราชการและออกพระราชกำหนดกฎหมายตามพระบรมราชโองการ หรืออาจจะกราบบังคมทูลเสนอความคิดเห็นในการออกกฎหมายใหม่ ส่วนสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) สมาชิกของสภานี้คือ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการระดับต่าง ๆ มี 49 นาย ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาข้อราชการ และเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ ซึ่งอาจจะนำไป อภิปรายในสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน แต่ปรากฏว่าสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ไม่ได้มีผลงานหรือจะเรียกว่าประสบความล้มเหลว สมาชิกทั้งสองสภาไม่ค่อยได้แสดงความคิดเห็นตามวิถีทางอันควร อาจเป็นเพราะขาดความรู้ความสามารถ และหรือไม่กล้าที่จะออกความคิดเห็นซึ่งไม่ใช่ลักษณะที่เคยทำมาก่อน

          เพราะฉะนั้น การเรียกร้องให้มีรัฐบาลและรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายปกครองประเทศตามความหมายของระบอบประชาธิปไตยเป็นไปได้ยาก

 

ที่มา  images.google.co.th/

 


 รัฐธรรมนูญแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


          คำว่ารัฐธรรมนูญตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Constitution" ได้มีการบัญญัติขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ผู้ที่บัญญัติศัพท์คำนี้คือ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ มีความหมายว่า "กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ" ซึ่งกำหนดรูปแบบและหลักการปกครอง ตลอดจนวิธีการดำเนินการปกครองไว้อย่างเป็นระเบียบ รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของประชาชนที่พึงกระทำต่อรัฐกับรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนซึ่งรัฐจะละเมิดมิได้ไว้อีกด้วย

          ได้มีผู้สงสัยว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทรงปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นแบบอารยประเทศ จะไม่ทรงมีพระกระแสพระราชดำริเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ หรือคำกราบบังคมทูลของกลุ่มบุคคลใน ร.ศ. 103 ไม่บังเกิดผลแต่อย่างไร ต่อมานายปรีดา ศรีชลาลัย ได้เล่าเรื่องการค้นพบ “ร่างรัฐธรรมนูญแผ่นดินของสมเด็จพระปิยมหาราช” ว่า

บังเอิญงานค้นคว้าทางประวัติศาสตร์เป็นผลให้ข้าพเจ้าได้พบสำเนา
ร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งรัชกาลที่ 5 ในร่างนั้นมีระบุถึงประธานาธิบดีแต่ไม่ใช่

ประธานาธิบดีแห่งมหาชนรัฐ ข้อความบ่งให้ทราบว่าได้ร่างขึ้นก่อน ร.ศ 112

(คือก่อน พ.ศ. 2436) แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ร่าง ครั้นต่อมาได้พบสำเนาจดหมาย

ของท่านเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี กราบบังคมทูลพระกรุณาท้าวความถึงสมเด็จ

กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ...สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ได้ทรงทราบ

จดหมายของท่านเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีตลอดแล้ว จึงลงลายพระหัตถ์เป็น

การชี้แจงตอบ... ล้วนแต่เกี่ยวกับการเมืองอย่างสำคัญ ๆ ในระหว่างนั้นและ

โดยเฉพาะราชการของที่ประชุมร่างกฎหมายและกฎข้อบ้งคับ ประสบอุปสรรค

ต่าง ๆ เพราะเหตุไร ในส่วนพระองค์ท่าน...ทำการร่างกฎหมายสำคัญไปแล้วมีอะไร

บ้าง เช่น (1) ราชประเพณี (ได้แก่ที่เรียกในปัจจุบันนี้ว่า รัฐธรรมนูญ) (2) พระราช

กฤษฎีกาสำหรับที่ชุมนุมทั้งปวงปรึกษากันในสภา ฯลฯ เป็นอันทราบได้จากสำเนา

ลายพระหัตถ์ดังกล่าวมานี้ว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่าราชประเพณี

สมเด็จพรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการทรงร่างเสด็จ ก่อนวันที่ 9 สิงหาคม

          พ.ศ. 2432 (คือเมื่อก่อน60 ปีมานี้ หรือก่อนสิ้นรัชกาลที่ 5 เป็นเวลา 20 ปีเต็ม)
“ราชประเพณี” ที่กล่าวถึง ชื่อว่า “ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ 1 ว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยาม” เป็นร่างกฎหมาย 20 มาตรา กำหนดพระบรมเดชานุภาพ ราชสดมภ์คือ (1) รัฐมนตรีสภาหรือลูกขุน ณ ศาลหลวง คือผู้ซึ่งทรงเลือกสรรให้คิดร่างกฎหมาย และคอยระวังไม่ให้เสนาบดีสภาทำผิดพระราชกำหนดกฎหมาย (2) องคมนตรีสภา เป็นผู้ทรงเลือกสรรไว้ต่างพระเนตรพระกรรณ (3) เสนาบดีสภา หรือลูกขุน ณ ศาลา เป็นผู้ซึ่งทรงเลือกสรรไว้ทนุบำรุงแผ่นดินตามพระบรมราโชบายและตามพระราชกำหนดกฎหมาย ในราชประเพณียังกล่าวถึงการสืบสันตติวงศ์ ผู้รั้งราชการ การประชุม คำวินิจฉัยตกลงเป็นมาตราสุดท้าย

          ร่างรัฐธรรมนูญในรัชการที่ 5 มีความสำคัญที่จะได้เปรียบเทียบว่า ความมุ่งหมายของคนในสมัยนั้นกับความมุ่งหมายของคนในปัจจุบัน แตกต่างกันอย่างไร ส่วนไหนเป็นประโยชน์และความต้องการของฝ่ายปกครอง และส่วนไหนราษฎรจะได้ผลดีบ้าง ร่างรัฐธรรมนูญในรัชกาลที่ 5 ไม่ได้ปรากฏว่านำมาใช้แต่อยางไรบทความเกี่ยวกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเทียนวรรณ เทียนวรรณ หรือ ต.ว.ส วัณณาโภ เกิดใน พ.ศ. 2358 หลังจากสึกจากสมณเพศใน พ.ศ. 2411 ได้ลงเรือไปกับฝรั่งท่องเที่ยวในเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิกเป็นเวลาหลายปี เทียนวรรณเคยถวายหนังสือที่เขาพิมพ์ขึ้นพร้อมกับขอรับราชการเมื่อ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) เทียนวรรณเป็นที่ปรึกษาของหนังสือพิมพ์สยามออฟเซอรเวอร์ ต่อมาได้ออกหนังสือรายปักษ์ชื่อ ตุลวิภาคพจนกิจ ได้ล้มเลิกเมือ พ.ศ. 2449 แล้วออกหนังสือเล่มใหม่ชื่อ ศิริพจนภาค เป็นรายเดือนในปี พ.ศ. 2451 เทียนวรรณตกลงใจเขียนสิ่งที่จนคิดออกเผยแพร่ วิจารณ์สภาพการณ์ที่เขาเห็นว่าควรมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงด้วยความรักชาติ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

          เรื่องที่เทียนวรรณวิจารณ์รุนแรงที่สุด จนเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงโต้ตอบก็คือ เรื่องว่าด้วยกำลังใหญ่ 3 ประการของบ้านเมือง กล่าวคือต้องมีปัญญาและมีความรู้มาทั่วกัน ทั้งเจ้านาย ขุนนาง และราษฎร มีโภคทรัพย์สมบัติมาก และบ่อเกิดของทรัพย์เกิดจากปัญญาและวิชาความเพียรของรัฐบาลและราษฎร มีทหารและพลเมืองมากและกล่าวว่า ชาวยุโรปได้เอาใจใส่ปกครองชาติ ราษฏรมีโอกาสอันดีด้วยความสามัคคีเป็นใหญ่ พูดถึงญี่ปุ่นใช้เวลา 60 ปี ก็เจริญโดยเร็วทั้งมีความรู้ยิ่ง ประเทศอังกฤษยอมให้คนบังคับอังกฤษรับอำนาจวินิจฉัยของศาลญี่ปุ่นตามแต่ญี่ปุ่นจะพิพากษา

          ในเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตย เทียนวรรณเสนอความคิดในข้อเขียนเรื่อง “ว่าด้วยความฝันละเมอแต่มิใช่นอนหลับ” ในข้อที่ 28 กล่าวไว้ว่า

จะตั้งปาลิเมนต์ อนุญาตให้มีหัวหน้าราษฎรมาพูดธุระชี้แจงของตนแก่
รัฐบาลได้ ในข้อที่มีคุณและมีโทษทางความเจริญและไม่เจริญนั้น ๆ ได้

ตามเวลาที่กำหนดอนุญาตไว้

ในความฝันที่เราฝันมานี้ ในชั้นต้นจะโหวตเลือกผู้มีสติปัญญาเป็น

ชั้นแรกคราวแรกที่เริ่มจัด ให้ประจำการในกระทรวงทุกอย่างไปก่อน

กว่าจะได้ดำเนินให้เป็นปรกติเรียบร้อยได้
ต่อมาเทียนวรรณได้เขียนกลอนให้เห็นว่า ราษฎรจำเป็นต้องมีผู้แทน มีรัฐสภา ซึ่งเทียนวรรณใช้คำทับศัพท์ว่า ปาลิเมนต์

       
ไพร่เป็นพื้นยืนร้องทำนองชอบ   ตามระบอบปาลิเมนต์ประเด็นขำ
แม้นนิ่งช้าล้าหลังยังมิทำ   จะตกต่ำน้อยหน้าเวลาสาย
ขอให้เป็นเช่นเราผู้เฒ่าทก   บำรุงรักษาชาติสะอาดศรี
ทั้งเจ้านายฝ่ายพหลและมนตรี   จะเป็นศิวิไลซ์จริงอย่านิ่งนาน
ให้รีบหาปาลิเมนต์ขึ้นเป็นหลัก   จะได้ชักน้อมใจไพร่สมาน
เร่งเป็นฟรีปรีดาอย่าช้ากล   รักษาบ้านเมืองเราช่วยเจ้านาย

          จะเห็นว่าข้อเสนอของเทียนวรรณ ก้าวหน้าไปกว่าคำกราบบังคมทูลของกลุ่มเจ้านาย และข้าราชการใน ร.ศ. 103 เพราะได้เรียกร้องให้มีรัฐสภาซึ่งมาจากราษฎร

          การเรียกร้องให้มีการปกครองแบบรัฐสภา ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระบรมราชาธิบายว่าด้วยความสามัคคีแก้ความในคาถาที่มีโนอามแผ่นดิน” ด้วยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะอธิบายแนวความคิดอันเป็นพื้นฐานของพระราโชบายของพระองค์เกี่ยวกับการปรับปรุงการปกครองบ้านเมือง ทั้งเป็นการชี้แจงด้วยว่าเหตุใดพระองค์จึงยังไม่ทรงจัดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของไทยให้เป็นไปตามแบบฉบับของประเทศในยุโรปโดยทันทีเช่น

เพราะฉะนั้นจะป่วยการกล่าวไปถึงความคิดที่จะตั้งปาลิเมนต์
ขึ้นในหมู่คนซึ่งไม่มีความรู้พอที่จะคิดราชการ และไม่เป็นความต้องการ

ของคนทั้งปวง นอกจากที่อยากจะเอาอย่างประเทศยุโรปเพียงสี่ห้าคน

เท่านั้น … ถ้าจะจัดตั้งปาลิเมนต์ หรือให้เกิดมีโปลิติกัลปาตีขึ้นใน

เวลาที่บ้านเมืองยังไม่ต้องการดังนี้ ก็จะมีแต่ข้อทุ่มเถียงกันจนการอันใด

ไม่สำเร็จไปได้ เป็นเครื่องถ่วงให้บ้านเมืองมีความเจริญช้า… ส่วน

เมืองเราราษฎรไม่มีความปรารถนาอยากจะเปลี่ยนแปลงอันใด …

การที่อยากเปลี่ยนแปลงนั้นกลับเป็นของผู้ปกครองบ้านเมืองอยาก

เปลี่ยนแปลง… ถ้าจะตั้งปาลิเมนต์ขึ้นในเมืองไทย เอาความคิดราษฎร

เป็นประมาณในเวลานี้แล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะไม่ได้จัดการอันใดได้

สักสิ่งหนึ่งเป็นแน่แท้ที่เดียว คงจะเถียงกันป่นปี้ไปเท่านั้น
          จากพระบรมราชธิบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของพระองค์ว่า ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะมีการปกครองตามระบอบรัฐสภา พระองค์จึงไม่ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองให้มีรัฐสภาและมีรัฐธรรมนูญ แต่พระองค์ก็ทรงยอมรับว่า การปกครองของประเทศจะต้องเปลี่ยนไปในทางที่จะมีรัฐสภาและรัฐธรรมนูญในภายหน้า ถึงกับมีพระราชดำรัสในที่ประชุมเสนาบดีว่า "ฉันจะให้ลูกวชิราวุธมอบของขวัญให้แก่พลเมืองไทยทันทีที่ขึ้นสู่ราชบัลลังก์กล่าวคือ ฉันจะให้เขามีปาลิเมนต์และคอนสติติวชั่น"


 ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของกลุ่มกบฎ ร.ศ. 130


          เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พ.ศ. 2453 นั้นกลุ่มปัญญาชนต่างก็มุ่งหวังว่า พระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และคงได้ทรงเตรียมพระองค์ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสไว้ แต่ปรากฏว่ายังไม่มีพระราชดำริในเรื่องรัฐสภาและรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ในเวลาเดียวกันประเทศจีนมีการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์แมนจู เปลี่ยนการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นผลสำเร็จ ทำให้ความคิดอยากจะได้ประชาธิปไตยมีมากขึ้น ประกอบกับความไม่พอใจในพระราชจริยาวัตรบางประการของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาที่จะล้มล้างระบอบการปกครอง

          ดังนั้น เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็คือ พวกนายทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน รวมประมาณ 100 คน เรียกตัวเองว่า คณะ ร.ศ. 130 ได้วางแผนการปฏิวัติการปกครองหวังให้พระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทยคณะ ร.ศ. 130 นั้น ถ้าจะพิจารณารายชื่อกันแล้วส่วนใหญ่เป็นนายทหารบก ทหารเรือและพลเรือน รวมประมาณ 100 คน เรียกตัวเองว่า คณะ ร.ศ. 130 ได้วางแผนการปฏิวัติการปกครอง หวังให้พระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทยคณะ ร.ศ. 130 นั้น ถ้าจะพิจารณารายชื่อกันแล้วส่วนใหญ่เป็นนายทหารบก อายุน้อย เพิ่งสำเร็จการศึกษาใน ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2451) หัวหน้าคณะได้แก่ นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์)อายุ 28 ปี อายุคนอื่น ๆ เช่น นายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ เพียง 18 ปี นายร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์ อายุ 19 ปี เป็นต้น คณะ ร.ศ. 130 ได้กำหนดวันปฏิวัติเป็นวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2455 อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยสมัยนั้น ซึ่งจะมีพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่คณะก่อการคณะนี้ได้ถูกจับกุมเสียก่อนเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 เพราะผู้ร่วมงานคนหนึ่งคือนายร้อยเอก หลวงสินาคโยธารักษ์ นำความลับไปทูลหม่อมเจ้า พันธุประวัติผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งก็ได้กราบทูลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถให้ทรงทราบและดำเนินการจับกุมด้วยพระองค์เอง คณะ ร.ศ. 130 ถูกศาลทหารพิพากษาให้ประหารชีวิต 3 คน จำคุกตลอดชีพ 20 คน และจำคุกนานลดหลั่นกันตามความผิด โทษที่น้อยคือจำคุกมีกำหนด 12 ปี ในข้อหาว่าจะเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครองของพระราชอาณาจักรและทำการกบฎประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดิน แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ความผิดของพวกเขาเหล่านี้มี "ข้อสำคัญที่จะกระทำร้ายต่อตัวเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทอาฆาตมาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินจะยกให้ได้" ดังนั้น ผู้ที่มีชื่อถูกประหารชีวิต 3 คน จึงได้รับการลดโทษลงมาเป็นจำคุกตลอดชีวิต และผู้ที่มี่ชื่อถูกจำคุกตลอดชีวิต 20 คนให้ลดโทษลงมาเหลือจำคุก 20 ปี อีก 68 คนซึ่งมีโทษจำคุกต่าง ๆ กันนั้น ให้รอการลงอาญาไว้ (ใน พ.ศ. 2467 นักโทษการเมืองทั้ง 23 คนได้ถูกปล่อยตัวหมด)

          สาเหตุของการคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นเพียงขบวนเล็กน้อย คือในปลาย พ.ศ. 2452 ได้มีการโบยหลังนายทหารสัญญาบัตรกลางสนามหญ้า ภายในกระทรวงกลาโหมท่ามกลางวงล้อมของนายทหารกองทัพบก ด้วยการบัญชาการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทั้งนี้เพราะนายร้อยเอกโสม ได้ตามไปตีมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ที่มาทะเลาะวิวาทกับทหารบกที่หน้ากรมทหาร การโบยหลังนายร้อยเอกโสม ทำให้เกิดปฏิกิริยาเกิดขึ้นในหมู่ทหารบก และโดยเฉพาะนักเรียนนายร้อยทหารบก ครั้นต่อมา ใน พ.ศ. 2453 – 2454 นายทหารรุ่นที่จบจากโรงเรียนนายทหารบกในปลาย ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) ได้เข้ารับราชการประจำกรมกองต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักรแล้ว มีหลายคนที่เกิดความรู้สึกสะเทือนใจอย่างแรงกล้าจากการตั้ง "กองเสือป่า" คิดว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงสนับสนุนกิจการทหารบก และคิดต่อไปว่าการที่ประเทศไทยไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรเพราะเป็นการปกครองด้วยคนคนเดียว นายทหารบกกลุ่มนี้คิดเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มการปฏิรูปประเทศพร้อม ๆ กัน แต่เหตุใดประเทศญี่ปุ่นจึงเจริญเกินหน้าประเทศไทยไปไกล คำตอบที่นายทหารบกกลุ่ม ร.ศ. 130 คิดได้คือประเทศญี่ปุ่นได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใต้กฎหมาย ทั้งยังปลูกฝังให้พลเมืองรู้จักรักชาติ รักวัฒนธรรม รัฐบาลรู้จักประหยัดการใช้จ่ายในไม่ช้าก็มีการค้าไปทั่วโลก มีผลิตผลจากโรงงานอุตสาหกรรมของตนเอง มีการคมนาคมทั้งทางน้ำและทางบกภายในประเทศและนอกประเทศ และแผ่อิทธิพลทางการเมือง การทหาร การสังคมและวัฒนธรรมไปทั่วโลกได้อีกด้วย แต่ประเทศไทยไม่สามารถจะหยิบยกภาวะอันใดที่เป็นความเจริญก้าวหน้ามาเทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่นได้เลย เมื่อคำนึงถึงความล้าหลังของประเทศ และคิดว่าไม่ควรที่อำนาจการปกครองประเทศชาติจะอยู่ในมือของคนคนเดียว จึงทำให้นายทหารบกคิดปฏิวัติ

          แผนการปฏิวัตินั้น จะขอเพียงว่าให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเล้าเจ้าอยุ่หัวทรงยอมยกตำแหน่งมาอยู่ใต้กฎหมายสูงสุดคือ รัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น และได้วางแผนกันต่อมา ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงยินยอม ก็จะทูลเชิญเจ้านายในพระราชวงศ์จักรีขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐไทย บรรดานายทหารบกคิดจะทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรงเป็นประธานาธิบดี พวกทหารเรือก็คิดว่าควรจะเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นต้น การดำเนินงานตามแผนเน้นจะใช้เวลาถึง 10 ปีเพื่อจะได้มีเวลาสอนทหารเกณฑ์ทุกรุ่นในช่วงเวลานั้น รอให้ทหารเกณฑ์ได้แยกย้ายกันไปประกอบอาชีพตามภูมิลำเนาทั่วประเทศ และได้อบรมสั่งสอนลูกหลานในทำนองเดียวกัน อีกประการหนึ่งก็เพื่อให้ผู้คิดเปลี่ยนแปลงการปกครองได้มีวัยวุฒิ และคุณวุฒิเพิ่มขึ้น คือมีอายุ และตำแหน่งในหน้าที่การงานสูงขึ้น ความสามารถและความสุจริตจะได้เป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติให้มหาชนเชื่อถือได้

          อุดมการณ์ของคณะ ร.ศ. 130 เป็นอุดมการณ์ของคนหนุ่มซึ่งส่วนมากเพิ่งสำเร็จการศึกษามีความห่วงใยในอนาคตของประเทศชาติ แต่ก็นับว่าเป็นผลผลิตของการศึกษาแผนใหม่แบบตะวันตกซึ่งเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกนักเรียนนายร้อยทหารบกได้รับการสั่งสอนเรื่องระบอบการปกครองและลัทธิ จากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถและพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) และได้วิพากษ์วิจารณ์กันในห้องเรียนถึงลัทธิที่ดีและไม่ดี ถึงแม้ว่าคณะ ร.ศ. 130 จะประสบความล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ตามแต่ก็นับได้ว่าเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีส่วนในการริเริ่ม และวางรากฐานความคิดที่จะมีการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งต่อมาการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ได้กระทำสำเร็จก็เป็นคณะปฏิวัติที่มาจากทหารบกอีกเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าเป็นอิทธิพลทางความคิดที่ต่อเนื่องกัน

 

          แนวพระราชดำริและการเตรียมการเรื่องระบอบประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความต้องการของกลุ่มปัญญาชนทั้งข้าราชการและประชาชนที่ต้องการปกครองในแนวประชาธิปไตย พระราชดำริของพระองค์เกี่ยวกับประชาธิปไตยได้ปรากฏในจดหมายเหตุรายวัน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีข้อดีในการที่อำนาจการปกครองประเทศไม่ตกอยู่กับบุคคลคนเดียว แต่ถ้าจะนำมาใช้ก็มีข้อจำกัด คือประชาชนไม่มีความรู้พอที่จะปกครองตนเองได้ ถ้าให้อำนาจในการตัดสินใจแทนผู้ปกครองแประเทศก็อาจจะเกิดผลร้ายต่อชาติ นอกจากนี้ในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรก็ไม่แน่เสมอไปว่า จะได้คนดีมีความรู้ความสามารถ เนื่องจากประชาชนไม่มีเวลามากพอที่จะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงมีพระราชวิจารณ์เกี่ยวกับระบบพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองใดทุนมากก็อาจจะล่อใจให้ประชาชนเลือกพรรคของตน อำนาจจึงตกเป็นของคนกลุ่มน้อย แทนที่จะอยู่ในมือของประชาชน และการที่พรรคการเมืองผลัดกันเข้ามาบริหารประเทศ ทำให้การดำเนินนโยบายต่าง ๆ ไม่ติดต่อกัน การงานล่าช้า และชะงักงัน

          สรุปว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วยกับการปกครองระบบประชาธิปไตยที่จะมีมาในขณะนั้น ดังนั้นพระองค์จึงทรงสอดแทรกแนวพระราชดำริเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมของประชาธิปไตยต่อสังคมไทยทุกโอกาส[ต้องการแหล่งอ้างอิง] เช่น พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นักเรียนไทยในยุโรป เมื่อ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2468 ตอนหนึ่งว่า ก่อนที่จะรับลัทธิการปกครองใด ๆ ว่าเป็นสิ่งดีและน่านิยม ควรจะพิจารณาว่าลัทธิหรือวิธีการนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปหรือไม่ สภาพบ้านเมืองของยุโรปกับประเทศไทยไม่เหมือนกัน สิ่งที่เป็นคุณสำหรับยุโรปอาจเป็นโทษสำหรับประเทศไทยได้

          สิ่งที่พระองค์ทรงทำได้ในขณะนั้นก็คือทรงใช้วิธีการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมให้ประชาชนมีความสามัคคี รักชาติ และจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ด้วยการพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ เป็นบทความลงหนังสือพิมพ์ บทละครทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง และพระราชดำรัสในวโรกาสต่าง ๆ เน้นถึงความเหมาะสมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชต่อสภาพของเมืองไทย

          ใน พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดโครงการเมืองทดลองเรียกว่า ดุสิตธานี ซึ่งมีลักษณะเป็นเมืองตุ๊กตา มีบ้านเล็ก ๆ และถนนที่ย่อส่วน แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เลือกมหาดเล็กและข้าราชการเป็นเจ้าของบ้านสมมุติในดุสิตธานี ดุสิตธานีอยู่ในบริเวณสนามเนื้อที่สองไร่ครึ่งระหว่างพระที่นั่งอุดรและอ่างหยกในบริเวณพระราชวังดุสิต พระราชดำริที่จะให้ดุสิตธานีเป็นก้าวแรกของการเตรียมตัวเพื่อการปกครองตนเองของราษฎร ดังพระราชดำรัสในวันเปิดศาลารัฐบาลของดุสิตธานีว่า

การงานฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายนคราภิบาลก็ถ่ายแบบมาจากของจริง
ทั้งนั้น วิธีการที่ดำเนินไปนี้ เป็นการทดลองว่าจะเป็นประโยชน์

เพียงใด เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับธานีให้แน่ชัดเสียก่อน วิธีการ

ดำเนินการในธานีเล็ก ๆ ของเราเป็นเช่นไร ก็ตั้งใจว่าจะให้ประเทศ

สยามได้ทำเช่นเดียวกัน แต่จะให้เป็นการสำเร็จรวดเร็วทันใจดัง

ธานีเล็กนี้ก็ยังทำไปทีเดียวยังไม่ได้ โดยมีอุปสรรคบางอย่าง …
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกาศธรรมนูญลักษณะการปกครองคณะนครภิบาลของดุสิตธานี มีการดำเนินการในรูปแบบของการปกครอง มีวาระ 1 ปี ต่อมามีการตั้งตำแหน่งกรรมการในนคราภิบาลสภาขึ้นอีกเรียกว่า เชษฐบุรุษ คือผู้แทนทวยนาครในอำเภอ

          การปกครองของดุสิตธานี ไม่ได้นำมาเกี่ยวข้องกับการบริหารประเทศไทยในส่วนรวมเลย ดุสิตธานีจึงเป็นเพียงเมืองสมมุติเท่านั้น อย่างไรก็ดี พระยาราชนกุล (อวบ เปาโรหิต) ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตนำพระบรมราโชบายและวิธีการของดุสิตธานีไปทดลองตามจังหวัดต่าง ๆ กำหนดทดลองใช้ที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นแห่งแรก โดยใช้พระยาสุนทรพิพิธเป็นผู้ดำเนินการ แต่ปรากฏว่าเรื่องเงียบไปจนสิ้นรัชกาล

          อีกประการหนึ่ง มีบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องรายงานการประชุมปาลิเมนต์สยาม เป็น "ปฏิกิริยา" ที่พระองค์ทรงมีต่อข้อเรียกร้องของเทียนวรรณที่จะให้ประเทศไทยมีรัฐสภาเหมือนกับชาติอื่น ๆ เทียนวรรณได้เขียนบทความโดยอ้างว่าได้ฝันไปหรือได้ฝันทั้ง ๆ ที่กำลังตื่นอยู่ ดังนั้นพระราชนิพนธ์รายงานการประชุมปาลิเมนต์สยามจึงเป็นบทความล้อเลียนเทียนวรรณคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสุบินไปว่า ประเทศไทยมีรัฐสภาแล้ว มีสมาชิกรัฐสภา 2 ท่าน ชื่อ นายเกศร์ ซึ่งอาจเป็น ก.ศ.ร กุหลาบ และนายทวน คงจะเป็นเทียนวรรณเสนอความเห็นในรัฐสภา แล้วเป็นการพูดนอกประเด็น

          ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่ทรงเห็นด้วยในการที่ประเทศไทยจะมีการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย


 แนวพระราชดำริและการเตรียมการเรื่องประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


          พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2468 โดยไม่ได้ทรงคาดคิดมาก่อน เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระราชอนุชาองค์เล็กที่สุด และมีพระเชษฐาหลายพระองค์ระหว่างพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระองค์ แต่เมื่อต้องทรงรับหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ก็ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะทรงทำนุบำรุงให้ราษฎรอยู่เป็นสุขโดยทั่วหน้า

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ใหม่ ๆ มีผู้ใช้นามว่านายภักดีกับนายไทย ถวายฎีกาขอให้พระองค์พระราชทานรัฐธรรมนูญ และในขณะนั้นหนังสือพิมพ์จำนวนหนึ่งมีบทความเกี่ยวกับแง่คิดหรือปัญหาบ้านเมืองลงพิมพ์อยู่เนื่อง ๆ เสียงเรียกร้องเหล่านี้อาจเป็นแรงกระตุ้นให้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มแสวงหาแนวทางการปกครองที่เหมาะสม

          แนวพระราชดำริเรื่องประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นได้อย่างเด่นชัดเมื่อ ดร. ฟรานซีส บีแซร์ หรือพระยากัลยาณไมตรี อดีตที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศของไทยมาเยือนประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชบันทึกปรึกษาพระยากัลยาณไมตรีว่า ประเทศไทยควรมีรัฐบาลในรูปแบบใด ประเทศไทยจะมีการปกครองในระบบรัฐสภาได้หรือไม่ในอนาคต ระบบรัฐสภาแบบอังกฤษจะเหมาะสมกับชาวตะวันออกหรือไม่ ส่วนพระองค์เองทรงมีความเห็นว่าในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะมีการปกครองแบบมีผู้แทน คำกราบบังคมทูลของพระยากัลยาณไมตรีเป็นไปในลักษณะสนับสนุนแนวพระราชดำริที่ว่า เมืองไทยยังไม่พร้อมที่จะมีรัฐสภามีมาจากประชาชนโดยตรง ระบบรัฐสภาที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมาจากการเลือกตั้งอย่างใช้สติปัญญาของผู้มีสิทธิเลือกผู้แทน มิฉะนั้นจะกลายเป็นเผด็จการทางรัฐสภา ฉะนั้นจึงควรรอให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาสูงขึ้นก่อน


 สภากรรมการองคมนตรี


          สภากรรมการองคมนตรี เป็นพระราชกรณียกิจประการหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชดำริที่จะต้องเตรียมการให้ประชาชนรู้เรื่องประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถ้าประชาชนใช้รัฐธรรมนูญไม่เป็น ก็จะเกิดปัญหายุ่งยาก พระราชดำรินี้อยู่ในพระราชบันทึก เรื่อง “Democracy in Siam” ว่า

เราต้องเรียนรู้และทดลองเพื่อที่จะมีความคิดว่า ระบอบการ
ปกครองแบบรัฐสภาจะเป็นไปได้อย่างไรในสยาม เขาต้องพยายามให้

การศึกษาแก่ประชาชนให้มีความสำนึกทางการเมือง ถ้าเราจะต้อง

มีรัฐสภา เราต้องสอนประชาชนว่าจะออกเสียงอย่างไร และจะเลือก

ผู้แทนอย่างไร ที่จะมีจิตใจฝักใฝ่กับผลประโยชน์ของพวกเขาอย่างแท้จริง
          ดังนั้น พระองค์จึงทรงปรับปรุงสภาองคมนตรี ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาราชการในพระองค์ที่มีมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีสมาชิกอยู่ 277 คน ด้วยการออกพระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470 ให้มีสภากรรมการองคมนตรี ทรงคัดเลือกผู้ที่มีคุณวุฒิและความสามารถพิเศษ จำนวน 40 คนจากองคมนตรีเข้าเป็นสมาชิกสภากรรมการองคมนตรีมีหน้าที่ประชุมปรึกษาข้อราชการตามแต่จะโปรดเกล้าฯ พระราชทานลงมาให้ปรึกษา แต่พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีมากกว่านั้น พิจารณาได้จากกระแสพระราชดำรัสในการเปิดประชุมสภากรรมการองคมนตรีครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ตอนหนึ่งว่า

เราขอให้ท่านเข้าใจว่า สภากรรมการขององคมนตรีที่เรา
ตั้งขึ้น ต้องเป็นไปตามสภาพที่เหมาะแก่ประเทศเรา กล่าวคือ เรา

มีความประสงค์ที่จะทดลองและปลูกฝังการศึกษาในวิธีการศึกษาโต้เถียง

ให้สำเร็จเป็นมติตามแบบอย่างที่ประชุมใหญ่ ถ้าหากถึงเวลาอันควร

ที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองประเทศต่อไป ก็จะได้ทำได้โดยสะดวก

การที่เราได้เลือกท่านเป็นกรรมการองคมนตรีนั้น ควรเห็นว่าเป็น

หน้าที่สำคัญอย่างยิ่ง และท่านทั้งหลายพึงเข้าใจว่า เรามิได้เลือกท่าน

มาเป็นผู้แทนชนคณะใดหรือเหล่าใดโดยเฉพาะ ท่านทั้งหลายจงออก

ความเห็นโดยระลึกถึงประโยชน์ส่วนรวมส่วนใหญ่ของแผ่นดิน และ

ประชาชนชาวสยามโดยทั่วไปเป็นสำคัญ เราเชื่อว่าท่านคงจะดำเนิน

การประชุมให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง แม้มีสิ่งไรที่ท่านเห็นว่าจะ

ยังความผาสุกให้บังเกิดขึ้นแก่ประชาชน ก็ให้ท่านถวายความเห็นได้

ทุกเมื่อ เรายินดีที่จะฟังเสมอ
          จะเห็นได้ว่า การจัดตั้งสภากรรมการองคมนตรี ตลอดจนวิธีการประชุมมีลักษณะคล้าย สภาผู้แทนราษฎรในระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่จะไม่ได้รับการเลือกตั้งจากราษฎรโดยตรง ในทางปฏิบัติ สภากรรมการองคมนตรีประสบความล้มเหลวที่จะเข้ามามีบทบาททางการเมืองตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ ผลงานของสภามีเพียงพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามพระบรมราชโองการเท่านั้น และเวลาในการที่จะประชุมถกเถียงกันก็มีน้อย สมาชิกขาดประชุมและไม่กระตือรือร้นในการปฏิบัติงานเท่าที่ควร

          ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกำลังทรงแสวงหาแนวทางอยู่นั้น การแสดงความคิดเห็นในหน้าหนังสือพิมพ์เรื่องประชาธิปไตยมีมากขึ้น เช่นใน บางกอกการเมือง ผู้ใช้นามว่า พระจันทร เขียนว่าไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังคงใช้การปกครองในระบอบพระราชาอยู่เหนือกฎหมาย ราษฎรไม่มีเสียงเลยในการปกครองซึ่งทำให้คนมีเงินได้เปรียบคนจน แล้วยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกาว่ามีการปกครองแบบรีปับลิค ซึ่งเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วจนเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง

          ส่วนหนังสือพิมพ์ สยามรีวิว ได้ลงพิมพ์บทความเรื่อง “ราษฎรตื่นแล้ว” โดยเสนอว่าการเปลี่ยนแปลงจะต้องใช้ความรุนแรง และยกตัวอย่างกรณีพระเจ้าชาร์นิโคลาสแห่งรัสเซียถูกปลงพระชนม์ รัฐบาลสมัยนั้นได้ทำการสอบสวนหนังสือพิมพ์ สยามรีวิว และก็สั่งปิดหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น

          หนังสือพิมพ์ราษฎร ลงบทความเห็นว่าจ้าวเป็นลูกถ่วงความเจริญ ยกตัวอย่างการปฏิวัติจีนที่ซุนยัดเซ็นล้มจักรพรรดิจีน และสถาปนาระบบสาธารณรัฐขึ้นแทน เสนอแนวคิดว่า การที่จะสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าเก่าได้นั้นจะต้องทำลายสังคมเดิมลงไปก่อน ถ้าจะให้สังคมเสมอภาคก็ต้องทำเหมือนเครื่องบดยา ก่อนถูกบดให้ละเอียดนั้นเครื่องยาย่อมมีขนาดไม่เสมอกัน เมื่อบดละเอียดแล้วจึงมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน หรือประเทศใดที่เกิดศึกสงครามมาก ประเทศนั้นย่อมเจริญมาก ไฟไหม้ที่ใดที่นั้นจะสวยงามขึ้น เป็นต้น

          ความกดดันจากหนังสือพิมพ์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะให้เตรียมตัวประชาชนทั่วไปให้มีความรู้พอสมควรที่จะมีระบอบรัฐสภาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระราชดำริของพระองค์ คือให้มี “Municipal Council”(สภาเทศบาล) “Local Government” (การปกครองท้องถิ่น) เป็นการสอนให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเองตั้งแต่ระดับท้องถิ่น นับเป็นการเตรียมการในการปูพื้นฐานประชาธิปไตยระดับฐานราก เรื่องนี้ได้มีกรรมการร่างพระราชบัญญัติเทศบาลเสร็จในปี พ.ศ. 2473 แต่ก็มิได้มีผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใด

          ต่อมาพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือเตรียมการจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทย จึงทรงมอบหมายให้กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย เสนาบดีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้ศึกษาระบบการปกครองแบบมีผู้แทนที่ประเทศเนเธอร์แลนด์จัดในชวาในคราวที่กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัยตามเสด็จประพาสชวาใน พ.ศ. 2472 ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินสหรัฐอเมริกาเพื่อรักษาพระเนตร นักข่าวของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ ชื่อ นายแฮโรลด์ เคนนี ได้รับพระราชทานโอกาสให้สัมภาษณ์ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2474 มีข้อความว่า พระองค์จะทรงจัดให้มีการปกครองระดับท้องถิ่นก่อนเพื่อเป็นการให้การศึกษาและฝึกการปกครองในระบบผู้แทนในระดับรากฐาน

          หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จนิวัติกลับสู่พระนครแล้ว ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างประเทศ ผู้สำเร็จเนติบัณฑิตจากประเทศอังกฤษ และนายเรมอนด์ บีสตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ผู้สำเร็จวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เคยเป็นผู้แทนราษฎรรัฐนิวแฮมเชียร์ สังกัดพรรคดีโมแครต รองประธานการเดินเรือแห่งสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้แทนอเมริกันในสภาการขนส่งทางทะเลของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้ง 2 ท่านนี้เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

          พระยาศรีวิศาลวาจา และนายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2474 ร่างเป็นภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า “An Outline of Changes in the Form of Government”[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ได้กำหนดรูปแบบการปกครองสัมพันธ์ระหว่างอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ ตลอดจนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผุ้แทนราษฎรไว้ด้วย

          การเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น แรกทีเดียวมีพระราชดำริว่า จะพระราชทานในวาระที่มีงานพระราชพิธีฉลองกรุงเทพมหานคร ครบรอบ 150 ปีในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475

          พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงส่งเอกสารร่างรัฐธรรมนูญไปให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อนำเข้าประชุมอภิรัฐมนตรีสภา พร้อมบันทึกความเห็นของนายสตีเวนส์และพระยาศรีวิศาลวาจา ซึ่งมีความเห็นว่ายังไม่ควรใช้ระบอบการปกครองโดยรัฐสภาในตอนนั้นเนื่องจากประชาชนยังไม่พร้อม[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

          ไม่ปรากฏเอกสารรายงานการประชุมอภิรัฐมนตรีครั้งนั้น แต่หลักฐานของอุปทูตอังกฤษกล่าวว่า อภิรัฐมนตรีสภาไม่เห็นด้วยทีจะให้มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริไว้ ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญที่ได้เตรียมการไว้ ก็ยังไม่ถึงประชาชนในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 และในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรก็ก่อการปฏิวัติ

 

 

 

ที่มา  images.google.co.th/

 


 สรุปและวิเคราะห์


          ประเทศไทยมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มข้าราชการและประชาชนให้มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ความคิดที่จะให้มีการปกครองในแนวประชาธิปไตยนี้ ได้รับอิทธิพลจากชาวตะวันตก สืบเนื่องจากประเทศไทยได้มีการติดต่อกับชาวตะวันตกตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา

          การติดต่อกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศทางยุโรป นับว่าเป็นความจำเป็น มหาอำนาจตะวันตกได้แข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของไทยได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ดังนั้น พระบรมวิเทโศบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเน้นหนักไปในทางผูกมิตรกับมหาอำนาจตะวันตกและประเทศในยุโรปอื่น ๆ พร้อมกับเร่งศึกษาวิทยาการของชาวตะวันตก เพื่อจะได้ปรับปรุงประเทศให้เป็นแบบอารยประเทศ จากการได้ศึกษาวิทยาการของชาวตะวันตก ทำให้กลุ่มข้าราชการและประชาชนได้รู้เรื่อง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยความรักชาติและประสงค์จะให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองเหมือนประเทศที่ได้ปรับปรุงการบริหารประเทศแล้ว เช่น ประเทศญี่ปุ่น กลุ่มข้าราชการ และประชาชนที่ได้รับการศึกษาหรือได้ไปศึกษาดูงานวิทยาการแบบตะวันตก จึงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายปกครองประเทศ นอกจากข้อเสนอคำกราบบังคมทูลของกลุ่มเจ้านาย ข้าราชการ ใน ร.ศ. 103 แล้ว ยังมีนักหนังสือพิมพ์คือ เทียนวรรณ ได้เสนอความคิดและอุดมการณ์ประชาธิปไตย ในหน้าหนังสือพิมพ์ เห็นว่าควรมีรัฐสภา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเห็นด้วยกับการที่จะมีการปกครองแบบรัฐสภา และมีรัฐธรรมนูญแต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเรื่องรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ แม้แต่ข้าราชการของพระองค์บางกลุ่มก็ยังไม่ได้แสดงว่าเข้าใจในระบอบการปกครองประชาธิปไตยนั้น ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงปกครองพระเทศชาติด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ก็ได้ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินสอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศในยุโรป

          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีแนวพระราชดำริในเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เหมือนกับสมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงเป็นเหตุให้กลุ่มนายทหารบกชั้นผู้น้อยทำการปฏิวัติการปกครอง แต่ไม่สำเร็จ จึงได้รับสมญานามว่า กบฎ ร.ศ. 130 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราโชบายเน้นหนักทางลัทธิชาตินิยม ให้รักชาติ มีความสามัคคี โดยเฉพาะเน้นในเรื่องการจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์

          ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงแม้ว่าพระองค์จะยังไม่ทรงเห็นด้วยที่จะให้ประชาชนมีการปกครองตนเองตามระบอบรัฐธรรมนูญ แต่พระองค์ทรงทราบในพระราชหฤทัยดีว่า ถึงเวลาที่จะต้องพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยขึ้น หนังสือพิมพ์ใช้ถ้อยคำรุนแรงเมื่อพูดถึงเจ้าซึ่งมีฐานะเหนือประชาชนธรรมดา พระองค์จึงทรงเตรียมการให้ผู้ที่มีความสามารถร่างรัฐธรรมนูญ และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะพระราชทานรัฐธรรมนูญแด่ประชาชนชาวไทยในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 150 ปี ของการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี จากการที่คณะอภิรัฐมนตรีเห็นว่าควรยืดระยะเวลาการพระราชทานรัฐธรรมนูญออกไปอีก เพราะประชาชนยังไม่พร้อมที่จะอยู่ในการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงยับยั้งการพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ การที่พระองค์ทรงลังเลพระราชหฤทัย จึงทำให้คณะราษฎรซึ่งได้เตรียมการไว้แล้วปฏิวัติยึดอำนาจปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

 

ลำดับเหตุการณ์ พ.ศ. 2469 - 2482


 พ.ศ. 2469
          กุมภาพันธ์ - คณะราษฎรได้ถูกจัดตั้ง และประชุมครั้งแรก ที่หอพัก Rue Du Somerard กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ผู้เข้าร่วมประชุมมี 7 คน คือ
ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี (นายทหารกองหนุน อดีตผู้บังคับหมวดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์รัชกาลที่ 6)
ร.ท. แปลก ขีตตะสังคะ (นักศึกษาในโรงเรียนนายทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศส)
ร.ต. ทัศนัย มิตรภักดี (นักศึกษาในโรงเรียนนายทหารม้าฝรั่งเศส)
นายตั้ว ลพานุกรม (นักศึกษาวิทยาศาสตร์ในสวิตเซอร์แลนด์)
หลวงสิริราชไมตรี (ผู้ช่วยสถานทูตสยามประจำกรุงปารีส)
นายแนบ พหลโยธิน (เนติบัณฑิตอังกฤษ)
นายปรีดี พนมยงค์ (ดุษฎีบัณฑิตกฎหมายฝ่ายนิติศาสตร์ ฝรั่งเศส)
การประชุมยืดเยื้อถึง 5 วัน และลงมติให้นายปรีดี เป็นประธาน และหัวหน้าคณะราษฎร จนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นในกาลต่อไป


 พ.ศ. 2475


12 มิถุนายน - คณะราษฎรได้วางแผนการที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี เพื่อจะดำเนินการควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร
24 มิถุนายน - คณะราษฎรประกาศ เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย ในการปฏิบัติการ มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะราษฎร
27 มิถุนายน - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองประเทศ โดยทรงเพิ่มคำว่า "ชั่วคราว" ต่อท้ายธรรมนูญการปกครองฯ (ผู้ร่างคือนายปรีดี พนมยงค์)
28 มิถุนายน - สภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกตามธรรมนูญการปกครองฯ ชั่วคราว มีจำนวน 70 คน โดยแต่งตั้งจากคณะราษฎร 31 คน และจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในระบอบเดิม 39 คน ทำการเลือก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎร หรือ นายกรัฐมนตรี คนแรกของประเทศไทย และมีนายปรีดี เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของสภาผู้แทนราษฎร
25 สิงหาคม - คณะราษฎร โดย พระยานิติศาสตร์ไพศาล (วัน จามรมาน) จดทะเบียนจัดตั้ง สมาคมคณะราษฎร ซึ่งเป็นสมาคมที่อาจถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองแรกของไทย (ในสมัยนั้นยังไม่มีบัญญัติคำว่า "พรรคการเมือง")
10 ธันวาคม - รัฐธรรมนูญฉบับถาวร ผ่านการเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร และได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 - และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้บริหารชุดใหม่ในนามใหม่ คือเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวน 20 นาย (โดยไม่ได้ใช้ชื่อตำแหน่งว่า ประธานคณะกรรมการราษฎร และ กรรมการราษฎร อีกต่อไป) คณะบริหารชุดใหม่มีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี และมีรัฐมนตรีประจำกระทรวง 7 กระทรวง และรัฐมนตรีลอยอีก 13 คน[2]
15 มีนาคม - นายปรีดีเสนอ "เค้าโครงร่างเศรษฐกิจ" หรือที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" เพื่อให้พิจารณาใช้เป็นหลักสำหรับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ

 พ.ศ. 2476


1 เมษายน - มีพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญเกือบทุกมาตรา หรือบางข้อมูลอธิบายว่านี่คือการ ยึดอำนาจตัวเอง เพื่อจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่
2 เมษายน - พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ประกาศใช้ ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้าม (ฝ่ายตรงข้ามอาจหมายถึง คณะราษฎร เพราะนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นอยู่ตรงข้ามกับคณะราษฎร)
12 เมษายน - นายปรีดีถูกบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศไปยังฝรั่งเศส เนื่องจากความเห็นของนายปรีดีถูกโจมตีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เพราะเสนอเค้าโครงร่างทางเศรษฐกิจ ที่เจ้าและขุนนางต้องเสียผลประโยชน์
13 พฤษภาคม - ตั้งกองโฆษณา โดยขึ้นตรงต่อคณะรัฐมนตรี และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองโฆษณาการ ในวันที่ 9 ธันวาคม ปีเดียวกัน
10 มิถุนายน - พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระประศาสน์พิทยายุทธ และพระยาฤทธิอัคเนย์ ผู้นำสายทหารของคณะราษฎรยื่นจดหมายลาออก
20 มิถุนายน - พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาทำการยึดอำนาจพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี หลังจากการรัฐประหารได้มีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม
29 กันยายน - นายปรีดี เดินทางกลับสยาม ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11 ตุลาคม - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสาน ล้มล้างการปกครองของรัฐบาล เนื่องจากไม่พอใจที่นายถวัลย์ ฤทธิเดช ได้ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากกรณีที่ที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้าน แผนพัฒนาเศรษฐกิจของ นายปรีดี พนมยงค์ ที่เรียกกันว่าสมุดปกเหลือง โดยออกเป็นสมุดปกขาว แต่กระทำการไม่สำเร็จ จึงเป็นที่มาของชื่อ กบฏบวรเดช
23 ตุลาคม - นายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ถูกยิงเสียชีวิตโดยทหารจากกองพันทหารราบที่ 6 นำโดยพันตรีหลวงวีรวัฒน์โยธา
25 ตุลาคม - พระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังประเทศกัมพูชา
7 พฤศจิกายน - ออกพระราชบัญญัติป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ อันเป็นเครื่องมือที่จะตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล (ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอาจหมายถึง ฝ่ายตรงข้ามกับคณะราษฎร)
16 ธันวาคม - พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาแบบ 2 ชั้น (1 ต.ค.- 15 พ.ค.)
25 ธันวาคม - หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ทรงเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องที่นายปรีดี เป็นคอมมิวนิสต์ ได้ลงมติว่าตัวนายปรีดี มิได้เป็นคอมมิวนิสต์
 พ.ศ. 2477
13 กันยายน - รัฐบาลลาออก เพราะแพ้คะแนนเสียงในสภาเรื่องสัญญาการจำกัดยาง
22 กันยายน - ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
18 กุมภาพันธ์ - พระยาพหลพลพยุหเสนาได้จัดงานพิธีปลงศพทหารที่เสียชีวิตในครบปราบกบฏบวรเดช
2 มีนาคม - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ขณะประทับรักษาพระเนตรอยู่ในประเทศอังกฤษ
2 มีนาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา ได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จนกว่าพระองค์จะบรรลุนิติภาวะ

 พ.ศ. 2479


14 ตุลาคม - เปิด อนุสาวรีย์ปราบกบฎ หรือ อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ ที่บางเขน (ปัจจุบันเรียกเพียงว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่")

 พ.ศ. 2480


27 กรกฎาคม - พระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากกรณีอื้อฉาวที่มีกระทู้ถามเรื่องการนำที่ดินของพระคลังข้างที่มาซื้อขายในราคาถูกเป็นพิเศษ เป็นการลาออกเพื่อแสดงความบริสุทธิ์และความไม่เกี่ยวพันกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าว
5 สิงหาคม - มีพระบรมราชโองการ รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ โดยให้เรียกชื่อประเทศว่า "ประเทศไทย" และเปลี่ยนคำว่า "สยาม" ให้เป็น "ไทย" แทน (ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น) โดยเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงหลักการของ "ลัทธิชาติ-ชาตินิยม" ว่า "รัฐบาลเห็นควรถือเป็นรัฐนิยมให้ใช้ชื่อประเทศ ให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติ และความนิยมของประชาชน"
7 พฤศจิกายน - การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2

 พ.ศ. 2481


18 กรกฎาคม - รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 เรื่อง "วันชาติ" กำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เดิมใช้วันเฉลิมพระชนมพรรษา)
1 สิงหาคม - ประกาศใช้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ ลงในราชกิจจานุเบกษา
11 กันยายน - พระยาพหลพลพยุหเสนา ยุบสภา เนื่องจากรัฐบาลแพ้คะแนนเสียงเรื่องการชี้แจงรายรับ-รายจ่ายที่รัฐบาลจัดทำเสนอ
12 พฤศจิกายน - กำหนดการวันเลือกตั้งทั่วไป
16 ธันวาคม - จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
 พ.ศ. 2482
24 มิถุนายน - เริ่มเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน เป็นครั้งแรก ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

 ลำดับเหตุการณ์ พ.ศ. 2483 - 2503

 พ.ศ. 2484


8 ธันวาคม - กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ประจวบคีรีขันธ์และอีกหลายจังหวัดในภาคกลางที่ติดอ่าวไทย (จุดเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย)
11 ธันวาคม - รัฐบาลไทยยอมยุติการต่อสู้กับกองกำลังญี่ปุ่น และประกาศทางวิทยุให้ทุกฝ่ายหยุดยิง
12 ธันวาคม - สหรัฐอเมริกา และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ไม่ยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้นที่นั่น โดยต่อมาคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน เช่น ปรีดี พนมยงค์ ทวี บุณยเกตุ ควง อภัยวงศ์ ได้แยกตัวออกมาร่วมกับขบวนการเสรีไทยในประเทศ เนื่องจากไม่อาจรับกับการกระทำของรัฐบาล
21 ธันวาคม - ทำพิธีลงนามร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ที่อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

 พ.ศ. 2485


8 มกราคม - ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดในพระนครเป็นครั้งแรก
25 มกราคม - รัฐบาลประกาศสงครามกับอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสอย่างเต็มตัว

 พ.ศ. 2486


8 มิถุนายน - นายปรีดีได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้เป็นไปตามวิธีทางของรัฐธรรมนูญ หลังจากรัชกาลที่ 8 พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่รัฐสภาก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง

 พ.ศ. 2487


24 กรกฎาคม - จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกกดดันให้ลงออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากนโยบาย ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ ที่ จอมพล ป. นำเสนอ
1 สิงหาคม - พลโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ลงมติแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่ผู้เดียว
24 สิงหาคม - จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด


พ.ศ. 2488


20 สิงหาคม - รัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่มีขึ้นในสมัยสงคราม
1 กันยายน - นายทวี บุณยเกตุ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลรักษาการ โดยมีอายุเพียง 17 วัน (โดยรัฐมนตรีในรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นฝ่ายเสรีไทย)
17 กันยายน - ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา เพื่อมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้ดำเนินการเจราเอาทหารอังกฤษและข้อตกลงสัญญาบางประการกับประเทศอังกฤษ ภายหลังสงครามยุติ เนื่องจากอังกฤษไม่ยอมรับสภานภาพของประเทศไทยในฐานะเปิดฝ่ายสัมพันธมิตร (สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม หลังจากสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สอง ลงที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น)
27 กันยายน - รัฐบาลเสนอ พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อใช้จัดการกับ จอมพล ป. พิบูลสงครามและคณะ
15 ตุลาคม - ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

 พ.ศ. 2489


1 มกราคม - ม.ร.ว.เสนีย์ ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากเสร็จภารกิจเจรจากับประเทศอังกฤษ
6 มกราคม - การเลือกตั้งทั่วไป
31 มกราคม - พันตรีควง อภัยวงศ์ ได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 2 และจัดตั้งรัฐบาลต่อจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
18 มีนาคม - นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะแพ้การลงมติในสภาฯ เรื่องร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายฯ
24 มีนาคม - นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับเสียงสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยดำรงตำแหน่งถึง 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
5 เมษายน - ม.ร.ว เสนีย์ ร่วมกับ นายควง อภัยวงศ์ ดำเนินการจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายควง เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ม.ร.ว.เสนีย์ เป็นรองหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ยุบพรรคก้าวหน้ามารวม เป็นเลขาธิการพรรค และนายชวลิต อภัยวงศ์ เป็นรองเลขาธิการพรรค
9 พฤษภาคม - รัฐสภามีรัฐพิธีลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ฉบับที่ 3) โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มอบให้นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยกล่าวกันว่า รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 เป็นฉบับนายปรีดี คือมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าฉบับใด ๆ ที่ผ่านมา แต่ได้มีการบังคับใช้เพียง 18 เดือน (10 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490)[2]
9 มิถุนายน - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต นายปรีดีและคณะรัฐมนตรีได้ขอความเห็นชอบต่อสภาว่า ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ควรได้แก่สมเด็จพระอนุชา เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว นายปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้สวรรคตเสียแล้ว
9 มิถุนายน - จากเหตุการณ์เสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ทำให้ศัตรูทางการเมืองของนายปรีดี ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มทหารที่สูญเสียอำนาจและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน สบโอกาสในการทำลายนายปรีดีทางการเมือง โดยการกระจายข่าวว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง" ซึ่งเป็นคำกล่าวหาที่ร้ายแรงมาก กลายเป็นกระแสข่าวลือ และนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน
5 สิงหาคม - การเลือกตั้งเพิ่มเติม
23 สิงหาคม - พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี อยู่ในตำแหน่งนาน 1 ปี 2 เดือนการถูกคณะทหารทำการรัฐประหาร
15 ธันวาคม - ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหประชาชาติ

 พ.ศ. 2490


19 พฤษภาคม - 26 พฤษภาคม - พรรคประชาธิปัตย์อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน ติดต่อกัน จนถูกเรียกว่า มหกรรม 7 วัน การลงมติปรากฏว่า พล.ร.ต.ถวัลย์ ได้มติไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งต่ออย่างท่วมท้น แต่เนื่องจากกระแสกดดันอย่างมากทั้งในและนอกสภาฯ จึงต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น แต่ก็กลับเข้ารับตำแหน่งอีกครั้งในวันถัดมา
8 พฤศจิกายน - พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และ น.อ.กาจ กาจสงคราม นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (รับช่วงต่อจากนายปรีดี) โดยอ้างว่าไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ และได้ทำการฉีกรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2489 ทิ้ง - เหตุการณ์รัฐประหารนี้ ทำให้นายปรีดี และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศไปสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ความสนับสนุนฝ่ายรัฐประหาร นายปรีดีจึงเดินทางไปจีนแทน อนึ่ง กรณีสวรรคตยังส่งผลให้กลุ่มการเมืองฝ่ายนายปรีดีต้องพลอยหมดบทบาทจากเวทีการเมืองไทยภายหลังการรัฐประหารครั้งนี้ด้วย
9 พฤศจิกายน - ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ "รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม" (ที่เรียกกันว่ารัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม เพราะเล่าว่าซ่อนไว้อยู่ใต้ตุ่มแดง ร่างโดย น.อ.กาจ กาจสงคราม รองหัวหน้าคณะรัฐประหาร) ในการรัฐประหารวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ เป็นการเปิดศักราชใหม่ของการยึดอำนาจแล้วทำลายรัฐธรรมนูญเดิมเสีย
10 พฤศจิกายน - นายควง อภัยวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวาระที่ 3 หลังการรัฐประหาร

 พ.ศ. 2491


6 มกราคม - การเลือกตั้งทั่วไป หลังเหตุการณ์รัฐประหาร
29 มกราคม - พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งเป็นรัฐบาล และนายควง อภัยวงศ์ จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ หลังจากกำลังทหารทำการยึดอำนาจและได้มีกำหนดให้เลือกตั้ง
6 เมษายน - คณะทหารในกลุ่ม 4 คน นำโดย น.อ.กาจ กาจสงคราม ได้บีบบังคับให้นายควงลาออกและ แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ในการรัฐประหารครั้งนี้ได้พลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิง เพราะอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ที่คณะทหาร และที่สำคัญการรัฐประหารนี้เป็นการขจัดกลุ่มอำนาจเก่าของ นายปรีดี พนมยงค์ ให้สิ้นไปจากเวทีการเมือง ส่งผลให้นายปรีดี ต้องขอลี้ภัยการเมืองที่ต่างประเทศตราบจนเสียชีวิต

 พ.ศ. 2492


26 กุมภาพันธ์ - นายปรีดีเดินทางกลับเข้าเมืองไทย และร่วมกับพรรคพวกกลุ่มหนึ่งพยายามยึดอำนาจคืน แต่ประสบความล้มเหลว หรือที่เรียกว่า "กบฏวังหลวง" นายปรีดีจึงต้องหนีกลับไปประเทศจีนอีกครั้ง
4 มีนาคม - นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ (ส.ส.อุบลราชธานี), นายถวิล อุดล (ส.ส.ร้อยเอ็ด) และ นายจำลอง ดาวเรือง (ส.ส.มหาสารคาม) สามใน "สี่เสืออีสาน" ถูก ยิงทิ้ง คารถตำรวจสมัยรัฐบาลคณะรัฐประหาร

 พ.ศ. 2494


29 มิถุนายน - เกิดเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย น.อ.อานน บุญฑริกธาดา รน. และ น.ต.มนัส จารุภา รน. ทำการจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม จากเรือแมนฮัตตัน ไปคุมขังไว้ที่เรือศรีอยุธยา
29 พฤศจิกายน - จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง หรือที่เรียกกันว่ารัฐประหารเงียบ

 พ.ศ. 2495


26 กุมภาพันธ์ - มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายค้านคว่ำบาตรการเลือกตั้ง จากเหตุที่ จอมพล ป. ทำการรัฐประหารตัวเอง
13 ธันวาคม - นายเตียง ศิริขันธ์ หนึ่งใน "สี่เสืออีสาน" ถูก ฆ่ารัดคอ และเผาศพทิ้งในสมัยรัฐบาลคณะรัฐประหาร

 พ.ศ. 2498


17 กุมภาพันธ์ - เฉลียว ปทุมรส (สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน และอดีตราชเลขาธิการในรัชกาลที่ 8), ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน (ทั้งสองคนเป็นมหาดเล็กห้องบรรทมในรัชกาลที่ 8) นักโทษชาย 3 คนถูกประหารชีวิต โดยมีข้อกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์ในรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

 พ.ศ. 2500


26 กุมภาพันธ์ - รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม จัดการเลือกตั้งทั่วไป โดยประกาศให้เป็นการเลือกตั้งถวายเป็น พุทธบูชา ในโอกาสกึ่งพุทธกาล แต่ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ร่ำลือว่าสกปรกที่สุด เต็มไปด้วยการโกงจากฝ่ายรัฐบาล ต้องนับคะแนนยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน
2 มีนาคม - นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป ชุมนุมเดินประท้วงผลการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการชุมนุมทางการเมืองครั้งแรกของประชาชน นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมา
16 กันยายน - คณะทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยข้อกล่าวหาสำคัญคือ ฝ่ายรัฐบาลจัดการเลือกตั้งสกปรกจึงหมดความชอบธรรม
21 กันยายน - คณะทหารที่ทำการยึดอำนาจ ได้แต่งตั้ง นายพจน์ สารสิน อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐฯ และเลขาธิการซีโต้ (SEATO) มาเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราวราวสามเดือน เพื่อจัดการเลือกตั้ง ศ.ส. ครั้งใหม่ให้บริสุทธิ์ยุติธรรม
 พ.ศ. 2501
1 มกราคม - พลโทถนอม กิตติขจร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งแรก
20 ตุลาคม - จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติ

 พ.ศ. 2502


9 กุมภาพันธ์ - จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

 พ.ศ. 2503


21 พฤษภาคม - จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลงนามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง "ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย" ยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน แล้วกำหนดให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยแทน และให้เปลี่ยนวันที่ 24 มิถุนายนไปเป็น "วันปลูกต้นไม้แห่งชาติ"
8 มิถุนายน - รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศให้ยกเลิกการหยุดราชการในวันที่ 24 มิถุนายน เพราะไม่ได้เป็นวันชาติอีกต่อไปแล้ว

 

 

 

                   

 

ที่มา  images.google.co.th/

 

 

แหล่งอ้างอิง  สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. การเมืองการปกครองไทย: พ.ศ. 1762 - 2500. สำนักพิมพ์เสมาธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. พ.ศ. 2549

สร้างโดย: 
พีรทิพย์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 477 คน กำลังออนไลน์