การใช้คำราชาศัพท์

๒. การใช้คำขึ้นต้น คำสรรพนาม และคำลงท้ายในการเขียนหนังสือ

๒.๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คำขึ้นต้น          ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม
                      ข้าพระพุทธเจ้า (ออกชื่อเจ้าของหนังสือ) ขอพระราชทานพระบรมราโชวาสกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำสรรพนาม     บุรุษที่ ๑ – ข้าพระพุทธเจ้า
                      บุรุษที่ ๒ – ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำลงท้าย         ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ
                      ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ) (หรือจะเอาคำว่า ขอเดชะมาไว้ท้ายชื่อเจ้าของหนังสือก็ได้)

๒.๒ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
คำขึ้นต้น          ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม
                      ข้าพระพุทธเจ้า (ออกชื่อเจ้าของหนังสือ) ขอพระราชทานพระราชวโรกาสกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำสรรพนาม     บุรุษที่ ๑ – ข้าพระพุทธเจ้า
                      บุรุษที่ ๒ – ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำลงท้าย         ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ
                      ข้าพระพุทธเจ้า...(ลงชื่อ) (หรือจะเอาคำว่า ขอเดชะมาไว้ท้ายชื่อเจ้าของหนังสือก็ได้)

๒.๓ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
คำขึ้นต้น
          ขอพระราชทานกราบบังคมทูล....(ออกพระนาม)..... ทราบฝ่าละอองพระบาท
สรรพนาม         บุรุษที่ ๑ – ข้าพระพุทธเจ้า
                      บุรุษที่ ๒ – ใต้ฝ่าละอองพระบาท
คำลงท้าย         ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
                      ข้าพระพุทธเจ้า ...(ลงชื่อ)

๒.๔  สมเด็จเจ้าฟ้า
คำขึ้นต้น
         ขอพระราชทานกราบทูล............(ออกพระนาม)............. ทราบฝ่าพระบาท
สรรพนาม        บุรุษที่ ๑ – ข้าพระพุทธเจ้า
                     บุรุษที่ ๒ – ใต้ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย        ควรมิควรแล้วแต่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
                     ข้าพระพุทธเจ้า ...(ลงชื่อ)

๒.๕ พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า
คำขึ้นต้น         ขอประทานกราบทูล...(ออกพระนาม).........ทราบฝ่าพระบาท
สรรพนาม        บุรุษที่ ๑ – ข้าพระพุทธเจ้า
                     บุรุษที่ ๒ – ใต้ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย        ควรมิควรแล้วแต่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
                     ข้าพระพุทธเจ้า ...(ลงชื่อ)

๒.๖ พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ที่มิได้ทรงกรม) และ พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ (ที่ทรงกรม)
คำขึ้นต้น        กราบทูล.......(ออกพระนาม).... ทราบฝ่าพระบาท
สรรพนาม       บุรุษที่ ๑ – (ชาย) เกล้ากระหม่อม (หญิง) เกล้ากระหม่อมฉัน
                    บุรุษที่ ๒ – ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย       ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

๒.๗ พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ (ที่มิได้ทรงกรม)
คำขึ้นต้น       ทูล...........(ออกพระนาม)..........ทราบฝ่าพระบาท
สรรพนาม      บุรุษที่ ๑ – (ชาย) กระหม่อม (หญิง) หม่อมฉัน
                   บุรุษที่ ๒ – ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย      ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

๒.๘ พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
คำขึ้นต้น       ทูล...........(ออกพระนาม)..........
สรรพนาม      บุรุษที่ ๑ – (ชาย) กระหม่อม (หญิง) หม่อมฉัน
                   บุรุษที่ ๒ – ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย      แล้วแต่จะโปรด

๒.๙ สมเด็จพระสังฆราช
คำขึ้นต้น       กราบทูล.................................
สรรพนาม      บุรุษที่ ๑ – (ชาย) เกล้ากระหม่อม  (หญิง) เกล้ากระหม่อมฉัน
                   บุรุษที่ ๒ – ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย      ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

๒.๑๐ สมเด็จพระราชาคณะ และ รองสมเด็จพระราชาคณะ
คำขึ้นต้น      นมัสการ..................................
สรรพนาม     บุรุษที่ ๑ – (ชาย) กระผม ( หญิง ) ดิฉัน
                  บุรุษที่ ๒ – พระคุณเจ้า
คำลงท้าย     ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

๒.๑๑ พระราชาคณะ
คำขึ้นต้น      นมัสการ..................................
สรรพนาม     บุรุษที่ ๑ – (ชาย) ผม ( หญิง ) ดิฉัน
                  บุรุษที่ ๒ – พระคุณเจ้า
คำลงท้าย     ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง

๒.๑๒ พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
คำขึ้นต้น     นมัสการ.....................................
สรรพนาม    บุรุษที่ ๑ – (ชาย) ผม (หญิง) ดิฉัน
                 บุรุษที่ ๒ – ท่าน
คำลงท้าย    ขอนมัสการด้วยความเคารพ

๒.๑๓ ประธานองคมนตรี  นายกรัฐมนตรี  ประธานรัฐสภา  ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร และประธานศาลฏิกา
คำขึ้นต้น
     กราบเรียน.....................................
สรรพนาม    บุรุษที่ ๑ – ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน
                 บุรุษที่ ๒ – ท่าน
คำลงท้าย    ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

 

หมายเหตุ    

           ตามปกติแล้วไม่เป็นที่นิยมที่บุคคลทั่วไปจะเขียนหนังสือกราบบังคมทูลโดยตรงต่อพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ หรือ พระราชวงศ์ที่ทรงอิสริยศักดิ์สูง ควรจะเขียนถึงราชเลขาธิการ หรือราชเลขานุการเพื่อนำความกราบบังคมทูล

ข้อมูลจาก    หนังสือเรียนภาษาไทย หลักภาษาไทย เล่ม๓ ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

สร้างโดย: 
ครูศรีสวาสดิ์ บุนนาค

ได้รับความรู้มากมายในการ
ศึกษาการใช้คำราชาศัพท์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 352 คน กำลังออนไลน์