" ,,โบราณสถาน,, "

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


 

 

       

 โบราณสถาน  หมายถึง สถานที่ที่เป็นของโบราณ เช่น อาคารสถานที่ที่มีมาแต่โบราณ แหล่งโบราณคดี เช่น เมืองโบราณ วังโบราณ คุ้มเก่า เจดีย์ ฯลฯ แทบทุกจังหวัดในเมืองไทยมีแหล่งโบราณสถานที่น่าศึกษาน่าเรียนรู้เพื่อสืบทอดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาและความสามารถของบรรพบุรุษ เช่น เวียงกุมกามที่เชียงใหม่ แหล่งโบราณสถานที่บ้านเชียง พระนครคีรีที่จังหวัดเพชรบุรี พระเจดีย์ยุทธ์หัตถี พระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งกิจกรรมที่สำคัญต่างๆ พระราชวังและพระตำหนักโบราณ ฯลฯ

 

 

         ในโบราณสถานแต่ละแห่งอาจมีโบราณวัตถุที่มีคุณค่า เช่น เครื่องใช้ต่างๆ เครื่องถ้วยชาม อาวุธ เครื่องสักการบูชา ฯลฯ ในท้องที่ต่างๆ อาจมีสิ่งที่เป็นโบราณวัตถุ เช่น เรือโบราณ บ้านโบราณ รูปสลักหรืองานศิลปกรรมที่มีมาแต่โบราณ หรืองานที่ศิลปินแต่โบราณได้สร้างสรรค์ไว้ เครื่องใช้ที่เคยใช้มาแต่โบราณบางอย่างกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัยในปัจจุบันก็อาจจัดเป็นโบราณวัตถุที่มีค่า เช่น หินบดยา เครื่องใช้ในการอยู่ไฟของแม่ลูกอ่อน เครื่องสีข้าวแบบโบราณ จับปิ้ง กำไล ปิ่นปักจุก อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาชีพแต่โบราณ ฯลฯ   ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นสมบัติวัฒนธรรมที่มีค่าของชาติ คนไทยทุกคนจึงมีหน้าที่ดูแล รักษา ทะนุบำรุงให้คืนสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงความเจริญของชนชาติไทยแต่โบราณมา

 


 

โบราณสถานมีกี่ประเภท

 

โบราณสถานแบ่งออกได้ตามคุณค่าความสำคัญ เพื่อการบริหารจัดการดังนี้

 

1. โบราณสถานระดับชาติ  

วัดมหาธาตุวรวิหาร : ตัวอย่างโบราณสถานระดับชาติ
 

  พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท : ตัวอย่างโบราณสถานระดับชาติ 
- โบราณสถานที่มีคุณค่าในด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปะสถาปัตยกรรม วิชาการสังคมหรือ ชาติพันธุ์วิทยา ซึ่งมีความสำคัญผูกพันอย่างแน่นแฟ้นไม่เฉพาะต่อชุมชนในท้องถิ่นหนึ่งเท่านั้น
- โบราณสถานที่มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และราชสำนักโดยมีหลักฐานบ่งชี้ได้อย่างชัดเจน
- โบราณสถานซึ่งเป็นตัวแทนขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมหรือศิลปกรรม
 ที่วิจิตรมีคุณค่าทางสุนทรียภาพเยี่ยมยอด หรือสามารถบ่งชี้ได้ถึงพัฒนาการทางศิลปะสถาปัตยกรรม
- โบราณสถานที่เป็นตัวอย่างที่เหลืออยู่น้อยแหล่งของโบราณสถานในลักษณะเดียวกันและมีลักษณะที่หาได้ยากที่เป็นตัวแทนของรูปแบบใดๆที่มีลักษณะเฉพาะ
- โบราณสถานที่ยังมิได้มีการสำรวจ ดำเนินการขุดค้นขุดแต่ง ทางโบราณคดี หรือขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
- ซากโบราณสถานซึ่งเป็นโบราณสถานร้างที่มีความเก่าแก่ และไม่มีการใช้งานในลักษณะที่สืบเนื่องจากประโยชน์ใช้สอยดั้งเดิมของโบราณสถาน

2. โบราณสถานระดับท้องถิ่น ได้แก่

 

 

หอไตรวัดพระศรีโพธิ์ชัย : ตัวอย่างโบราณสถานระดับท้องถิ่น   

 
โบสถ์วัดศาลาหัวยาง : ตัวอย่างโบราณสถานระดับท้องถิ่น

 

- โบราณสถานที่มีคุณค่าในด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปะสถาปัตยกรรม วิชาการ สังคมหรือชาติพันธุ์วิทยา ซึ่งมีความสำคัญผูกพันเป็นพิเศษ เฉพาะต่อชุมชนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งเท่านั้น
- โบราณสถานซึ่งมีลักษณะที่นอกเหนือไปจากที่บ่งชี้ได้ถึงความเป็นโบราณระดับชาติ นอกจากนี้ตามลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โบราณสถานบางแห่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่เห็นรูปทรงชัดเจน แต่มีโบราณสถาน จำนวนไม่น้อยที่ชำรุดหักพังถูกขุดรื้อค้นทำลายจนไม่รู้รูปร่างเดิม และบางแห่งก็ไม่มีสิ่งปลูกสร้างแต่มีหลักฐานของกิจกรรมมนุษย์ เช่น เป็นที่อยู่อาศัยเป็นที่ฝังศพ หรือเป็นสถานที่ที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์

 โบราณสถานในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะที่ปรากฏได้ เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
1. โบราณสถานที่เห็นรูปร่างชัดเจน

 

 

เจดีย์วัดบุปพาราม : ตัวอย่างโบราณสถานที่เห็นรูปร่างชัดเจน

 

 

โบสถ์วัดศาลาหัวยาง : ตัวอย่างโบราณสถานที่เห็นรูปร่างชัดเจน

ป้อม ค่าย กำแพงเมือง คูเมือง คลอง สะพาน บ่อ สระ บาราย ตระพัง เขื่อน เจดีย์ ปราสาท กู่ ธาตุ พระธาตุ ถ้ำ เพิงผา บ้านเรือน ศาลากลาง จวนเก่า คุ้มหลวง แหล่งเตาเผา เครื่องเคลือบดินเผา เป็นต้น ซึ่งบางแห่งอาจจะยังใช้ประโยชน์อยู่ เช่น วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช วัดพระธาตุพนม ยังคงมีประโยชน์ใช้สอยในทางศาสนา เป็นปูชนียสถาน ที่มีการสักการบูชาต่อเนื่องตลอดมา วังเจ้าเมืองพัทลุง ซึ่งปัจจุบันไม่ได้เป็นที่อยู่อาศัย แต่เปิดให้ประชาชนทั่วไป เข้ชม ศาลากลางหลังเก่าจังหวัดน่าน เดิมเป็นหอคำซึ่งเป็นทั้งที่พักและที่ว่าราชการของเจ้าเมืองน่านปัจจุบันปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเป็นต้น 

2. ซากโบราณสถาน หมายถึง สิ่งก่อสร้างหรือสถาปัตยกรรมที่เคยมีรูปทรงและได้ใช้ประโยชน์มาแต่อดีต แต่เนื่องจากในปัจจุบัน ได้ชำรุดผุพัง จนมองไม่เห็นรูปทรงชัดเจน แต่ยังมีคุณค่าในฐานะที่เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญมีดังนี้

 



2.1 คูเมือง-กำแพงเมือง เป็นสิ่งก่อสร้างที่พบเห็นบ่อยๆ ตามชุมชนหรือเมืองโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และทางภาคใต้ ความสำคัญของคูกันดินนี้เป็นแนวเขตของเมืองเป็นแนวป้องกัน การโจมตีของศัตรูและอาจจะใช้ประโยชน์ในการเก็บกักน้ำไว้ใช้สอยหรือเป็นแนวป้องกันน้ำท่วม คูเมือง-กำแพงเมืองหลายแห่งสังเกตได้ยาก เพราะตื้นเขินหรือถูกทำลายเปลี่ยนสภาพไปหมดแล้วแต่เห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายทางอากาศ หมู่บ้านใดที่มีโบราณประเภทนี้มักจะมีนิทาน หรือ ตำนานเล่าสืบต่อกันมาหรือไม่ก็อาจจะสังเกตได้จากพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นคันดินสูงติดต่อกันเป็นแนวยาว โดยมากจะขนานไปกับแนวคูเมือง มีทั้งรูปสี่เหลี่ยมและวงรี

2.2 ถนนโบราณ เป็นเส้นทางติดต่อระหว่างหมู่บ้านหรือเมืองในอดีตหรือบางแห่งอาจเป็นแนวถนนภายในเมือง เช่น ถนนในเมืองพระนครศรีอยุธยา ถนนท้าวอู่ทองที่เมืองอู่ทอง ถนนพระร่วงเมืองสุโขทัย เป็นต้น2.3 เนินดินที่ปกคลุมเจดีย์ วิหาร โบสถ์ ปราสาท กู่ ธาตุ เทวาลัยและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น การค้นพบซากโบราณสถานขนาดใหญ่ในเวียงกุมกาม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมเราไม่ทราบว่าใต้เนินดินที่มีกองอิฐทับถมอยู่นั้นมีอะไรบ้างแต่พอขุดแต่งศึกษา ก็พบว่ามีซากเจดีย์ วิหาร อุโบสถ อยู่ใต้ดินจำนวนมากหรือ ที่เขาคา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมรภภาช ก็ขุดแต่งพบโบราณที่เป็นซากเทวาลัยขนาดใหญ่โดยที่ก่อนการขุดแต่งพบเพียงแท่นฐานลึงค์วางอยู่บนกองหินขนาดเล็กเท่านั้น

 
เวียงกุมคาม

2.4 เนินดินที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งฝังศพ แหล่งผลิตโลหะ ฯลฯ หรือที่เรียกกันว่า "แหล่งโบราณคดี" เช่น เนินดินที่ตั้งหมู่บ้านบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เคยเป็นที่ตั้งหมู่บ้านของคนสมัยโลหะ เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว นอกจากนี้พบแหล่งโบราณคดีมีลักษณะคล้ายบ้านเชียงอีกมากมายในภาคอีสาน ในภาคตะวันออกมีเนินดินขนาดใหญ่ที่อำเภอพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี เรียกว่า"โคกพนมดี"จากการขุนค้นศึกษาทางโบราณคดีพบว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของคนก่อนประวัติศาสตร์ อายุตั้งแต่ 2,000-4,000 ปีมาแล้วหลักฐานที่พบได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์


 

      

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง 

 

  2.5 แหล่งประวัติศาสตร์  สถานที่หรือบริเวณที่เคยเกิดเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ซึ่งควรแก่การจดจำและรักษาไว้ เช่น ทุ่งสัมฤทธิ์ จังหวัดนครราชสีมา ค่ายโพธิ์สามต้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี พลับพลาที่ประทับตำบลหว้ากอจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา สถานที่ดังกล่าว ทั้งหมดนี้ ปัจจุบันแม้ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดๆ ให้เห็น แต่มีประวัติที่บันทึกไว้ในเอกสารประวัติศาสตร์ยืนยันชัดเจนก็ถือว่าเป็นโบราณสถานประเภทหนึ่ง

         

   ค่ายบางระจันสิงห์บุรี 

   

    หนองบัว เชียงใหม่

  โบราณสถานที่กล่าวมาข้างต้นสามารถแยกประเภทย่อยออกไปตามลักษณะวัสดุที่ใช้ก่อสร้างได้ดังนี้

1. โบราณสถานที่สร้างด้วยดิน ได้แก่ กำแพงเมือง คันดิน คูเมือง เนินดิน โบราณสถานที่ปรากฏเศษอิฐหรือซากโบราณสถานบางส่วน รวมไปถึงเนินดินที่เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีเศษภาชนะดินเผา หรือลูกปัด กระจัดกระจายอยู่ เช่น กำแพงเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

 2. โบราณสถานที่สร้างด้วยอิฐ  

พระราชวังบ้านปืน

วัดพุทไธศวรรย์

 

ได้แก่ โบสถ์ วิหาร ปรางค์ เจดีย์ ธาตุ อาคารเก่า กำแพงป้อม ประตูเมือง เช่น สิ่งก่อสร้างในเมืองโบราณพระนครศรีอยุธยา กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น

 

3. โบราณสถานที่สร้างด้วยหินและศิลาแลง  ได้แก่ ปราสาท เช่น อโรคยาศาลธรรมศาลา ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างอิทธิพลขอม เช่น ปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว และเจดีย์โบสถ์วิหาร เช่น ที่แหล่งโบราณสถานในจังหวัดกำแพงเพชรและสุโขทัย เป็นต้น

4. โบราณสถานที่สร้างด้วยไม้ ได้แก่ เรือนหลวง จวน บ้าน หมู่กุฏิ ศาลาการเปรียญ หอไตร หอระฆัง โบสถ์

ปราสาทหินพนมรุ้ง

วัดกุฏิดาว


 

หอไตรวัดสันโค้ง

 

พระที่นั่งวิมานเมฆ

 

นอกจากนี้โบราณสถานยังสามารถแบ่งประเภทตามประโยชน์การใช้สอยได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. โบราณสถานร้าง   

 

หมายถึง บรรดาสิ่งก่อสร้าง อาคาร สถาปัตยกรรม รูปเคารพ สระน้ำ เขื่อน คันดิน ถนน โบสถ์ วิหาร ปราสาท เทวาลัย ฯลฯ ซึ่งเคยใช้สอยมาแต่ในอดีต แต่ได้ร้างไปจนกระทั่งกลายเป็นหลักฐาน
ประวัติศาสตร์ทางโบราณคดี บางครั้งเรียกโบราณสถานเช่นนี้ว่าโบราณสถานที่ตายแล้ว หรือ Dead Monument


2. โบราณสถานที่ยังใช้ประโยชน์ หรือ Living Mounment

 

 

เป็นโบราณสถานที่ยังคงประโยชน์ทางการใช้สอยและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น โบสถ์วิหารและเจดีย์ ซึ่งประชาชนยังใช้ประโยชน์เป็นที่สักการะและแสดงความนับถือ หรือป้อมปราการ คลอง บ่อน้ำ สระน้ำ รวมทั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ย่านตลาดการค้า เป็นต้นโบราณสถานทั้งสองประเภทนี้ จะมีสถานะที่แตกต่างกันตรงที่โบราณสถานร้างนั้นให้คุณค่าในแง่ประโยชน์ ทางวิชาการและเสริมสร้างบรรยากาศทางประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานสำคัญในทางวิชาการที่สะท้อนให้เห็นฝีมือช่างและตัวแทนของสังคมแต่ละยุคสมัยในอดีตที่ได้จบบทบาททางการใช้สอยแล้ว อย่างสิ้นเชิง ส่วนโบราณสถานที่ยังใช้ประโยชน์ทางการใช้สอยนั้น แม้ว่าในบางแห่งจะได้ผ่านระยะเวลายาวนาน แต่มนุษย์ในอดีตแต่ละยุดสมัย ได้ทำนุบำรุงรักษาสืบต่อมา จึงยังคงทำหน้าที่ทั้งทางด้านวิชาการ ความงาม และประโยชน์ใช้สอย สถานภาพของโบราณสถานดังกล่าวนี้ทำหน้าที่ทั้งในแง่เอกสารและประเพณีวัฒนธรรมต่อเนื่องกันมาเป็นลูกโซ่ เพราะฉะนั้นบทบาทของโบราณสถานดังกล่าว จึงเป็นพยานที่ให้เห็นการเอาใจใส่ ในการบำรุงรักษาของสังคมมาจนถึงปัจจุบันด้วย

   
                                          ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                                                         

                                                                                                                 ขอบคุณค่ะ :)       

สร้างโดย: 
อาจารย์มาลัยวรรณ จันทร โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

http://suebpong.rmutl.ac.th/conweb/type.htm

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 595 คน กำลังออนไลน์