การอ่าน

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


การอ่าน 

๑.ความหมายของการอ่าน            การอ่านคือการรับสารด้วยสมองและประสบการณ์ได้อย่างเข้าใจ สามารถพิจารณาข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นของข้อมูล และเลือกนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆได้ดีตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้อ่าน ๒.กระบวนการอ่าน            กระบวนการอ่านมีขั้นตอนที่สำคัญ๔ขั้นตอน ได้แก่ขั้นที่๑ การรู้จักคำ       ถ้ารู้จักคำเป็นจำนวนมากก็จะทำให้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้มากขึ้น บางกรณีเราไม่รู้ความหมายของคำใดคำหนึ่ง แต่การรู้ความหมายของคำอื่นๆที่แวดล้อมจะช่วยให้เข้าใจความหมายได้           

 ตัวอย่าง นักเรียนศึกษาข้อความชุดที่๑โดยทำความเข้าใจด้วยตนเองว่าเข้าใจความหมายอย่างไร เข้าใจในแนวใด เหตุใดจึงเข้าใจเช่นนั้น

ชุดที่๑            ๑.สลลากกินแบ่งรัฐบาล                     ๘.ไคสแควร์            ๒.โอกาส                                      ๙.อาสาเสรี            ๓.ตัวอย่างเชิงสุ่ม                            ๑๐.ศกฉลู            ๔.ประชากร                                  ๑๑.อาษาฒมาส            ๕.การแจกแจงปกติ           ๑๒.ศุกรวารบูรพาษาฒฤกษ์            ๖.ค่าเฉลี่ย                                ๑๓.อุษาโยค            ๗.ความแปรปรวน             ๑๔.พระมเหสวรรูปวิษณุรูป                   นักเรียนที่รู้จักคำเป็นจำนวนมากจะสามารถจำแนกคำออกเป็นหมวดหมู่ได้ว่ามีหมวดหมู่คำที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ คำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และคำที่เกี่ยวกับโหราศาสตร์  ขั้นที่๒ การเข้าใจความหมายของสาร เป็นกระบวนการรับสารที่มีความหมายอยู่ในถ้อยคำ วลี ประโยค ข้อความ หรือเรื่องราว แต่ละคนอาจจะเข้าใจสารไม่ตรงกัน ขึ้นอยู่กับการตีความตลอดจนพื้นฐานความรู้และประสบการณ์การอ่านของแต่ละคน  ขั้นที่๓ การมีปฏิกิริยาต่อสาร   เป็นกระบวนการรับสารที่เกิดขึ้นเมื่ออ่านแล้วคิด ผู้อ่านจะใช้วิจารณญาณตัดสินสารที่ได้รับมาโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ ซึ่งผู้อ่านที่สามารถอ่านเข้าใจและมีปฏิกิริยาต่อสารได้ต้องมีความรู้พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น            ตัวอย่าง

  ๑๘๒๙ ศกฉลู ขึ้น๑๓ ค่ำอาษาฒมาส ศุกรวารบูรพาษาฒฤกษ์ ณ เวลาอุษาโยค เมื่อเสด็จประดิษฐาน พระมเหสวรรูปวิษณุรูป ข้อสังเกต     ข้อความนี้ถ้าผู้อ่านไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและศิลปวัฒนธรรม หรือประวัติศาสตร์ก็จะไม่สนใจอ่าน ไม่เห็นความสำคัญของข้อความและไม่ทราบว่าจะนำข้อความนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหรือไม่  
  เมืองไทยไม่ว่าฤดูไหน ยุงเป็นต้องชุมไปเสียหมด เพราะมีแหละเพาะยุงมากนั่นเอง แต่การใช้ยากำจัดยุงตามที่โฆษณาทางทีวีที่เราเห็นอยู่บ่อยๆนั้น ถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวังก็เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต วิธีหนึ่งที่ปฏิบัติมาแต่โบราณคือการใช้ผิวเปลือกส้มที่ปอกแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง นำมาเผาในภาชนะที่เตรียมไว้ กลื่นจากเปลือกผิวส้มจะช่วยกำจัดยุงไม่ให้มารบกวนได้ ข้อสังเกต    เรื่องนี้ให้ความรู้ที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ถ้อยคำง่ายๆลำดับความเป็นเหตุเป็นผล ผู้อ่านจะมีปฏิกิริยาต่อสารได้ดี โดยยอมรับว่าประเทศไทยมียุงชุม การใช้ยากันยุงสกัดจากสารเคมีมักจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพ และยอมรับว่าการใช้ผิวเปลือกส้มที่นำมาตากแห้งและเผาให้เกิดควันสามารถกำจัดยุงได้

 ขั้นที่๔ การรวบรวมความคิด  เป็นขั้นของการตัดสินหรือประเมิณได้ว่าเข้าใจสารที่อ่านมากน้อยเพียงใด สามารถสรุปรวบรวมความรู้และความคิดจากเรื่องที่อ่านมาประสารกับความรู้และประสบการณ์เดิมที่ได้สะสมไว้ นอกจากนี้ยังเป็นขั้นตอนที่ผู้อ่านได้เปรียบเทียบสิ่งใหม่กับสิ่งเก่าแล้วเลือกรับหรือจดจำตามที่ต้องการ

 ๓.ความพร้อมที่จะอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ ความพร้อมที่จะอ่าน หมายถึง การเตรียมตัวที่ดีเพื่อการอ่านที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้อ่านรับรู้สารได้ตรงตามเจตนาและความประสงค์ 

ลักษณะของผู้ที่พร้อมจะอ่าน ลักษณะของผู้ที่ไม่พร้อมจะอ่าน
สนุกกับการอ่านเต็มใจที่จะอ่านมีเป้าหมายในการอ่านอ่านแล้วได้รับสารประโยชน์คุ้มค่ารักการอ่าน ฝืนอ่านด้วยความจำยอมไม่รู้เรื่องที่อ่าน รู้สึกเป็นเรื่องที่อ่านยากอ่านเรื่อยๆ ไม่รู้เป้าหมายอ่านแล้วเหมือนไม่ได้อ่าน ไม่เห็นคุณค่าสาระของสิ่งที่อ่าน ไม่ชอบอ่าน

 ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดความพร้อม  ความพร้อมที่จะอ่านของบุคคล            -ความพร้อมทางกาย เป็นความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับอายุสมอง สุขภาพ และความสามารถในการจำ            -ความพร้อมทางใจ ประกอบด้วยความสนใจ ความพยายาม และทัศนคติเกี่ยวกับการอ่าน            -ความพร้อมทางความคิด เป็นความพร้อมในด้านแนวคิด(ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของภาษา รวมทั้งการใช้ภาษาในการสื่อสาร) และเป้าหมายในการอ่าน(อ่านเพื่ออะไร)  ความพร้อมที่จะอ่านเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม            -โอกาสและการสนับสนุน            -การฝึกฝน            -บรรยากาศในการอ่าน            -อุปกรณ์ในการอ่าน-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-

สร้างโดย: 
อ.กนกพร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 297 คน กำลังออนไลน์