เชียงใหม่
ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ประวัติเมืองเชียงใหม่
เชียงใหม่ มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ในตำนานแรกๆ ที่กล่าวถึงเชียงใหม่ อย่างตำนานว่าด้วยพระธาตุในล้านนา กล่าวถึง ลัวะ ว่าเป็นชนพื้นเมืองมาก่อน ตำนานมูลศาสนา ชินกาลมาลีปกรณ์และจามเทวีวงศ์ กล่าวเปรียบเทียบลัวะ ว่าเป็นคนเกิด ในรอยเท้าสัตว์ ด้วยเหตุที่ ลัวะ ถือเอารูปสัตว์เป็นสัญลักษณ์ ตำนานรุ่นหลังอย่างตำนานสุวรรณคำแดง หรือ ตำนานเสาอินทขิล เล่าว่า ลัวะ เป็นผู้สร้าง เวียงเจ็ดลิน เวียงสวนดอก และเวียงนพบุรี หรือ เชียงใหม่ ลัวะ จึงน่าจะเป็นชนกลุ่มแรก ที่สร้างเมือง แต่ก่อนหน้านี้ ก็คงมีมนุษย์อาศัยอยู่ที่นี่ก่อนแล้ว แต่ยังไม่เป็นเมืองเต็มรูปแบบ
ดอยในเชียงใหม่
1. ดอยเชียงดาว
อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ยอดสูงสุดของดอยเชียงดาว เรียกว่า ดอยหลวงเชียงดาว (เพี้ยนมาจากคำที่ชาวบ้านในละแวกเปรียบเทียบดอยนี้ว่าสูง "เพียงดาว") มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนรูปกรวยคว่ำสูง 2,195 เมตร จากระดับน้ำทะเล นับเป็นยอดดอยที่สูงอันดับ 3 ของประเทศรองจากดอยอินทนนท์และผ้าห่มปก จากบนยอดดอยซึ่งเป็นที่ราบแคบๆ สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันงดงามรอบด้าน คือ ทะเลหมอกด้านอำเภอเชียงดาว ดอยสามพี่น้อง เทือกดอยเชียงดาว ตลอดจนถึงยอดดอยอินทนนท์อันไกลลิบอากาศเย็น ลมแรง และสมบูรณ์ด้วยดอกไม้ป่าภูเขาที่หาชมได้ยากมากมายรวมทั้งนกและผีเสื้อด้วย (ไม่เหมาะที่จะขึ้นไปยืนบนยอดดอยทีละกลุ่มใหญ่ๆเพราะจะไปเหยีบย่ำทำลายพรรณไม้บนนั้นได้แม้จะโดยไม่ตั้งใจก็ตาม) การเข้าไปใช้พื้นที่ต้องทำหนังสือขออนุญาตถึงผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ อย่างน้อย 2 อาทิตย์ก่อนการเดินทาง รายละเอียด โทร. 561-2947 การเดินทางสู่ยอดดอยเชียงดาวเริ่มที่ถ้ำเชียงดาว ซึ่งนักท่องเที่ยวจะสามารถติดต่อคนนำทาง ลูกหาบ รวมทั้งรถไปส่งที่จุดเริ่มเดินได้ โดยค่าเช่ารถประมาณ 900 บาท ค่าจ้างลูกหาบประมาณวันละ 300 บาทต่อลูกหาบหนึ่งคน บนดอยเชียงดาวไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ นักท่องเที่ยวต้องเตรียมตัวไปด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนอน อาหาร และน้ำ ส่วนเส้นทางลงนิยมใช้ทางสายบ้านถ้ำซึ่งอยู่ใกล้กับถ้ำเชียงดาว เพราะมีทางสูงชันสามารถลงได้รวดเร็วกว่าแต่ไม่เหมาะกับการขึ้น
2. ออบหลวง (The GreatCanyon)
ตั้งอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 17 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 คาบเกี่ยวระหว่างตำบลหางดง และตำบลบ้านแบะ อำเภอจอมทอง เป็นช่องแคบเขาขาดที่มีหน้าผาหินขนาบลำน้ำ ทำให้เกิดเป็นหุบผาลึก ความลึกของหน้าผาวัดจากสะพานถึงระดับน้ำปกติ ประมาณ 32 เมตร ส่วนแคบสุด 2 เมตร ความยาวของช่องแคบประมาณ 300 เมตร ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ความน่าพิศวงให้กับแผ่นดินส่วนนี้อย่างน่ามหัศจรรย์ คำว่า"อ๊อบ" หรือ "ออบ" เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึงช่องแคบ "หลวง" หมายถึงใหญ่ "ออบหลวง" คือชื่อเฉพาะที่ใช้เรียกช่องแคบหินขนาดยักษ์ที่มีลำน้ำแม่แจ่มบีบตัวแทรกผ่านไป อีกนัยหนึ่งคือ หุบผาที่มีสายธารไหลผ่าน(Canyon) ภายในออบ น้ำตกลงไปกระทบแก่งหินไอน้ำกระจายฟุ้งเสียงดังสนั่นหวั่นไหวตลอดเวลา ลานหินและโตรกผาที่ถูกน้ำอันเชี่ยวกรากกัดกร่อนปีแล้วปีเล่า ทำให้เห็นเป็นลวดลายรูปร่างแปลกตาสวยงามมาก ทำให้ผู้ไปเยือนต้องพิศวงว่ากำแพงหินสูงใหญ่ที่ขวางลำน้ำอยู่นั้นแตกทะลุหรือแยกตัวให้น้ำผ่านไปได้อย่างไร
3. ดอยผาช้าง
เป็นหินแกรนิตชนิดมิคมาไทด์ทั้งแท่งก้อนใหญ่มหึมา ยาวประมาณ 300 เมตร สูงประมาณ 80 เมตร จากระดับพื้นดินมีลักษณะเหมือนช้างตัวใหญ่นอนหมอบอยู่ บนยอดดอยผาช้างเป็นจุดชมวิว มองลงไปทางทิศใต้จะเห็นน้ำตกแม่บัวคำอยู่อุบลฯ ใกล้เข้ามาตรงหน้าดอยผาช้างเห็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ลดเลี้ยวเลียบเหลี่ยมเขาผ่านหน้าผาออบหลวง ลึกจากผาออบหลวงลงไปจะมองเห็นสายธารแม่แจ่มไหลคดเคี้ยวซอกซอนผาหินหายลับไปทางตะวันออก ที่ดอยผาช้างด้านตะวันตกมีเพิงผาคล้ายถ้ำ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณก่อนประวัติศาสตร์ และได้วาดภาพช้างด้วยสีขาวและสีแดงไว้ จากรายงานของนักโบราณคดี กรมศิลปากร ยืนยันว่าเป็นครั้งแรกที่พบภาพเขียนโบราณในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนในเขตจังหวัดเชียงใหม่ สันนิษฐานว่าภาพเขียนนี้มีอายุไม่น้อยกว่า 7,500-8,500 ปีมาแล้ว
4. ดอยผ้าห่มปก
มีความสูง 2,285 เมตร จากระดับน้ำทะเล จึงมีเมฆหมอกปกคลุมยอดดอยและมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ดอยผ้าห่มปก คือหนึ่งในเทือกเขาแดนลาวที่ทอดตัวยาวตั้งแต่ทางตอนใต้ของยูนนานลงมาแบ่งชายแดนไทย-พม่า ตั้งแต่เชียงรายไปจนถึงแม่ฮ่องสอนจนไปจรดกับเทือกเขาถนนธงชัย บนดอยผ้าห่มปกมีนก และผีเสื้อที่น่าสนใจ เช่น นกปีกแพรสีม่วง นกปรอดหัวโขนก้นเหลือง ผีเสื้อมรกตผ้าห่มปกซึ่งพบที่นี่แห่งเดียวเท่านั้นในประเทศไทย ผีเสื้อหางติ่งแววเลือน ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ เป็นต้น ในฤดูหนาวมีนกอพยพมาอาศัย เช่น นกเดินดงคอแดง นกเดินดงดำปีกเทา นกเดินดงสีน้ำตาลแดง เป็นต้น นักท่องเที่ยวตั้งแค้มป์พักแรมได้ตรงบริเวณกิ่วลม เนื่องจากทางอุทยานแห่งชาติไม่อนุญาตให้พักแรมบนยอดดอยผ้าห่มปกซึ่งเป็นหน้าผาชันและอาจเกิดอันตรายได้ การเดินทางขึ้นยอดดอยผ้าห่มปกต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน 1 คืน ก่อนเดินทางควรติดต่อขออนุญาต ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง ค่าเช่ารถขึ้นจากอุทยานไปส่งที่ทางขึ้นดอยไปส่ง-รับประมาณ 1,500 บาท สอบถามรายละเอียดที่อุทยานฯ โทร. 0 5345 1441 ต่อ 302 การเดินทาง จาก อ.ฝาง ใช้ทาง รพช. สายฝาง-บ้านห้วยบอน ไปจนถึงบ้านห้วยบอน ให้ตรงไปตามทางลูกรังอีกประมาณ 5 กิโลเมตร มีทางแยกขวาขึ้นเขาชันไปประมาณ 13 กิโลเมตร จะพบหน่วยจัดการต้นน้ำดอยผาหลวง ตรงไปจนพบสามแยก ถ้าตรงไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สาวถ้าไปทางแยกซ้ายประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงกิ่วลมซึ่งมีลักษณะเป็นเขาและมีลานสำหรับจอดรถได้ถ้าเดินทางต่อจากกิ่วลมไปอีก 5 กิโลเมตร จะถึงปางมงคล ผู้สนใจเดินทางขึ้นดอยผ้าห่มปกต้องติดต่อที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติก่อนการจะเดินทางขึ้นสู่จุดยอดดอยผ้าห่มปกนั้นต้องเตรียมตัวอย่างดีเพราะต้องเดินป่าปีนเขาอย่างสมบุกสมบันและที่นี่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ นักท่องเที่ยวต้องเตรียมไปเอง ดอยหลวงเชียงดาว จ.เชียงใหม่ Photo by... wild-rose@tourthai.com เชียงใหม่ นพบุรี ศรีนครพิงค์ หรือเวียงพิงค์ ของพ่อ ขุนเม็งรายมหาราชในอดีต หรือเชียงใหม่ในวันนี้เป็นเมืองที่ รวบรวมศิลปกรรม โบราณวัตถุ ตลอดจนวัฒนธรรมดั้งเดิม ของลานนาไทยเอาไว้ ส่วนสภาพทางภูมิศาสตร์นั้น พื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่เป็นป่าละเมาะและภูเขา เนื้อที่ ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร มีที่ราบอยู่ตอนกลาง ตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง
วัดในเชียงใหม่
1. พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์
อยู่ที่บ้านเมืองงาย ประชาชนได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าพระองค์เคยเสด็จมาประทับแแรมที่เมืองงายแห่งนี้ก่อนที่จะกรีฑาทัพต่อไปยังเมืองอังวะของพม่า เป็นเจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยม ที่ฐานด้านหนึ่งประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ละด้านของฐานเป็นแผ่นศิลาสลักเรื่องพระราชกรณียกิจของพระองค์ สลับกับแผ่นหินอ่อนที่เล่าพระราชประวัติ ประวัติการสร้างพระสถูป ด้านหลังเป็นค่ายหลวงจำลองที่ภายในประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และสมเด็จพระสุพรรณา
2. พระบรมธาตุแสนไห
อยู่ที่ตำบลเมืองแหง จากบ้านเมืองายเข้ามา 55 กิโลเมตร เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแต่มาได้รับการบูรณะในพ.ศ. 2457 เป็นปฏิมากรรมผสมระหว่างพม่าและลานนาไทย ซึ่งการก่อสร้างทับพระธาตุเดิมที่มีขนาดเล็ก โดยของใหม่มีสันฐาน 8 เหลี่ยม สันนิษฐานว่าที่นี่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อครั้งยกทัพไปยังเมืองอังวะของพม่าเมือปี พ.ศ. 2147 หลังจากประชุมพลที่เมืองงาย จึงเสด็จไปทางเมืองห้างหลวงซึ่งน่าจะเป็นเมืองแหงในปัจจุบันเพราะมีคูเมืองล้อมยาวกว่า 2 กิโลเมตร และเป็นเมืองเดียวที่อยู่ระหว่างเมืองงายกับเมืองอังวะของพม่า เชื่อว่าพระองค์น่าจะเสด็จมาพักทัพที่พระบรมธาตุแห่งนี้และสร้างบ่อน้ำใช้ส่วนพระองค์และช้างศึกตรงบริเวณด้านหน้าเนินเขาที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ ชาวบ้านเรียกว่าบ่อน้ำช้าง ประเพณีที่สำคัญของวัดนี้ คือ งานสรงน้ำพระบรมธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี
3. วัดฟ้าเวียงอินทร์
ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยใหญ่ อยู่ที่บ้านหลักแต่งตรงชายแดนไทย-พม่าพอดีสมัยก่อนบริเวณบ้านหลักแต่งนี้ถือเป็นเขตอิทธิพลของขุนส่า อาณาเขตของวัดนี้จึงนับเป็นดินแดนเดียวกันแต่เมื่อขุนส่ามอบตัวแก่รัฐบาลทหารพม่า ดินแดนวัดถูกแยกเป็นสองส่วน มีเจดีย์สีเหลืองทองอร่ามอยู่ในแดนไทยและจะมองเห็นหลังคาโบสถ์สีแดงทรงไทยใหญ่อยู่ในฝั่งพม่า ด้านหลังเป็นศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชชาวบ้านจะให้ความเคารพมาก และที่เชิงเขาด้านหลังเป็นสุสานนายพลโมเฮงอดีตผู้นำชาวไทยใหญ่ที่นี่
4. วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
จากตัวเมืองเชียงใหม่มุ่งหน้าไปตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด 58 กิโลเมตร เป็นวัดสำคัญคู่เมืองจอมทองและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเหนือโดยทั่วไป ประะเพณีเด่นของวัดคือ การแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีของชาวลานนาที่ถือว่าการเอาไม้มาค้ำโพธิ์เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา
5. วัดพระธาตุดอยน้อย
ตั้งอยู่ที่ตำบลดอยหล่อ อำเภอจอมทอง ตามทางหลวงหมายเลข 108 ระหว่างกิโลเมตรที่ 43-44 หากมาจากเชียงใหม่จะอยู่ฝั่งซ้ายมือ ตามประวัติว่าสร้างโดยพระนางจามเทวี เมื่อปี พ.ศ. 1201 มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ พระบรมธาตุ โข่งพระ (กรุพระ) โบสถ์ วิหาร และพระพุทธรูปหินอ่อนแกะสลัก ทั้งองค์เล็กองค์ใหญ่มากมาย บริเวณวัดตั้งอยู่บนภูเขาติดลำน้ำปิง มองเห็นทิวทัศน์โดยรอบทุกทิศ มีบันไดนาคขึ้นไป 241 ขั้น
6. วัดพุทธเอิ้น
ตั้งอยู่ที่ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม ตามประวัติกล่าวว่า วัดพุทธเอิ้นก่อสร้างในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อ 200 กว่าปีมาแล้ว มีโบราณสถานซึ่งขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรแล้วคือ โบสถ์น้ำ คือมีน้ำล้อมรอบเป็น อุทกสีมา มีความหมายเหมือนกับ ขันทสีมา ของโบสถ์บนบกบริเวณด้านหลังโบสถ์น้ำมีวิหารเก่าแก่ ซึ่งภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่เลือนลางไปมากแล้ว
7. วัดดอยแม่ปั๋ง
อยู่หมู่ที่ 5 ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว ห่างจากตัวเมืองตามเส้นทางสายเชียงใหม่-แม่โจ้-พร้าว (ทางหลวงหมายเลข 1001) เป็นระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นวัดที่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เคยจำพรษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 จนถึงมรณภาพในปี พ.ศ. 2528 ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ วิหารไม้ กุฏิหลวงปู่แหวน กุฏิไม้ที่เรียกว่า โรงย่างกิเลส หรือ โรงไฟ และวิหารที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่แหวนเท่าองค์จริง
8. วัดป่าตึง
ตั้งอยู่ในเขตตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง เดิมเป็นวัดร้าง คู่กับวัดเชียงแสน ก่อนที่จะสร้างวัดนี้ขึ้นมาได้พบพระบรมสารีริกธาตุ และของมีค่ามากมายหลายอย่าง อาทิ วัตถุโบราณ พระพุทธรูป เครื่องถ้วยชามสังคโลก ซึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ใน พิพิธภัณฑ์เครื่องถ้วยชาม ที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัด ในศาลาการเปรียญเป็นที่ตั้งศพของเกจิอาจารย์ชื่อดัง คือหลวงปู่หล้าซึ่งไม่เน่าเปื่อย ให้ผู้ที่มีศรัทธาได้บูชา
ถ้ำในเชียงใหม่
1. ถ้ำตอง
อยู่ในท้องที่ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง "ดอยผาเลียบ" เป็นภูเขาหินแกรนิตและหินปูนที่มีรูปร่างเหมือนถูกผ่าครึ่งแล้วแยกกันอยู่คนละฝั่งลำน้ำแม่เปาะ ซีกที่อยู่ทางฝั่งขวามีถ้ำลึกที่มีตำนานเล่าขานกันว่า ถ้ำนี้เป็นอุโมงค์หินที่มีความยาวมาก กล่าวว่าทะลุถึงดอยเชียวดาวทางเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ทีเดียว บริเวณปากอุโมงเป็นคูหาขนาดประมาณ 5 x 10 เมตร สูง 3 เมตร ลึกเข้าไปจากนั้นเป็นโพรงหินเล็กๆขนาดพอตัวคนคลานเข้าไปได้ สภาพภายในคูหาปากถ้ำถูกสกัดตกแต่งใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของสำนักวิปัสสนาถ้ำตอง โดยรอบๆในหุบเขาร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ป่าดงดิบที่มีขนาดใหญ่ๆเช่น มะม่วงป่า ตะเคียนทอง มะหาด กระท้อน หน้าถ้ำมีธารน้ำแม่แปะไหลผ่าน ต้นแม่น้ำแปะห่างจากถ้ำตองขึ้นไปประมาณ 1 กิโลเมตรมีน้ำตกเล็กๆ
2. ถ้ำตุ๊ปู่
อยู่ในท้องที่ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง เป็นถ้ำหินปูนขนาดเล็ก ปากถ้ำแคบ กว้างยาวประมาณ 1x1.5 เมตร ต้องนั่งยองๆเข้าไป ภายในกว้างขวางรูปร่างค่อนข้างกลมเหมือนคนโทขนาดใหญ่ มีน้ำหยดจากเพดานถ้ำตลอดเวลา ทำให้เกิดหินงอกหินย้อยอยู่ทั่วไป ตรงเพดานค่อนข้างไปทางก้นถ้ำทะลุเป็นวงกลมใหญ่ๆ 3 ช่องติดกัน จึงทำให้ถ้ำสว่างไสวไม่มืดทึบเหมือนถ้ำโดยทั่วไป
3. ถ้ำตับเต่า
อยู่ในเขตอำเภอไชยปราการ บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 120 และ 121 แยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในบริเวณวัดร่มรื่น มีหอพระไตรปิฎกสร้างอยู่กลางน้ำ สิ่งสำคัญในวัดคือถ้ำตับเต่า มีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว แต่มีความสวยงามไม่แพ้กัน ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ถ้ำตับเต่านี้แยกออกเป็น 2 ถ้ำ คือ ถ้ำผาขาว และถ้ำปัญเจค บริเวณหน้าถ้ำมีกุฏิและศาลาสำหรับพักผ่อน
4. ถ้ำเชียงดาว
อยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว การเดินทาง จากเชียงใหม่ไปยังอำเภอเชียงดาว ระยะทาง 72 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตรงทางแยกเข้าไปจนถึงถ้ำอีก 5 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางจนถึงบริเวณถ้ำ มีบริเวณจอดรถกว้างขวาง ทางเข้าถ้ำเป็นบันไดมีหลังคามุงสังกะสี หน้าถ้ำมีธารน้ำไหลผ่านเต็มไปด้วยปลาหลายชนิด ด้านขวามือตรงกลางสระเป็นเรือสำเภาหิน เสียค่าเข้าชมคนละ 5 บาท หรือหากต้องการชมบริเวณถ้ำทั้งหมด ติดต่อคนนำทางได้บริเวณหน้าถ้ำโดยเสียค่าบริการพิเศษ
5. ถ้ำห้วยบอน
เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ลึกประมาณ 300 เมตร ภายนอกถ้ำอาจดูไม่น่าสนใจนัก แต่เมื่อเข้าไปถึงประมาณกลางถ้ำ จะพบโถงถ้ำใหญ่ซึ่งจุคนได้ประมาณ 40-50 คน สภาพถ้ำเต็มไปด้วยเสาหินและหินงอกหินย้อยขนาดต่างๆ ซึ่งดูน่าตื่นตาตื่นใจมากถ้ำห้วยบอนเป็นถ้ำที่ยังมีการสะสมตัวของหินปูนสังเกตได้จากการมีน้ำหยดตามผนังถ้ำและหินงอกหินย้อยต่างๆ ตลอดเวลา การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับทางไปกิ่วลมเพื่อขึ้นดอยผ้าห่มปก
6. ถ้ำยางวี
เป็นถ้ำที่อยู่ในเขตท้องที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก ไม่ไกลจากบริเวณถ้ำจะมีป่าสนเขาขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ มีชื่อเรียกกันว่า "ป่าพระบาทยางวี" เหมาะสำหรับเป็นที่พักแรมของนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสกับธรรมชาติ
7. ห้วยถ้ำ
อยู่ในเขตท้องที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจุดชมวิวริมฝั่งแม่น้ำปิง สามารถมองเห็นทิวทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ำดอยเต่าได้อย่างสวยงาม รถยนต์สามารถเข้าถึงบริเวณนี้ได้