สิ่งเสพติด
ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
สิ่งเสพติด
ยาเสพติด หมายถึง สารเคมี หรือสารใดก็ตาม ซึ่งเมื่อบุคคลเสพ หรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด
การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้
เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพ และแก่สังคมด้วย
ประเภทของยาเสพติด
จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท
1.ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมา
บาร์บิทูเรต ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกาย
ซูบซีดผอมเหลือง ฟุ้งซ่าน อ่อนเพลีย อารมร์แปรปรวนง่าย
2.ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า ยาอี กระท่อม โคเคน เครื่องดื่มคาเฟอีน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด
กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง
หรือฆ่าผู้อื่น
3.ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย ดี.เอ็ม.ที.และ ยาเค เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการ
ประสาทหลอน หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาด หรือเห็นภาพหลอด ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป้นโรคจิต
4.ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง
ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้ และป่วยเป็นโรคจิต ได้แก่ กัญชา
สาเหตุของการติดยาเสพติด
- อยากลอง อยากรู้ อยากเห็น อยากสัมผัส ซึ่งเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยคิดว่า "ไม่ติด"
- ถูกเพื่อนชักชวน ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเยาวชน ทำตามเพื่อน เพราะต้องการ การยอมรับจากเพื่อนฝูง หรือถูกชักจูง
ว่าใช้แล้ว ทำให้สมองปลอดโปร่ง หรือใช้แล้วทำให้ขยันจึงเหมาะแก่การเรียน และการทำงาน
- ถูกหลอกลวง โดยอาศัยรูปแบบสีสันสวยงาม ทำให้ผู้รับไม่อาจทราบได้ว่า สิ่งที่ตนได้รับเป็นยาเสพติด
- ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดทางกาย อันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ จนเกิดการติดยา เพราะใช้เป็นประจำ
- เกิดจากความคนอง และขาดสติยั้งคิด ทั้ง ๆที่รู้ว่าเป็นยาเสพติด แต่อยากแสดงความเก่งกล้าอวดเพื่อน
- ภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว เอื้ออำนวยที่จะส่งเสริม และผลักดันให้หันเข้าหายาเสพติด เช่น ครอบครัวแตกแยก
สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาวะเศรษฐกิจบีบบังคับให้ทำเพื่อความอยู่รอด อยากรวยเร็วหรือ
พักอาศัยอยู่ ในแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด
วิธีสังเกตุอาการผู้ติดยาเสพติด
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก
- สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
- ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก
- ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
- ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
- มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน
- ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตุได้จาก
- เป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
- ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
- ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
- พูดจากร้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง
- ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ
- ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
- ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
- พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว
- มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
- ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ
- ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา
- ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย
ตัวอย่างสารเสพติดที่นักเรียนควรรู้จัก
ฝิ่น (opium)
ฝิ่นเป็นพืชล้มลุกเจริญเติบโตในภูมิประเทศที่มีอากาศเย็น ผู้เสพจะกรีดเอายางจากเปลือกของผลฝิ่นมีลักษณะเป็นยาง
เหนียว สีขาวข้น เหม็นเขียว รสขมจัด มีฤทธิ์กดประสาททำให้เคลิ้ม เซื่องซิม ม่านตาหรี่ เหม่อลอย ตัวซีดเหลือง
อารมณ์แปรปรวน ถ้าไม่ได้เสพจะเกิดอาการรู้สึกกระวนกระวาย หงุดหงิด อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด หรือเรียกว่า
ลงแดง
สุรา (Ethly Alcohal)
คือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบได้จากการหมักน้ำที่ได้จากผลไม้หรือพืช กับยีสต์ทิ้งไว้จนกระทั่งเกิด
แอลกอฮอล์ มีหลายประเภท ไวน์ เบียร์ บรั่นดี วิสกี้ วอดก้า มาร์ตินี สุราขาว อุ กระแช่ สาโท มีฤทธิ์กดประสาท
ในช่วงแรกผู้ดื่มจะรู้สึกเจริญอาหาร กระฉับกระเฉง แต่เมื่อดื่มติดต่อกันมากขึ้น ประสิทธิภาพของสมองลดลง เกิดอาการ
มึนเมา ขาดสติ เสียการทรงตัง อาเจียน
สำหรับผู้ที่ดื่มในปริมาณน้อย เมื่อหยุดดื่มอาจมีอาการเมาค้าง ร่างกายจะรู้สึกมึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ แต่จะหายไปเอง
สำหรับผู้ที่มีอาการติดสุราอย่างรุนแรง มีความต้องการดื่มตลอดเวลา เมื่อหยุดดื่มจะเกิดอาการที่เรียกว่า เปรี้ยวปาก
มือสั่น เหงื่อออกมาก ใจสั่น นอนไม่หลับ กระวนกระวาย คลื่นไส้ อาเจียน ประสาทหลอน หงุดหงิด และอาจเสียชีวิตได้
บุหรี่ (Cigarettes)
บุหรี่เป็นสิ่งเสพติดที่แพร่ระบาดไปแทบทั่วทุกมุมโลก การติดบุหรี่ของผู้เสพนั้นแท้จริงแล้วเป็นการติดสารนิโคตินที่มีอยู่ในยาสูบที่นำมาทำบุหรี่ ควันจากการเผาไหม้ของยาสูบมีส่วนประกอบทางเคมีหลายอย่างที่สามารถทำลายปอดได้ สารนิโคตินในบุหรี่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผนังหลอดเลือดหดตัว ความดันเลือดสูง หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งสูงมาก เช่นมะเร็งปอด มะเร็งที่ช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเม็ดเลือดขาว
หากหยุดสูบจะรู้สึกไม่สบายใจ หงุดหงิด นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ กระวนกระวาย หัวใจเต้นช้า
คาเฟอีน (Caffeine)
คาเฟอีนถือว่าเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่ทุกคนแทบจะไม่สนใจถึงพิษภัยของสารเสพติดชนิดนี้ คาเฟอีนจะมีอยู่ในเครื่องดื่มและอาหารหลายประเภท เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต ยาแก้ปวด เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เป็นต้น คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้รู้สึกสดชื่น ตื่นเต้น ไม่ง่วง รู้สึกมีพละกำลัง
หากได้รับคาเฟอีนในปริมาณมากจะทำให้นอนไม่หลับ ใจสั่น หน้าแดง ปัสสาวะมาก คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก
ชักหัวใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้ หากหยุดหรือลดปริมาณการดื่ม จะรู้สึกหงุดหงิด ง่วงนอน ใจสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
ไม่มีแรง เฉื่อยชา ไม่มีสมาธิ
แอมเฟทามีน (Amphetamine)
เป็นสารเสพติดที่มีการแพร่ระบาดอย่างมาก มีการปรับปรุงให้มีฤทธิ์มากกว่าเดิม เรียกว่า เมทแอมเฟทามีน มีชื่อเรียก
เช่นยาขยัน ยาม้า และยาบ้า ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น รสขม อัดเป็นเม็ด มีหลายสี เช่น เขียว ส้ม น้ำตาล ผู้เสพใช้
วิธีการกิน สูดควันระเหย สูบ หรือฉีดเข้าเส้น
มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการทางจิต ตื่นตัว พูดมาก ก้าวร้าว หงุดหงิด ไม่หิว เบื่ออาหาร
ประสาทหลอน หากใช้ยาเกินขนาด จะเกิดอาการเมา ชัก มีไข้ หมดสติ หากไม่ได้เสพ จะมีอาการไม่สบาย หงุดหงิด
อ่อนเพลีย ใจสั่น มือสั่น ง่วงนอนอย่างมาก หลับใน ซึมเศร้าจนอาจฆ่าตัวตาย วิตกกังวล หวาดระแวงว่าจะมีคนมาทำร้าย
วิธีการแจ้งข่าวสารยาเสพติด
การให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการแจ้งข้อมูลข่าวสารยาเสพติด เพื่อปราบปรามแหล่งผลิต แหล่งค้า
แหล่งจำหน่าย และแหล่งมั่วสุมยาเสพติด เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินการตามกฎหมายนั้น นับเป็นการ
บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อทางราชการและประเทศชาติ แต่ขณะเดียวกัน การกระทำดังกล่าวควรปฏิบัติ
ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง เพื่อมิให้ถูกคุกคามจากอิทธิพลของผู้ถูกจับกุมด้วย ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัย
ผู้แจ้งข่าวสารสามารถเลือกปฏิบัติได้ 2 วิธีคือ
1.แจ้งข่าวสารโดยไม่เปิดเผยตนเอง กรณีนี้ ผู้แจ้งสามารถแจ้งข่าวสารต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทุก
สถานีทั่วประเทศ หรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ ปปส. โดยทำเป็นจดหมาย ไม่ต้องระบุชื่อผู้แจ้ง แต่ต้องให้รายละเอียดที่
เป็นประโยชน์ในการสืบสวน ติดตาม กล่าวคือ ข้อมูลที่ให้ต้องครอบคลุมคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร
อย่างชัดเจน
2.แจ้งข่าวสารโดยแสดงตัวผู้แจ้ง โดยผู้แจ้งต้องมั่นใจได้ว่า ผู้รับแจ้งนั้นต้องสามารถเก็บความลับได้
และให้ความคุ้มครองแก่ผู้แจ้งได้ หากถูกคุกคามจากอิทธิพลของผู้ถูกจับกุม ทั้งนี้เพื่อขอความคุ้มครอง และแจ้ง
รายละเอียดของผู้ที่คุกคาม ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฏหมายต่อไป
การป้องกันปัญหายาเสพติดแก่ครอบครัวของตนเอง
1.ช่วย พ่อ แม่ สอดส่องดูแลน้องๆ หรือสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวมิให้กระทำสิ่งที่ผิด เช่น
การคบเพื่อนที่ไม่ดี การมั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด เยาวชนควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สมาชิกคนอื่นๆภายใน
ครอบครัวด้วย เช่น การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียร
2.ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว มีความรักใคร่กลมเกลียวและมีความเข้าใจกัน
ช่วยเหลือกันเมื่อมีปัญหา
3.เมื่อมีโอกาสควรบอกกล่าวหรือตักเตือนสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว โดยเฉพาะน้องๆให้รู้เกี่ยวกับโทษพิษภัย
ของยาเสพติด
4.ช่วยทำให้ พ่อ แม่ เกิดความสบายใจและภาคภูมิใจด้วยการประพฤติดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แบ่งเบาภาระหน้าที่
การงานของพ่อแม่
สถานที่ให้คำปรึกษาด้านป้องกัน และแนะนำการบำบัดรักษาขั้นต้น
- สำนักงานศึกษาป้องกันการติดยา (กระทรวงสาธารณสุข) 286 ถนนพระราม 6 พญาไท กรุงเทพ ฯ
- สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ศูนย์อาสาสมัครยาเสพติด ตึกมหิดล กรุงเทพ ฯ
- ศูนย์สุขวิทยาจิต พญาไท กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 2815241
- สมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 2452733
- สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กรุงเทพ ฯ โทร.(02) 2459340-9
- โรงพยาบาลตำรวจ แผนกจิตเวช กรุงเทพ ฯ โทร.(02) 2528111-7
- โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แผนกจิตเวช กรุงเทพ ฯ โทร.(02) 2461946
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทร. (02) 5310080-8
- โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรุงเทพ ฯ โทร.(02) 4681116-20
- โรงพยาบาลทหารเรือ กรุงเทพ ฯ โทร. (02) 4112191
- ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพ ฯ ลุมพินี ซอยปลุกจิตต์ ถ.วิทยุ โทร.(02) 2512970
- ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพ ฯ สี่พระยา โทร. (02) 2364055
- สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก จ.สระบุรี
- สำนักสงฆ์ถ้ำเขาทะลุ จ.ราชบุรี
- หน่วยงานบริการสังกัดกรมสุขภาพจิตทุกแห่ง