ความรู้เรื่องยา

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


ความรู้เรื่องยา

 

 ความสำคัญของยา

ยาเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาความเจ็บป่วย โดยทั้งการบำบัด บรรเทาอาการทุกข์ทรมาน เช่น อาการไข้
ปวด หรือคัน และโดยการกำจัดสาเหตุของโรค เช่น ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้น  แต่ทุกสิ่งในโลกย่อมมีทั้งคุณและ
โทษอยู่ในตัวเอง จึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้ เพื่อให้ได้ประโยชน์สุงสุด และมีโทษน้อยสุด

หลักการใช้้ยา
        
ก่อนใช้ยาควรอ่านฉลากให้ละเอียดและปฏิบัติตามซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้   

      1. ใช้ยาให้ถูกกับโรค

        การใช้ยาให้ถูกกับโรค คือ ต้องพิจารณาดูว่าเราเป็นโรคอะไร แล้วจึงใช้ยาที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคนั้นได้ เช่น
เมื่อเป็นไข้ ก็ควรให้กินยาลดไข้ เมื่อมีอากรปวดท้อง ก็ต้องใช้ยาแก้ปวดท้อง

      2. ใช้ยาให้ถูกขนาด
      
เมื่อแพทย์สั่งให้ใช้ยาในขนาดต่าง ๆ เราต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่ใช้ยาเกินขนาดที่แพทย์สั่ง ถ้าใช้ยามากเกิน
ขนาดที่แพทย์สั่งอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ถ้าใช้ยาน้อยเกินไปจะ  ไม่มีผลในการรักษา บางครั้งเราอาจรู้สึกลำบากใจ
เพราะไม่เข้าใจขนาดยาที่แพทย์สั่งและจะหาของใช้ในบ้าน มาตวงยาได้อย่างไรบ้าง ขอเสนอแนะให้ถือเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้

ก. ขนาดยา 1 ซี.ซี. หรือมิลลิลิตร เท่ากับ 15-20 หยด แล้วแต่หยดเล็ก หยดใหญ่
ข. ขนาดยา 1 ช้อนชา เท่ากับ 4-5 ซี.ซี.(ช้อนชาที่ใช้ตามบ้านในเมืองไทย=3 ซี.ซี.)
ค.ขนาดยา1ช้อนโต๊ะเท่ากับ 15 ซี.ซี. หรือประมาณ 3 ช้อนชา(ช้อนโต๊ะไทยมีความจุประมาณ 10 ซี.ซี.)
ง. ขนาดยา 1 ออนซ์ เท่ากับ 30 ซี.ซี. หรือ 2 ช้อนโต๊ะมาตรฐาน( 3 ช้อนโต๊ะไทย)
จ. ขนาดยา 1 ลิตร เท่ากับ 1,000 ซี.ซี. หรือประมาณ 1 ขวดแม่โขงชนิดกลม

เมื่อเรารับประทานยาหรือฉีดยาเข้าไปในร่างกาย ตัวยาจะถูกดูดซึมเข้าไปในเลือด และกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อทำลายเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคส่วนใหญ่จะอยู่ในเลือด เราจึงต้องรักษาความเข้มข้นของยาให้ได้ขนาดพอเหมาะที่จะทำลายเชื้อโรคได้ เพราะว่าเมื่อตัวยาถูกส่งไปยังตับ ตับถือว่ายาเป็นสิ่งแปลกปลอมร่างกายไม่ต้องการ ตับจะขับตัวยาออกจากร่างกายทำให้ ความเข้มข้นของยาลดลงเรื่อย ๆดังนั้นเราจึงต้องรับประทาน ยาตามที่แพทย์สั่งเช่น 1เม็ดทุก4 ชั่วโมง เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของยาไว้

3. ใช้ยาให้ถูกวิธี
   
ก่อนใช้ยาทุกชนิดต้องอ่านฉลาก ดูวิธีการใช้ยาให้ละเอียดชัดเจน เพราะยามีหลายรูปแบบ มีวิธีการใช้แตกต่างกันไป
เช่น  ยาบางชนิดใช้รับประทาน บางชนิดใช้ฉีด บางชนิดใช้ทาภายนอก บางชนิดใช้หยอดตา บางชนิดใช้เหน็บทาง
ทวารหนัก บางชนิดกำหนดให้เขย่าขวดก่อนรับประทาน ยาบางชนิด เมื่อรับประทานแล้วต้องดื่ม น้ำตามมาก ๆ เป็นต้น   

4. ใช้ยาให้ถูกเวลา 
  
การใช้ยานั้นต้องทราบว่ายานั้นควรรับประทานเมื่อใด และออกฤทธิ์อย่างไร เพราะถ้ารับประทานยาผิดเวลาที่กำหนดไป
ยาอาจหมดฤทธิ์หรือไม่มีผลในการรักษา เช่น 

ก.ยาก่อนอาหาร ส่วนใหญ่เป็นยาที่มีคุณสมบัติถูกดูดซึมได้ดีในขณะท้องว่าง จึงต้องรับประทาน ก่อนอาหารประมาณ
ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงชั่วโมง ถ้านำยาก่อนอาหารมา รับประทานหลังอาหารจะไม่ได้ผลในการรักษา เพราะตัวยาจะถูกดูดซึมเข้า
สู่กระแสโลหิตได้ยาก  

ข.ยาหลังอาหาร ส่วนมากเป็นยาที่มีคุณสมบัติเป็นกรด ถ้านำมารับประทานก่อนอาหารจะไป เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร
ทำให้กัดกระเพาะได้ จึงต้องนำมารับ ประทานหลังอาหาร โดยรับประทาน หลังอาหารประมาณ 15-30 นาที 

ค.ยาก่อนนอน ส่วนมากเป็นยาที่มีคุณสมบัติกดประสาทหรือกล่อมประสาท เมื่อรับประทาน แล้วจะทำให้ง่วงนอน
ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ถ้าขับรถ หรือทำงานใกล้เครื่องจักรเครื่องยนต์ อาจเกิดอันตรายได้จึงให้รับประทาน
ก่อนนอน ซึ่งยาจะไปออกฤทธิ์ในขณะที่กำลังนอนหลับ เช่น ยานอนหลับ เป็นต้น

     5. ใช้ยาให้ถูกคน
    
ยาที่ผลิตขึ้นมาใช้นั้นมีจุดมุ่งหมายแล้วว่าจะนำไปใช้กับคนประเภทใด ถ้านำไปใช้ผิดคนอาจเกิดอันตรายขึ้นได้หรือไม่ได้ผลในการรักษาเช่น ยาที่ผลิตขึ้นมาใช้ กับผู้ใหญ่ถ้านำไปใช้กับเด็กอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ หรือยาที่ผลิตใช้สำหรับเด็กถ้านำมาใช้กับผู้ใหญ่ก็อาจไม่ได้ผลในการรักษา

     6. ใช้ยาให้ครบระยะเวลา
  
เมื่อไปหาแพทย์แล้วแพทย์สั่งยามาให้รับประทานจำนวนมากพอสมควร เราต้องรับประทานยา    ที่แพทย์สั่งให้หมด แม้ว่าเมื่อรับประทานยาไปส่วนหนึ่ง แล้วจะมีอาการ ดีขึ้นหรือหายจากโรคแล้วก็ตาม เพราะว่าอาการดีขึ้นนั้นเชื้อโรคอาจจะยังไม่หมดไปจากร่างกาย ถ้าหยุดยาเชื้อโรค อาจจะฟักตัวก่อให้ เกิดโรคได้อีกและเมื่อเราใช้ยา ชนิดเดิมอาจรักษาโรคไม่หาย เพราะเชื้อโรคดื้อยา 

รูปแบบของยา

    1. ยาเม็ด (Tablets) 
 
มีทั้งชนิดเม็ดไม่เคลือบและชนิดเม็ดเคลือบ ยาเม็ดธรรมดาไม่ได้เคลือบ เป็นยาเม็ดที่อาจมีรูปรางกลม เหลี่ยม
หรือรูปร่างต่างๆ กัน มีขนาดต่างๆ กัน ผิวหน้าของเม็ดยาอาจเรียบหรือนูน ส่วนใหญ่เมื่อรับประทานต้องกลืนทั้งเม็ด
ห้ามเคี้ยว บางชนิดต้องเคี้ยวก่อนกลืน ส่วนมากเป็นยาจำพวก ยาลดกรดชนิดเม็ด ยาขับลมชนิดเม็ด เป็นต้น

                                                 

2. ยาแคปซูล (Capsules)
 
ยาแคปซูลเป็นรูปแบบที่มีตัวยาเป็นของแข็งหรือของเหลวบรรจุอยู่ภายในเปลือกหุ้ม ซึ่งละลายได้เมื่อรับประทานเข้า
ไปในกระเพาะอาหาร รับประทานโดนกลืนทั้งแคปซูลพร้อมกับน้ำโดยไม่ต้องเคี้ยวยาหรือถอดปลอกแคปซูลออก ยกเว้น
กรณีให้ยาทางสายอาหาร เพราะตัวยาอาจมีผลระคายเคืองทางเดินอาหารและอาจมีผลต่อการดูดซึมของยา

                                                

 3. ยาผง (Powders and Granules) ยาผงมีทั้งชนิดรับประทานและยาใช้ภายนอก ดังนี้

      3.1ชนิดรับประทาน ยาผงชนิดรับประทาน ยาผงชนิดรับประทานโดยทั่วไปให้ละลายน้ำก่อนรับประทาน ไม่ควรเท
ใส่ปาก ในลักษณะผงแห้งแล้วดื่มน้ำตาม เพราะอาจเกิดการอุดตันในหลอดอาหารได้

3.2 ชนิดใช้ภายนอก ยาผงใช้ภายนอกมักใช้โรยที่ผิวหนังเพื่อลดอาการคันและช่วยให้รู้สึกเย็นสบายป้องกันการอับชื้น
ยาผงไม่ควรใช้โรยแผลที่มีน้ำเหลือง เพราะจะทำให้น้ำเหลืองเกาะกันเป็นก้อนแข็งระคายต่อแผล และทำให้แผล
หายช้า เนื่องจากการเจริญเติบโตของเชื้อโรคภายใต้แผ่นสะเก็ดแข็งนั้น เวลาใช้ยาผงต้องระวังอย่าให้ผงปลิวเข้า
ปาก จมูก หรือตา เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องล้างมือให้สะอาด 

                 

   4.ยาน้ำ เหมาะสำหรับคนที่กลืนยาเม็ดไม่ได้ ดูดซึมและออกฤทธิ์เร็วกว่ายาเม็ดแต่สลายตัวเร็วกว่า ยาน้ำแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้

     ยาน้ำใส (Solution) เป็นรูปสารละลายน้ำใส ไม่มีตะกอน ยาน้ำเชื่อม (Syrups) ยาจะเหนียวข้นและมีรสหวาน
ถ้ามีการตกผลึก  แสดงว่ายาเสื่อมคุณภาพ

ยาทิงเจอร์ (Tinctutes) และยาอีลิเซอร์ (Elixirs) เป็นยาน้ำที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ 4-40%
ส่วนยาสปิริต (Spirits) เป็นยาน้ำที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ 60-90%

 ยาน้ำแขวนตะกอน (Suspension) ยาน้ำแขวนตะกอนเมื่อตั้งทิ้งไว้ ตัวยาจะตกตะกอนลงที่ก้นขวด ก่อนใช้ต้องเขย่า
ขวดให้ตะกอนกระจายตัว เพื่อให้ตัวยากระจายทั่วขวดเพื่อให้ได้ขนาดยา แต่ละครั้ง เท่าๆ กัน

ยาน้ำแขวนละออง (Emulsion) ยาน้ำแขวนละอองจะเป็นยาน้ำผสมน้ำมันจนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนใช้ต้อง
เขย่าแรงๆ ถ้าเกิดการแยกชั้ของไขมัน แสดงว่ายาเสื่อมคุณภาพแล้ว             

                                            

5. ยาขี้ผึ้ง (Ointments) ครีม (Creams) และเจล (Gels)

- ยาขี้ผึ้ง ลักษณะเป็นน้ำมัน สำหรับใช้ภายนอก ใช้ทาเฉพาะที่  จึงเก็บให้ห่างจากแสงแดด      
- ครีม เป็นยาแขวนละอองที่มีความข้นมาก ครีมจะเหลวกว่าขี้ผึ้ง เป็นยาใช้ภายนอกหรือใช้เฉพาะที่ ตัวยาละลายในน้ำ
หรือน้ำมันใช้ทาได้ง่าย ล้างออกง่าย ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น
- เจล เป็นยากึ่งแข็งกึ่งเหลว ตัวยาในเจลจะค่อยๆ ดูดซึม เป็นตัวยาทาเพื่อบรรเทาอาการอักเสบและปวดบวม

                                              

6. ยาเหน็บ (Suppositories) เป็นยาลักษณะกึ่งของแข็ง มีรูปร่าง ขนาดต่างๆ มีวิธีการใช้เฉพาะที่ โดยใช้สอดเข้า
ช่องต่างๆ ของร่างกาย เช่น ทวารหนัก ช่องคลอด เป็นต้น ส่วนใหญ่ต้องการให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่

                                                                                              

7. ยาฉีด (Injection) เป็นยาที่ประกอบด้วยตัวยาซึ่งละลายในน้ำกลั่นปราศจากเชื้อ สารละลายจะได้รับการปรับความเป็น
กรด-ด่าง เพื่อให้มีความ

การเก็บรักษายา

        1. ควรเก็บยาไว้ในตู้ต่างหากที่สูงเกินเด็กเล็กเอื้อมถึง ไม่ควรเก็บในตู้กับข้าวปะปนกับสารอาหารหรือสารเคมีอื่น ๆ
2. ควรแยกยาประเภทกินออกจากยาประเภทสูดดมและทาภายนอก
3. ไม่ให้ถูกความร้อนหรือแสงแดด การวางบนหลังตู้เย็นหรือโทรทัศน์ก็อาจถูกความร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
เหล่านี้ได้  โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น  การเก็บไว้ในตู้เย็น (ห้ามใส่ตู้แช่แข็ง) อาจรักษาคุณภาพยา 
ได้นานขึ้นแต่ต้องแยกเก็บต่างหาก อย่างมิดชิด เพราะเด็กเล็กอาจเปิด ตู้ได้เองและเข้าใจเป็นขนม            
4.ยาทุกชนิดต้องมีฉลากติดไว้อย่างชัดเจน ถ้าฉลากเลอะเลือนหรือฉีกขาดต้องรีบทำใหม่   ถ้าไม่แน่ใจควรทิ้งยา
ไปเลย หรือปรึกษา เภสัชกร อย่าเดาเอาเอง 
5. หมั่นตรวจดูวันหมดอายุของยาบนกล่องหรือฉลาก เมื่อหมออายุควรทิ้งทันที 
6. ยาที่เปลี่ยนสีหรือลักษณะต่างจากเดิมควรทิ้งทันที เช่น สีขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง น้ำที่ใสเปลี่ยนเป็นขุ่นหรือ
ตกตะกอน แม้จะยังไม่หมดอายุก็ตาม           
7. อย่านำยาอื่นมาใส่ในภาชนะบรรจุของยาคนละชนิด เพราผู้อื่นจะเข้าใจผิด หรือในเวลา  ฉุกเฉินตนเองก็อาจลืม
และหยิบ ใช้ยาผิดได้อันตรายจากการใช้ยา 

อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา ได้แก่ 

การแพ้ยา หมายถึง การแพ้ยาก็เหมือนกับการแพ้อื่นๆ คือ ร่างกายจะต้องเคยได้รับยานั้นมาก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างสารแอนตี้บอดี้ Antibody ต่อ ยาหรือสารนั้นๆ เมื่อได้รับยานั้นอีก Antibody นั้นก็เริ่มแสดงบทบาท ทำให้เกิดการแพ้ ซึ่งมีระดับความรุนแรงได้แตกต่างกัน และด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน
อาการที่ปรากฏมีตั้งแต่อาการทางผิวหนัง เป็นผื่นคัน ลมพิษ ผิวเกรียมไหม้ ปากไหม้ บวม หอบ หยุดหายใจ  จนถึงตายได้ อาการจะปรากฏเฉพาะบางคน และเฉพาะบางชนิดของยาเท่านั้น ถ้ามีการแพ้ยาให้หยุดใช้ยาทันที และปรึกษา บุคลากรสาธารณสุข

         ผลข้างเคียงของยา คือ อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับคนไข้ เมื่อใช้ยาในขนาดที่รักษา โดยไม่ได้ทานยาเกิน
ขนาด หรือผลร่วมกับการทานยาตัวอื่น เช่น ยาลดน้ำมูก มีฤทธิ์ไม่พึงประสงค์คือ ทำให้ง่วงนอนด้วย ดังนั้น ควรศึกษาอาการ
ข้างเคียง 
เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วย มีอุบัติเหตุจำนวนไม่น้อยที่ผู้ขับขี่ยวดยาน หรือผู้ทำงานที่เสี่ยงอันตราย
ต้องประสบเนื่อง
จากรับประทานยาลดน้ำมูกนี้

         การติดยา ซึ่งเมื่อขาดยา จะทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น หรือการเสพยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 
ก็จะก่อให้เกิดโรค
ที่รุนแรงเพิ่มขึ้น

         พิษของยาโดยตรงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่ 

- พิษต่อตับ เช่น พาราเซตามอล 
-
พิษต่อไต เช่น ซัลฟา
-
พิษต่อกระเพาะอาหาร เช่น แอสไพริน สเตียรอยด์ (เพรดนิโซโลนเด๊กช่าเมทาโซน)
-
พิษต่อหูภายใน เช่น กานามัยซิน สเตร็บโตมัยซิน
-
พิษต่อการสร้างเม็ดเลือด เช่น ไดพัยโรน คลอแรมเฟนิคอล เฟนิลบัวดาโซน
-
พิษต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ ยาเกือบทุกชนิด แม้กระทั่งวิตามินเกินขนาด ฯลฯ

         การดื้อยา เป็นภาวะที่เชื้อโรคต่าง ๆ ที่เคยถูกทำลายด้วยยาชนิดหนึ่ง ๆ สามารถปรับตัวจนกระทั่งยานั้นไม่สามารถทำลาย ได้อีกต่อไป  เชื้อโรคที่ดื้อยาแล้วจะสามารถถ่ายทอดคุณสมบัตินี้ไปยังเชื้อโรครุ่นต่อไป ทำให้การใช้ยาชนิดเดิมไม่สามารถใช้ทำลายหรือรักษาโรคได้  ดังนั้นจึงควรใช้ยาให้ครบตามขนาดของยาที่แพทย์กำหนดและไม่ควรซื้อยามาใช้เอง

วิธีสังเกตุยาหมดอายุ

1 ยาเม็ด ลักษณะแตกกร่อน กะเทาะ เปลี่ยนสีหรือสีซีด
2.ยาเม็ดเคลือบ ลักษณะเยิ้มเหนียว
3.ยาแคปซูล ลักษณะบวมโป่งพองหรือผงยาภายในจะจับกันเป็นก้อนเปลี่ยนสี
4.ยาน้ำเชื่อม ลักษณะขุ่น มีตะกอน เปลี่ยนสี มีกลิ่นบูดหรือเหม็นเปรี้ยว
5.ยาน้ำแขวนตะกอน ลักษณะตะกอนจับตัวเป็นก้อนแข็ง เขย่าแรงๆก็ไม่กระจาย
6.ยาน้ำอีมัลชั่น ลักษณะเขย่าแล้วไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน

สร้างโดย: 
นางสาคร อินธิราช

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 409 คน กำลังออนไลน์