คำราชาศัพท์

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


    คำราชาศัพท์    

     คำราชาศัพท์ถ้าแปลตามรูปศัพท์ หมายถึง ศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ คำราชาศัพท์ใช้กับพระมหากษัตริย์ เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์และคนสุภาพ ราชาศัพท์เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่ชาวไทยใช้สื่อสารกับบุคคล ดังกล่าวด้วยความเชื่อและการยกย่องมาแต่โบราณกาล

ลักษณะการใช้ราชาศัพท์

๑. คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำนาม
     ๑.๑ คำนามที่ไม่ใช้คำใดๆ ประกอบ ได้แก่คำนามประเภทสมุหนาม เช่น คณะ สมาคม  มูลนิธิ เป็นต้น อีกพวกหนึ่ง ได้แก่ คำนามที่เป็นราชาศัพท์แล้วในตัว เช่น ตำหนัก วัง เป็นต้น พวกหลังนี้เมื่อใช้ในระดับสูงขึ้นไปต้องใช้คำอื่นประกอบ เช่น ตำหนัก(เรือนเจ้านาย) พระตำหนัก(เรือนของพระมหากษัตริย์)
     ๑.๒  คำนามที่ใช้คำอื่นประกอบเพื่อเป็นราชาศัพท์
            ก.  สำหรับพระมหากษัตริย์
               * คำนามที่เป็นชื่อสิ่งของสำคัญที่ควรยกย่อง มีคำเติมหน้า ได้แก่ พระบรมมหาราช พระบรมมหา พระบรมราช พระบรม  พระอัคราช  พระอัคร และพระมหา  เช่น พระบรมมหาราชวัง  พระบรมมหาชนกพระบรมราชชนนี พระบรมราชวงศ์  พระบรมอัฐิ พระบรมโอรสาธิราช  พระอัครชายา  พระมหาปราสาท  พระมหาเศวตฉัตร  เป็นต้น
                * คำนามเป็นชื่อสิ่งสำคัญรองลงมา  นำหน้าด้วยคำ“พระราช”  เช่น พระราชวังพระราชวงศ์ พระราชทรัพย์ พระราชลัญจกร  เป็นต้น
                * คำนามเป็นชื่อของสิ่งสามัญทั่วไปที่ไม่ถือว่าสำคัญส่วนใหญ่เป็นคำบาลีสันสกฤต เขมร และคำไทยเก่า แต่บางคำก็เป็นคำไทยธรรมดานำหน้าด้วยคำ “พระ”  เช่น  พระกร  พระบาทพระโรค พระฉาย พระแท่น พระเคราะห์ เป็นต้น คำนามใดที่เป็น
คำประสม  มีคำ “พระ” ประกอบอยู่แล้ว  ห้ามใช้คำ   “พระ”  นำหน้าซ้อนอีก เช่น  พานพระศรี (พานหมาก)  ขันพระสาคร (ขันน้ำ) เป็นต้น
                 * คำนามที่เป็นชื่อสิ่งไม่สำคัญและคำนั้นมักเป็นคำไทย นำหน้าด้วยคำว่า “ต้น” เช่น  ม้าต้น  ช้างต้น  เรือนต้น และนำหน้าด้วย “หลวง” เช่น ลูกหลวง หลานหลวง รถหลวง เรือหลวง สวนหลวง ส่วน “หลวง” ที่แปลว่าใหญ่ ไม่จัดว่าเป็นราชาศัพท์ เช่นภรรยาหลวง เขาหลวง ทะเลหลวง เป็นต้น นอกจากคำว่า “ต้น” และ “หลวง” ประกอบท้ายคำแล้วบางคำยังประกอบคำอื่นๆอีก เช่น รถพระที่นั่งเรือพระที่นั่งรถทรง เรือทรง ม้าทรง ช้างทรง น้ำสรง ห้องสรง  ของเสวย โต๊ะเสวย ห้องบรรทม เป็นต้น

            ข.  สำหรับเจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์  คือตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชินีลงไปถึงหม่อมเจ้า
                  * ใช้พระราชนำหน้า เช่น พระราชเสาวนีย์ พระราชประวัติ พระราชดำรัlส พระราชกุศล พระราโชวาท พระราโชบาย   เป็นต้น           
                  * ใช้พระนำหน้า เช่น พระเศียร พระองค์ พระหัตถ์ พระทัย พระบาท เว้นแต่หม่อมเจ้าไม่ใช้ “พระ” นำหน้า ใช้ว่า  เศียร  องค์ หัตถ์ หทัย บาท เป็นต้น          
                   * คำนามราชาศัพท์สำหรับเจ้านายอยู่ในตัว ไม่ต้องใช้คำนำหน้าหรือคำต่อท้าย เช่น วัง ตำหนัก ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นคำนามราชาศัพท์ที่ควรทราบเพิ่มเติม

 คำสามัญ  คำราชาศัพท์  คำสามัญ คำราชาศัพท์

หัว(พระมหากษัตริย์)ผม(พระมหากษัตริย์)หน้าผากขนระหว่างคิ้วจมูกปากลิ้นหูดวงหน้าบ่า,ไหล่ปลายแขนนิ้วมือท้องขา,ตักเท้าปอด

พระเจ้าเส้นพระเจ้าพระนลาฏพระอุณาโลมพระนาสา,พระนาสิก

พระโอษฐ์พระชิวหาพระกรรณพระพักตร์

พระอังสาพระกรพระองคุลีพระอุทรพระเพลาพระบาทพระปัปผาสะ

หัวผมคิ้วดวงตาแก้มฟันคางคอหนวดต้นแขนมือเล็บเอวแข้งขนกระดูก

พระเศียรพระเกศา,พระเกศ,พระศกพระขนง,พระภมูพระจักษุ,

พระนัยนา,พระเนตรพระปรางพระทนต์พระหนุพระศอพระมัสสุพระพาหา,

พระพาหุพระหัตถ์พระนขาพระกฤษฎี,บั้นพระเอวพระชงฆ์พระโลมาพระอัฐิ

หมวดขัตติยตระกูล

 คำสามัญ  คำราชาศัพท์  คำสามัญ คำราชาศัพท์

ปู่,ตา  

ลุง,อา(พี่-น้องชาย  ของพ่อ)  
ลุง,น้า(พี่-น้องชาย  ของแม่)  

พ่อ

พี่ชาย

น้องชาย ลูกชาย หลาน ลูกเขย

พระอัยกาพระปิตุลา

พระมาตุลา

 พระบรมชนกนาถ,
พระชนก,พระบิดา

พระเชษฐา,พระเชษฐภาตาพระอนุชา,พระขนิษฐาพระราชโอรส,พระโอรสพระนัดดา
พระชามาดา

          คำสามัญ         คำราชาศัพท์            คำสามัญ           คำราชาศัพท์
   ปู่,ตา   ลุง,อา(พี่-น้องชาย  ของพ่อ)   ลุง,น้า(พี่-น้องชาย  ของแม่)   พ่อ
      พี่ชาย
 
    น้องชาย    ลูกชาย
 
    หลาน    ลูกเขย 
พระอัยกาพระปิตุลา

พระมาตุลา

 
พระบรมชนกนาถ,
พระชนก,พระบิดา
 


พระเชษฐา,พระเชษฐภาตา
พระอนุชา,พระขนิษฐาพระราชโอรส,พระโอรสพระนัดดา
 
พระชามาดา
ย่า,ยายป้า,อา(พี่-น้องสาวของ   พ่อ)ป้า,น้า(พี่-น้องสาวของ    แม่)แม่
พี่สาว
 
น้องสาวลูกสาว
 
เหลนลูกสะใภ้
พระอัยยิกา,พระอัยกีพระปิตุจฉา

พระมาตุจฉา


พระบรมราชชนนี
,
 พระชนนี,พระมารดา
 
พระเชษฐภคินี
 
พระขนิษฐภคินีพระราชธิดา,พระธิดา
 
พระปนัดดาพระสุณิสา

   หมวดเครื่องใช้

คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำสามัญ คำราชาศัพท์ คำสามัญ คำราชาศัพท์
ยากระจกส่องตุ้มหูประตูฟูกผ้าห่มนอนน้ำช้อน พระโอสถพระฉายพระกุณฑลพระทวารพระบรรจถรณ์ผ้าคลุมบรรทมพระสุธารสฉลองพระหัตถ์    ช้อน แว่นตาน้ำหอมแหวนหน้าต่างเตียงนอนผ้านุ่งเหล้าข้าว ฉลองพระเนตร     พระสุคนธ์พระธำมรงค์พระบัญชรพระแท่นบรรทมพระภูษาทรงน้ำจัณฑ์พระกระยาเสวย หวีหมวกร่มอาวุธมุ้งผ้าเช็ดหน้าของกินหมาก พระสางพระมาลาพระกลดพระแสงพระวิสูตรผ้าซับพระพักตร์เครื่องพระศรี

๒.   คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำสรรพนาม  ดังนี้        บุรุษที่ 

สรรพนาม ผู้พูด ผู้ฟัง
ข้าพระพุทธเจ้า
 
เกล้ากระหม่อมฉันเกล้ากระหม่อมเกล้ากระผม
บุคคลทั่วไป
 
บุคคลทั่วไป(หญิง)บุคคลทั่วไป(ชาย)บุคคลทั่วไป
พระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูงพระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูงเจ้านายชั้นรองลงมาขุนนางชั้นสูง

      บุรุษที่ 

สรรพนาม ผู้พูด ผู้ฟัง
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทใต้ฝ่าละอองพระบาทใต้ฝ่าพระบาทฝ่าพระบาท เจ้านายหรือบุคคลทั่วไปเจ้านายหรือบุคคลทั่วไปเจ้านายหรือบุคคลทั่วไปเจ้านายที่เสมอกันหรือผู้น้อย พระมหากษัตริย์,พระบรมราชินีนาถพระบรมโอรสาธิราช,พระบรมราชกุมารีเจ้านายชั้นสูงเจ้านายชั้นหม่อมเจ้าถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ

      บุรุษที่ 

สรรพนาม ผู้พูด ใช้กับ
พระองค์ท่าน บุคคลทั่วไปบุคคลทั่วไป พระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูงเจ้านาย

คำขานรับ

คำ ผู้ใช้ ใช้กับ
พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อมเพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อมหรือเพคะพระพุทธเจ้าข้าขอรับ,พระพุทธเจ้าข้าเพคะกระหม่อม ชายหญิงชายหญิง พระมหากษัตริย์พระมหากษัตริย์เจ้านายชั้นสูงเจ้านายชั้นสูง

๓.    คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำกริยา  เป็นคำแสดงอาการ  แบ่งเป็น  ๔  ชนิดก.     กริยาที่เป็นราชาศัพท์ในตัวเอง  เช่น  ตรัส(พูด)  เสด็จ(ไป) กริ้ว(โกรธ)  ประชวร (ป่วย)
ประสูติ(เกิด)  ทูล(บอก)  เสวย(กิน) ถวาย(ให้)  บรรทม(นอน)  ประทับ(อยู่)  โปรด(รัก,ชอบ)  ทรงม้า(ขี่ม้า)
ทรงดนตรี(เล่นดนตรี)ข.     ใช้ทรงนำหน้ากริยาธรรมดา  เช่น  ทรงฟัง  ทรงยืน  ทรงยินดี  ค.     ห้ามใช้ทรงนำหน้ากริยาที่มีนามราชาศัพท์  เช่น  มีพระราชดำริ(ห้ามใช้ทรงมีพระราชดำริ)  
มีพระบรมราชโองการ (ห้ามใช้ทรงมีพระบรมราชโองการ)ง.     ใช้เสด็จนำหน้ากริยาบางคำ  เช่นเสด็จกลับ  เสด็จขึ้น  เสด็จลงจ.     คำกริยาที่ประสมขึ้นใช้เป็นราชาศัพท์ตามลำดับชั้นบุคคล  ดังนี้        

                                                                                    

สร้างโดย: 
T.kewalin

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 557 คน กำลังออนไลน์