อารยธรรมกรีก

อารยธรรมตะวันตกมีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญคือ อารยธรรมกรีกโบราณ อาณาจักรโรมัน สิ่งที่สะท้อนให้เห็นทางการเมืองการปกครอง อาทิเช่น นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ต้า อาจกล่าวได้ว่าชาวตะวันตกเป็นชาติที่มีความสามารถด้านการเมือง การปกครอง ปรัชญา ศิลปะอย่างยอดเยี่ยม มีกษัตริย์ที่ปรีชาหลายท่าน อาทิเช่น กษัตริย์โซลอน มีมีผลงานในการจัดตั้งสมาพันธ์รัฐเดลอส และที่สำคัญคือสถาปัตยกรรมกรีกที่มีอิทธิพลต่อโลก        อารยธรรมตะวันตกมีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญคือ อารยธรรมกรีกโบราณ อาณาจักรโรมัน สิ่งที่สะท้อนให้เห็นทางการเมืองการปกครอง อาทิเช่น นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ต้า อาจกล่าวได้ว่าชาวตะวันตกเป็นชาติที่มีความสามารถด้านการเมือง การปกครอง ปรัชญา ศิลปะอย่างยอดเยี่ยม มีกษัตริย์ที่ปรีชาหลายท่าน อาทิเช่น กษัตริย์โซลอน มีมีผลงานในการจัดตั้งสมาพันธ์รัฐเดลอส และที่สำคัญคือสถาปัตยกรรมกรีกที่มีอิทธิพลต่อโลก 

           อารยธรรมกรีกโบราณได้แก่อารยธรรมนครรัฐกรีก คำว่า กรีก เป็นคำที่พวกโรมันใช้เป็นครั้งแรก โดยใช้เรียกอารยธรรมเก่าตอนใต้ของแหลมอิตาลี ซึ่งเจริญขึ้นบนแผ่นดินกรีกในทวีปยุโรป และบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้านเอเซียไมเนอร์ ซึ่งในสมัยโบราณเรียกว่า ไอโอเนีย (Ionia) อารยธรรมที่เจริญขึ้นในนครรัฐกรีกมีศูนย์กลางสำคัญที่นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐ สปาร์ต้า นครรัฐเอเธนส์ เป็นแหล่งความเจริญในด้านต่างๆ ทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลป วิทยาการด้านต่างๆ รวมทั้งปรัชญา ส่วนนครรัฐสปาร์ตาเจริญในลักษณะที่เป็นรัฐทหารในรูปเผด็จการ มีความแข็งแกร่งและเกรียงไกร เป็นผู้นำของรัฐอื่นๆ ในแง่ของความมีระเบียบวินัย กล้าหาญ และเด็ดเดี่ยว การศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรมกรีกโบราณ จึงเป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับนครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ตา
ชาวกรีกเรียกตัวเองว่า เฮลีนส์ (Hellenes) เรียกบ้านเมืองของตนว่า เฮลัส (Hellas) และเรียกอารยธรรมของตนว่าอารยธรรมเฮเลนิค (Hellenic Civilization)(1) ชาวกรีกโบราณเป็นชาวอินโด-ยูโรเปียน ชาวกรีกตั้งบ้านเรือนของตนเองอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตรงปลายสุดของทวีปยุโรป ตรงตำแหน่งที่มาบรรจบกันของทวีปยุโรป เอเซีย และแอฟริกา เป็นต้นเหตุให้กรีกโบราณได้รับอิทธิพลความเจริญโดยตรงจากทั้งอียิปต์และเอเซีย กรีกได้อาศัยอิทธิพลดังกล่าวพัฒนาอารยธรรมของตนขึ้น โดยคงไว้ซึ่งลักษณะที่เป็นของตนเอง ชาวกรีกสมัยโบราณถือว่าตนเองมีคุณลักษณะพิเศษบางอย่างที่ผิดกับชนชาติอื่น และมักจะเรียกชนชาติว่าบาเบเรียน ซึ่งหมายความว่าผู้ที่ใช้ภาษาผิดไปจากภาษาของพวกกรีก                                                    ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ

กรีกในสมัยโบราณ อยู่ทางด้านตะวันออกสุดของยุโรปภาคใต้ ประกอบด้วยดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลเอเจียน หรือฝั่งตะวันตกของเอเซียไมเนอร์ ซึ่งนิยมเรียกว่านครรัฐ ไอโอเนียน (Ionian Cities)(2) รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 5 หมื่นตารางไมล์ ในจำนวนนี้ดินแดนส่วนใหญ่ คือ ประมาณ 4 ใน 5 คือ ดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินใหญ่ในทวีปยุโรปดินแดนตอนนี้แบ่งออกเป็นภาคใหญ่ๆ ได้ 3 ภาค คือ

1. กรีกภาคเหนือ อันได้แก่ แคว้นมาซีโดเนีย (Macedonia) เทสซาลี (Thessaly) เอไพรัส (Epirus) รวมอาณาบริเวณประมาณครึ่งของดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินใหญ่ ในสมัยคลาสสิค ไม่นิยมรวมมาซีโดเนียเป็นส่วนหนึ่งของกรีก

2. กรีกภาคกลาง ได้แก่ บริเวณซึ่งเป็นเนินเขาสูง ระหว่างกรีกภาคกลาง และอ่าวคอรินธ์ บริเวณนี้มีสถานที่สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์กรีกอยู่หลายแห่ง เช่น นครเทบีส นครเลฟิ เทอร์มอปิเล (thermopylae) และยอดเขาพาร์นาซุด (Parnasus) อันเป็นที่สิงสถิตของแอโปโล (Apollo) สุริยเทพ ตรงปลายสุดด้านตะวันออกของบริเวณนี้คือแคว้นอันติก (Attica) อันมีเมืองหลวงคือนครรัฐเอเธนส์ ที่กำเนิดของศิลปวิทยาการ ปรัชญาและระบอบการปกครองอันมีชื่อเสียง3. เพลอปปอนเนซุส (Peloponnesus) ได้แก่ บริเวณคาบสมุทร ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ อ่าวคอรินธ์ บริเวณนี้เชื่อมติดกับภาคกลาง และภาคเหนือด้วยคอคอดคอรินธ์ ซึ่งมีความกว้างประมาณ 30 ไมล์ใต้บริเวณคอคอดนี้ลงมาคือที่ตั้งของเมืองอาร์กอลิส (Argolis) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารยธรรม กรีกที่ได้เจริญขึ้นเป็นครั้งแรก ใจกลางของคาบสมุทรแห่งนี้เป็นที่ตั้งของนครรัฐสปาร์ตา (Sparta) ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการรบและการทหาร เมืองโอลิมเปีย (Olympia) ที่สิงสถิตของบรรดาเทพเจ้ากรีกอยู่ชิดกับฝั่งทะเลไอโอเนีย ด้านตะวันตกของคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุส

4. ภูเขา ในประเทศกรีกเต็มไปด้วยภูเขา ภูเขาเหล่านี้แบ่งกรีกออกเป็นที่ราบในหุบเขาเล็ก แยกออกจากกันมากมาย ภูเขาเป็นอุปสรรคสำคัญในการติดต่อคมนาคมระหว่างคนที่อาศัยตามที่ราบในหุบเขาดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ หมู่บ้านตามหุบเขาเหล่านี้จึงมักปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน คนที่อาศัยอยู่ตามแต่ละหมู่บ้านก็เป็นคนแปลกหน้าซึ่งกันและกัน บางครั้งเกิดการสงสัยอิจฉาริษยากัน จนกระทั่งเกิดการทะเลาะวิวาทกลายเป็นสงคราม พวกที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่างๆ ในทะเลเอเจียนก็มีลักษณะแยกกันอยู่เช่นเดียวกัน5. สภาพพื้นดิน สภาพพื้นดินส่วนใหญ่ของกรีกขาดความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงและเนินเขา ทำให้กรีกขาดดินที่จะเก็บเกี่ยว หว่าน ไถได้ถึง 1 ใน 3 พื้นดิน ที่เหลืออีก 2 ส่วน ถึงแม้จะพอทำการเพาะปลูกได้ ก็ต้องอาศัยแรงงานอย่างมากมาย กรีกมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์อยู่บ้าง แต่ก็เป็นทุ่งหญ้าที่เหมาะแก่การเลี้ยงแพะและแกะเท่านั้น ไม่เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์จำพวกวัวควายหรือม้า บริเวณที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของกรีก ได้แก่ที่ราบระหว่างหุบเขา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบ กับความอุดมสมบูรณ์ของที่ราบล่มแม่น้ำไนล์ หรือแม่น้ำไทกรีส และยูเฟรตีสแล้วก็ด้อยกว่ามาก

แม่น้ำในกรีกเป็นแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลเชี่ยวในฤดูที่มีฝนตกมาก กระแสน้ำจะพัดพาเอาดินอุดมตามเชิงเขาไป ส่วนในฤดูแล้งน้ำไม่มีการถ่ายเท แม่น้ำจึงกลายเป็นแหล่งเพาะยุง ด้วยสภาพพื้นดินดังกล่าว เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น พลเมืองเพิ่มขึ้น อาหารก็ไม่พอเพียงกับจำนวนพลเมือง ระดับการครองชีพในกรีก จึงค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตามชาวกรีกสมัยโบราณได้ปรับปรุงตนเองในการมีชีวิตอยู่ในสภาพที่ขาดแคลนได้เป็นอย่างดีและได้สร้างสมอารยธรรมอยู่บนรากฐานของเศรษฐกิจที่มั่นคงพอสมควร

6. ทะเลกรีกจัดเป็นประเทศที่มีความสะดวกสบายในทางออกทะเล ส่วนใหญ่ของแผ่นดินมีลักษณะคล้ายแหลมยื่นไปในทะเล และส่วนที่ลึกเข้าไปในแผ่นดินไม่ไกลจากทะเลมากนัก ชาวกรีกมีโอกาสมองเห็นทะเลได้จากเกือบทุกๆ ส่วนของประเทศ ประกอบกับพื้นดินแห้งแล้งและขาดความอุดมสมบูรณ์ ชาวกรีกจึงหันเหความสนใจไปสู่ทะเล อนึ่ง ชายฝั่งทะเลกรีกก็มักเว้าๆ แหว่งๆ ใช้เป็นอ่าวธรรมชาติสำหรับจอดเรือกำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี และบรรดาเกาะเล็กเกาะน้อยในทะเลเอเจียนก็เป็นเครื่องส่งเสริมให้ชาวกรีกแล่นเรือออกไปไกลๆ ไปสู่เอเซียไมเนอร์และดินแดนตะวันออกประวัติศาสตร์กรีกกรีกสมัยคลาสสิกนครรัฐ ในสมัยโฮเมอร์ (ประมาณศตวรรษที่ 9 ก่อน ค.ศ.) วัฒนธรรมกรีกได้เจริญก้าวหน้าทั่วดินแดนรอบ ๆ ทะเลเอเจียน กรีกอยู่ในรูป นครรัฐ จำนวนมาก ซึ่งไม่อาจอธิบายได้ว่า การที่แยกกันนั้นเป็นเพราะสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่ประกอบด้วยเกาะแก่งจำนวนมาก รวมทั้งภูเขาและอ่าวเล็ก ๆ ที่แบ่งกรีกออกเป็นรัฐอิสระ หรือมีเหตุผลอื่นเพราะมีตัวอย่างมากมายที่รัฐอิสระเล็ก ๆ แยกกันโดยไม่มีเครื่องกีดขวางทางภูมิศาสตร์เลยนครรัฐกรีกเป็นหน่วยทางการเมืองที่มีอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ แต่ละหน่วยคือ รัฐอิสระที่ดำเนินนโยบายและตัดสินเรื่องต่างๆ ด้วยตัวเอง กรีกเรียกหน่วยเหล่านี้ว่า โปลิส โปลิสนั้นไม่ได้เป็นแต่เพียงแคว้นที่มีขนบธรรมเนียม เทพเจ้า ของตนเท่านั้น หากยังเป็นเครื่องหมายของความจงรักภักดีที่มีต่อชาติและศาสนาอย่างลึกซึ้ง โปลิสเป็นประชาคมของพลเมืองที่อาศัยอยู่ในเมืองตลอดจนมณฑลที่รายรอบเมือง พลเมืองเหล่านี้มีสิทธิทางการเมืองและมีบทบาทในการปกครอง สำหรับชาวกรีกแล้ว การเมืองการปกครองที่ปราศจากโปลิส เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ชาวกรีกได้แสดงออกซึ่งความเป็นปัจเจกชนโดยผ่านโปลิส โปลิสเล็กพอที่บรรดาสมาชิกจะสามารถปฏิบัติตัวในฐานะปัจเจกชนได้มากกว่าในฐานะมวลชน คุณธรรมสำคัญที่สุดของการปกครองอยู่ที่การมีส่วนร่วมกัน โปลิสจึงเปรียบเสมือน เส้นโลหิต ของการสร้างสรรค์ของกรีกและเป็นแม่พิมพ์ของเจตนารมณ์กรีกอย่างไรก็ตามระบบโปลิสที่ต่างก็เป็นอิสระและทำสงครามต่อกัน นับเป็นพื้นฐานที่ขาดประสิทธิภาพยิ่งสำหรับองค์กรทางการเมืองของกรีก ระบบโปลิสที่ก่อตัวขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 9,8 และ 7 ค.ศ. นั้นประสบภัยจากการรุกรานของชาวกรีกด้วยกันเอง บรรดาผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ในโปลิสจึงมักสร้างป้อมหรือเนินเขาตรงกลางที่เรียกกันว่าอะโครโปลิส (Acropolis - เมืองสูง) อะโครโปลิสเป็นที่ประชุมตามธรรมชาติของมณฑลยามมีสงคราม และเป็นศูนย์กลางการค้าตามท้องถิ่นที่ก้าวหน้าขึ้น ตลาดหรือ อะกอรามักอยู่ตามเชิงอะโครโปลิส ชาวนาจำนวนมากที่มีทุ่งนาอยู่แถบใกล้ ๆ ก็มักปลูกบ้านอยู่รอบ ๆ ย่านตลาดนั้นเอง เพื่อสะดวกในการพบปะสังสรรค์และความปลอดภัย                      นครรัฐของกรีกกำเนิดขึ้นเพราะความจำเป็นต้องร่วมกันในการป้องกันภัยจากศัตรู การค้าขยายตัวและประการสุดท้ายธรรมชาติมนุษย์ที่นิยมอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ใหญ่ ในขั้นต้นมนุษย์อยู่รวมกันเป็นหมู่เล็กๆ เป็นหมู่ของครอบครัวที่สืบมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน เรียกว่าโคตร ตระกูล เมื่อหลายโคตรตระกูลมารวมกันเข้ากลายเป็นหมู่ใหญ่เรียกว่า วงศ์วาน และเมื่อมีหลายวงศ์วานเข้าก็รวมกันเป็นเผ่าพันธุ์ และเผ่าพันธ์เหล่านี้เข้ามารวมกันอยู่ในนครรัฐ ส่วนการปกครองภายในนครรัฐนั้น ในขั้นต้นราษฎรเลือกหัวหน้าหมู่ขึ้นปกครองดำรงตำแหน่งกษัตริย์ และมีคณะขุนนางอันได้แก่ ราษฎรชั้นสูงเป็นที่ปรึกษา ภายหลังพวกขุนนางก็ชิงอำนาจการปกครองมาไว้ในคณะของตน ครั้นนานวันเข้าเมื่อราษฎรไม่พอใจในการปกครองของขุนนาง ก็ได้ชิงอำนาจปกครองมาอยู่ที่ตนเอง มีลักษณะเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ราษฎรทุกคนมีส่วนในการปกครองนั้น บางนครรัฐก็มิได้วิวัฒนาการการปกครองในรูปประชาธิปไตย แต่มีการปกครองในรูปอื่น เช่น การปกครองแบบคณาธิปไตยหรือโดยชนหมู่น้อย (Oligarchy) การปกครองโดยชนชั้นสูงผู้ดีหรืออภิชน (Aristocracy) และปกครองโดยอำนาจปกครองอยู่ในมือคนคนเดียวคือปกครองแบบทรราชย์ระบบการปกครองในระยะแรกที่พัฒนาจากเผ่า จะมีขุนนาง หรือกษัตริย์ปกครองโดยการสืบสกุล ประมาณ ปี 700 ก่อน ค.ศ. ระบบกษัตริย์หมดไป เหลือแต่เพียงการประกอบพิธีทางศาสนา ปล่อยให้พวกขุนนางมีอำนาจเต็มที่และมั่งคั่งขึ้นจากการยึดเอาส่วนสำคัญของผืนดินที่บรรดาสมาชิกของครอบครัวและของเผ่าสมัยเดิมเคยเป็นเจ้าของร่วมกัน ขุนนางจึงเป็นกลุ่มที่มีทั้งอำนาจและความมั่งคั่งกลุ่มชาวนาเป็นผู้ที่ครอบครองที่ดินผืนเล็กผืนน้อย ชนกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิทางการเมืองเลย ฐานะทางเศรษฐกิจก็ไม่ดี ขณะที่องุ่นและมะกอก ซึ่งทำรายได้ให้กับขุนนางในเนื้อที่เพาะปลูกใหญ่ การเกษตรในที่ดินผืนน้อยนั้น กลับทำให้ชาวนาจมอยู่กับหนี้สิน ความทุกข์ของชาวนาปรากฎอยู่ในบทกวีเรื่อง งานและวันเวลา” (Works and Days) ของกวี เฮซีออด” (Hesiod ประมาณ 700 B.C.) ผู้เป็น ชาวนาการแผ่อาณานิคม ช่วง 750 550 ปี ก่อน ค.ศ.ปัญหาที่สำคัญของนครรัฐกรีก คือ การขาดพื้นที่สำหรับทำการเกษตร เมื่อประมาณ 750 ก่อน ค.ศ. ชาวกรีกได้เริ่มออกสู่ทะเลอีกวาระหนึ่งในฐานะที่เป็นโจรสลัด หรือพ่อค้าที่แสวงหาทองแดงและเหล็กขณะที่ออกเดินทางไปทำภารกิจต่าง ๆ นั้น ชาวกรีกได้พบดินแดนอุดมสมบูรณ์ เหมาะที่จะได้ไว้เป็นอาณานิคม นครรัฐต่าง ๆ ส่วนใหญ่ต่างพากันส่งพวกนักอาณานิคมไปตั้งชุมชนใหม่ ครั้นในเวลาต่อมาบรรดาอาณานิคมเหล่านี้บางแห่งก็ส่งนักอาณานิคมของตนไปตั้งอาณานิคมยังดินแดนอื่นอีกต่อหนึ่งลักษณะของอาณานิคมในสมัยนั้นคือ มีความผูกพันกับเมืองแม่ในความเป็นชนชาติเดียวกัน ในด้านการค้าและความจงรักภักดีต่อชาติร่วมกัน แต่ก็มีเอกราชทางการเมืองการที่อาณานิคมสามารถแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมให้กรีกในสมัยนั้นได้ ภายในระยะเวลาประมาณสองศตวรรษ โปลิสจึงขยายตัวออกจากทะเลเอเจียนสู่ทะเลเมดิเตอเรเนียนและทะเลดำ และมีอาณานิคมจำนวนมาก การตั้งหลักแหล่งของกรีกมีอยู่มากในภาคใต้ของอิตาลีและซิซิลี จนกระทั่งบริเวณแถบนั้นมีชื่อว่า แมกนา เกรเซีย ซึ่งแปลว่า กรีซใหญ่ โปลิสที่ได้พัฒนาเป็นเมืองที่สำคัญในเวลาต่อมาก็มีโปลิสแห่งไบแซนติอุม (ซึ่งต่อมาคือ คอนแสตนติโนเปิล) เนโอโปลิสทางภาคใต้ของอิตาลีคือเมืองเนโปลีหรือเนเปิลส์ นีไคอาบนชายฝั่งริเวียรากลายเป็นเมืองนีซ มาสซิเลียกลายเป็นมาร์เซย์ส์ ส่วนซีราคิวส์บนเกาะซิซิลียังดำรงความเป็นเมืองสำคัญจนทุกวันนี้ นอกจากนี้วัฒนธรรมกรีกและตัวอักษรกรีกได้ถ่ายทอดไปยังชาวโรมันโดยผ่านทางบรรดาโปลิสแห่งแมกนาเกรเซียเหล่านี้การค้าที่เจริญตามดินแดนอาณานิคม นำความมั่งคั่งกลับมาให้กรีก เมืองแม่เป็นแหล่งผลิตเหล้าองุ่นและน้ำมันมะกอกตลอดจนสินค้าสำเร็จรูปส่งให้อาณานิคม ความเจริญทางการค้าทำให้โปลิสบางแห่งเปลี่ยนจากสังคมเกษตรมาสู่ศูนย์กลางการค้า กลุ่มคนที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมและการค้าได้แก่ ชนชั้นอุตสาหกรรม พ่อค้า รวมทั้งบรรดากุลีขนของตามท่าเรือ กลาสีตามท่าเรือ และช่างฝีมือ ช่างโลหะต่าง ๆ บรรดาหัวกะทิในหมู่พ่อค้าและนักอุตสาหกรรมเหล่านี้เริ่มแข่งขันในด้านความมั่งคั่งร่ำรวยกับขุนนางเจ้าที่ดินเก่า ในช่วงศตวรรษที่ 7 และ 6 ก่อนคริสตกาล บรรดาชนชั้นใหม่ที่ร่ำรวยได้พยายามหาทางเข้าเป็นสมาชิกของสภาที่ปรึกษารัฐบาลร่วมกับขุนนางในตระกูลเก่า   

 

สร้างโดย: 
นาย พลวัฒน์ สุขรำมิ ม.6/2
รูปภาพของ silavacharee

ตรวจแล้ว

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 522 คน กำลังออนไลน์