user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('OUT OF', 'node/51161', '', '3.144.10.130', 0, 'd486784e251965f0b54432a5fce34180', 209, 1716094993) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

อารยธรรมกรีก

 

อิทธิพลที่ส่งต่อมาสู่การก่อกำเนิดอารยธรรม

 

กรีกโบราณได้รับอิทธิพลความเจริญโดยตรงจากทั้งเมโสโปเตเมียและอียิปต์ ด้วยอิทธิพลดังกล่าว ชาวกรีกโบราณจึงพัฒนาอารยธรรมได้รวดเร็วจนกลายเป็นอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

เผ่าพันธุ์ที่มีอำนาจเหนือดินแดน

ชาวกรีกเป็นชาวอารยันซึ่งชนเผ่านี้มีถิ่นเดิมอยู่ทางเหนือ เรียกตัวเองว่า เฮเลนส์ (Hellens) เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาลได้แยกออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเดินทางไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เรียกว่า ชาวอินโดอารยัน อีกกลุ่มหนึ่งเดินทางมุ่งไปทางตะวันตกผ่านตอนใต้ของรัสเซียลงสู่แหลมบอลข่าน และเข้ามาตั้งรกรากบริเวณคาบสมุทรเพโลพอนเนซัสที่ในปัจจุบันเรียกกว่ากรีซ

ลำดับเหตุการณ์พัฒนาการของอารยธรรม

กรีกสมัยคลาสสิก นครรัฐ

ในสมัยโฮเมอร์ (ประมาณศตวรรษที่ 9 ก่อน ค.ศ.) วัฒนธรรมกรีกได้เจริญก้าวหน้าทั่วดินแดนรอบ ๆ ทะเลเอเจียน กรีกอยู่ในรูป “นครรัฐ” จำนวนมาก คำว่า “นครรัฐ” ใช้แทนคำว่า “โปลิส” (Polis) ในภาษากรีก ไม่ได้เป็นเพียงแคว้นที่มีขนบธรรมเนียม เทพเจ้าของตนเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องหมายที่มีต่อชาติและศาสนาอย่างลึกซึ้ง โปลิศเป็นประชาคมของพลเมืองที่อาศัยอยู่ในเมืองตลอดจนมณฑลรอบๆ พลเมืองเหล่านี้มีสิทธิทางการเมืองและมีบทบาทในการปกครอง สำหรับชาวกรีกแล้ว การเมืองการปกครองจะขาดโปลิศไม่ได้ ระบบโปลิสที่ก่อตัวขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 นั้นประสบจากการรุกรานของ
ชาวกรีกด้วยกันเอง ผู้ที่อาศัยในโปลิสจึงมักสร้างป้อมหรือเนินเขาตรงกลางที่เรียกกันว่าอะโครโปลิส(Acropolis-เมืองสูง)

นครรัฐเอเธนส์

นครรัฐเอเธนส์ประกอบด้วยบริเวณที่สำคัญ 2 บริเวณ คือ อโครโปลิส (Acropolis) และ อกอรา (Agora) อโครโปลิสเป็นเนินเขาสูงเป็นที่ประดิษฐานวัดและสถานที่ทางราชการ เนินนี้อาจดัดแปลงเป็นป้องที่ให้ผู้คนเข้ามาลี้ภัย และตั้งรับศัตรูยามที่ถูกรุกราน ใต้บริเวณอโครโปลิส ลงมาเป็นร้านรวงและที่อยู่อาศัยของพลเมืองเรียกว่า อกอรา
เอเธนส์ได้วิวัฒนาการการปกครอง เป็นสาธารณรัฐปกครองในรูปประชาธิปไตย โดยเจ้าหน้าที่ซึ่งเลือกมาจากพลเมือง 50,000 คน รูปการปกครองแบบประชาธิปไตยของเอเธนส์แตกต่างจากประชาธิปไตยที่เข้าใจในสมัยปัจจุบัน แต่ก็เป็นรูปการปกครองที่ให้สิทธิเสรีภาพมากที่สุดในสมัยโบราณ

นครรัฐสปาร์ตา

นครรัฐสปาร์ตา เป็นนครที่ใหญ่ที่สุดและทรงอำนาจแข็งแกร่งที่สุดในบรรดานครรัฐกรีก เป็นผู้นำทางด้านการทหาร เนื่องจากมีกองทัพที่มีระเบียบวินัยประกอบขึ้นด้วยทหารที่มีความเสียสละอดทนและอุทิศชีวิตเพื่อความยิ่งใหญ่ของนครรัฐ
ประชาชนในนครรัฐสปาร์ตาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1. สปาร์เตียตส์ (Spartites) เป็นพวกดอเรียนส์ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในสปาร์ตา ถือเป็นชาว สปาร์ตาโดยแท้ พวกนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนครรัฐ ทำหน้าที่เป็นทหารรัฐ
2. เปริโอซิ ((Perioeci) คำนี้ภาษากรีกแปลว่า ผู้ที่อาศัยอยู่โดยรอบ ได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านโดยรอบนครรัฐสปาร์ตา
3. เฮล็อต (Helot) พวกนี้เป็นชนพื้นเมืองเดิม ที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้มาก่อน
ชาวกรีกโบราณมีคุณลักษณะพิเศษที่น่าชื่นชมอยู่ 2 ประการ คือ
1. เป็นผู้มีสติปัญญารอบรู้ และมีจิตใจเป็นผู้ชอบซักถามและมีวิจารณญาณที่ดี
2. เป็นผู้มีความรู้สึกละเอียดอ่อนละมุนละไมในความงดงามและมีพลังความสามารถสร้างสิ่งที่งดงาม
ด้วยคุณลักษณะ 2 ประการดังกล่าว ชาวกรีกโบราณได้ประสบผลสำเร็จในการสร้างสมอารยธรรมอันเป็นมรดกตกทอดมาสู่โลกตะวันตกจนถึงปัจจุบัน

สงครามเปอร์เชียกับพัฒนาการของกรีก

สงครามเปอร์เชีย (The Persiam War) เริ่มต้นเมื่อ 490 ก่อน ค.ศ. และสิ้นสุดเมื่อ 479 ก่อน ค.ศ. สาเหตุของสงครามนั้น เนื่องมาจากการขยายอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ยึดครองนครรัฐ ไอโอเนียของกรีก ซึ่งอยู่ชาวฝั่งอนาโตเลีย นครรัฐไอโอเนียเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของโลกเฮลเลนิค และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกรีกกับโลกตะวันออกใกล้โบราณ
ผลของสงครามคือ นครรัฐแห่งไอโอเนีย สามารถปลดปล่อยตัวเองจากการยึดครองของเปอร์เชีย ที่สำคัญคือการดำรงสันนิบาตที่ตั้งขึ้นเพื่อป้องกันภัยจากเปอร์เชีย สปาร์ตาถอนตัวออกไป เอเธนส์รัฐเดียวไม่ไหว ในที่สุดพันธมิตรแบบใหม่ก็ก่อตัวขึ้นภายใต้การนำของเอเธนส์ คือ สันนิบาตเดเลียน เพราะมีสำนักงานกลางที่เกาะเดลอส นครรัฐที่เป็นสมาชิกมีตั้งแต่
อัตติกะ ถึง ไอโอเนีย เอเธนส์มีความมั่งคั่ง และมีอำนาจเหนือสมาชิกอื่นค่อย ๆ มีบทบาทในการควบคุมสมาชิกอื่นจนกลายเป็นจักรวรรดิเอเธนส์ ในราวช่วงศตวรรษ 460 ก่อนคริสตกาล ในช่วงระยะเวลาครึ่งศตวรรษระหว่างเหตุการณ์รบกับเปอร์เชียที่ซาลามิส กับการเริ่มทำสงครามเพลอปปอนเนเชียน (480-431 B.C) เป็นยุคทองของเอเธนส์ จักรวรรดิเอเธนส์รุ่งเรืองถึงขีดสุด ทรัพย์สมบัติจำนวนมากหลั่งไหลสู่เอเธนส์ นอกจากนี้เอเธนส์ยังมีโอกาสและช่องทางดียิ่งในการพาณิชย์ที่ เป็นผลมาจากอิทธิพลของเอเธนส์ที่แผ่ขยายไปทั่วทะเลเอเจียน เอเธนส์กลายเป็นนครหลวงทางการค้าของโลกเมดิเตอเรเนียนและเป็นนครรัฐที่มีอำนาจสูงสุดในกรีก
สปาร์ตาและพันธมิตรของตนวางเฉยอยู่
โดยเฉพาะคอรินซ์ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของจักรวรรดิเอเธนส์ ในที่สุดความตึงเครียดได้ปะทุเป็นสงครามเมื่อ 431 ปีก่อน ค.ศ. คือสงครามเพลอปปอนเนเซียน

1.สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์

อารยธรรมกรีกเป็นอารยธรรมเก่าแก่เกิดขึ้นประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ถือเป็นแม่แบบของอารยธรรมตะวันตกและอารยธรรมสมัยใหม่ แหล่งตั้งถิ่นฐานของชาวกรีกอยู่ในบริเวณปลายคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งอยู่ทางตะวันออกสุดของยุโรปใต้

สถานที่ตั้งและภูมิประเทศ

กรีกในสมัยโบราณ อยู่ทางด้านตะวันออกสุดของยุโรปภาคใต้ ประกอบด้วยดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลเอเจียน หรือฝั่งตะวันตกของเอเซียไมเนอร์ ซึ่งนิยมเรียกว่านครรัฐ ไอโอเนียน (Ionian Cities)(2) รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 5 หมื่นตารางไมล์ ในจำนวนนี้ดินแดนส่วนใหญ่ คือ ประมาณ 4 ใน 5 คือ ดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินใหญ่ในทวีปยุโรปดินแดนตอนนี้แบ่งออกเป็นภาคใหญ่ๆ ได้ 3 ภาค คือ
1. กรีกภาคเหนือ อันได้แก่ แคว้นมาซีโดเนีย (Macedonia) เทสซาลี (Thessaly) เอไพรัส (Epirus) รวมอาณาบริเวณประมาณครึ่งของดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินใหญ่ ในสมัยคลาสสิค ไม่นิยมรวมมาซีโดเนียเป็นส่วนหนึ่งของกรีก

2. กรีกภาคกลาง ได้แก่ บริเวณซึ่งเป็นเนินเขาสูง ระหว่างกรีกภาคกลาง และอ่าวคอรินธ์ ตรงปลายสุดด้านตะวันออกของบริเวณนี้คือแคว้นอันติก (Attica) อันมีเมืองหลวงคือนครรัฐเอเธนส์ ที่กำเนิดของศิลปวิทยาการ ปรัชญาและระบอบการปกครองอันมีชื่อเสียง
3. เพลอปปอนเนซุส (Peloponnesus) ได้แก่ บริเวณคาบสมุทร ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ อ่าวคอรินธ์ ชื่อมติดกับภาคกลาง และภาคเหนือด้วยคอคอดคอรินธ์ ใต้คอคอดนี้ลงมาคือที่ตั้งของเมืองอาร์กอลิส (Argolis) เป็นศูนย์กลางของอารยธรรม กรีกที่เจริญขึ้นเป็นครั้งแรก ใจกลางคาบสมุทรแห่งนี้เป็นที่ตั้งของนครรัฐสปาร์ตา (Sparta) ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการรบ เมืองโอลิมเปีย (Olympia) ที่สิงสถิตของบรรดาเทพเจ้ากรีกอยู่ชิดกับฝั่งทะเลไอโอเนีย ด้านตะวันตกของคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุส
4. ภูเขา กรีกเต็มไปด้วยภูเขา ภูเขาเหล่านี้แบ่งกรีกออกเป็นที่ราบในหุบเขาเล็ก แยกออกจากกัน ภูเขาเป็นอุปสรรคสำคัญในการติดต่อคมนาคม หมู่บ้านตามหุบเขาเหล่านี้จึงมักปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน
5. สภาพพื้นดิน ขาดความอุดมสมบูรณ์ สภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงและเนินเขา ทำให้กรีกขาดดินที่จะเก็บเกี่ยว หว่าน ไถ ถึงแม้จะพอทำการเพาะปลูกได้ ต้องอาศัยแรงงานอย่างมากมาย กรีกมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นทุ่งหญ้าที่เหมาะแก่การเลี้ยงแพะและแกะเท่านั้น บริเวณที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของกรีก ได้แก่ที่ราบระหว่างหุบเขา แม่น้ำในกรีกเป็นแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลเชี่ยว ด้วยสภาพพื้นดินดังกล่าว เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น พลเมืองเพิ่มขึ้น อาหารไม่พอเพียงกับจำนวนพลเมือง ระดับการครองชีพในกรีก จึงค่อนข้างต่ำ
6. ทะเลกรีก จัดเป็นประเทศที่มีความสะดวกสบายในทางออกทะเล ส่วนใหญ่ของแผ่นดินมีลักษณะคล้ายแหลมยื่นไปในทะเล และส่วนที่ลึกเข้าไปในแผ่นดินไม่ไกลจากทะเลมากนัก ชาวกรีกมีโอกาสมองเห็นทะเลได้จากเกือบทุกๆ ส่วนของประเทศ ประกอบกับพื้นดินแห้งแล้งและขาดความอุดมสมบูรณ์ ชาวกรีกจึงหันเหความสนใจไปสู่ทะเล ชายฝั่งทะเลกรีกก็มักเว้าๆ แหว่งๆ ใช้เป็นอ่าวธรรมชาติสำหรับจอดเรือกำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี และบรรดาเกาะเล็กเกาะน้อยในทะเลเอเจียนก็เป็นเครื่องส่งเสริมให้ชาวกรีกแล่นเรือออกไปไกลๆ ไปสู่เอเซียไมเนอร์และดินแดนตะวันออก

 

สงครามเพลอปปอนเนเซียน

สงครามเพลอปปอนเนเซียน (The Peloponnesian War) เกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่ 431 – 404 ปี ก่อน ค.ศ. มีผู้เปรียบเทียบสงครามครั้งนี้ว่า เหมือนปลาวาฬต่อสู้กับช้าง คือ ระหว่างเอเธนส์ที่มีกำลัง เข้มแข็งทางทะเลกับสปาร์ตาที่เข้มแข็งทางบก การต่อสู้จึงดำเนินยืดเยื้อ สงครามนี้มิใช่ความชัดแย้งทางอุดมการณ์ แต่เป็นการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจมากกว่า เอเธนส์ใฝ่ฝันที่จะรวมเอาชาวกรีกทั้งหมดเข้ามาอยู่ภายใต้อิทธิพลและอำนาจของตน ส่วนสปาร์ตาและพันธมิตรมุ่งจะหยุดยั้งการคุกคามของจักรวรรดินิยมเอเธนส์ ซึ่งในระยะนี้เอเธนส์ได้กลายเป็น “ทรราชย์” ในสายตาของรัฐต่าง ๆ ภายใต้จักรวรรดิ เอเธนส์ ข้อที่น่าสังเกตคือ แม่แบบแห่งประชาธิปไตยถูกผลักดันให้ไปสู่วิธีแบบกดขี่เพื่อธำรงความเป็นจักรวรรดิของตนไว้
ในปี 404 ก่อน ค.ศ. เอเธนส์ยอมจำนน สำหรับเอเธนส์แล้ว เมื่อจักรวรรดิสลายตัวลง โครงสร้างทางการเมืองสั่นคลอนอย่างถึงรากถึงโคน เอเธนส์ต้องสูญเสียทั้งทรัพย์สิน จิตใจ แต่ เอเธนส์ยังสามารถดำรงความเป็นศูนย์กลางทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของโลกกรีกต่อมาได้เป็นเวลานาน อีกทั้งยังสามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการเมืองขึ้นมาได้บ้าง

สภาพของกรีกหลังสงครามเพลอปปอนเนเชียน

สปาร์ตาได้เป็นรัฐนำของกรีกแทนเอเธนส์ แต่กองเรือรบของสปาร์ตาซึ่งสร้างด้วยเงินของ เปอร์เชียนั้นทำให้สปาร์ตายอมให้เปอร์เชียยึดครองไอโอเนีย สปาร์ตาอนุรักษ์นิยมมากเกินกว่าจะเป็นนักจักรวรรดินิยมท จึงไม่อาจให้เหตุผลและชี้นำพวกกรีกได้ ในเอเธนส์และรัฐกรีกอื่น ๆ จำนวนมากได้เกิดความวุ่นวาย คือ การปกครองระบบคณาธิปไตยได้ถูกโค่นลง และกรีกได้เข้าสู่ช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดีทางการทหารและการเมือง ธีบส์ขึ้นสู่อำนาจสูงสุด ส่วนเอเธนส์พยายามจัดตั้งสันนิบาตเอเจียนขึ้นใหม่ แต่ถูกระงับไปด้วยการแทรกแซงของเปอร์เชีย ในช่วงศตวรรษที่ 4 อำนาจเปลี่ยนมือกันระหว่างสปาร์ตา ธีบส์และเอเธนส์ ในขณะที่อาณานิคมกรีกที่ซีราคิวส์มีอำนาจเหนือ ซิซิลีและอิตาลีภาคใต้ เปอร์เชียมักส่งทูตมาพร้อมกับเงินจำนวนมาก พยายามสอดส่องมิให้รัฐใดรัฐหนึ่ง มีอำนาจเข้มแข็งจนเกินไป เพราะจะเป็นภัยต่อเปอร์เชีย
ระหว่างที่กรีกมีความวุ่นวายกันนั้น

ภูมิปัญญาของกรีกตั้งแต่แรกถึงสมัยคลาสสิก

ชาวกรีกเป็นพวกแรกที่ดำเนินการศึกษาค้นคว้ามนุษย์และจักรวาลจากแง่คิดที่มีเหตุผล และลึกซึ้งเกินกว่าเทพนิยายและกวีนิพนธ์ ชาวกรีกมองจักรวาลในแง่ธรรมชาติมากกว่าปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ โดยอาศัยกฎเกณฑ์ของสาเหตุและผลมากกว่าอ้างเจตนารมณ์ของเทพเจ้า รวมทั้งเป็นชาติแรกที่พยายามจะวางรากฐานทางศีลธรรมและชีวิตที่ดีโดยคำนึงถึงเหตุผลมากกว่าการดลใจจากเทพเจ้า ชาวกรีกจึงเป็นนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ภาคทฤษฏีกลุ่มแรก จริงอยู่ที่ชนชาติโบราณ เช่น บาบิโลเนีย และอียิปต์ได้มีการค้นพบสิ่งเหล่านี้ แต่สำหรับกรีกแล้วได้นำความรู้นั้นไปสู่จุดหมายปลายทางใหม่ คือ ความเข้าใจอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับมนุษย์และจักรวาล ความสำเร็จของชาวกรีกได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นการค้นพบทางสติปัญญา
เป็นที่น่าสนใจว่านักปรัชญาของกรีกประสบความสำเร็จได้อย่างไร ในเมื่อศาสนาของกรีกเป็นศาสนาที่มีเทพเจ้าและกรีกมีละคร พิธีกรรม ศิลปะและสถาปัตยกรรมที่เนื่องในศาสนา คำตอบคือนักปรัชญาของกรีกประสบความสำเร็จก็เพราะกันเทพเจ้าไว้ส่วนหนึ่ง รวมทั้งแยกแยะสิ่งที่เป็นธรรมชาติออกจากสิ่งเหนือธรรมชาติ ที่สำคัญพวกกรีกมีความใจกว้างและความกล้าหาญที่จะค้นหาความจริงจากสิ่งต่าง ๆ ด้วยปัญญา

การแบ่งชนชั้นในสังคมและระบบการปกครอง

ลักษณะการปกครองของกรีกในนครรัฐ บางนครรัฐเป็นการปกครองแบบราชาธิปไตยที่อำนาจการปกครองตกอยู่กับกษัตริย์ สภาขุนนาง และสภาสามัญสำหรับในบางรัฐ อำนาจของสภาขุนนางมีมากจนใช้อำนาจปกครองรัฐแทนกษัตริย์ได้ เท่ากับกษัตริย์ถูกลดบทบาทลงเป็นเพียงประธานในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่โดยทั่วไปนครรัฐของกรีกเป็นทั้งหน่วยสังคมทางการเมืองและเป็นศูนย์กลางในการปกครองที่สำคัญๆ นครรัฐของกรีกได้ผ่านวิวัฒนาการทางการเมืองที่คล้ายคลึงกัน เริ่มประวัติศาสตร์ด้วย การปกครองแบบมีกษัตริย์ ประมาณศตวรรษที่ 8 เปลี่ยนแปลงการปกครองแบบคณาธิปไตย อีก100 ปีต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบทรราชย์ และในที่สุดก็ได้ตั้งระบบประชาธิปไตยขึ้น
พวกชนนชั้นกลางที่มีฐานะร่ำรวยต้องการมีสิทธิในการปกครองเหมือนชนชั้นสูง สำหรับผู้ที่มีฐานะยากตนต้องการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปเพื่อให้ฐานะของเขาดีขึ้น ในความไม่พอใจในการปกครองระบบทรราชย์นี้ นำไปสู่การก่อตั้งระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย

แนวคิดหรือความเชื่อของประชาชนในสังคม

อารยธรรมตะวันตกมีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ คือ อารยธรรมกรีกโบราณ อาณาจักโรมัน สิ่งที่สะท้อนให้เห็นทางการเมืองการปกครอง อาทิเช่น นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ตา อาจจะกล่าวได้ว่าชาวตะวันตกเป็นชาติที่มีความสามารถด้านการเมือง การปกครอง ปรัชญา ศิลปะอย่างยอดเยี่ยม มีกษัตริย์ปรีชาหลายท่าน อาทิเช่น กษัตริย์โซลอน มผลงานในการจัดตั้งสมาพันธ์รัฐเดลอส และที่สำคัญคือ สถาปัตยกรรมกรีกที่มีอิธิพลต่อโลก

เหตุการสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารยธรรม

ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และเป็นไปในลักษณะลึกซึ้งมีขึ้นเมื่อพวกดอเรียน นักรบผู้ชำนาญในการใช้ม้าและอาวุธเหล็ก เข้ามารุกรานพวกเอเชียน พวกดอเรียนมีศิลปะในการรบเหนือกว่าพวกเอเชียนทั้งๆ ที่ดั้งเดิมมาจากเชื้อสายเดียวกัน คือ ชาวอินโด-ยูโรเปี้ยน แต่พวกเอเชียนมาได้รับอารยธรรมเอเจียนก่อนหลายศตวรรษ เครื่องนุ่งห่มของพวกดอเรียนทอด้วยขนสัตว์ เรียกว่า ชไลนา หรือ เปโปล มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าธรรมดา จับจีบติดด้วยเข็มกลัด นับว่าแตกต่างจากเครื่องนุ่งห่มของพวกที่ได้รับ อารยธรรมเอเจียนที่มีเสื้อผ้าหรูหรา เน้นรูปทรงที่เอว แม้แต่ทางสถาปัตยกรรมตกแต่งอันสวยงามแบบเอเจียนที่มีอยู่ต่อจากนี้ไป ก็ไม่มีใครสนใจ วัดกับวังจะแยกจากกันไม่อยู่ในบริเวณเดียวกันเหมือนแต่ก่อน การสร้างวังก็ไม่พิถีพิถัน สร้างแบบง่ายๆ เป็นห้องโถง ธรรมดาและมีห้องติดต่อกันอีก 2-3 ห้อง ผังของห้องโถงเป็นลักษณะห้องยาวมีทางเดินเข้า ใช้เป็นห้องประดิษฐานเทพเจ้าต่างๆ ผังเมืองสร้างคล้ายตาหมากรุก มีถนน 2 สายตัดกันเป็นมุมฉาก ตรงทางแยกเป็นศูนย์กลางของเมืองทั้งทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางศาสนา
ทางด้านศาสนา มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ เทพเจ้าของทางผืนแผ่นดินเข้ามาแทนที่เทพเจ้าทางทะเลของพวกเอเชียน และเทพเจ้าแห่งท้องฟ้ามาแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของแผ่นดิน เทพเจ้าของกรีกตั้งแต่สมัยนี้เป็นต้นไปจะต้องหนุ่มและรูปร่างงาม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเทพเจ้าเป็นไปในทางสังเวยและอธิษฐาน ความเร้นลับน่ากลัวที่ได้รับมาจากตะวันออกและปนมากับศาสนา สมัยนี้การเผาศพเปลี่ยนไปเป็นฝังคนตายแทน ไม่มีประเพณีระลึกถึงคนตาย ไม่มีของบูชาให้คนตาย และไม่มีการทำหลุมศพขนาดใหญ่ การละเล่นยังคงเหมือนเดิมจากที่รับถ่ายทอดมา แต่จุดประสงค์มุ่งเพื่อคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีการเชื่อเรื่องเบื้องบน ศาสนาของชาวกรีกกลายเป็นศาสนาที่นับถือเทพเจ้าหลายองค์ และเป็นแบบเทพนิยาย เป็นการดึงคนให้ออกมาจากความเชื่อในสิ่งที่เกินธรรมชาติแบบโบราณ และจากความหวาดกลัวกับเรื่องที่ว่าตายแล้วไปไหน
ทางด้านศิลปะ ของอารยธรรมโฮเมอร์ เรารู้ไม่มากนัก แรกเริ่มเข้าใจว่าเป็นแบบไมเซเนียน จนกระทั่ง 800 ปีก่อนค.ศ. จึงเกิดรูปปั้นศักดิ์สิทธิ์ ที่เรียกกันว่า ซัวนา (Xoana) ที่ทำขึ้นมาอย่างหยาบๆ ด้วยดินเหนียวบ้าง สัมริดบ้าง งาช้าง หรือตะกั่วบ้าง ล้วนรับอิทธิพลมาจากตะวันออก ในเรื่องของเซรามิค ก่อนหน้าที่จะมีแจกันลายเรขาคณิตไม่ปรากฏว่ามีแจกันอย่างอื่น แจกันที่งามที่ ปัจจุบันถือว่ามีค่าที่สุด เป็นแจกันของดีไพลอน (Dipylon) ได้มาจากหลุมศพที่เอเธนส์ แจกันนี้สูงถึง 1.75 เมตร มีลายดำบนพื้นสีอ่อน เป็นลายซิกแซก ลายหมากรุกหรือลายคดเคี้ยว ลายขบวนแห่งานศพ ลายรถลากด้วยม้าเรียงกันเป็นแถว ลายการต่อสู้ทางทะเล ทุกลายมีการวางภาพได้อย่างสวยงาม นับเป็นลักษณะเด่นของศิลปะโฮเมอร์
ทางด้านการปกครอง มีการจัดระบบการปกครองใหม่ด้วยการยุบการปกครองแบบกลุ่มมาเป็นนครรัฐ หรือที่เรียกว่า โปลิส (Polis) โดยสร้างตรงที่เป็นพระราชวัง เดิมของพวกไมเซเนียน ล้มเลิกสังคมที่มีกษัตริย์และนักรบ มาเป็นสังคมที่มีชนชั้นขุนนาง เจ้าที่ดิน ระบบกษัตริย์ให้มีแต่ในเขตชายแดน เช่น เอปีร์ และมาซีโดเนีย

เหตุที่ทำให้อาณาจักรล่มสลาย


อารยธรรมกรีกได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก เป็นถิ่นกำเนิดของบรรดานักคิด นักปรัชญาคนสำคัญมากมาย หลายคนอาจจินตนาการถึงบรรยากาศที่ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่อารยธรรมกรีก ว่าเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ มั่งคั่ง และสงบสุข แต่ความจริงแล้วในประวัติศาสตร์ของชาวกรีกนั้นพัวพันอยู่กับสงครามมากมายหลายสงคราม ซึ่งกินเวลายาวนานถึงหลายพันปี หนึ่งในสงครามที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดก็คือสงครามแห่งกรุงทรอย เมื่อกล่าวถึงสงครามกรุงทรอย หลายคนคงนึกถึงภาพของมหาสงครามที่ยิ่งใหญ่ และแน่นอนที่ขาดไม่ได้ก็คือม้าไม้เมืองทรอยที่ทำให้เมืองทรอยล่มสลาย จนกลายเป็นภาษิตติดหูว่า “Beware of Greeks bearing gifts” คือให้ระวัง อย่าไว้วางใจของขวัญจากศัตรูนั่นเอง เรื่องราวของสงครามนั้นสร้างความตื่นเต้น ชวนติดตาม การดำเนินเรื่องก่อให้เกิดจินตนาการอย่างไม่สิ้นสุด และที่สำคัญยังเป็นภาพสะท้อนให้เห็นชีวิต สังคมและทัศนะคติในการมองโลกของคนในยุค 800 BC อันเป็นเวลาที่เชื่อกันว่าเรื่องนี้ถูกรวมรวบขึ้น อีกด้วย แน่นอนภาพที่สะท้อนออกมานั้นไม่ใช่ภาพของยุค 800 BC. ที่แท้จริงทั้งหมด เพราะมันอาจสะท้อนความคิดของกวีเพียงคนเดียว สาเหตุของสงครามเหล่านี้ ได้แก่
เทพเจ้า ต้นเหตุทั้งหลายทั้งปวงของสงครามนั้นมาจากเทพเจ้า เทพเจ้าโดยทั่วไปได้ถูกให้ความหมายว่าเป็นผู้มีความสามารถเหนือมนุษย์ มีพละกำลังที่สามารถทำสิ่งเหนือธรรมชาติ และเป็นที่ศรัทธาและเคารพบูชาของมนุษย์
วีรบุรุษ นอกจากเทพเจ้าที่เข้ามามีบทบาทในสงครามตั้งแต่ต้นจนจบ คนอีกกลุ่มหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้ในสงครามใดๆก็ตามก็คือ วีรบุรุษ โดยความหมายตามพจนานุกรม แล้ว วีรบุรุษ หมายถึงผู้ที่ได้รับการยอมรับ ยกย่อง ในความสามารถ และความกล้าหาญที่ยิ่งใหญ่ของเขา นอกจากนี้ ลักษณะวีรบุรุษในทุกอารยธรรมของโลกยังถูกอธิบายว่ามีความสามารถเหนือ มนุษย์ทั่วไป และสามารถทำในสิ่งเหนือธรรมชาติบางอย่างได้ แต่ไม่เทียบเท่าเทพเจ้า
ความรัก แม้ว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องราวของสงครามซึ่งจะเกี่ยวข้องอย่างมากกับความเคียดแค้น ความรุนแรง กลอุบาย หรือการสูญเสีย หากมองอีกแง่หนึ่ง ในสงครามนี้ ความรัก กลับเป็นพลังสำคัญในการดำเนินเรื่อง ความรักที่ว่านี้มีหลายประเภทและหลายระดับ นับตั้งแต่ความรักฉันชู้สาว ความรักชาติบ้านเมือง ความรักที่มีต่อตนเอง ความรักและปรารถนาดีที่พ่อแม่มีต่อลูก รวมไปถึงมิตรภาพความรักของเพื่อน นอกจากนี้จากสงครามทรอยเรายังได้เรียนรู้ว่าความรักอาจก่อให้เกิดผลทั้งในแง่บวกและลบเช่นกัน
ชีวิตที่ลิขิต (ไม่)ได้ มหากาพย์อีเลียดได้จบลงด้วยการตายของ Hector และการล่มสลายของเมืองทรอยก็จะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า การตายของ Hector มีส่วนทำให้ทรอยอ่อนกำลังลง เพราะทรอยขาดผู้นำคนสำคัญ แต่อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ทรอยล่มสลาย แน่นอน เกือบทุกคนคงตอบทันทีว่ากลศึกม้าไม้ของชาวกรีกนั่นไงที่เป็นเหตุให้ทรอยพินาศเพียงข้ามคืน หลังจากที่สู้กันมาสิบปี อย่างไรก็ตามยังมีผู้ค้นหาคำตอบใหม่ๆ ให้กับการล่มสลายของกรุงทรอยอยู่เนืองๆ เช่น นักโบราณคดีและนักภูมิศาสตร์รุ่นใหม่กลับตั้งข้อสันนิษฐานว่า จุดจบของทรอยนั้นไม่ได้เป็นเพราะม้าไม้แต่อย่างใด หากเป็นเพราะเกิดเหตุแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงเท่านั้นเอง

 ผลงานสำคัญของอารยธรรมกรีก

วิหารพาร์เธนอน


วัตถุประสงค์ในการสร้าง

ใช้เป็นโบสถ์ของชาวคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ แล้วก็เปลี่ยนมาเป็นโบสถ์คาทอลิก จนกระทั่งในยุคของชาวเติร์กครองเมืองถูกดัดแปลงมาเป็นมัสยิด จนกระทั่งในที่สุดถูกใช้เป็นที่เก็บดินปืนในสงครามระหว่างเติร์ก กับเวเนเชี่ยน ทำให้ถูกระเบิดเสียหายเป็นบางส่วน และมาทรุดโทรมอย่างหนักเมื่อครั้งกอบกู้อสรภาพระหว่างเติร์กกับเวเนเชี่ยน

อิทธิพลที่ส่งผ่านมายังผลงาน

สถาปัตยกรรมกรีก
- หัวเสาแบบโครินเธียนที่หรูหรา ขนาดใหญ่
- รูปปั้นที่มีสรีระแข็งแรง

จุดเด่นของผลงาน

- เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
- เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
- เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
- เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
- มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

สร้างโดย: 
นางสาวเดือนเพ็ญ เวฬุวนารักษ์ ม.6/2 เลขที่ 7
รูปภาพของ silavacharee

ตรวจแล้ว

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 242 คน กำลังออนไลน์