ถอดรหัสพันธุกรรมของสาหร่ายสไปรูไลน่า

สาหร่ายสไปรูไลน่า หรือ สาหร่ายเกลียวทอง

ตำนานสาหร่ายเกลียวทอง (Spirulina)
     เรื่องราวของสาหร่ายสไปรูไลน่า ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชน จากการค้นพบการดำรงชีวิตของชนเผ่าหนึ่งในทวีปแอฟริกาซึ่งยังชีพด้วยการรับประทานสาหร่ายชนิดหนึ่ง ที่ชาวพื้นเมือง
เรียกว่า "ไดฮี"(Dihe) ชาวพื้นเมืองใช้ตะกร้าช้อนเอาสาหร่ายชนิดนี้จากผิวน้ำในทะเลสาบแล้ว
นำไปตากแห้งบดเป็นผงเก็บไว้ทำอาหาร

     นักวิทยาศาสตร์ที่พบชาวพื้นเมืองชนเผ่านี้ สงสัยในการดำรงชีพของประชากร เนื่องจากพื้นที่
ดังกล่าวค่อนข้างขาดแคลนแหล่งโปรตีนจำพวกเนื้อสัตว์ แต่เหตุใดประชากรจึงสามารถดำรงชีพ
อยู่ได้


     เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาและวิจัย จึงพบว่าสาหร่ายที่ชาวพื้นเมืองรับประทานนั้นเป็นสาหร่ายที่มีคุณค่าสูงทางโภชนาการอย่างน่ามหัศจรรย์ และนี่คือจุดเริ่มต้นของการค้นพบอาหารที่ยิ่งใหญ่สำหรับโลกในอนาคต แม้จะมีประวัติอันยาวนานก็ตามแต่ สาหร่ายสไปรูไลน่าเพิ่งจะเป็นที่รู้จักในวงการอุตสาหกรรมสมัยใหม่เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว


     "สไปรูไลน่า" เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
"Spirulina plantensis"เป็นพืชที่เกิดขึ้นเมื่อ 3,500 ล้านปีมาแล้ว "สไปรูไลน่า" เป็นสาหร่าย
เซลล์เดียวขนาดเล็กที่มองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น เป็นสิ่งมีชีวิตชั้นล่างสุดของห่วงโซ่อาหารจัดอยู่ในจำพวกโพรคาริโอท (prokaryotes) ซึ่งยังไม่มีนิวเคลียสที่แท้จริง

     
"สาหร่ายสไปรูไลน่า" ประกอบด้วยเซลล์รูปทรงกระบอกหลายเซลล์เรียงต่อกันเป็นเส้นสาย
ที่ไม่แตกแขนงเรียกว่า trichome เส้นสายจะบิดเป็นเกลียว รูปร่างที่เป็นเกลียวเป็นลักษณะของสกุล (genus) ความกว้างของเกลียว (helix) ระยะระหว่างเกลียว (pitch) และความยาวของ trichome (length)จะแตกต่างไปตามแต่ชนิด (species) แต่อย่างไรก็ดีสาหร่ายเกลียวทองชนิดเดียวกันเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมต่างกันขนาดและรูปร่างก็อาจจะแตกต่างกัน เช่น ลักษณะที่บิดเป็นเกลียว
อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นเส้นตรง ชนิดที่พบโดยมากมีเม็ดอากาศ (gas vacuoles)เล็กๆจำนวนมาก
อยู่ภายในเซลล์ทำให้สาหร่ายเกลียวทองลอยตัวได้ดี เม็ดอากาศแต่ละเม็ดอยู่ภายในถุง ซึ่งเป็น
เยื่อบางๆและเยื่อนี้เป็นสารจำพวกโปรตีน สาหร่ายเกลียวทองเคลื่อนที่ได้แบบเลื่อนไถล (gliding)โดยมีการหมุนรอบ trichome

     จากการวิจัยพบว่า สาหร่ายที่พบในแหล่งน้ำจืดของประเทศเป็นสายพันธุ์ที่มีเฉพาะ
ในประเทศไทย จึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าและวิจัยสาหร่ายสายพันธุ์นี้เรื่อยมาและพบว่า สามารถเลี้ยงให้ได้คุณภาพ เนื่องจากสาหร่ายชนิดนี้ เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกว่ามีประสิทธิภาพและมี
คุณค่าสูง นักวิจัยของไทยในยุคแรกจึงมุ่งประเด็นความเป็นไปได้ที่จะนำสาหร่ายชนิดนี้ มาเป็นอาหารเสริมสำหรับประชากรในอนาคต

สาหร่ายเกลียวทองในประเทศไทย
     
สำหรับในประเทศไทย พบสาหร่ายเกลียวทองเป็นครั้งแรกที่เขื่อนอุบลรัตน์ พ.ศ. 2509
โดย คุณเจียมจิตต์ บุญสม นักวิชาการของสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ สังกัดกรมประมงและเริ่มทำการวิจัยสาหร่ายชนิดนี้อย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยการสนับสนุนของ
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)ภายใต้ชื่อโครงการ
"Development of Microalgae (Spirulina)Production of Thailand"สาหร่ายชนิดนี้ มีปริมาณโปรตีนสูงมากถึง 60-70% นอกจากนี้ ยังมีวิตามินคุณค่าสูงชนิดต่างๆ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 วิตามินบี12 วิตามินซี วิตามินอี และวิตามินเอช โฟลิกแอซิด
และนิโคตินิคแอซิด พบว่าเป็นแหล่งวิตามินบี12 มากถึง 250% ของที่มีในตับ
มีเบต้าแคโรทีน
ซึ่งเป็นโปรวิตามินเอ ประมาณ 20-25 เท่าของที่มีอยู่ในแครอทและมีเกลือแร่อีกหลายสิบชนิด
เช่น เหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม โดยมี ธาตุเหล็กเป็น 3 เท่าของเนื้อสเต็ก 1 ก้อน
ที่สำคัญในสาหร่ายประเภทนี้มีองค์ประกอบของกรดอะมิโนที่เรียงตัวกัน
อย่างสมดุลได้สัดส่วนอีกมากถึง 18 ชนิด และยังเป็นแหล่งของกรดไขมัน แกมมาไลโนเลนิก GLA)

     คุณเจียมจิตต์ บุญสม นักวิชาการผู้ริเริ่มการวิจัยสาหร่ายชนิดนี้ ได้ตั้งชื่อภาษาไทยและ
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ภายใต้ชื่อ "เกลียวทอง" กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา
เมื่อปี พ.ศ. 2537
         

     การใช้สาหร่ายเกลียวทองในประเทศไทย ยังอยู่ในขั้นตอนของการผลิตเพื่อเป็นอาหาร
เสริมสุขภาพ ยังมิได้ใช้ในทางการแพทย์ เพื่อรักษาโรคอย่างจริงจัง ผู้ผลิตส่วนใหญ่ในประเทศไทยรวมถึงโครงการ ส่วนพระองค์ "สวนจิตรลดา" ได้ทำการเพาะเลี้ยงมานานหลายปี เพื่อคัดเลือก
สายพันธุ์ที่ดีที่สุดเพื่อประยุกต์ใช้ในเชิงโภชนาการและทางการแพทย์ในอนาคต บนพื้นฐานแห่งประโยชน์ของประชาชนชาวไทยและมวลมนุษยชาติเป็นสำคัญ

สร้างโดย: 
Torsakul Ardharn

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 452 คน กำลังออนไลน์