พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

โดย  ศาสตราจารย์  น.อ.สมภพ  ภิรมย์  ร.น. ราชบัณฑิต

พระเมรุมาศ พระเมรุมาศใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพสำหรับ “การตาย” ที่ใช้ราชาศัพท์ว่า “สวรรคต”
เช่น พระมหากษัตริย์, พระอัครมเหสี  พระบรมราชินี พระราชชนนี  พระบวรราชเจ้า
(อุปราชวังหน้า) พระบรมโอรสาธิราช  เป็นต้น   ภายในจะมีพระเมรุทอง  ทั่วไป
นิยมเป็นกุฎาคารหรือเรือนยอด  พระเมรุทองใช้ในงานพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งสุดท้ายตามโบราณราชประเพณี
   
พระเมรุ พระเมรุใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์เมื่อตายใช้ราชาศัพท์ว่า ทิวงคต หรือ สิ้นพระชนม์ ในพระเมรุไม่มีพระเมรุทอง
   
พระเมรุพิมาน

เป็นสมมุตินาม คือ  อาคารถาวรที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งตั้งพระบรมศพ หรือพระศพ ครั้นเวลาถวายพระเพลิงอัญเชิญพระบรมศพหรือพระศพจากพระเมรุพิมาน
ไปถวายพระเพลิงที่พระเมรุ(ขนาดน้อย)อีกแห่งใกล้ๆ กันหรือไม่ไกลกันมาก

   
พระเมรุบรรพต  พระเมรุซึ่งสร้างบนภูเขาสมมุติ
   
เมรุทิศ คือเมรุประจำ ๔ ทิศ หรือ ๘ ทิศ หรืออาจลดลงสุดแต่เหตุการณ์
   
เมรุประตู คือเมรุที่ทำเป็นประตูเข้าออก
   
เมรุแทรก คือเมรุซึ่งแทรกกลางระหว่างเมรุทิศทั้ง ๔ หรือ จะแทรกตรงไหนก็ได้สุดแต่ความเหมาะสม
   
เมรุพระบุพโพ คือเมรุขนาดน้อย สำหรับถวายพระเพลิงพระบุพโพ (น้ำเหลือง) ส่วนใหญ่จะทำที่วัดมหาธาตุ ฯลฯ

 ภาพพระเมรุมาศ  พระเมรุ  และเมรุ  ต่อไปนี้  เป็นสถาปัตยกรรมแบบกุฎาคารหรือเรือนยอด ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมอนุรักษ์สืบทอดจากโบราณราชประเพณีและพัฒนามาเป็นลำดับตามควรแก่โอกาส และตามภาวะสังคม

   ณ ปัจจุบัน  ศิลปวัฒนธรรมแบบนี้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ได้มีโอกาสสืบทอด อนุรักษ์ แสดง ศิลปสถาปัตยกรรมแบบพระเมรุเป็นเอกในโลก

   พระเมรุมาศ  พระเมรุ  และเมรุนี้ ปัจจุบันยังเป็นโอกาสให้สถาปนิกได้มีโอกาสแสดงความคิดเนรมิตสร้างสรรค์ สืบทอด อนุรักษ์  ขนบประเพณี  นับว่า สถาปนิกบรรพบุรุษท่านได้มอบสมบัติทางปัญญา (Intellectual prorerty) ไว้ให้ นับเป็นมรดกอันล้ำค่า  สมควรสืบทอดต่อไปเท่าที่ภาวะของสังคมจะอำนวยให้

    หนังสือพระเมรุมาศ  พระเมรุ  และเมรุ  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เล่มนี้กำเนิดสืบทอดต่อไปด้วยพระบารมีของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี  พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ผู้เขียน

 

ภาพรูปแบบพระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔

คลิกรายการเพื่อดูรูป

๑.
พระเมรุ พระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์  (สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๔)
เป็นภาพถ่ายเมรุครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕
๒.
พระเมรุมาศ (เมรุใหญ่) ซึ่งมีพระเมรุทองอยู่ภายใน  พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระเมรุมาศตามแบบโบราณราชประเพณีศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์  องค์สุดท้าย  ซึ่งกระบวนแห่มีรูปสัตว์หิมพานต์ตั้งบุษบกไตรสังเค็ด แห่เป็นคู่ ๆ รวม ๔๐ คู่ด้วย
๓.
พระเมรุบรรพตสมโภชพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์  เมื่องานแล้ว สมโภชพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าจันทรมณฑล แต่พระราชเพลิงในพระเมรุน้อยที่เชิงภูเขา
๔.
งานออกพระเมรุ  พระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์  พ.ศ. ๒๔๒๓
๕.
พระเมรุพิมาน (พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส ซ้าย) พระเมรุมณฑป (ขวา) และพระเมรุประตู สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  สยามมกุฎราชกุมาร (องค์แรก)
๖.
พระเมรุพระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงษ์  ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
๗.
พระเมรุ ๕ ยอด  สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย (กรมพระเทพนารีรัตน์) และสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
ณ ท้องสนามหลวง (วัตถุก่อสร้างที่เหลือจากงานพระเมรุเป็นต้นกำเนิดให้เกิด “โรงพยาบาลศิริราช”)
๘.
พระเมรุ เจ้าฟ้านภาพรจำรัสศรี  และพระองค์เจ้าสมัยวุฒิวโรดม ณ ท้องสนามหลวง
๙.
พระเมรุ พระองค์เจ้าอิสริยาภรณ์ และพระองค์เจ้าอรองค์ฯ พระเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ ที่วัดเทพศิรินทร์ เป็นงานแรก
๙.
พระเมรุพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช  ที่สวนมิสกวัน พ.ศ.๒๔๕๒
๑๐.
พระเมรุ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภชที่สวนมิสกวัน ต่อมาเป็นเมรุเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม
(สมเด็จพระปิยมาวดีฯ) เป็นงานที่สอง
๑๑.
พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นแบบพระเมรุมาศแบบใหม่ครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์
๑๒.
พระเมรุ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช วัดเบญจมบพิตร
๑๓.
พระเมรุ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พ.ศ.๒๔๖๕
๑๔.
พระเมรุมาศ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระพันปีหลวง ในรัชกาลที่ ๖ และ ๗
เมรุเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม (สมเด็จพระปิยมาวดีฯ) เป็นงานที่สอง
๑๕.
พระเมรุ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงทางสถาปัตยกรรม
ทรงมณฑปผสมปรางค์ งามแปลกตาผสมผสานกันดี
๑๖.
พระเมรุ  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณอินทราชัย
๑๗.
พระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหลัง (ตะวันออก) แสดงศาลาเปลื้องเครื่อง
๑๘.
พระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทัศนียภาพเวลากลางคืน โปร่ง-เบา-เรียบ-ง่าย
งามสง่า  เป็นสถาปัตยกรรมสมบูรณ์ลักษณ์(ARCHITECTONIC)
๑๙.
พระเมรุ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี  พระอัครราชเทวี โปรดสังเกต ยอดมณฑป งดงามยิ่ง การออกจตุรมุขสมส่วน
๒๐.
พระเมรุ  สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข  เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
สถาปัตยกรรมเรือนยอดทรงมงกุฏมั่นคง  งดงาม  เป็นสถาปัตยกรรมสมบูรณ์ลักษณ์ (ARCHITECTONIC)
พระเมรุมาศเป็นสถาปัตยกรรมกำมะลอชั่วคราว (PSEUDO ARCHITECTURE) แต่มั่นคงดุจของจริง
(PERMANENT)
๒๑.
พระเมรุ  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์(จำลองแบบจากพระเมรุ
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาพิมุข)พระที่นั่งทรงธรรม (ขวา) ศาลาเปลื้องเครื่อง (ซ้าย)
๒๒.
พระเมรุมาศ  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล  รัชกาลที่  ๘
๒๓.
พระเมรุมาศ  สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี  พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗
พระบรมราชินีพระองค์สุดท้าย  ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
๒๔.
พระเมรุทิศ  เป็น  พระเมรุมณฑปขนาดน้อย
๒๕.
พระเมรุ พระบุพโพ (น้ำเหลือง) ส่วนมากจะกระทำที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
 
ที่มา  : กระทู้ "พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ "
          http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/11/K4862392/K4862392.ht

สร้างโดย: 
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 509 คน กำลังออนไลน์