รูปแบบพระเมรุ
รูปแบบพระเมรุ
|
||||||||||
![]() |
||||||||||
เผยแบบร่างพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ประธานคณะทำงานในการจัดสร้างพระเมรุ
แบบร่างที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ทรงมีพระราชวินิจฉัย |
||||||||||
![]() |
||||||||||
นาวาเอกอาวุธ กล่าวต่อไปว่า การออกแบบร่างพระเมรุครั้งนี้ ได้คำนึงถึงสถาปัตยกรรมไทย ตามแบบโบราณ
ราชประเพณี เพื่อให้พระเมรุมีความงดงามเปรียบเสมือนสรวงสวรรค์ เพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อย่างสมพระเกียรติมากที่สุด ทั้งนี้ แบบร่างพระเมรุออกเป็นทรงปราสาท โดยมีอุดมคติที่ยึดเขาพระสุเมรุเป็นหลักในการออกแบบ ซึ่งมีความหมายว่า เป็นปราสาทอันเป็นที่สถิตของเทพยดา โดยหน้าบันจะมีพระลัญจกรของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประดิษฐานอยู่ ทั้ง ๔ ด้าน นอ.อาวุธกล่าวอีกว่า หลังจากนี้ไปจะต้องไปทำรายละเอียดเพิ่มเติมในด้านโครงสร้าง อย่างไรก็ตามจะใช้โครงสร้าง ที่ทำมาจากเหล็กและจะไม่ใช่ไม้เพราะไม้หายาก แต่ในช่วงสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนีใช้ไม้ทั้งหมด แต่คิดว่า ครั้งนี้จะเปลี่ยนวิธีการเพราะไม้หายาก อย่างไรก็ตามจะใช้โครงสร้างที่ทำมาจากเหล็กเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจจะมีบางที่ จะใช้ไม้อัดเข้ามาห่อหุ้มแทน เช่น เสา ซึ่งภายนอกอาจจะมองเห็นเป็นเสาไม้ใหญ่แต่ภายในเป็นเหล็กที่บุด้วยไม้อัด นอ.อาวุธ กล่าวอีกว่า พระเมรุของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จะใช้ยอดปราสาท แต่อย่างไรก็ตามยอดพระเมรุมาศ มีความแตกต่างกันหลายแบบ เช่น ยอดมณฑปสูงที่สุด รองลงมาคือ ยอดปราสาท และยอดเกี้ยวรองลงไป ซึ่งยอดเกี้ยว ใช้ทำถวายสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี “ยอดพระเมรุมีหลายแบบ เช่น ยอดปรางค์ ยอดเจดีย์ แต่ละลักษณะนำมาใช้เป็นยอดเมรุมาศได้ทั้งนั้น แต่ขึ้นอยู่กับ ระดับศักดิ์ที่ทำให้แตกต่างกัน โดยเฉพาะยอดมณฑป จะใช้กับพระมหากษัตริย์เท่านั้น เพราะ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ , ๖ และ ๘ ใช้ยอดมณฑปที่แสดงถึงฐานานุศักดิ์ ที่ถือว่าสูงที่สุด”นอ.อาวุธกล่าว นอ.อาวุธ กล่าวอีกว่า สำหรับกำลังคนที่จะใช้ในการก่อสร้างจะเน้นในงานโครงสร้างเป็นหลักซึ่งจะใช้ระบบจ้างเหมา ส่วนเป็นรายละเอียดในงานปราณีตศิลป์จะให้ทางกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ เช่น รูปเทวดา ฉัตรเครื่องสูง และ พระโกศจันทร์ เช่นเดียวกับครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี จะใช้กำลังคนจำนวนมาก ที่สำคัญ จะเปิดโอกาส ให้กับประชาชนทั่วไปให้เข้ามาช่วยสร้างพระเมรุด้วย เหมือนสมัยพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี นอ.อาวุธอธิบายเพิ่มเติมว่าสำหรับพระเมรุเป็นลักษณะสถาปัตยกรรม ที่มีชั้นเชิงกลอน ๕ ชั้น ก่อนจะมีฉัตร ตามพระราชอิสริยศ แต่งานพระศพพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งนี้ เป็นเศวตฉัตร ๗ ชั้น โดยมีเค้าร่างของแบบเดิมมาจากสมัยสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรีที่เคยสร้างมา ยอมรับ ว่างดงามอย่างมาก แต่เชื่อมั่นว่า การก่อสร้างพระเมรุมาศครั้งนี้จะไม่ลำบาก เพราะได้มีประสบการณ์จากการจัดสร้าง พระเมรุของสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี และพระเมรุนี้จะมีลิฟท์เพื่อใช้ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงขึ้นไปบนพระเมรุมาศด้วย |
||||||||||
![]() |
||||||||||
“ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้มอบหมายให้ วธ.รับผิดชอบเรื่องการออกแบบ ก่อสร้างพระเมรุฯ และการเตรียมความพร้อม สำรวจซ่อมแซมราชรถ และพระยานมาศสามลำคาน สำหรับอัญเชิญพระศพเคลื่อนขบวนพระศพเข้าสู่พระเมรุ รวมทั้งให้จัดทำจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ที่ประชุมยังไม่ได้หารือว่าจะต้องมีการอัญเชิญราชรถองค์ใดออกมาใช้ระหว่าง |
||||||||||
ที่มา : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID =9510000002665&Keyword=%be%c3%d0%e0%c1%c3%d8 |