วิจัยในชั้นเรียน (งานวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด)
ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
การวิจัยในชั้นเรียน
- ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน
จาก พ.ร.บ.การศึกษา2542 มาตรา 24การจัดการเรียนรู้ (5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งความสามารถใช้ในการวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการต่างๆ
การวิจัยในชั้นเรียนมีความสำคัญต่อวงการวิชาชีพครูเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากครูจำเป็นต้องพัฒนา หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน การจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียน การพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียน การเพิ่มสัมฤทธิผลการเรียน และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ด้วยปัจจัยดังกล่าว จึงทำให้ครูอาจารย์ต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้วิจัย เพื่อมีสาวนร่วมในการพัฒนาการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียน และการพัฒนาวิชาชีพครูเพิ่มขึ้น
- ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน
1. การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research)หมายถึง การเสาะแสวงกาความรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ การออกแบบวิจัยเชิงทดลอง กึ่งทดลอง หรือการวิจัยแบบผสมผสาน
2. การวิจัยปฏิบัติการทางการศึกษา (Action Research in Education)หมายถึง การค้นคว้าหาคำตอบที่เชื่อมโยงทฤษฎีทางการศึกษาสู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษา โดยการคิดสะท้อนการสอนของครู มีลักษณะสำคัญคือ การปรับปรุงการปฏิบัติงานการศึกษา เป็นการเพิ่มพลังความสามารถของครู และเป็นความก้าวหน้าในวิชาชีพทางการศึกษา
3. การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research)หมายถึง การสืบสอบเชิงธรรมชาติจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน การเรียนรู้ หรือ พฤติกรรมผู้เรียน โดยที่ครูเป็นผู้วิจัยในสิ่งที่ครูปฏิบัติอยู่ มีผู้เรียน ผู้บริหาร ครูในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวิจัยด้วย
- ลักษณะสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน
1. ครูเป็นผู้วิจัยเอง
2. ผลการวิจัยสามารถแก้ปัญหาผู้เรียนได้ทันเวลา และตรงจุด
3. การวิจัยช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฎี และการปฏิบัติ
4. การเพิ่มศักยภาพการคิดสะท้อนของครูต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน
5. การเพิ่มพลังการเป็นครูในวงการการศึกษา
6. การเปิดโอกาสให้ครูก้าวหน้าทางวิชาการ
7. การพัฒนา และทดสอบการแก้ปัญหาในชั้นเรียน
8. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเรื่องการเรียนการสอน และทางแก้ปัญหา
9. การนำเสนอข้อค้นพบ และการรับฟังข้อเสนอแนะจากกลุ่มครู
10. การวิจัยและพัฒนาเป็นวงจร เพื่อทำให้ข้อค้นพบสมบูรณ์ขึ้น
- การดำเนินการวิจัย
ผู้ที่ไม่เคยชินกับการวิจัยมักจะมองการวิจัยเป็นสิ่งที่ยาก ต้องใช้เวลาในการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การออกแบบวิจัย การสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัย การใช้สถิติในการวิเคราะห์ การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ดังนั้นเพื่อให้การวิจัยในชั้นเรียนเป็นเรื่องง่ายขึ้น จึงขอเสนอแนะแนวทางที่เริ่มจากการฝึกวิจัยไปจนถึงการวิจัยที่มีลำดับขั้นตอนยุ่งยากขึ้น โดยพิจารณาวัตถุประสงค์และผลวิจัยที่จะนำไปใช้
- การเริ่มต้นการวิจัย
1. กำหนดหัวข้อของการวิจัย หัวข้อของการวิจัยในชั้นเรียนเป็นเรื่องของการปรับปรุง พัฒนา เช่น ควรมีรูปแบบการเรียนการสอนแบบใดที่จูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียน จะมีวิธีการพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียนให้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนได้อย่างไร มีวิธีการเพิ่มสัมฤทธิผลการเรียนของผู้เรียนได้อย่างไร และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบใดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตหัวข้อที่สนใจแบ่งเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 ด้านผู้เรียน ขอบเขตที่ค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับผู้เรียนแยกเป็นด้านย่อยๆได้คือ
1) เรื่องการเรียน ทำไมนักเรียนคนนี้ / กลุ่มนี้จึงมีผลสัมฤทธิ์ของการเรียนสูงหรือต่ำ ทำไมผู้เรียนจึงไม่ตั้งใจเรียน ไม่ยอมทำแบบฝึกหัด ไม่ส่งงาน ฯลฯ
2) เรื่องพฤติกรรมผู้เรียน เช่น ผู้เรียนที่ชอบแกล้งเพื่อน ชกต่อย ทะเลาะวิวาท การเข้าชั้นเรียนสาย
1.2 ด้านวิธีการสอน การสอนแบบใดที่ผู้เรียนพึงพอใจ การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทำให้ผู้เรียนพัฒนาด้านใดบ้าง การใช้สื่อแบบใดจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น ฯลฯ
1.3 ด้านผู้สอน ผู้เรียนต้องการการสอนที่มีคุณลักษณะอย่างไร พฤติกรรมแบบใดของครูที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด ฯลฯ
1.4 ด้านแหล่งเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ประเภทใดกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน การจัดตารางเรียนช่วงเช้าและช่วงบ่ายมีผลต่อพฤติกรรมการเรียนวิชาคณิตศาตร์หรือไม่ การศึกษายังแหล่งเรียนรู้มีปัญหาอุปสรรค และได้ผลดีต่อการเรียนอย่างไร ฯลฯ
2. การฝึกสังเกตและบันทึก ผู้เริ่มวิจัย ต้องฝึกฝนการสังเกต และการจดบันทึกโดยเริ่มจากเหตุการณ์ประจำวันในชั้นเรียน ผู้วิจัยฝึกการจดง่ายๆทุกวันหลังจากเลิการสอน ครูควรฝึกการสังเกต และจดบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ทุกวัน เพื่อให้เคยชินกับการมองสถานการณ์หรือผู้เรียนอย่างวิเคราะห์ทุกครั้งที่จดเหตุการณ์ ต้องพยายามคิดสะท้อน เพื่อหาเหตุผล หรือวิธีการตลอดจนทฤษฎีทางการศึกษา
3. วางแผนการวิจัย การศึกษางานวิจัยจะเป็นที่จุดใด มีขอบเขตพียงใด และใช้เวลาในการศึกษาเท่าใด
- สำรวจปัญหา
- กำหนดหัวข้อ
- วางแผน
- ดำเนินการ
- เขียนข้อค้นพบ
- สะท้อนความคิด
- นำเสนอ
4. การดำเนินการวิจัย
การดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาว่าจะเก็บข้อมูลประเภทใด จึงตอบคำถามการวิจัยที่กำหนดไว้ได้แหล่งข้อมูลมาจากไหน จะได้กรอบคำถามอย่างไรจึงจะช่วยให้คิดวิเคราะห์ได้ถูกต้อง
การเก็บข้อมูลได้แล้ว ท่านเรียนรู้อะไรใหม่จากข้อมูลที่ได้ ผลจากการเรียนรู้ให้ประโยชน์ต่อผู้เรียนของท่านหรือสำหรับวงการวิชาชีพครูอย่างไร
ท่านมีหลักทางการศึกษาในการวิเคราะห์ข้อมูลท่านวิจัยได้หรือไม่ สิ่งที่ท่านพบเป็นการปิดช่องว่างระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติหรือเปล่า
5. การเขียนข้อค้นพบ หากเป็นการเพิ่มพูนข้อคิดเห็น ความรู้ที่ประมวลได้ จากการปฏิบัติการของครู ก็อาจเขียนในรูปของการอธิบายปรากฏการณ์ตามแผนการวิจัยของครู
6. การสะท้อนความคิด
ลักษณะเด่นของการวิจัยในชั้นเรียน คือการสะท้อนความคิดที่ได้จากข้อค้นพบ ความคิดที่ได้อาจเป็นการนำเสนอหลักการใหม่ทางการศึกษา ดังนั้นจะต้องฝึกฝนการสะท้อนความคิดให้ชัดเจนในผลงานนั้น
7. การขยายผลการวิจัยสู่ชุมชน
โรงเรียน/กลุ่มโรงเรียนจะต้องจัดเวทีให้ครูได้เสนอผลการวิจัย และช่วยให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้ครูได้พัฒนาข้อค้นพบดีขึ้น
- สรุป
การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการสืบสอบเชิงธรรมชาติ ซึ่งพึ่งพิงเนื้อหาสาระของรายวิชาที่สอน โดยครูเป็นผู้วิจัย งานที่ครูปฏิบัติอยู่ในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการสอน การเรียนรู้ และผู้เรียนอันนำไปสู่ความก้าวหน้า การวิจัยในชั้นเรียนต้องมีลักษณะสำคัญคือ ผลการวิจัยเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสิทธิภาพการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน ความคิดสะท้อนในการวิจัยตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงการครู
การเขียนโครงร่างงานวิจัยในชั้นเรียนส่วนประกอบที่สำคัญ
-
1. ชื่อเรื่องงานวิจัย ชื่อเรื่องควรสื่อความหมายได้ดี กะทัดรัด มีความเฉพาะเจาะจงในสิ่งที่ศึกษา
-
2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เขียนจากภาพภาพกว้างมาสู่ภาพเล็ก เชื่อมโยงปัญหาเขียนให้ตรงประเด็น กระชับเป็นเหตุเป็นผล มีการอ้างอิงการวิจัยเพื่อให้น่าเชื่อถือ
-
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย ให้สอดคล้องกับหัวข้อการวิจัย อยู่ในขอบข่ายของประเด็นปัญหาการวิจัยที่กำหนดไว้อาจมีข้อเดียว หรือหลายข้อก็ได้
-
4. สมมติฐานการวิจัย ควรเขียนให้ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ใช้ภาษาง่าย มีความหมายชัดเจนสอดรับกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ และชี้ทิศทางของการวิจัยหรือตัวแปร
-
5. ประโยชน์ของการวิจัยหรือผลที่คาดว่าจะได้รับ ควรเขียนเป็นข้อ ตรงตามวัตถุประสงค์ และเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการทำวิจัย หรือการนำผลจากการวิจัยไปใช้
-
6. ขอบเขตของการวิจัย เช่น ตัวแปร ระยะเวลาที่ทำการวิจัย กลุ่มประชากร
-
7. ข้อตกลงเบื้องต้น เพื่อทำความตกลงไว้ก่อนว่าสิ่งใดที่ไม่ได้ทำการศึกษาในการวิจัยดังกล่าว
-
8. นิยามศัพท์ เพื่ออธิบายความหมายของคำศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยเพื่อให้เข้าใจได้ตรงกัน เช่น นักเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
-
9. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การเขียนผลจาการศึกษาค้นคว้า ควรเขียนในลักษณะสังเคราะห์ เพื่อให้เห็นกรอบการวิจัยหรือปัญหาการวิจัยและเขียนแหล่งอ้างอิงให้ชัดเจน
-
10. วิธีดำเนินวิจัย ระบุถึงวิธีการดำเนินการวิจัย
ประชากรกลุ่มตัวอย่าง มีเกณฑ์การคัดเลือกหรือได้มาอย่างไร ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่าใด
ตัวแปร ระบุตัวแปรต้น ตัวแปรตามให้ชัดเจน
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ระบุวิธีการเก็บการบันทึกข้อมูล ระยะเวลา หรือช่วงเวลา สถานที่ และผู้ดำเนินการเก็บข้อมูล
เครื่องมือวิจัย ระบุชนิด เครื่องมือที่ใช้ การได้มาของเครื่องมือ พัฒนาขึ้นเอง หรือใช้ของใคร ประสิทธิภาพของเครื่องมือ และวิธีใช้เครื่องมือ
การวิเคราะห์ข้อมูล ระบุวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและผลที่ได้จาการวิเคราะห์ข้อมูล
การนำเสนอรายงาน ระบุว่าวิธีการนำเสนอรายงานว่าจะใช้ตาราง แผนภูมิ หรือความเรียง
11. ปฏิทินปฏิบัติงาน เพื่อวางแผนการทำงานตามขั้นตอนการทำวิจัย และการกำหนดระยะเวลาควรมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ
12. เอกสารอ้างอิง ระบุถึงเอกสารต่างๆที่ใช้ เช่น งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ตำรา บทความ หรือข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่ผู้วิจัยได้นำมาอ้างอิงที่ได้รับการยอมรับ
ขอเป็นสมาชิกใหม่ด้วยคน ชอบงานวิชาการมากเพราะตอนนี้ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานระดับอนุบาล ซึ่งต้องมีงานวิจัยด้วย
ดังนั้นต้องการคำแนะนำเพื่อนำมาปรับใช้ในด้านการเรียนการสอนศูนย์เด็กเล็กต้นแบบเทศบาลเมืองอ่างทอง 083-2373620