สังคีตนิยม

รูปภาพของ maros

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


เพลงไทย

                                  

 เพลงไทย หมายถึง เพลงที่แต่งขึ้นตามหลักของดนตรีไทย มีลีลาในการขับร้องและบรรเลงแบบไทยโดยเฉพาะ
และแตกต่างจากเพลงของชาติอื่นๆ เพลงไทยแต่เดิมมักจะมีประโยคสั้นๆ และมีจังหวะค่อนข้างเร็ว ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากเพลงพื้นบ้าน หรือเพลงสำหรับประกอบการรำเต้นเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง ต่อมา เมื่อต้องการจะใช้เป็นเพลงสำหรับร้องขับกล่อม และประกอบการแสดงละคร ก็จำเป็นต้องประดิษฐ์ทำนองให้มีจังหวะช้ากว่าเดิม และมีประโยคยาวกว่าเดิม ให้เหมาะสมที่จะร้องได้ไพเราะ  จึงได้คิดแต่งทำนองขยายส่วนขึ้นจากของเดิมเป็นทวีคูณ เรียกเพลงในอัตรานี้ว่า เพลงสองชั้น เพราะต้องแต่งขยายจากเพลงเดิมอีกชั้นหนึ่ง และเรียกเพลงในอัตราเดิมนั้นว่า เพลงชั้นเดียว
เพลงไทยในสมัยอยุธยา เป็นเพลงสองชั้นและชั้นเดียวเกือบทั้งสิ้น เพราะต้องใช้ร้องสำหรับขับกล่อม และประกอบการแสดงละคร ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในสมัยนั้น
        สมัยรัตนโกสินทร์เป็นสมัยที่นิยมเล่นสักวากันมาก  ผู้เล่นสักวาจะต้องแต่งกลอนเป็นกลอนสด ด้วยปฏิภาณในปัจจุบัน ถ้าจะร้องอย่างเพลงสองชั้นเหมือนกับการร้องประกอบการแสดงละคร จะทำให้ผู้แต่งมีเวลาคิดกลอนน้อยลง อาจแต่งไม่ทันหรืออาจไม่ไพเราะเท่าที่ควร จึงคิดแต่งทำนองเพลงร้อง ขยายจากทำนองเพลงสองชั้นขึ้นไปอีกเท่าตัว สำหรับใช้ในการร้องสักวา เรียกเพลงในอัตรานี้ว่า เพลงสามชั้น  ดังนั้น เพลงในอัตราสามชั้นจะมีความยาวเป็น ๒ เท่าของเพลงสองชั้น และเพลงสองชั้นจะมีความยาวเป็น ๒ เท่าของเพลงชั้นเดียว  การบรรเลงจะเลือกบรรเลงเพลงอัตราหนึ่งอัตราใดเพียงอย่างเดียวก็ได้ ตามโอกาสที่เหมาะสม ถ้าบรรเลงติดต่อกันทั้ง ๓ อัตรา เรียกว่า เพลงเถา
                                               

การแบ่งประเภทของเพลงไทยตามอัตราจังหวะของเพลง
       1. เพลงชั้นเดียว เป็นเพลงที่ประโยคสั้นที่สุด เป็นของที่มีมาแต่ดั้งเดิมได้แก่ เพลงเร็วและเพลงฉิ่ง เพลงชั้นเดียวนี้มีทั้ง
           เพลงบรรเลงล้วนๆ และเพลงบรรเลงรับร้อง ได้แกเพลงเร็วและเพลงฉิ่งต่างๆ
       2. เพลงสองชั้น เป็นเพลงที่ขยายชั้นมาจากเพลงชั้นเดียวอีกเท่าตัว เช่นเพลงชั้นเดียวมี ๒ ห้อง เพลงสองชั้นจะต้อง
           มี ๔ ห้องเพลงเป็นต้น และตัวโน้ตโดยเฉพาะตัวที่เป็น "ลูกตก" (ลูกตกจังหวะ) ก็จะต้องได้รับการยึดขยายออกไป
           อีกเท่าตัวเช่นเดียวกัน

       3. เพลงสามชั้น เพลงที่ยึดขยายมาจากเพลงในอัตราจังหวะ ๒ ชั้นอีกเท่าตัว โดยยึดหลักเดียวกันในการขยายจากชั้นเดียว
           ขึ้นมาเป็นสองชั้น เพลงในอัตรานี้ที่เป็นของเก่าจริงๆ บ้างก็มี แต่มีจำนวนน้อยมากเช่น เพลงตระโหมโรงบางเพลง
           เป็นต้น เป็นของที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ดีขึ้นชื่อว่าเพลงในอัตราจังหวะ ๓ ชั้นแล้วส่วนมาก
           จะเป็นเพลงที่แต่งขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

                                                          
 

 

สร้างโดย: 
คุณครูมธุรส ชุ่มทอง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 268 คน กำลังออนไลน์