เคมีกับชีวิต

รูปภาพของ naiii_ja

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


 

ธาตุเป็นองค์ประกอบของชีวิต   

      สิ่งมีชีวิตทั้งหลายนับตั้งแต่จุลินทรีย์ แมลงตัวเล็กๆ ไปจนถึงสัตว์ที่มีร่างกายใหญ่โต คน และพืช ล้วนประกอบขึ้นจาก เซลล์ (cell) ซึ่งนับเป็นหน่วยเล็กที่สุดที่แสดงถึงความมีชีวิต

โครงสร้างระดับต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต

       เซลล์มีองค์ประกอบที่เล็กลงไปอีกคือ อวัยวะในเซลล์ (organelles) ได้แก่ เยื่อเซลล์ นิวเคลียส และไมโทคอนเดรีย เป็นต้น
อวัยวะในเซลล์เหล่านี้ล้วนประกอบไปด้วยโมเลกุลและอะตอมของธาตุต่างๆ เช่นเดียวกับสสารที่ไม่มีชีวิตทั้งหลาย แต่ในจำนวนธาตุ 90 กว่าชนิดที่พบในธรรมชาติ มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่พบในสิ่งมีชีวิต
ธาตุที่พบมากที่สุดในสิ่งมีชีวิตเป็นธาตุอโลหะที่อยู่ส่วนบนๆ ของตารางธาตุและมีมวลอะตอมต่ำๆ ได้แก่ ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน และ คาร์บอน แต่รวมๆ กันแล้วธาตุเหล่านี้มีมวลมากกว่า 99% ของน้ำหนักเซลล์

 

ตารางธาตุ

       ธาตุที่พบมากรองลงมาได้แก่ ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม และคลอรีน ธาตุอื่นๆ ที่พบในปริมาณน้อยแต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตและจะขาดเสียมิได้ ได้แก่ เวเนเดียม โครเมียม แมงกานีส เหล็ก โคบอลท์ นิเกิล ทองแดง สังกะสี เซเลเนียม รวมทั้งธาตุที่มีมวลอะตอมสูงมากอีกสองตัวคือ โมลิบดินัม และไอโอดีน
ธาตุต่างๆ ที่พบในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะรวมตัวกันเป็นโมเลกุลของน้ำ เกลืออนินทรีย์และสารอินทรีย์หลากหลายชนิด
สารอินทรีย์ที่พบในสิ่งมีชีวิตมีชื่อเรียกรวมๆ ว่า ชีวโมเลกุล (biomolecules)
ชีวโมเลกุลบางชนิดมีโครงสร้างแบบง่ายๆ บางชนิดมีขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อน อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการจัดกลุ่มชีวโมเลกุลออกเป็นสี่ประเภทหลักๆ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) ลิพิด (lipid) โปรตีน (protein) และ กรดนิวคลีอิก (nucleic acid)
องค์ประกอบย่อยของสารชีวโมเลกุลหลักเหล่านี้ยังสามารถเกิดอนุพันธ์ได้หลากหลายชนิดและทำหน้าที่ที่สำคัญหลายอย่างในร่างกาย
ชีวโมเลกุลบางตัว เช่น ฮอร์โมน วิตามิน รงควัตถุ สารสื่อสัญญาณประสาท หรือ ยาปฏิชีวนะ อาจมีสูตรโครงสร้างที่แปลกตาไปจากชีวโมเลกุล 4 ประเภทข้างต้น แต่มันก็สังเคราะห์มาจากสารตัวกลาง (intermediates) ต่างๆ ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง (metabolism) ของสารอาหารหลักข้างต้นทั้งสิ้น

สร้างโดย: 
นายดนัย ทัดแก้ว โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 398 คน กำลังออนไลน์