ดอกไม้ในวรรณคดีไทย

การเวก

 

                                    “… สามกษัตริย์เที่ยวชมบุปผชาติ     ดอกดกเดียรดาษในสวนขวัญ   

                                    เกดแก้วพิกุลแกมพิกัน                    จวงจันทร์ลำดวนกระดังงา …”

วรรณคดี :  “ รามเกียรติ์ ”

ผู้ประพันธ์ :   พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

 

ชื่อพฤกษศาสตร์   :   Artabotrys  siamensis  

ชื่อสามัญ             :   Artabotrys

ชื่อวงศ์         :   Annonaceae

ชื่ออื่น ๆ        :   กระดังงาเถา  กระดังงัว

         การเวกเป็นไม้เถาขนาดกลางถึงใหญ่  เนื้อไม้แข็ง   พบมากตามป่าชื้นทั่ว ๆ ไปนิยมปลูกให้เลื้อยเป็นไม้ซุ้มตามเรือนต้นไม้   หรือซุ้มประตู  ใบร่มทึบ  อายุยืนมาก  ออกดอกตลอดปี   ขึ้นได้ดีในทุกที่ทุกแห่งที่มีความชื้นพอสมควร  ชอบอยู่กลางแจ้ง   ลำต้นอาจมีขนาดโคนต้นใหญ่ ๘ - ๑๒ นิ้ว
         ลำต้นมีผิวเปลือกค่อนข้างเรียบ  สีเทาอมดำหรือน้ำตาล   กลิ่นเหม็นเขียวเพราะต้นมีน้ำมันกระจายอยู่ 
         ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวจัด  เป็นมัน  รูปมนรี  ปลายแหลม  ยาวประมาณ ๖ - ๗ นิ้ว  แต่กว้างกว่ากระดังงา 
         ดอกอ่อนเป็นสีเขียว   เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นขาว  เหลืองอ่อน  จนแก่จัดมีสีเหลืองเข้ม   มีกลิ่นหอมรุนแรงและส่งกลิ่นไปได้ไกล  ดอกเป็นกลีบเรียวยาวแยกจากกัน ๖ กลีบ   ดอกใหญ่กว่าและกลีบดอกหนากว่ากระดังงา  เมื่อดอกแก่จะร่วงเป็นผล ผลมีลักษณะกลมรี เป็นพวง  สีเขียว  และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม   เมื่อผลแก่จัดภายในผลแก่มีเมล็ดสีดำเป็นเมือก ๆ 
         การขยายพันธุ์   นิยมใช้กิ่งตอน  เพราะโตเร็วกว่าการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ข้อมูลจาก : http://www.wangtakrai.com/panmai    พรรณไม้งามที่วังตะไคร้ 

สร้างโดย: 
ดวงพร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 400 คน กำลังออนไลน์