งบทดลองและกระดาษทำการ 6 ช่อง

การหายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภท
ก่อนที่จะจัดทำงบทดลอง จะต้องหายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทเสียก่อน ถ้าทำบัญชีด้วยมือ เมื่อหายอดคงเหลือได้แล้วจะใช้ดินสอเขียนจำนวนเงิน ซึ่งเรียกว่า Pencil Footing

การหายอดคงเหลือมีขั้นตอน ดังนี้

  1. หายอดรวมโดยเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่บรรทัดสุดท้ายของบัญชีที่จะหายอดคงเหลือโดยเริ่มที่บัญชีแรก คือ บัญชีเงินสด และเริ่มที่ด้านเดบิต โดยใช้สูตร หรือไอคอน Auto Sum
  2. หายอดรวมทางด้านเครดิต ด้วยวิธีการเดียวกัน โดยใช้สูตร หรือไอคอน Auto Sum
  3. หาผลต่างด้านเดบิตและด้านเครดิตและนำผลลัพธ์ไปไว้ทางด้านที่เหลืออยู่ในช่องรายการ โดยใช้สูตร
  4. สำหรับบัญชีที่มียอดเหลือปกติทางด้านเครดิตก็ใช้วิธีการเดียวกัน
  5. สำหรับบัญชีที่มีรายการเพียงด้านเดียว ให้รวมยอดเพียงอย่างเดียว

การทำงบทดลอง
หลังจากหายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การทำงบทดลอง

งบทดลอง (Trial Balance) หมายถึง งบที่ทำขึ้นเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกบัญชี

ขั้นตอนในการทำงบทดลองมีดังนี้

  1. เปิดสมุดงานชื่อ TB เพื่อเรียกแบบฟอร์มงบทดลองขึ้นมาใช้งาน
  2. จัดเก็บสมุดงานในชื่อใหม่
  3. พิมพ์ชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีในช่องชื่อบัญชีและเลขที่บัญชี
    (ยกเว้นบัญชีที่มียอดคงเหลือเป็น 0 )
  4. นำยอดคงเหลือไปใส่ในช่องเดบิตหรือเครดิต โดยดูจากยอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภท
  5. รวมยอดทั้งสองด้าน
กระดาษทำการ
กระดาษทำการ (Work Sheet or Working Paper)
หมายถึง กระดาษร่างที่ช่วยให้การจัดทำงบการเงินสะดวกรวดเร็วขึ้น ในกรณีที่ไม่มีรายการปรับปรุงกิจการจะทำกระดาษทำการ 6ช่อง (Six-Column Working Paper) ขึ้นก่อนการจัดทำงบการเงิน

รูปแบบของกระดาษทำการ 6 ช่อง ประกอบด้วย

1. ส่วนหัว ประกอบด้วย 3 บรรทัด		
ชื่อกิจการ		คำว่า "กระดาษทำการ"		
สำหรับรอบระยะเวลา...............สิ้นสุดวันที่..................	
2. ช่องชื่อบัญชี	
3. ช่องเลขที่บัญชี	
4. ช่องงบทดลอง ซึ่งประกอบด้วย ช่องเดบิตและช่องเครดิต	
5. ช่องงบกำไรขาดทุน ซึ่งประกอบด้วย ช่องเดบิตและช่องเครดิต	
6. ช่องงบดุลซึ่งประกอบด้วย ช่องเดบิตและช่องเครดิต

การจัดทำกระดาษทำการมีขั้นตอนดังนี้

  1. พิมพ์ชื่อกิจการที่ A1 และจัดกึ่งกลางระหว่างคอลัมน์ A-คอลัมน์ N
  2. พิมพ์คำว่ากระดาษทำการที่ B1 และจัดกึ่งกลางระหว่างคอลัมน์ A-คอลัมน์ N
  3. พิมพ์ วัน เดือน ปี ที่จัดทำกระดาษทำการที่ C1 และจัดกึ่งกลางระหว่างคอลัมน์ A-คอลัมน์ N
  4. ย่อ-ขยายคอลัมน์ต่าง ๆ ตามรูปแบบโดยเริ่มที่คอลัมน์ A สำหรับช่องเดบิตและเครดิต กำหนดความกว้างให้พอเหมาะและมีขนาดเท่ากัน
  5. ตีเส้นตามรูปแบบ
  6. จัดเก็บในสมุดงานชื่อ WP6

วิธีทำกระดาษทำการ 6 ช่อง
หลังจากจัดเตรียมแบบฟอร์มกระดาษทำการ 6 ช่อง ไว้เรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนต่อไป คือ วิธีทำกระดาษทำการ 6 ช่อง

ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  1. เปิดสมุดงานชื่อ WP6 (ใช้เมนู File เลือกคำสั่ง Open หรือไอคอน Open หรือกด Ctrl+O)
  2. จัดเก็บสมุดงานในชื่อใหม่ (ใช้เมนู File เลือกคำสั่ง Save As)
  3. พิมพ์หัวกระดาษทำการ (ชื่อกิจการและวัน เดือน ปี ที่จัดทำกระดาษทำการ)
  4. พิมพ์รายการจากงบทดลองหรือจากบัญชีแยกประเภทลงในแบบฟอร์มหรือใช้วิธีคัดลอก
  5. นำจำนวนเงินของบัญชีหมวด 1 หมวด 2 และหมวด 3 ไปไว้ในงบดุลตามด้านที่ปรากฏในงบทดลอง (โดยวิธีคัดลอก)
  6. นำจำนวนเงินของบัญชี หมวด 4 และหมวด 5 ไปไว้ในงบกำไรขาดทุนตามที่ปรากฏในงบทดลอง (โดยวิธีคัดลอก)
  7. รวมยอดที่ช่องเดบิตและเครดิตของงบกำไรขาดทุนและงบดุล โดยเริ่มที่ช่องเดบิตของ งบกำไรขาดทุน
  8. ที่เหลือใช้วิธีคัดลอก
  9. หาผลต่างระหว่างช่องเดบิตและเครดิตของงบกำไรขาดทุนและงบดุล
    (ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดผลต่างจะต้องเท่ากัน)
    โดยใช้สูตร และผลต่างที่ได้คือ กำไรสุทธิกับขาดทุนสุทธิ
    (ถ้าช่องเดบิตของงบกำไรขาดทุน < ช่องเครดิต แสดงว่ากำไรสุทธิ
    แต่ถ้าช่องเดบิตของงบกำไรขาดทุน > ช่องเครดิตแสดงว่าขาดทุนสุทธิ)

สร้างโดย: 
ครูชุลีกร พินธิระ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 342 คน กำลังออนไลน์