เนื้อหาสอบ O-NET

สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ

1. สนามแม่เหล็กจากกระแสไฟฟ้าผ่านในลวดตรงยาว

             เมื่อนำเข็มทิศไปวางใกล้ลวดตรงที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน พบว่าแนวเข็มทิศมีการเปลี่ยนแปลงไปจากแนวเหนือ-ใต้เดิม แสดงว่ารอบ ๆ ลวดมีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้น การหาทิศของสนามแม่เหล็กรอบลวดตรง หาได้โดยใช้กฎมือขวา ซึ่งทำได้โดยใช้มือขวากำรอบเส้นลวดตัวนำ ดังรูป 1, 2 ในลักษณะให้นิ้วหัวแม่มือชี้ตามทิศของกระแสไฟฟ้า ทิศทางการวนของปลายทั้งสี่จะแสดงทิศของสนามแม่เหล็กรอบ ๆ ลวดตัวนำนั้น                    

                              

รูป 1. กระแสไฟฟ้าและทิศทางของสนามแม่เหล็ก       รูป 2. การใช้กฎมือขวาหาทิศทางของสนามแม่เหล็ก

2. สนามแม่เหล็กจากกระแสไฟฟ้าผ่านในขดลวดวงกลม

             เมื่อนำเส้นลวดมาขดเป็นวงกลม แล้วผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดนั้น จะเกิดสนามแม่เหล็ก ดังรูป 3.

จากการตรวจสอบทิศของเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดกับทิศทางของกระแสไฟฟ้าพบว่า จะเป็นไปตามกฎมือขวา โดยทิศทางของกระแสไฟฟ้าตามแนวโค้งของเส้นลวดแทนด้วยนิ้วทั้งสี่ แล้วนิ้วหัวแม่มือชี้ทิศของขั้วเหนือหรือแนวเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้น

รูป 3. สนามแม่เหล็กของขดลวดวงกลม และ ของแท่งแม่เหล็ก

3. สนามแม่เหล็กจากกระแสไฟฟ้าผ่านในโซเลนอยด์

โซเลนอยด์ คือ ลวดตัวนำที่มีฉนวนหุ้มหรือสายไฟ เมื่อนำมาพันเป็นขดลวดวงกลมที่มีรัศมีคงตัว เรียงซ้อนกัน ที่ขดเป็นรูปร่างคล้ายสปริง

จากการศึกษาพบว่า เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดโซเลนอยด์จะเกิดสนามแม่เหล็กรอบ ๆโซเลนอยด์ คล้ายกับเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก

การหาทิศสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าผ่านลวดโซเลนอยด์ ให้ใช้กฎมือขวา โดยใช้ มือขวากำรอบลวดโซเลนอยด์ โดยให้นิ้วมือทั้งสี่วนไปตามทิศของกระแสไฟฟ้าในขดลวด นิ้วหัวแม่มือชี้ทิศเส้นแรงแม่เหล็กหรือชี้ไปทางขั้วเหนือที่เกิดขึ้น ดังรูป 5 , 6

แรงระหว่างลวดตัวนำสองเส้นขนานกันที่มีกระแสไฟฟ้า

           เมื่อนำเส้นลวดตรง 2 เส้น มาวางขนานกันแล้วผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในลวดทั้งสองจะเกิดแรงกระทำต่อเส้นลวดทั้งสองเนื่องจากสนามแม่เหล็กดังรูป 7 , 8

รูป 7. แรงกระทำบนเส้นลวดเส้นหนึ่งโดยสนามแม่เหล็กจากลวดอีกชุดหนึ่ง

เมื่อทิศของกระแสไฟฟ้าไปทางเดียวกัน แรงกระทำนี้จะเป็นแรงดูด

รูป 8. แรงกระทำบนเส้นลวดเส้นหนึ่งโดยสนามแม่เหล็กจากลวดอีกชุดหนึ่ง

เมื่อทิศของกระแสไฟฟ้าสวนทางกัน แรงกระทำนี้จะเป็นแรงผลัก

สรุป

1. ถ้ากระแสไฟฟ้าผ่านในลวดคู่ขนาน ในทิศทางเดียวกันจะเกิดแรงดูดกัน

2. ถ้ากระแสไฟฟ้าผ่านในลวดคู่ขนาน ในทิศตรงข้ามกันจะเกิดแรงผลักกัน

3. ขนาดของแรงกระทำระหว่างเส้นลวดทั้งสองที่วางขนานกัน แล้วมีกระแสผ่านจะแปรโดยตรงกับขนาดของกระแสไฟฟ้าในลวดทั้งสอง และแปรผกผันกับระยะห่างของลวดทั้งสอง

แรงกระทำต่อขดลวดที่อยู่ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก

        เมื่อนำขดลวดตัวนำรูปสี่เหลี่ยม วางในสนามแม่เหล็ก แล้วผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดตัวนำ ทำให้ขดลวดเกิดการหมุน แสดงว่ามีแรงขนาดเท่ากันแต่มีทิศทางตรงข้ามกันกระทำต่อขดต่อขดลวดด้านที่อยู่ตรงข้ามกัน เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าเกิด โมเมนต์ของแรงคู่ควบกระทำต่อขดขดลวด

รูป 9. ขดลวดตัวนำในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก

อ้างอิง   www.trsc.ac.th/physic56/physic_6_1/phy010.doc

สร้างโดย: 
ครูอาทร สอนสุภาพ

เยี่ยม!!มากเลยคะ

ได้ความรู้มากๆเลยครับ

รูปภาพของ pks3128

อยากได้เนื้อหาเยอะๆ

สวัสดีครับ   อาจารย์เก่งจังนะครับ

อาจารย์เก่งจังเลยค่ะ

ขอบคุณมากนะค่ะ ได้ความรู้มากๆเลยค่ะ

ช้าจัง เรียบเรียงเร็วๆๆๆ อยากจะดู

เพิ่มเนื้อหาให้แล้วนะครับ รออีกนิดนะครับกำลังจัดทำเพิ่ม

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 487 คน กำลังออนไลน์