เครื่องมือที่ใช้ในวิชาภูมิศาสตร์

รูปภาพของ naree03

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


เครื่องมือที่ใช้ในวิชาภูมิศาสตร์


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทให้ข้อมูลกับประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ มีดังนี้ 
1 ประเภทให้ข้อมูล ได้แก่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม และอินเตอร์เน็ต 
2 ประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ เข็มทิศ เครื่องมือวัดพื้นที่ เทปวัดระยะทาง เครื่องย่อขยายแผนที่ กล้องวัดระดับ กล้องสามมิติ กล้องสามมิติแบบพกพา และเครื่องมือวัดลักษณะอากาศแบบต่างๆ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บาโรมิเตอร์ และเครื่องวัดน้ำฝน เป็นต้น 
แผนที่ 
    1 แผนที่ (Map) เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง โดยการย่อข้อมูลต่างๆที่ปรากฏบนพื้นโลกให้มีขนาดเล็กลงตามมาตราส่วน และแสดงข้อมูลดังกล่าวด้วยสัญลักษณ์ลงบนวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นพลาสติก ฯลฯ 
2 ข้อมูลที่แสดงในแผนที่ มี 2 ลักษณะ คือ
(1) ข้อมูลด้านกายภาพ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ชายฝั่งทะเล เกาะ และป่าไม้ เป็นต้น
(2) ข้อมูลด้านวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น  ถนน เขื่อน ที่ว่าการอำเภอ โรงเรียน สถานีอนามัย ฯลฯ 
รูปถ่ายทางอากาศ 
   1 รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photography) เป็นรูปภาพแสดงภูมิประเทศที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปติดไว้กับเครื่องบิน 
2 หน่วยราชการที่จัดทำรูปถ่ายทางอากาศ คือ กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม 
3 การนำไปใช้ประโยชน์ มีหน่วยราชการอื่นๆ นำรูปถ่ายทางอากาศไปใช้ประโยชน์ทาด้านวิชาการและการพัฒนาความเจริญของบ้านเมือง ดังนี้
(1) ทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ต่างๆ โดยเปรียบเทียบจากรูปถ่ายในระยะเวลาแตกต่างกัน เช่น การสูญเสียพื้นที่ป่าชายเลย การพังทลายของตลิ่งริมแม่น้ำที่เกิดจากการกัดเซาะของคลื่น และการขยายตัวของชุมชนเมืองเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น
(2) การวางแผนพัฒนาการใช้ที่ดิน โดยนำรูปถ่ายทางอากาศไปใช้เพื่อจัดทำแผนที่และจำแนกประเภทการใช้ที่ดินของประเทศ โดยกำหนดโซนหรือแบ่งพื้นที่เป็นเขตอุตสาหกรรม และเขตชุมชนที่อาศัย เป็นต้น
(3)กาอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ รูปถ่ายทางอากาศทำให้ทราบถึงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ในพื้นที่ต่างๆ เพื่อกำหนดแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาต่อไป 
4 การศึกษาข้อมูลจากรูปถ่ายทางอากาศ ทำได้ 2 วิธี คือ ศึกษาด้วยตาเปล่าและศึกษาด้วยกล้องสามมิติ เนื่องจากรูปถ่ายทางอากาศไม่มีคำอธิบายใดๆ ดังนั้น จึงควรศึกษาควบคู่กับแผนที่ด้วยจะทำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น 
ภาพจากดาวเทียม 
   1 ภาพจากดาวเทียม (Satellite Imagery) ให้ประโยชน์อย่างมากในการศึกษาข้อมูลเพื่อสำรวจแห่งทรัพยากรธรรมชาติ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณภาพดาวเทียมลาดกระบัง ตั้งอยู่ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่เคยพึ่งพาต่างประเทศ 
2 การทำงานรับภาพของดาวเทียม เรียกว่า กระบวนการรีโมทเซนซิง
(Remote Sensing ) โดยดาวเทียมจะเก็บข้อมูลของวัตถุหรือพื้นที่เป้าหมายบนพื้นโลก จากรังสีที่สะท้อนขึ้นไปจากผิวโลกหรือจากอุณหภูมิของวัตถุนั้นๆบนพื้นผิวโลก
จากนั้นดาวเทียมจะส่งข้อมูลเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามายังสถานีภาคพื้นดิน ซึ่งจะบันทึกเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขในแถบบันทึกข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ และนำเสนอเป็นแผ่นฟิล์มหรือภาพพิมพ์ต่อๆไป 
3 ภาพจากดาวเทียมให้ประโยชน์ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ คือ นำมาใช้จัดทำแผนที่แสดงภูมิประเทศของพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจะให้รายละเอียดของตำแหน่งต่างๆ บนพื้นโลกชัดเจนยิ่งขึ้น

  อินเตอร์เน็ต 
  1 อินเตอร์เน็ต (Internet) หรือไซเบอร์สเปซ (Cyber Space) คือ ระบบการสื่อสารด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านต่างๆ อย่างสะดวกและรวดเร็ว จนทำให้โลกในปัจจุบันเข้าสู่ยุค “การสื่อสารไร้พรมแดน” 
2 บริการในอินเตอร์เน็ต (World Wind Web: WWW) จะให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง หรือ ภาพยนตร์ ข้อมูลเหล่านี้ เรียกว่า “เว็บเพ็จ” (Web Page) มีการเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกคล้ายใยแมงมุม 

เครื่องมือประเภทอุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์
อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช่วัดหรือเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆ เช่น ทิศระยะทาง ความสูง ตำแหน่งที่ตั้ง อุณหภูมิของอากาศ และปริมาณฝน เป็นต้น สรุปได้ดังนี้ 
1 เข็มทิศ เป็นเครื่องมือบอกทิศอย่างง่ายๆ โดยจะทำปฏิกิริยากับแม่เหล็กโลกและแสดงค่าของมุมบนหน้าปัด วิธีใช้เข็มทิศ คือ วางทิศในแนวระนาบ ปรับหมุนหน้าปัดให้เข็มบอกค่าบนหน้าปัดอยู่ในตำแหน่งที่หันไปทางทิศเหนือแม่เหล็กโลก
ต่อจากนั้นจึงนำเข็มทิศหันเข้าหาตำแหน่งที่ต้องการวัดมุม เช่น เสาธงโรงเรียน เข็มทิศก็จะบอกให้ทราบว่าเสาธงของโรงเรียนอยู่ในทิศใด และทำมุมกี่องศากับทิศเหนือแม่เหล็กโลก 
2 เครื่องมือวัดพื้นที่ (Planimeter) มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดทำด้วยโลหะยาวประมาณ 1 ฟุต ใช้สำหรับวัดพื้นที่ในแผนที่ โดยเครื่องจะคำนวณให้ทราบค่าของพื้นที่แสดงค่าบนหน้าปัด 
3 เทปวัดระยะทาง ใช้สำหรับวัดระยะทางของพื้นที่ เมื่อลงไปสำรวจหรือเก็บข้อมูลภาคสนาม เทปวัดระยะทางมี 3 ชนิด ได้แก่ เทปที่ทำด้วยผ้า เทปที่ทำด้วยโลหะ และเทปที่ทำด้วยโซ่ 
4 เครื่องย่อขยายแผนที่ ( patograph) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดทำแผนที่อย่างหนึ่ง เพื่อย่อหรอขยายแผนที่ให้ได้ขนาดหรือมาตราส่วนตามที่ต้องการ โดยทั่วไปนิยมใช้แบบโต๊ะไฟ ซึ่งมีแท่นวางแผนที่จ้นฉบับ และมีไฟส่องอยู่ใต้กระจก ทำให้เห็นแผนที่ต้นฉลับปรากฏเป็นเงาบนกระจกอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ผู้จัดทำแผนที่ดังกล่าว จะต้องลอกลายเพื่อย่อหรอขยายแผนที่ด้วยมือของตนเอง 
5 กล้องวัดระดับ (Telescope) เป็นอุปกรณ์วัดระดับความสูงจากพื้นดิน เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างถนน โดยจะช่วยกำหนดระดับแนวถนนได้ตามที่ต้องการ 
6 กล้องสามมิติ หรือสเตริโอสโคป (Stereoscope) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่นั้นๆ
เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ
เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาทางภูมิศาสตร์อย่างหนึ่ง มีหลายชนิดดังนี้ 
1 เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิของอากาศ โดยทั่วไปนิยมใช้แบบหลอดแก้วที่บรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์ไว้ภายใน ค่าของอุณหภูมิ 2 ระบบ ดังนี้
(1)ระบบเซลเซียส (0-100 องศาC)
(2)ระบบฟาเรนไฮต์(32-212 องศา F) 
  2 บารอมิเตอร์ (Barometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดความกดอากาศ มี 2 ชนิด คือ
(1) แบบปรอท ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 2 อย่าง คือ หลอดแก้วและอ่าวแก้วที่บรรจุปรอท
(2)แบบแอนิรอยด์ (Aneroid) เป็นแบบตลับโลหะขนานเล็ก ที่หน้าปัดจะมีเข็มแสดงค่าความกดอากาศไว้
  3 แอโรเวน(Aerovane) เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดทิศทางและความเร็วของลม แยกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ชนิด ดังนี้ 
(1) แอนนิโมมิเตอร์ (Anemometer) ใช้วัดความเร็วของลม
(2) วินเวน (Wind Vane) ใช้วัดทิศทางของลม มีสัญลักษณ์เป็นรูปไก่หรือลูกศร
4 เครื่องวัดน้ำฝน (Rain Gauge) ทำด้วยโลหะทรงกระบอกซ้อนกัน 2 ชั้น
5 ไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer) ใช้วัดความชื่นของอากาศ โดยมีเส้นผมเป็นอุปกรณ์สำคัญ ถ้าอากาศมีความชิ้นสูงจะทำให้เส้นผมยืดตัว แต่ถ้ามีความชื้นน้อยเส้นผมจะหดตัว ทั้งนี้หน้าปัดจะแสดงค่าความชื้นบนกระดาษกราฟให้เห็น
  6 ไซโครมิเตอร์ (Psychrometer) เป็นอุปกรณ์ใช้วัดความชื้นของอากาศอีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วยเทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน คือ เทอร์โมมิเตอร์ปรอท (เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มแห้ง) และเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้ผ้ามัสลินหล่อน้ำให้เปียกอยู่ตลอดเวลา (เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มเปียก)

 

สร้างโดย: 
นางสาวนารี มะเดื่อ

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ มีหลากหลายชนิด ขึ้นอยูกับการนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ข้อเสียของเข็มทิศคืออะไรค่ะ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 1 คน และ ผู้เยี่ยมชม 425 คน กำลังออนไลน์

รายชื่อสมาชิกที่ออนไลน์

  • Thaniya Sriwichai