ละครนอก.. หนึ่งในละครไทยที่เด็กไทยต้องรู้

รูปภาพของ tuktik3016

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


ละครนอก.. หนึ่งในละครไทยที่เด็กไทยควรรู้

นักแสดงละครนอก (เรื่องสังข์ทอง) ในสมัยรัชกาลที่ 6

        ละครนอกเป็นละครของภาคกลาง นัยว่าวิวัฒนาการมาจากโนรา เพราะมีความมุ่งหมายเช่นเดียวกันคือ ดำเนินเรื่องรวดเร็ว ใช้ภาษาของสามัญชนมุ่งเน้นเรื่องราวตลกขบขัน ไม่มีแบบแผนที่ตายตัว
       ผู้แสดง
       ในสมัยโบราณใช้ผู้ชายแสดงล้วน เริ่มมีผู้หญิงแสดงในปลายสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการห้ามมิให้บุคคลทั่วไปมีละครผู้หญิง ในตอนหลังผู้แสดงเป็นผู้หญิงโดยมาก ผู้ชายเกือบจะไม่มี ตัวละคร มีครบทุกตัวตามเนื้อเรื่อง ไม่จำกัดจำนวน
       วงดนตรี
       ใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นเครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ ได้ทั้งนั้น
วงปี่พาทย์เครื่องห้า
       
มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวง  คือ
           (1)ปี่ใน             (2)ระนาดเอก               (3)ฆ้องวงใหญ่       (4)ตะโพน        (5)กลองทัด                  (6)ฉิ่ง
วงปี่พาทย์เครื่องคู่ 
 มีเครื่องดนตรีผสมอยู่ในวง คือ
 (1)ปี่ใน   (2)ปี่นอก   (3)ระนาดเอก  (4)ระนาดทุ้ม     (5)ฆ้องวงใหญ่    (6)ฆ้องวงเล็ก    (7)ตะโพน     (8)กลองทัด    (9)ฉิ่ง
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ 
มีเครื่องดนตรีผสมอยู่ในวง คือ
(1)ปี่ใน  (2)ปี่นอก   (3)ระนาดเอก (4)ระนาดทุ้ม  (5)ระนาดเอกเหล็ก  (6)ระนาดทุ้มเหล็ก  (7)ฆ้องวงใหญ่  (8)ฆ้องวงเล็ก 
(9)ตะโพน  (10)กลองทัด (11)ฉิ่ง 
       สถานที่แสดง
      โรงละคร มีฉากเป็นผ้าม่าน มีประตูเข้าออก 2 ประตู หลังฉากเป็นที่แต่งตัว และสำหรับให้ตัวละครพัก หน้าฉากเป็นที่แสดงตั้งเตียงตรงกลางหน้าฉาก
       การแต่งกาย
      ในสมัยโบราณการแต่งกายแบบง่ายๆ ผู้แสดงเป็นผู้หญิงใช่ผ้าพาดบ่าแทนสไบ หรือผู้ชายใช้ผ้านุ่งธรรมดา  ไม่มีเครื่องประดับ ต่อมาหลังจากเกิดละครในแล้วจึงมีการแต่งกายเลียนแบบเครื่องต้นของกษัตริย์ ตัวพระสวมชฎา ตัวนางสวมเครื่องประดับศีรษะตามฐานะ เช่น มงกุฎกษัตรี รัดเกล้ายอด รัดเกล้าเปลว และกระบังหน้า เสื้อผ้าปักดิ้นเลื่อมแพรวพราว
       วิธีการแสดง
       มีคนบอกบท มีต้นเสียงและลูกคู่สำหรับร้อง บางตัวละครอาจร้องเอง การรำเป็นแบบแคล่วคล่องว่องไวพริ้งเพรา จังหวะของการร้องและการบรรเลงดนตรีค่อนข้างเร็ว เวลาเล่นตลกมักเล่นนานๆ ไม่คำนึงถึงการดำเนินเรื่อง และไม่ถือขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ตัวกษัตริย์หรือมเหสีจะเล่นตลกกับเสนาก็ได้ เริ่มต้นแสดงก็จับเรื่องที่เดียว ไม่มีการไหว้ครู
       เรื่องที่ใช้แสดง
      เรื่องที่ละครนอกแสดงได้สนุกสนานเป็นที่นิยมแพร่หลาย บทที่สามัญชนแต่งได้แก่ เรื่องแก้วหน้าม้า ลักษณวงศ์ และจันทโครพ บทที่เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ได้แก่ เรื่องสังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย ไชยเชษฐ์ คาวี มณีพิชัย และไกรทอง ยกเว้น  3  เรื่อง คือ รามเกียรติ์  อิเหนา  และ อุณรุท
 
แหล่งอ้างอิง 
สร้างโดย: 
ครูศุภรัตน์ ม่วงทอง โรงเรียนปิยะบุตร์ จังหวัดลพบุรี

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 471 คน กำลังออนไลน์