ป่าสักชลสิทธิ์มรดกชีวิตและสายน้ำ

รูปภาพของ nuthip501

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


ประวัติเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

      

 

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป้นเขื่อนกั้นแม่น้ำป่าสักที่อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และอำเภอ วังม่วงจังหวัดสระบุรี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ภาพแสดงพื้นที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป็นเขื่อนดินชนิดแกนดินเหนียว ยาว 4.86 กิโลเมตร ความกว้างสันเขื่อน 10 เมตร ความกว้างฐานเขื่อน

184.40 เมตร ความสูง 31.50 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำประมาณ 120,000 ไร่ หรือประมาณ 170 ตารางกิโลเมตร

สามารถเก็บกักน้ำในอ่างได้ 785 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 19,231 ล้านบาท (อุษณีย์ เกษมสันต์,2552 : 160 )

ประโยชน์สำคัญของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์คือ

 

   1. เป็นแหล่งประมงน้ำจืดและสร้างอาชีพให้แก่ชุมชนในบริเวณรอบ ๆ เขื่อน

2. เป็นแหล่งท่องเที่ยวเป็นที่พักผ่อนของประชาชนทั่วไป

3. เป็นประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม

                      

  4. เป็นประโยชน์ต่อระบบชลประทานของประเทศและผลักดันน้ำเค็ม

                                       5. ช่วยบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ตอนล่าง คือกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

แม่น้ำป่าสัก

 

เป็นแม่น้ำที่เกิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์อักขรานุกรมภูมิศาตร์ไทยระบุว่า ต้นน้ำเกิดจากซีกด้านใต้ของทิวเขาในตำบลอีปุ่ม อำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย จากนั้นไหลจากเหนือลงสู่ใต้ ผ่านจังหวัดเพชรบุรณ์ ลพบุรี สระบุรี  ไหลเข้าเขตจังหวัดลพบุรีทางตอนเหนือของอำเภอชัยบาดาลล้วไหลมาตามแนวเหนือใต้ ผ่านอำเภอท่าหลวง และอำเภอพัฒนานิคม ออกไปยังสระบุรี  ความยาวช่วงที่ผ่านจังหวัดลพบุรีประมาณ  120  กิโลเมตร เป็นแม่น้ำที่มีร่องน้ำลึก  มีตลิ่งสวูงชันมากในฤดูแล้ง ที่ราบลุ่มแม่น้ำมีบริเวณแคบ และคดเคี้ยวไปมาตลอดสาย   และเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใต้เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ณ บริเวณหน้าวัดพนัญเชิง แม่น้ำป่าสักมีความยาวประมาณ 513 กิโลเมตร ในอดีตแม่น้ำป่าสักเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญติดต่อระหว่างภาคกลางกับดินแดนตอนบนแถบชัยบาดาล เพชรบูรณ์ หล่มสัก เลย และชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเดินทางติดต่อระหว่างผู้คนในภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งดงพญาเย้นอันตรายด้วยสัตว์ป่าและไข้ป่าชุกชุมนั้น ผู้คนจึงหลีกเลี่ยงเดินทางผ่านดงพญาเย็น แต่เลือกใช้แม่น้ำป่าสักเป็นเส้นทางเดินทางไปจนถึงชัยบาดาล หรือบัวชุม จากนั้นจึงขึ้นบกเดินทางต่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะเป็นเส้นทางที่ปลอดภัยกว่า หมู่บ้านและผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ประกอบด้วยหมู่บ้านหนองบัว หมู่บ้านมะนาวหวาน หมู่บ้านชัยบาดาล และหมู่บ้านมะกอกกหวาน หมู่บ้านเหล่านี้เป็นหมู่บ้านที่ประกอบด้วยวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน บ้านเรือนตั้งอยู่โดยรอบมีตลาดและร้านค้าและใช้แม่น้ำเป็นแนวขอบหมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่ง ผู้คนที่อาศัยอยู่ในหฒุ่บ้านดังกล่าวเป็นกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ไทยเบิ้งหรือไทยโคราช ลาวแง้ว ไทยลาว ไทยยวน มอญ และจีน

ภาพไทยเบิ้งหรือไทยโคราช

บ้านโคกสลุง เป็นชุมชนเก่าของลพบุรี ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของลำน้ำป่าสัก ห่างจากสันเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ขึ้นไปทางเหนือราว 14 กิโลเมตร โดยชุมชนแห่งนี้มีมาก่อนการก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์นานนับ 100 ปี ร่องรอยที่บ่งบอกได้ว่าผู้คนแถบนี้เคลื่อนย้ายมาจากทางโคราช ประการแรกคือสำเนียงการพูดเหน่อแบบโคราชที่ยังคงเหลืออยู่ โดยมักลงท้ายคำพูดว่า "เบิ้ง" ,"เหว่ย" ,หรือ "เด้อ" โดยเฉพาะคำว่า "เบิ้ง" จะเป็นคำที่ติดปากเสมอ ทำให้คนเมืองกลุ่มอื่นเรียกชุมชนนี้ว่า "ไทยเบิ้ง" ประการต่อมาคือ บริเวณนี้เป็นเส้นทางสำคัญของการติดต่อค้าขายระหว่างชาวที่ราบสูง กับชุมชนภาคกลางนับแต่อดีต เช่น พวกนายฮ้อยที่รอนแรมต้อนควายมาขายแถบสระบุรีในอดีต ก็เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่คุ้นเคยกับเส้นทางนี้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่มาได้ว่าชาวไทยเบิ้งนี้ เป็นกลุ่มคนกลุ่มเดียวกันกับชาวโคราชนั่นเอง ไทยลาว คือกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและลุ่มแม่น้ำโขง และได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำป่าสักในเวลาต่อมา คนกลุ่มนี้แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือลาวแง้ว และไทยอีสาน ลาวแง้ว เป็นกลุ่มคนที่ถูกนำมาตั้งถิ่นฐานในภาคกลางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์พร้อม ๆ กับไทยพวน คำว่าลาวแง้วนั้นว่ากันว่าเป็นคำที่กลุ่มคนไทยพวนเรียกคนไทยลาวที่มีถิ่นฐานแถบนครเวียงจันทน์และหลวงพระบาง ทั้งลาวแง้วและไทยพวนต่างมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางฝังซ้ายแม่น้ำโขง ครั้งแรกที่ถูกนำมานั้นลาวแง้วได้ตั้งถิ่นฐานแถบรอบ ๆ เมืองลพบุรี ชุมชนลาวแง้วดั้งเดิมที่สำคัญคือบ้านท่าแค บ้านดงน้อย บ้านนำจั้น บ้านถลุงเห,ก และบ้านห้วยโป่งในจังหวัดลพบุรี

การแต่งกายของลาวแง้ว

ญิงจะนุ่งโจงกระเบน หากอยู่บ้านจะใช้ผ้าขาวม้าคาดอกแบบตะเบงมาน แต่ถ้าไปวัดหรืองานจะใช้ผ้าคาดอกแล้วมีผ้าอีกผืนทำสไบเฉียง หญิงโสด นิยมใส่กำไลขา 2 ข้าง กำไลนี้จะถอดออกเมื่อแต่งงานแล้ว นอกจากนี้ยัง เจาะหูใส่ต่างห ู 2 ข้าง ส่วนผู้ชายเวลาไปวัดหรืองาน จะนุ่งโจงกระเบน ถ้าอยู่บ้านจะนุ่งกางเกงขาก๊วย ใส่ เสื้อคอกลมที่ตัดจาก ผ้าที่ทอเอง และนิยมเจาะหู 1ข้าง แต่เดิมผู้ชายชาวแง้วนิยมสักตามตัว ทั้งหน้าอก แขนและขา เพราะเชื่อว่าตัวจะอยู่ยังคงกระพัน เป็นเครื่องหมายของการ เป็น ผู้มีคาถาอาคม ปัจจุบันความเชื่อนี้ลดน้อยลง (จารุวรรณ มปป., น.20)

บ้าของลาวแง้วเป็นบ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูงขนาดคนเดินรอดได้ สาเหตุที่ใต้ถุนสูงเพราะเมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมบ้านลาวแง้วจะไม่พิถีพิถัน นิยมเรียบง่ายพื้นบ้านปูด้วยกระดาน แผ่นใหญ่เรียงต่อกันมีช่องมองเห็นใต้ถุนบ้านได้ ฝาบ้านนิยมใช้ฟากมาตีแปะไว้ บางบ้านใช้้ไม้กระดานหลังคามุงด้วยสังกะสีรูปทรงบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในบ้านกั้น ห้องไว้ห้องหนึ่ง เพื่อเป็นห้องนอนหรือเก็บของมีค่า นอกนั้นเป็นพื้นที่โล่งใช้เป็นที่สารพัดประโยชน์ บ้านจะปลูกกันเป็นกลุ่ม ๆ ในเครือญาติอาชีพหลักของลาวแง้ว คือ การทำนา ทั้ง นาดำและนาหว่าน อาชีพรองลงมาคือ การทำไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว นอกจากนั้นยังทำสวนมะม่วง มะพร้าว กล้วย ปลูกผักสวนครัวและเลี้ยงเป็ด ไก่ และหมู เมื่อว่าง จากการทำงาน ผู้ชายมักจะหา ปลาตามหนองน้ำ ทำให้เกิดอาชีพการทำปลาร้า โดยนำปลาตัวเล็ก ๆ มาล้างมักใส่เกลือทิ้งไว้ เมื่อถึงเวลาก็ขายให้พ่อค้า ส่วนอุตสาหกรรมในครัว เรือนของชาวแง้ว คือ การทอผ้า เย็บที่นอน ทำมุ้ง หมอน และผ้าขาวม้า ศาสนาของลาวแง้วคือพุทธศาสนา ชาวแง้วจะทำบุญในวันพระและในประเพณีสำคัญ ๆ เช่น ทำบุญเทศน์ มหาชาติ นอกจากนั้น ลาวแง้วยังมีความเชื่อเรื่อง “คุณพระ” หมายถึง สิ่งที่นับถือเคารพบูชา เชื่อว่าสามารถคุ้มครองและช่วยรักษาโรค ภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ คุณพระอาจจะเป็น รากไม้ที่นำมาใส่หิ้งพระ เมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 12 ลาวแง้วจะมีพิธีไหว้ครูเพื่อ บูชาคุณพระ (จารุวรรณ มปป., น.47) เมื่อทำ พิธีไหว้เสร็จแล้วจะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยมีผู้ อาวุโสเป็นผู้นำด้ายผูกแขนให้ศีล ให้พร นอกจากนั้น ลาวแง้วยังเชื่อเรื่องผี เช่น การเลี้ยง ผีทุ่งผีนา ถ้าปีใดไม่ได้เลี้ยงผีทุ่งผีนา จะทำนาได้ข้าวน้อย การเลี้ยงผีทุ่ง ผีนาทำปีละ 2 ครั้ง ความเชื่อเรื่องผีเรือน และเชื่อเรื่องผีปอบ ถ้าในหมู่บ้านมีคนตายโดยไม่รู้สาเหตุ ชาวบ้านมักเชื่อว่าตายเพราะ ผีปอบ โดยที่คนจะเป็นผีปอบ คือ คน ๆ นั้นนับถือคุณไสย แล้วทำพิธี เซ่นไหว้ผิดจากที่เคยเป็น (จารุวรรณ มปป., น.49) อาหารของลาวแง้ว คือข้าวเจ้า นานครั้งจะรับประทานข้าวเหนียว กับข้าวได้แก่ ลาบ ก้อย ปลาร้า น้ำพริก ปลาสด แกงส้ม เป็นต้น ลาวแง้วนิยมรับประทานอาหารที่ใส่ปลาร้าทั้งดิบและสุกเป็นประจำ

การแต่งกายของชาวลาวแง้ว

            ไทยอีสานเดิมมีถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่น ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด กาฬสิน ยโสธร ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานแถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก และบางครอบครัวได้แทรกเข้ามาอยู่รวมกับกลุ่มไทยอื่นๆ เช่น ที่บ้านมะกอกหวาน บ้านหนองบัว หรือบางครั้งได้รวมตัวกันเป็นหมุ่บ้านของตน เช่น บ้านท่ากรวด บ้านปึกรี บ้านแก่งผักกูด

           ไทยยวน คนกลุ่มนี้เดิมมีถ่นฐานอยู่ในดินแดนล้านนา แต่ได้ถูกนำมาตี่งถิ่นฐานในบริเวณลุ่ม แม่น้ำป่าสัก โดยกองทัพสยามเมื่อราวสองศตวรรษก่อนด้วยเหตุผลเพื่อใช้เป้นแรงงานถิ่นฐานสำคัญของครกลุ่มนี้ คือ อยู่ที่แม่น้ำป่าสักตอนล่าง ที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี    และมีชาวไทยยวนบางกลุ่มแตกตัวกระจายไปตามลำน้ำป่าสักตอนบนไปอาศัยปะปนกับคนกลุ่มอื่น ๆ เช่นที่บ้านมะกอกหวาน

             มอญ ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานแทรกอยู่กับชาวไทยเบิ้งที่บ้านหนองบัว สาเหตุที่พบชาวมอญในลุ่มแม่น้ำป่าสักแถบนี้ก็เพราะมอญจากปากเกร็ดเป็นผู้ชำนาญการค้าขายทางเรือได้นำเกลือ น้ำตาลหม้อ น้ำปลา กะปิ โอ่ง และหม้อดินเผาใส่เรือกระแชง ขึ้นมาตามลำแม่น้ำปาสักเพื่อแลกกับข้าวเปลือกปรากฎว่ามีพ่อค้าชาวมอญบางคนแยกตัวมาตั้งถิ่นฐานถาวรในหมู่บ้านแถบนี้

             จีน เป็นกลุ่มชนที่เลือกอาศัยแทรกตัวอยู่กับกลุ่มคนไทยกลุ่มอื่น ๆ ตามหมู่บ้านขนาดใหญ่ เช่น บ้านชัยบาดาล บ้านโคกสลุง บ้านหนองบัว คนจีนเข้ามทำอาชีพทำทอง ซื้อข้าวเปลือก ขายของชำ ตั้งโรงยาฝิ่น คนจีนมีความอดทน และมัธยัสถ์ ฉนันคนจีนจึงมีฐานะกว่าคนกลุ่มอื่น ๆ ที่หมู่บ้านชัยบาดาลมีศาลเจ้า ปุนเถ่ากง ปุนเถ่าเม่า คือเทพเจ้าปู้ย่าของคนจีน แต่ศาลแห่งนี้ถูกรื้อถอนไปเพราะน้ำเหนือเขื่อนท่วมถึง ที่หมู่บ้านโคกสลุง มีศาลประจำหมู่บ้าน ชื่อ ศาลพ่อหลวงเพชร คนจีนใช้ศาลนี้ร่วมกับชาวไทยเบิ้งด้วยการนำกระถางธูปหินแบบจีน มีอักษรจีนสลักว่า ปุนเถ่ากงม่า และศักราชระบุว่าทำขึ้นปีหมิงก๊กที่ 33 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2478 วางไว้ในศาล

สรุปได้ว่า พื้นที่ที่กลายเป็นอ่างเก้บน้ำเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในปัจจุบันเดิมมีหมู่บ้านขนาดใหญ่หลายหมู่บ้านมีผู้คนหลายกลุ่มเข้ามั้งถิ่นฐานคือไทเบิ้ง ไทยลาว ไทยยวน มอญ และจีน แต่คนกลุ่มใหญ่สุดคือไทยเบิ้งที่ยังมีผู้คนที่ดำเนินวิถีชีวิตมองเห็นความรุ่งเรืองมาตั้งแต่ในอดีต คือผู้สูงอายุแต่งกายแบบไทเบิ้ง ใต้ถุนเรือนยังมีผู้หญิงนั่งทอผ้า ผู้ชายจักสานกระบุงตระกร้าและเครื่องมือหาปลา โดยเฉพาะที่หมู่บ้านโคกสลุง มีศูนย์วัฒนธรรมไทยเบิ้ง ซึ่งเป็นสถานที่รวบรวมแสดงมรดกวัฒนธรรมไทยเบิ้ง รวมทั้งกิจกรรมวัฒนธรรมเป็นระยะ ๆ

มรดกวัฒนธรรมไทยเบิ้ง

    มรดกวัฒนธรรมไทยเบิ้งที่น่าสนใจ ได้แก่

1. อักษรและ ภาษา

      ภาษาไทยเบิ้งจะมีลักษณะคล้ายภาษาไทยกลาง มีหน่วยเสียงพยัญชนะ 21 เสียง หน่วยเสียงสระ 21 หน่วยเสียง และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง สันนิษฐานว่าภาษาไทยเบิ้ง คือ ภาษาไทยโคราช ค่ำว่า เบิ้ง เป็นคำที่ชาวอีสานกลุ่มอื่น เช่น ลาว เขมร ใช้เรียกชาวไทยโคราช เมื่อชาวไทยโคราชอพยพมาอยู่ถิ่นอื่นยังคงใช้ภาษาไทยโคราช และเรียกกลุ่มของตนว่าไทยเบิ้ง ภาษาที่ใช้จึงเรียกว่าภาษาไทยเบิ้ง ที่สำคัญคือมีเสียงลงท้ายประโยคโดยเฉพาะได้แก่ ด๊อก (ดอก) แหล่ว (แล้ว) เบิ้ง (บ้าง)

 2. การละเล่น

             รำโทน ที่ตำบลบัวชุม และตำบลหนองยายโต๊ะ เป็นการแสดงพื้นบ้านที่นิยมเล่นกันทั่วภาคของประเทศไทย ซึ่งได้รับความนิยมสูงในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รำโทนได้รับการเชิดชูให้เป็นศิลปะประจำชาติอย่างหนึ่งในสมัยนั้น ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ารำโทนเกิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้ริเริ่ม แต่ผู้ที่นิยมเล่นรำโทน คือ หนุ่มสาวชาวบ้าน กล่าวกันว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้คนคอยแต่จะอพยพหนีภัยกัน ในยามค่ำคืนจะมืดไปทั่วทุกหนแห่งเนื่องจากรัฐบาลห้ามจุดไฟ ห้ามชุมนุม ประชาชนเกิดความเหงาจึงได้คิดเล่นรำโทนขึ้น วิธีเล่นคือจุดตะเกียงไว้ตรงกลางลาน ผู้แสดงยืนล้อมวงร้องเพลงเกี้ยวพาราสีกันด้วยจังหวะท่วงทำนองที่สั้นๆ ง่าย ๆ ร้องซ้ำ ๆ กันหลายเที่ยว

3. ประเพณีและความเชื่อ

      ชาวไทยเบิ้งมีประเพณีใกล้เคียงกับไทยภาคกลาง กล่าวคือ มีประเพณีเกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา ได้แก่ประเพณีเทศน์มหาช่าติ ประเพณีเข้าพรรษา ออกพรรษา ประเพณีวันวิสสาขบูชา อาสาฬหบูชา และมาฆบูชา และประเพณีประจำกลุ่มชนได้แก่ ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ประเพณีแห่นางแมว ประเพณีรับขวัญข้าว เป็นต้น สำหรับความเชื่อของชาวไทยเบิ้งที่ค่อนข้างเด่น คือ ความเชื่อเรื่องผีปู่ย่าตายาย ผีปอบ ผีพราย ผีนางไม้ หรือผีโพง ผีกระสือ ผีตายโหง     ชาวไทยเบิ้งมีความเชื่อว่าผีบางชนิดมีจริงและสามารถเข้ามาสิ่งในรางกายคนได้

4. ผ้าทอไทยเบิ้ง 
    

   วิถีชีวิตการทอผ้า 

   กลุ่มชนชาวไทยเบิ้งที่อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก เมื่อย่างเข้าฤดูแล้ง ผู้ชายอาจจะเข้าป่า หาของป่า ล่าสัตว์ ผู้หญิงจะทอผ้าไว้ใช้ในครอบครัว และ ปลูกฝ้าย ในเนื้อที่ที่เหลือในบริเวณบ้านเพื่อใช้ทอผ้า 
  กรรมวิธีการทำเส้นด้าย

- การอิ้วฝ้าย หรือการหีบฝ้าย เป็นการแยกเมล็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้าย โดยใช้เครื่องหีบฝ้าย หรือเครื่องอิ้วฝ้าย
- การดีดฝ้ายเป็นการทำให้ฝ้ายแตกกระจายออกเป็นเนื้อเดียวกัน
- การดิ้วฝ้าย เป็นการนำด้ายที่ดีดเป็นปุยแล้วมาล้อหมุนให้ได้ฝ้ายที่มีลักษณะกลม โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ไม้ล้อ
- การเข็นฝ้าย หรือการปั่นฝ้าย เป็นการดึงฝ้ายที่ดิ้วแล้วให้เป็นเส้นด้าย โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ไน หรือ หลา แล้วใช้ไม้เปียด้ายพันด้าย จนมีขนาดโตพอประมาณ แล้วดึงด้ายออก เรียกว่า ปอย หรือ ไจ

  การตกแต่งเส้นด้าย

- การฆ่าด้าย เป็นวิธีการทำให้ด้ายมีความเหนียว มีความทนทานเพิ่มขึ้น ไม่เป็นขน โดยนำไปต้มกับข้าว วิธีการนี้จะใช้กับเส้นด้ายที่ไม่ต้องการย้อมสี

- การย้อมสี เป็นวิธีเพิ่มความสวยงามให้แก่ผืนผ้า โดยใช้สีที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งจะได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ราก ดอก ต้น แก่น ลูก และใบ กรรมวิธีการย้อมไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีวิธีย้อมตามลักษณะของวัสดุ คือวัสดุบางชนิดจะต้องย้อมร้อน บางชนิดต้องย้อมเย็น พืชที่นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้า ได้แก่
สีดำ ได้จาก ผลมะเกลือ เปลือกกระโดน มะเกลือเลือด แก่นแกแล เปลือกอินทนิล ฝักระกำ
สีคราม ได้จาก ต้นคราม
สีเหลือง ได้จาก ขมิ้นกับยอดแค
สีแดงและสีชมพูได้จาก แก่นฝาง
สีเขียวอ่อนได้จาก ผักงาด
วิธีการย้อมสี ผ้าหรือเส้นด้ายที่จะย้อม จะต้องซักหรือแช่น้ำให้เปียกทั่วกันทั้งผืนเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้สีด่าง จะทำให้สีติดผ้าทั่วกันทั้งผืน และเมื่อย้อมสีเสร็จแล้วจะต้องนำผ้าไปล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำไปตาก

เครื่องมือเครื่องใช้ในการทอผ้า

- กี่พื้นเมืองหรือกี่ทอมือ กี่ชนิดนี้ทอผ้าแต่ละครั้งได้จำนวนจำกัด คือ ได้เพียงครั้งละ 5 - 6 ผืน หน้ากว้างของผ้าที่ทอได้ จะแคบกว่ากี่กระตุก กี่ทอมือจะต้องใช้เท้าเหยียบเพื่อบังคับตะกอให้แยกเส้นด้ายยืนออกจากกัน แล้วใช้มือสอดกระสวยใต้เส้นด้ายที่แยกดึงฟันฟืมกระทบเส้นด้ายพุ่งให้ติดกันทีละเส้น ซึ่งทอได้ช้ากว่ากี่กระตุก

- กี่กระตุก เป็นกี่ที่เพิ่งจะเริ่มนำเข้ามาใช้โดยได้รับการส่งเสริมจากกรมพัฒนาชุมชน การทอกี่กระตุก ผู้ทอไม่ต้องสอดกระสวย ใช้มือกระตุกเชือกที่ติดกับกระสวย แล้วกระสวยจะวิ่งผ่านเส้นด้ายยืนที่แยกออกจากกัน โดยการใช้เท้าเหยียบไม้ที่ดึงตะกอ ข้อดีของกี่กระตุก คือ ในการทอแต่ละครั้งไม่ต้องสืบเส้นด้ายยืนบ่อย ๆ มีแกนม้วนด้ายยืนได้ยาวหลายสิบเมตร เส้นด้ายยืนจะตึงเรียบเสมอกันไม่ต้องหวีหรือจัดเหมือนกับกี่มือหรือกี่คอก

กรรมวิธีการทอผ้า

การเตรียมเส้นด้ายยืน

- การเสาะด้าย คือการนำด้ายที่ย้อมสี แล้วมาเสาะใส่ระวิงสาวลงกระบุง (ปัจจุบันไม่ต้องเสาะด้าย นำด้ายมากรอใส่หลอดด้าย ทำด้วยไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ แล้วนำไปค้น การกรอด้ายใช้ระวิง ใส่ด้าย แล้วโยงหลอดด้ายใส่ที่เหล็กไน ใช้มือหมุนล้อไนจนเส้นด้ายพันบนหลอดด้ายพอประมาณ แล้วใส่หลอดด้ายใหม่)

- การค้น คือการนำด้ายสีต่าง ๆ ที่เสาะแล้วมาเกาะหลักพิมพ์ เพื่อกำหนดความยาวของเส้นด้ายยืนว่าต้องการทอกี่ผืน เมื่อเสร็จแล้วนำด้ายออกจากพิมพ์ เรียกว่า เครือ

- การสืบด้าย นำเครือด้ายมาสืบในฟืม (มัดด้ายที่มีอยู่ในเครือกับด้ายที่ติดอยู่กับหูก) จนครบตามหน้ากว้างของฟืม

- การทอ นำเส้นด้ายพุ่งที่กรอใส่หลอดด้าย เลือกสีตามต้องการ ใส่กระสวยแล้วนำมาทอ การทอหูกใช้เท้าเหยียบ มือพุ่งกระสวย และใช้มือดึงฟันหวีกระทบด้ายทีละเส้นให้แน่น ทอไป เรื่อย ๆ จนหมดความยาวของเส้นด้ายยืน

ประเภทของผ้าทอของชาวไทยเบิ้ง

ผ้าทอที่พบแบ่งออกเป็นสองยุค คือ

1. ผ้าทอโบราณ เป็นผ้าที่ทอขึ้นเพื่อเก็บไว้ใช้เอง หรือให้ญาติ พี่น้อง ผู้ที่เคารพนับถือใช้
มีลักษณะเป็นผ้าพื้นสีขาว ถ้าย้อมสี สีจะค่อนข้างเข้ม ทอแบบง่าย ๆ ลวดลายไม่สลับซับซ้อน เส้นด้ายที่ใช้ทอเป็นเส้นด้ายที่ได้มาจากใยฝ้ายแท้ ๆ ได้แก่

- ผ้าเย็บที่นอน ผ้าเย็บหมอน และผ้าห่ม
- ผ้าพื้นใช้เย็บเสื้อ
- ผ้าถุง
- ผ้าขาวม้า
- ย่าม

2. ผ้าทอไทยเบิ้งในปัจจุบัน มีเพียงตำบลเดียวที่ยังมีการทอผ้าคือตำบลโคกสลุง เป็นการทอเพื่อการค้า เส้นด้ายที่ใช้เป็นเส้นด้ายประดิษฐ์หรือใยสังเคราะห์ ผ้าทอไทยเบิ้งในปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ

- ผ้าขาวม้า รูปแบบยังเหมือนเดิม แต่สีสันค่อนข้างฉูดฉาดขึ้น ลวดลายของผ้าขาวม้าที่พบคือ ลายตาคู่หรือลายตาสองลอน ลายตาคู่แทรก ลายตาราย
- ย่าม ลวดลายยังคงแบบเดิม มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะการใช้สี คือใช้สีอ่อนกว่าเดิมจะมีการทอ 2 แบบ คือ แบบธรรมดาไม่มีการเข้าเกลียว และแบบเข้าเกลียวเส้นด้าย
- ผ้าถุง เป็นผ้ามัดหมี่ที่ใช้กรรมวิธีการทอแบบชาวบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยทางราชการส่งเสริมอาชีพนี้โดยให้กรมพัฒนาชุมชนจัดวิทยากรไปสอนการทอผ้ามัดหมี่

 

แหล่งอ้างอิง

- หนังสือป่าสักชลสิทธิ์ มรดกชีวิตและสายน้ำ ของ ภูธร ภูมะธน

- www3.sac.or.th/ethnic/Content/Information/laogao.html - 8k
- library.tru.ac.th/il/lop/trad/trad2.html - 9k

- www.moohin.com/011/011k002.shtml

- www.moohin.com/011/ - 145k

- www.thai-tour.com/thai-tour/Central/Lopburi/data/pic_pasakdam.htm - 50k -

 

สร้างโดย: 
คุณครูทิวาทิพย์ เอี่ยมสอาด โรงเรียนปิยะบุตร์ ต.โพนทอง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 402 คน กำลังออนไลน์