สายเชื่อมต่อในเครือข่าย

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


 banner.jpg

    Laughing   คุณเคยได้ยินคำว่า อีเทอร์เน็ต (Ethernet) , โทเค็นริง (Token-Ring)  และ ARCnet เทคโนโลยีเหล่านี้อธิบายวิธีการในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์  เครื่องพิมพ์  และส่วนอื่น ๆ ของเครือข่าย  ของเครือข่าย  วิธีในการเชื่อมต่ออธิบายถึงการวางสายเพื่อต่อเข้ากับจุดต่างๆ และวิธีการในการเข้าถึงข้อมูล ใช้ในการแบ่งการเข้าถึงข้อมูลให้กับจุดต่างๆ 
            สายแลนนิยมนำมาใช้ในการเชื่อมต่อมากมาย สิ่งสำคัญในการเลือกสายแลนมาใช้คือ การป้องกันกระแสไฟฟ้าระหว่างสายในเคเบิลเดียวกัน การป้องกันสนามไฟฟ้าจากสายไฟ มอเตอร์ ตัวส่งต่อต่าง ๆ ตัวส่งสัญญาณวิทยุและอุปกรณ์อื่น ๆ และสายแลนยังติดตั้งง่ายอีกด้วย ถ้าสายเคเบิลสามารถป้องกันสัญญาณรบกวนจากไฟฟ้าได้จากไฟฟ้าได้จากทั้งภายในและภายนอกสาย จะช่วยให้สายสามารถวางได้ไกลขึ้นและส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น
            เนื่องจากสายเคเบิลไฟเบอร์-ออปติกส่งสัญญาณเป็นคลื่นของแสง จึงทำให้ไม่มีสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าสายไฟเบอร์-ออปติกส่งข้อมูลได้เร็วกว่าสายประเภทอื่น สายเคเบิลที่มีตัวป้องกันที่ด้วยทองแดงที่สานกันหรือโลหะบางๆ อยู่ด้านนอกนั้น สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนไฟฟ้าได้ดี แต่ว่าสายจะมีขนาดใหญ่ทำให้โยงสายผ่านท่อหรือกำแพงได้ลำบาก ส่วนสาย UTP นั้นเล็กกว่า ทำให้ติดตั้งง่ายกว่า แต่ว่าสายจะป้องกันสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าได้น้อยกว่า ส่วนสายไฟเบอร์-ออปติกที่เล็กไม่จำเป็นต้องใส่ท่อนำทาง แต่การติดตั้งต้องมีการฝึกฝนมาก่อน และมีอุปกรณ์พิเศษในการใส่ตัวเชื่อมต่อ ดังนั้นราคาของสายไฟเบอร์-ออปติกจึงแพง จุดสุดท้ายที่ควรพิจารณาคือ ส่วนหุ้มด้านนอกสุดของสายเคเบิลต้องทนไฟและเมื่อโดนไฟฟ้าจะสร้างมลพิษมากน้อยเพียงใด
          ช่องทางการสื่อสารข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์นอกจากจะประกอบด้วยคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายแล้ว ยังต้องมีช่องทางหรือ สื่อกลาง(Media) ในการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันจะมีอยู่มากหลายแบบ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงในการเลือกช่องทางที่ต้องการ คือ

1. อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล(Transmission Rate)
2. ระยะทาง(Distance) ต้องคำนึงถึงระยะทางระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อกัน
3. ค่าใช้จ่าย(Cost)
4. ความสะดวกในการติดตั้ง(Ease of Installation)
5. ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม(Resistance to Environmental Conditions) เช่น สื่อบางประเภทอาจมีข้อจำกัด เมื่อสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง


           ระบบจัดการเครือข่ายหรือการ์ดติดต่อเครือข่ายสามารถเปลี่ยนได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน แต่ว่าการเปลี่ยนสายที่ในระบบเครือข่ายต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์ ดังนั้นการเลือกใช้สายเคเบิลและการติดตั้งเป็นขั้นตอนสำคัญในการออกแบบระบบเครือข่ายที่จะใช้ในธุรกิจ ดังนั้นจึงควรเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อให้ตรงกับความต้องการ

            

                        สายเคเบิลประเภทนี้มักจะเป็นการรวมกันของสาย 4 คู่ในส่วนห่อหุ้มภายนอกเดียวกัน แต่ละคู่จะพันกันเป็นเกลียว ซึ่งจะมีจำนวนรอบในการพันต่าง ๆ กันไป  การพันเป็นเกลียวทำให้ไม่เกิดสัญญาณรบกวนจากสายคู่อื่น ๆ ในสายเดียวกันและจากอุปกรณ์ชนิดอื่น เช่น มอเตอร์ ตัวส่งสัญญาณ ตัวแปลงต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม สาย UTP  มักจะนำมาใช้ในสายโทรศัพท์ซึ่งสายโทรศัพท์ไม่มีการพันเป็นเกลียว และอุปกรณ์อื่น ๆ ทีต้องการส่งข้อมูล
                        ในปัจจุบันได้ปรับปรุงคุณสมบัติจนสามารถใช้กับสัญญาณความถี่สูงได้ สายยูทีพีใช้ลวดทองแดง 8 เส้น ขณะที่ในระบบโทรศัพท์จะใช้เพียง 2 หรือ 4 เส้น ซึ่งต่อเข้ากับหัวต่อแบบ RJ45 ซึ่งเป็นหัวต่อที่มีลักษณะคล้ายกับหัวต่อในระบบโทรศัพท์ทั่วไป แต่ในระบบโทรศัพท์จะเรียกหัวต่อว่า RJ11 การที่มีสายทองแดงไว้หลายเส้นก็เพื่อให้หัวต่อ RJ45 ซึ่งเป็นหัวต่อมาตรฐานสามารถเลือกใช้งานได้ในหลายๆ รูปแบบ เช่น
- ใช้สายทองแดงตั้งแต่ 3-8 เส้น เป็นสายสัญญาณ 10 เมกะบิตของอีเธอร์เน็ตแบบ 10BASE-T
- ใช้สายทองแดง 4 เส้น เป็นสายสัญญาณ 100 เมกะบิตของอีเธอร์เน็ตแบบ 100BASE-T
- ใช้สายทองแดง 8 เส้น เป็นสายสัญญาณของเสียง
- ใช้สายทองแดง 2 เส้น สำหรับระบบโทรศัพท์

             Smile  หัวต่อ (Connectors)

                                               ตัวเชื่อมต่อ RJ-45

หัวต่อสาย CAT5 UTP เราจะเรียกกันติดปากว่า หัว RJ45 (RJ ย่อมาจาก Registered Jack)
ในมาตรฐานของ IEEE กำหนดให้ Ethernet 10BaseT ต้องมีสายตีเกลียวเป็นคู่ ๆ และคู่ที่หนึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับขา 1 และ 2 , และ คู่ที่สองจะต่อเข้ากับขา 3 และ 6 ส่วนขา 4 และ 5 จะข้ามไม่ใช้งาน

การเชื่อมต่อสายตามมาตรฐาน EIA/TIA-568B RJ-45 : ในการใช้งานจะใช้แค่ 2 คู่ในการรับส่งข้อมูลตามมาตรฐาน 10BaseT โดยใช้คู่ที่ 2 (ขาว/สัม , ส้ม) และคู่ที่ 3 (ขาว/เขียว , เขียว)  โดยใช้คู่ที่ 2 (ขาว/สัม , ส้ม) และคู่ที่ 3 (ขาว/เขียว , เขียว)

คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา 1 และ2ดังนี้:
ขา 1 ใช้สี ขาว/ส้ม
ขา2 ใช้สี ส้ม
คู่ที่3ต่อเข้ากับขา3 และ6ดังนี้:
ขา3 ใช้สี ขาว/ส้ม
ขา6 ใช้สี ส้ม

ส่วนสองคู่ที่เหลือให้ต่อดังนี้

คู่ที่ 1
ขา4 ใช้สี น้ำเงิน
ขา5 ใช้สี ขาว/น้ำเงิน
คู่ที่ 4
ขา7 ใช้สี ขาว/น้ำตาล
ขา8 ใช้สี น้ำตาล

การเรียงสีให้ดูตามรูป
 

เมื่อจัดสีให้ตรงตามแบบแล้วก็ทำการตัดให้ปลายเท่ากันแล้วใส่สายเข้าไปในหัว RJ45

โดยให้ปลายของสายแต่ละเส้นไปชนกับด้านบนสุดของหัว RJ45 เมื่อชนสุดแล้วใช้คีมสำหรับเข้าหัว RJ45 บีบให้แน่น จากนั้นให้ทำเหมือนกันทั้งสองด้าน


สายไข้ว (Crossover Cables)

ในการเข้าสายแบบพิเศษ หรือที่เรียกกันว่า สายไขว้ (Crossover Cable) จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งของปลายสายด้านหนึ่งของสายเคเบิล ซึ่งจะสลับกันจาก ขา 1&2 ไปเป็นขา 3&6 และจากขา 3&6 ไปเป็นขา 1&2 ส่วนขา 4&5 และ 7&8 ไม่เปลี่ยนแปลง

เพื่อให้เข้าใจจะมีการต่อสายทั้งสองด้านดังนี้
ปลายด้านปกติ (Standard) ปลายด้านไขว้ (Crossover)
ขา 1 ขาว/ส้ม ขา 1 ขาว/เขียว
ขา 2 ส้ม ขา 2 เขียว
ขา 3 ขาว/เขียว ขา 3 ขาว/ส้ม
ขา 4 น้ำเงิน ขา 4 น้ำเงิน
ขา 5 ขาว/น้ำเงิน ขา 5 ขาว/น้ำเงิน
ขา 6 เขียว ขา 6 ส้ม
ขา 7 ขาว/น้ำตาล ขา 7 ขาว/น้ำตาล
ขา 8 น้ำตาล ขา 8 น้ำตาล
ข้อมูลในตารางจะใช้สำหรับปลายด้านที่เป็นสายไขว้ (Crossover End)

คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา 1 และ2ดังนี้:
ขา1 ใช้สี ขาว/เขียว
ขา2 ใช้สี เขียว
คู่ที่ 2ต่อเข้ากับขา3 และ6ดังนี้:
ขา3 ใช้สี ขาว/ส้ม
ขา6 ใช้สี ส้ม

ภาพที่แสดงจะเป็นการเรียงสีของสายที่จะทำเป็นปลายสายไขว้

 
เมื่อสอดปลายของสายแต่ละเส้นไปชนกับด้านบนสุดของหัว RJ45 จากนั้นก็ใช้คีมสำหรับเข้าหัว RJ45 บีบให้แน่น

 

แหล่งข้อมูล : (http://bigtui.exteen.com/20061130/utp-rj45)

ข้อดีและข้อเสียของสาย

ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด

 

                    สายนี้อยู่ในคำกำหนดลักษณะของแลนแบบโทเค็นริงเท่านั้น ใช้ทองแดงที่สานกันและโลหะบางๆ หุ้มไว้ระหว่างแต่ละคู่ของสาย และมีการหมุนเป็นเกลียวของแต่ละคู่เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าด้านนอกอย่างแน่นหนา แต่การที่ป้องกันนี้จะทำให้สายมีขนาดใหญ่ จึงเสียพี้นที่ในการติดตั้งยาก 

 

                            สาย STP สามารถใช้ส่งข้อมูลได้เร็วกว่าสาย UTP คือได้เร็วถึง 150 Mbps หัวต่อคอนเนกเตอร์มี 2 แบบ การติดหัวต่อคอนเนกเตอร ์เข้ากับสาย ทำได้ค่อนข้างยาก จึงนิยมสั่งซื้อสายที่ติดหัวคอนเนกเตอร์มาพร้อมกันมากกว่าจะแยกกันซื้อ


หัวต่อ (Connectors)
ตัวเชื่อมต่อข้อมูลของ IBM
 
 ข้อดีและข้อเสียของสายคู่ตีเกลียว

ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด


                                   ชื่อของสายเคเบิลชนิดนี้ได้มาจากตัวเหนี่ยวนำ 2 ตัวที่ใช้แกนกลางเดียว สายโคแอกเชียลมีทองแดงที่สานกันเป็นป้องกันตัวเหนี่ยวนำตัวกลางจากกระแสไฟฟ้าภายนอก ในคำกำหนดลักษณะของทั้งอีเทอร์เน็ตและ ARCnet มีสายโคแอกเชียลปรากฎอยู่ด้วย แต่ 2 ระบบนี้ต้องการสายต่างชนิดกัน

 


สายสัญญาณที่ใช้สายตัวนำเส้นเดียวตรงกลางล้อมรอบด้วยชั้นฉนวน และมีโลหะถักหุ้ม สายโคแอกเชียลหรือที่เรียกว่า “10Base2” คือสายสัญญาณที่ใช้ในระบบ LAN แบบบัสมี 2 แบบคือแบบหนา ( Thick Coaxial) และแบบบาง ( Thin Coaxial) แต่ที่จะนำมาใช้คือแบบบาง หรือเรียกอีกย่างหนึ่งว่า RG-58 ซึ่งมีความต้านทาน 50 โอห์ม การต่อสายเข้ากับการ์ด LAN ที่มีหัวแบบ BNC (British Naral Connector) โดยผ่านตัว T-Connector และที่ปลายสายทั้งสองด้าน จะต้องปิดด้วยหัวจุก Terminator ขนาด 50 โอห์มเสมอ ระยะทำการของสายจากเครื่องแรกจนกระทั่ง เครื่องสุดท้ายไม่เกินประมาณ 185 เมตร  

หัวต่อ (Connectors)

ตัวเชื่อมต่อ BNC
 
 

ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล

ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา

ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด


 
  

                             เนื่องจากสัญญาณที่ส่งไปบนตัวนำเป็นคลื่นแสง ทำให้สายไฟเบอร์-ออปติกไม่ถูกรบกวนจากกระแสไฟด้านนอก แก้วแต่ละเส้นส่งสัญญาณได้ทางเดียวเท่านั้น ดังนั้นสายเคเบิลจึงแบ่งเป็น 2 ส้นแยกกัน ในแต่ละส่วนจะมี Kevlar Fiber เพื่อความแข็งแรงของสาย และชั้นส่งกำลังเพิ่มที่ทำด้วยพลาสติกหุ้มรอบแก้ว ตัวเชื่อมต่อพิเศษทำให้การเชื่อมต่อเป็นการสื่อสารด้วยแสงทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวยิงเลเซอร์และเป็นตัวรบแสงด้วย เนื่องจากสายชนิดนี้ไม่มีการถูกรบกวนและคลื่นแสงสามารถส่งไปได้ไกลหลายไมค์ โดยไม่สูญเสียความแรงของคลื่น ทำให้สายไฟเบอร์-ออปติกสามารถส่งข้อมูลได้ไกลและเร็ว

 

ซึ่งประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองจะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปอีกด้านหนึ่งได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นจำนวนมาก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 mile
-  แบ่งออกเป็นสองแบบคือ แบบซิงเกิลโหมด และมัลติโหมด

Singlemode Fiber Optic

เป็นการใช้ตัวนำแสงที่บีบลำแสงให้พุ่งตรงไปตามท่อแก้ว โดยมีการกระจายแสงออกทางด้านข้างน้อยที่สุด ซิงเกิลโหมดจึงเป็นเส้นใยแก้วนำแสง ที่มีกำลังสูญเสียทางแสงน้อยที่สุด เหมาะสำหรับในการใช้กับระยะทางไกล ๆ การเดินสายใยแก้วนำแสงกับระยะทางไกลมาก เช่น เดินทางระหว่างประเทศ ระหว่างเมือง มักใช้แบบซิงเกิลโหมด

Multimode Fiber Optic

Multimode Fiber Optic ส่วนใหญ่มีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางของแกนและ Cladding โดยประมาณ 50 ไมครอน 62.5 ไมครอน โดยมี Cladding ขนาด 125 ไมครอนเนื่องจาก ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของแกนมีขนาดใหญ่ ดังนั้นแสงที่ตกกระทบที่ด้ายปลาย Input ของสาย Fiber Optic จะมีมุมตกกระทบที่แตกต่างกันหลายค่า และจากหลักการสะท้อนแสงกลับหมดของแสงที่เกิดขึ้น ภายในส่วนของแกนทำให้มีแนวของลำแสงเกิดขึ้นหลาย Mode โดยแต่ละ Mode ใช้ระยะเวลาในการเดินทางที่แตกต่างกัน อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ เกิดการแตกกระจายของแสง (Mode Dispersion)  Smile Multimode Fiber Optic มี 2 แบบได้แก่ Step Index และ Grade Index
หากการให้ดัชนีหักเหของแสงมีลักษณะทำให้แสงเลี้ยวเบนทีละน้อย เราเรียกว่าแบบ "เกรดอินเด็กซ์ "
หากใช้แสงสะท้อนโดยไม่ปรับคุณสมบัติของแท่งแก้วให้แสงค่อยเลี้ยวเบนก็เรียกว่าแบบ
"สเต็ปอินเด็กซ์"

เส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้ในเครือข่ายแลนส่วนใหญ่ใช้แบบมัลติโหมด โดยเป็นขนาด 62.5/125 ไมโครเมตร หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อแก้ว 62.5 ไมโครเมตร และของ แคล็ดดิงรวมท่อแก้ว 125 ไมโครเมตร คุณสมบัติของเส้นใยแก้วนำแสงแบบสเต็ปอินเด็กซ์ มีการสูญเสียสูงกว่าแบบเกรดอินเด็กซ์

หัวต่อ (Connectors)

ตัวเชื่อมต่อไฟเบอร์-ออปติก ST
 

ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง

ข้อดี
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล



ตารางเปรีบบเทียบสายสัญญาณชนิดต่าง ๆ
UTP,STP
COAXIAL
FIBER OPTIC
ค่าใช้จ่าย Low Medium High
ระยะทาง Short(100 M) 500 M 2 KM
การติดตั้ง ง่าย ไม่ยาก ต้องใช้ความชำนาญ
สื่อที่เหมาะสม ข้อมูล เสียง ภาพ ข้อมูล ข้อมูลมัลติมีเดีย
ความเร็ว ปานกลาง ปานกลาง สูงมาก
การรบกวนของคลื่นแม่เหล็ก รบกวน รบกวน ไม่มีผลใดๆ
การดักสัญญาณ สามารถทำได้ สามารถทำได้ ไม่สามารถทำได้

 

สร้างโดย: 
ครูวีรานุช วิจารณ์ปรีชา

ดีจริงๆครับขอให้ได้รับรางวัลนะครับ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 504 คน กำลังออนไลน์

                       


Warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('', 'node/16404', '', '3.144.28.50', 0, '118c5bb94151e4b81be38926800f966d', 12, 1714753695) in /home/tgv/htdocs/includes/database.mysql.inc on line 135