ภาษา html
ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ความเป็นมาของภาษา HTML
WWW ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ.1989 โดย ทิม เบอร์เนอร์ส – ลี (Tim Berners – Lee) แห่งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยทางอนุภาคฟิสิกส์ของยุโรป (CERN) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ในครั้งแรก ทิมเพียงคิดอำนวยความสะดวกให้แก่บรรดานักวิทยาศาสตร์ของสถาบันให้ค้นหาข้อมูลง่ายขึ้น จึงคิดประดิษฐ์ตัวอักษรที่มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูลได้ เรียกว่า “ไฮเปอร์เท็กซ์” (Hypertext) เมื่อได้ตัวอักษรที่มีคุณสมบัติพิเศษแล้ว สิ่งที่พัฒนาขึ้นต่อจากไฮเปอร์เท็กซ์ก็คือเครื่องมือสำหรับอ่านตัวอักษรที่เขาประดิษฐ์ขึ้น และเรียกเครื่องมือนี้ว่า “บราวเซอร์” (Browser) เพียง 3 ปีหลังจากการกำเนิดไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้นมา โปรแกรมบราวเซอร์ตัวแรกชื่อ Mosaic ซึ่งทำงานบนระบบ X-Windows ก็สร้างปรากฎการณ์ใหม่ขึ้นมาในระบบการสื่อสารข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และยังเป็นแม่แบบของบราวเซอร์ตัวอื่นๆ เช่น Netscape Communicator, Internet Explorer, Opera,Mozilla Firefox, Safari เป็นต้น และก่อให้เกิดกระแสโลกไร้พรมแดนขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อเราทำการเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และใช้บราวเซอร์ในการสืบค้นข้อมูลสิ่งที่พบในหน้าต่างบราวเซอร์คือ โฮมเพจ หรือ เว็บเพจนั่นเอง การสร้างโฮมเพจหรือเว็บเพจนี้จะใช้
คำสั่งภาษาของทิมคือ ไฮเปอร์เท็กซ์ แม้ว่าต่อมาจะมีจะมีการพัฒนาโปรแกรมที่ทำให้เราสามารถสร้างเว็บเพจได้อย่างง่ายดาย แต่สุดท้ายการจัดเก็บไฟล์ การแก้ไขให้ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุดก็ด้วยการใช้ตัวอักษรของทิม ที่เรียกกันติดปากว่า ภาษา HTML ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้เอง
ลักษณะของภาษา HTML
องค์ประกอบของภาษา HTML สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นข้อความทั่วๆไป และส่วนที่เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบของข้อความที่แสดง ซึ่งเราเรียกคำสั่งนี้ว่า แท็ก (Tag) โดยแท็กคำสั่งของ HTML จะอยู่ในเครื่องหมาย < และ > ซึ่งมีหลักในการเขียนดังนี้
รูปแบบแท็กจะแยกเป็น 2 ส่วน โดยจะต้องมีส่วนเริ่มต้นของแท็ก เรียกว่า "แท็กเปิด" และส่วนจบของแท็ก เรียกว่า "แท็กปิด" โดยส่วนของแท็กปิดจะต้องมีเครื่องหมาย Slash (/)
โครงสร้างพื้นฐานของ HTML
โครงสร้างของภาษา HTMLแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1.<html>...</html> เป็นแท็กแรกที่ต้องมีในภาษา HTML ซึ่งมีความหมายบ่งบอกว่านี้คือภาษา HTML
2.<head>...</head>เป็นแท็กส่วนที่ใช้ในการกำหนดรายละเอียดหัวเอกสาร HTML
3.<title>...</title>เป็นแท็กที่ใช้ในการกำหนดชื่อเว็บเพจ ซึ่งจะต้องมีความยาวได้ไม่เกิน 64 ตัวอักษร
4.<body>...</body> เป็นแท็กที่ใช้ในการกำหนดส่วนของเนื้อหาบนเว็บเพจ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ ตาราง และการเชื่อมต่อไปยังเอกสารอื่นๆ
การจัดวางเนื้อหาบนหน้าเว็บ
การตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่ <br>
ตำแหน่งของแท็ก อยู่ภายในแท็ก <body>...</body>
รูปแบบใน HTML4 <br> ข้อความที่ต้องการขึ้นบรรทัดใหม่
การตัดคำขึ้นย่อหน้าใหม่ <p>
ตำแหน่งของแท็ก อยู่ภายในแท็ก <body>...</body>
รูปแบบใน HTML4 <p> ข้อความที่ต้องการขึ้นย่อหน้าใหม่
การจัดวางตำแหน่งข้อความให้อยู่กึ่งกลาง
ตำแหน่งของแท็ก อยู่ภายในแท็ก <body>...</body>
รูปแบบใน HTML4 <center>...</center> ข้อความที่ต้องการขึ้นย่อหน้าใหม่
การจัดรูปแบบเอกสารตามที่กำหนด <pre>
ตำแหน่งของแท็ก อยู่ภายในแท็ก <body>...</body>
รูปแบบใน HTML4 <pre>ข้อความ</pre>
การสร้างเส้นคั่นในแนวนอน <hr>
ตำแหน่งของแท็ก อยู่ภายในแท็ก <body>...</body>
รูปแบบใน HTML4 <hr>
การจัดการข้อความ
กำหนดรูปแบบข้อความที่เป็นหัวเรื่อง <hn> (n มีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 6)
ตำแหน่งของแท็ก อยู่ภายในแท็ก <body>...</body>
รูปแบบใน HTML4 <hn>หัวเรื่อง</hn>
การปรับเปลี่ยนขนาดตัวอักษร <font size>
ชื่อแอททริบิวท์ size
ตำแหน่งของแอททริบิวท์ อยู่ในแท็กเปิด <font...>
รูปแบบใน HTML4 <font size="n">ข้อความ</font>
การกำหนดแบบตัวอักษร <font face>
ชื่อแอททริบิวท์ face
ตำแหน่งของแอททริบิวท์ อยู่ในแท็กเปิด <font...>
รูปแบบใน HTML4 <font face="ชื่อฟอนต์">ข้อความ</font>
การกำหนดสีพื้นและสีตัวอักษร <body bgcolor.. text..>
ชื่อแอททริบิวท์ bgcolor (สีพื้นเว็บเพจ) และ text (สีตัวอักษรทั้งเว็บเพจ)
ตำแหน่งของแอททริบิวท์ อยู่ในแท็กเปิด <body...>
รูปแบบใน HTML4 <body bgcolor="#รหัสสี/ชื่อสี" text="#รหัสีสี/ชื่อสี">
การกำหนดสีเฉพาะข้อความ <font color>
ชื่อแอททริบิวท์ color
ตำแหน่งของแอททริบิวท์ อยู่ในแท็กเปิด <font...>
รูปแบบใน HTML4 <font color="#รหัสสี/ชื่อสี">...</font>
การกำหนดอักษรวิ่ง <marquee>
ตำแหน่งของแท็ก อยู่ในภายในแท็ก <body>...</body>
รูปแบบใน HTML4 <marquee>ข้อความ</marquee>
การสร้างลิสต์แบบไม่มีลำดับ <ul>
ตำแหน่งของแท็ก ul (unordered List) อยู่ภายในแท็ก <body>...</body>
li (List Item) อยู่ภายในแท็ก <ul>...</ul>
รูปแบบใน HTML4 <ul>
<li>ข้อมูลในลิสต์
<li>ข้อมูลในลิสต์
</ul>
การกำหนดเครื่องหมายนำหน้าหัวข้อ
ชื่อแอททริบิวท์ type
ตำแหน่งของแอททริบิวท์ อยู่ในแท็กเปิด <ul…> หรือ <li…>
รูปแบบใน HTML4 <ul type=”ชนิดเครื่องหมาย”>
<li type=”ชนิดเครื่องหมาย”>
การสร้างลิสต์แบบมีลำดับ <ol>
ชื่อแท็ก <ol> และ <li>
ตำแหน่งของแท็ก ol (Ordered List) อยู่ภายในแท็ก <body>...</body>
li (List Item) อยู่ภายในแท็ก <ol>...</ol>
รูปแบบใน HTML4 <ol>
<li>ข้อมูลในลิสต์
<li>ข้อมูลในลิสต์
</ol>
การกำหนดชนิดของตัวจัดลำดับ
ชื่อแอททริบิวท์ type
ตำแหน่งของแอททริบิวท์ อยู่ในแท็กเปิด <ol...>
รูปแบบใน HTML4 <ol type="ชนิด">
การเชื่อมโยงเว็บเพจด้วยลิงค์
การสร้างลิงค์
ชื่อแท็ก a (anchor)
ชื่อแอททริบิวท์ href
รูปแบบใน HTML4 <a href="ส่วนเชื่อม">ข้อความที่ปรากฎบนหน้าเว็บ</a>
ค่าที่กำหนดให้ใช้ ชื่อไฟล์หรือตำแหน่งของเว็บเพจที่ต้องการเชื่อมโยง
ลิงค์สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ 3 วิธีได้แก่
1.การเชื่อมโยงข้อมูลภายในเว็บเดียวกัน
2.การเชื่อมโยงข้อมูลในเว็บเพจหน้าอื่น
3.การเชื่อมโยงข้อมูลในเว็บไซต์ที่อื่น
การเชื่อมโยงข้อมูลภายในเว็บเดียวกัน
ชื่อแอททริบิวท์ name
ตำแหน่งของแอททริบิวท์ อยู่ในแท็กเปิด <a...>
รูปแบบใน HTML4 <a name="ชื่อของจุดลิงค์">...</a>
< a href="#ชื่อของจุดลิงค์">...</a>
ค่าที่กำหนดให้ใช้ ชื่อจุดหมายปลายทาง ชื่ออะไรก็ได้ที่ไม่ซ้ำชื่ออื่นที่อยู่ในเว็บหน้าเดียวกัน
การเชื่อมโยงข้อมูลในเว็บเพจหน้าอื่น แต่ยังอยู่ภายในเว็บไซต์เดียวกัน
ชื่อแท็ก <a>
ตำแหน่งของแอททริบิวท์ อยู่ในแท็ก <body>...</body>
รูปแบบใน HTML4 <a href="../index.html">Home</a>
<a href="webpage1.html">...</a>
การเชื่อมโยงข้อมูลในเว็บไซต์ที่อื่น
รูปแบบใน HTML4 <a href="URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการเชื่อมโยง">ข้อความที่ต้องการเชื่อมโยง</a>
การใช้ภาพเป็นลิงค์ <img>
ชื่อแท็ก img
ชื่อแอททริบิวท์ src
ตำแหน่งของแท็ก อยู่ภายในแท็ก <a>...</a>
รูปแบบใน HTML4 <img src="รูปภาพที่ใช้เป็นสัญลักษณ์">
ค่าที่กำหนดให้ใช้ ชื่อรูปภาพที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเชื่อมโยง
การจัดข้อมูลในรูปแบบของตาราง
การสร้างตาราง <table>, <tr>, <td>
ชื่อแท็ก table, tr, td
ตำแหน่งของแท็ก table อยู่ภายในแท็ก <body>...</body>
tr อยู่ภายในแท็ก <table>...</table>
td อยู่ภายในแท็ก <tr>...</tr>
รูปแบบใน HTML4 <table>
<tr><td>ข้อมูล</td><td>ข้อมูล</td></tr>
<tr><td>ข้อมูล</td><td>ข้อมูล</td></tr>
</table>
ค่าที่กำหนดให้ใช้ จำนวนแท็ก <tr>...</tr> เป็นการกำหนดจำนวนแถวในตาราง และจำนวนแท็ก <td>...</td>
เป็นการกำหนดจำนวนคอลัมน์ในแต่ละแถว
การใส่หัวข้อในตาราง
ชื่อแท็ก th
ตำแหน่งของแท็ก อยู่ภายในแท็ก <tr>...</tr>
รูปแบบใน HTML4 <tr><th>หัวข้อ1</th><th>หัวข้อ2</th></tr>
การตีเส้นตาราง
ชื่อแอททริบิวท์ border
ตำแหน่งของแอททริบิวท์ อยู่ในแท็กเปิด <table...>
รูปแบบใน HTML4 <table border="ความหนาของเส้นตาราง">
การใส่รูปภาพให้กับพื้นหลังของตาราง
ชื่อแอททริบิวท์ background
ตำแหน่งของแอททริบิวท์ อยู่ภายในแท็กเปิด <table...>
รูปแบบใน HTML4 background ="ชื่อไฟล์รูปภาพที่ต้องการนำมาใช้เป็นพื้นหลังของตาราง"
การตกแต่งหน้าเว็บเพจด้วยภาพกราฟฟิก
ประเภทของภาพกราฟฟิก
ภาพชนิด GIF
กราฟฟิกชนิด GIF กราฟฟิกชนิด GIF เป็นรูปแบบที่ถูกคิดค้นโดยบริษัท Compuserve เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ต่างแบบต่างรุ่นได้
ทำให้เหมาะสำหรับการนำมาใช้ในเว็บเพจ เพราะต้องแสดงได้บนเครื่องที่แตกต่างกัน แต่ข้อจำกัดของ GIF ที่สำคัญก็คือ สามารถใช้สีได้สูงสุดเพียงครั้งละ 256 เท่านั้น
กราฟฟิกชนิด GIF ใช้การบีบอัดข้อมูลเพื่อลดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล ลักษณะการบีบอัดข้อมูลในรูปแบบนี้จะได้ผลมากกับกราฟฟิกที่
ใช้สีที่มีความสม่ำเสมอ เช่น ภาพการ์ตูน หรือโลโก้ โดยจำนวนสีที่ใช้นั้นมีไม่มากนัก
ภาพชนิด JPEG
กราฟฟิกชนิด JPEG ถูกพัฒนาโดย Joint Photographic Experts Group เป็นกราฟฟิกที่สามารถทำงานกับเครื่องต่างแบบต่างรุ่น
ได้เช่นกัน ข้อดีของกราฟฟิกชนิดนี้ คือสามารถแสดงสีได้สูงสุดถึง 16.7 ล้านสี อย่างไรก็ตามภาพแบบ JPEG จะมีการสูญเสียรายละเอียดบ้าง ซึ่งเป็นผลจากการบีบอัดข้อมูล (Compression) เพื่อลดขนาดภาพให้มี่ขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป
การแสดงภาพบนเว็บเพจ <img>
ชื่อแท็ก img (image)
ตำแหน่งของแท็ก อยู่ภายในแท็ก <body>...</body>
รูปแบบใน HTML4 <img src="ชื่อไฟล์รูปภาพ">
แหล่งอ้างอิง: การสร้างเว็บไซต์ด้วยภาษา HTML: อรพิน ประวัติบริสุทธิ์: สำนักพิมพ์โปรวิชั่น 2547
http://www.nectec.or.th
จากใจผู้จัดทำ: ผมหวังว่าสื่อที่ผมจัดทำขี้นนี้จะเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยพัฒนาด้านระบบการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไปครับ และถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดประการใด ทางผู้จัดทำก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ครับ
อืมๆ ดี เน้อ
ใจเย็นๆครับผลงานคุณภาพต้องรอหน่อยครับ