ปรง cycad@ผดุงนารี

ขอกล่าวคำว่าสวัสดีค๊าาาา สำหรับท่านผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บของเรา อะน๊ะ!! อย่าเพิ่งค่ะอย่างเพิ่งคิดจะเปลี่ยนไปเว็บอื่ น ค่ะสำหรับท่านผู้ที่กำลังศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของพืชโดยเฉพาะต้น " ปรง "นะค่ะคุณจะไม่เสียใจเลยค่ะสำหรับเว็บน้ี คุณเคยสงสัยไหมค่ะว่าต้นปรงมีลักษณะเป็นอย่างไรเป็นพื่ชชนิดไหน (อะนะเริ่มสงสัยขึ้นมาเลยสินะนั่น555+
) แล้ว!! คุณรู้หรือป่าวค่ะว่าต้นปรงมีสารพิษหรือป่าว
แล้วต้นปรงจะมีสรรพคุณที่เป็นยารักษาโรคได้หรือไม่ แล้ว ปรง จะใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?
สำหรับต้นปรงที่เรานำมาศึกษาจะอยู่บริเวณสวนหย่อมข้างอาคาร 2 ที่ โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคคาม (นั่นแน๊ๆๆๆอยากไปดูแล้วใช่ไหมละค๊าาา ) งั้นเราเข้าไปตะลุยศึกษา ต้น "ปรง" กันได้เลยค๊าาาาา
ที่มา: http://student.nu.ac.th/waynuka/rabbit/topic/images/01060001.jpg
ชื่อสามัญ: Sago palm
ชื่อวิทยาศาสตร์:Cycas revoluta
ชื่อวงศ์:Zamioideae
ลักษณะวิสัย/ประเภท: ไม้ล้มลุก
ปรง" ในอันดับ (Order) Cycadales ทั่วโลกมีอยู่ด้วยกัน 3 วงศ์
คือ Cycadaceae, Stangeriaceae และ Zamiaceae
มีสมาชิกรวมแล้วประมาณ 300 ชนิด
(อาจมีการแยก ยุบรวม หรือพบชนิดใหม่เพิ่มเติมอยู่ตาม
ความเห็นนักพฤกษศาสตร์แต่ละท่าน) โดยในวงศ์แรก Cycadaceae
มีเพียง 1 สกุล คือ Cycas มีประมาณ 90 ชนิด กระจายพันธุ์กว้างขวาง
ในเขตโลกเก่า ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา มาจนถึงเอเชีย
ออสเตรเลีย และตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ปรงที่พบในไทย
ทั้งสิบกว่าชนิดก็ล้วนอยู่ในสกุล Cycas นี้ วงศ์ Stangeriaceae
แยกเป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Stangerioideae และ Bowenioideae
ซึ่งแต่ละวงศ์ย่อยก็มีเพียงหนึ่งสกุล วงศ์ย่อยแรก คือสกุล Stangeria
มีเพียง 1 ชนิด พบในแอฟริกาใต้ ส่วนวงศ์ย่อยที่ 2 คือสกุล Bowenia
มี 2 ชนิด พบทางฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย วงศ์ Zamiaceae
เป็นวงศ์ใหญ่สุดของปรง แยกออกเป็น 2 วงศ์ย่อย อันได้แก่
ที่มา : http://www.bloggang.com/data/travelaround/picture/1215201894.jpg
สรรพคุณ : ดอกมีรสเผ็ด บำรุงร่างกายให้สมบูรณ์ แก้ลมดีและเสมหะพิการ บำรุงธาตุ หัว นำมา
ฝนปรุงกับสุรา แก้ฟกบวม รักษาแผลเรื้อรัง แก้แผลกาย ใช้เป็นยาสมานแผลได้ดีมาก
ปรงนี้ นำมาทำเป็นยา ใช้ทาแผลที่อักเสบ หรือใช้ดูดหนองฝีและดับพิษ ชาวป่าทางภาค
เหนือนิยมใช้กันมาก
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์: การขยายพันธุ์พืชโดยการแบ่งและแยกส่วน เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชพวกที่มีลำต้นแปลกปลอมเพื่อให้ได้ต้นพืชต้นใหม่ที่มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ของต้นแม่ทุกประการ
ที่มา : http://www.212cafe.com/images/group/1/372/4f0b155d846567b822002063/4f0b1c63846567b82205084c.jpg
การดูแลรักษา
แสงชอบแสงแดดจัดน้ำปรงเป็นพืชที่ทนต่อการขาดน้ำและต้องการน้ำพอประมาณ
ดินปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดแต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนทราย
ปุ๋ยใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง
ส่วนที่เป็นพิษ ยอดและเมล็ด
สารพิษที่พบ cycasin ซึ่งเป็นสารกลุ่ม pseudocyanotic glycoside ซึ่งสารพวกนี้เมื่ออยู่ในสภาวะกรด (สภาวะในกระเพาะ) จะสลายตัวให้สาร aglycone (methylazoxymethanol) แต่ในสภาวะที่เป็นด่าง (สภาวะในลำไส้) จะสลายตัวให้กรดไฮโดรเจนไซยานิค (HCN) สาร methylazoxymethanol ทำให้เกิดอาการปวดหัว หมุน อาเจียน ปวดท้อง ปวดหลัง หายใจขัด สั่น ตามัว ท้องเสีย ถ้ารับประทานมาก ๆ อาจทำให้ตาบอด เกิดอาการ acidosis เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง อาจทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนกรดไฮโดรเจนไซยานิค (HCN) จะไปทำปฎิกริยากับ Fe+ ใน cytochrome oxidase ทำให้ขัดขวางระบบหายใจ โดยร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ ทำให้หายใจถี่ มีอาการชัก และตายในที่สุด นอกจากนี้การศึกษา cycasin ในสัตว์ทดลองยังพบว่า cycasin มีพิษต่อตับ และระบบประสาท
อาการพิษ
- อาการตั้งแต่เล็กน้อย เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน จนถึงอาการมาก เช่น อาเจียนอย่างรุนแรง อาการบวมของกระเพาะ อาการสลด หดหู่ มึนงง ประสาทหลอน ท้องร่วง ปวดท้อง ชาตามกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการเหล่านี้บางอาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางอาการจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ
- มีรายงานว่าแกะที่กินใบของปรงก็เกิดอาการเซลล์ประสาท และเซลล์ตับถูกทำลาย และตายในที่สุด
- ปรงสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ โดยเฉพาะแป้งจากราก ต้นและเมล็ด แต่ในประเทศฟิลิปปินส์รับประทานยอดอ่อน ซึ่งต้องกำจัดสารพิษออกก่อนโดยการแช่น้ำนานหลาย ๆ วัน เพื่อให้สารพิษละลายออกไป หรือต้มทำลายสารพิษเสียก่อน
ตัวอย่างผู้ป่วย
- ผู้อพยพชาวเขมรที่หนีสงครามข้ามมาฝั่งไทยในช่วงปี 2516 ในระหว่างการเดินทางมายังประเทศไทย เนื่องจากขาดแคลนอาหาร จึงเก็บยอดปรงรับประทาน หลังจากมาถึงค่ายผู้อพยพแล้วก็ยังรับประทานกันต่อ เมื่อรับประทานเข้าไปมาก ๆ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียอย่างรุนแรง
- ชาวญี่ปุ่นที่ซ่อนตัวอยู่ในเกาะกวม กินผลปรงซึ่งยังทำไม่สุก ทำให้อาเจียนและมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงจนมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
การรักษา
1. รักษาอาการเช่นเดียวกับอาการพิษจากสาร methylazoxymethanol คือ รักษาอาการ acidosis โดยใช้ alkali
2. รักษาระดับอิเล็กโตรไลต์ และอาหาร
3. กำจัดสารพิษโดยใช้วิธี hemodialysis หรือ peritoneal dialysis
4. ให้ความอบอุ่นแก่คนไข้ ป้องกันตาไม่ให้ถูกแสง
เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดได้ทำการคัดลอกมาแล้วไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนด้วย ดูรูปแบบการทำเอกสารอ้างอิงได้ที่ http://www.thaigoodview.com/node/99177
มิฉะนั้นทางเว็บ thaigoodview.com จำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งหมดออก
ขอขอบคุณ
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว
ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่าคัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง
ช่วยกันนะครับ
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ ไม่ถูกปิดเสียก่อน
ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ