การศึกษาคุณภาพของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม กับบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญของปัญหา แม่น้ำงาวเป็นแม่น้ำสายหลักของชาวอำเภอเวียงแก่น โดยเฉพาะชาวหมู่บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และหมู่บ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำงาว ในการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้น้ำจากแม่น้ำงาวในการรดพืชผักสวนครัว ทำให้มีการชะล้างสารเคมีและมีการทิ้งขยะลงในแม่น้ำงาว โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา จากการสำรวจคณะผู้วิจัยพบว่า สภาพน้ำมีความขุ่นมัวและตื้นเขินรวมทั้งพบเศษขยะริมฝั่งแม่น้ำงาว จึงมีความสนใจที่จะศึกษาคุณภาพของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบริเวณบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ว่ามีคุณภาพเป็นอย่างไร เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์และรักษาแม่น้ำงาวให้คงอยู่สืบต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน คำถามการวิจัย 1. ความโปร่งใสของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบริเวณบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดชียงราย เป็นอย่างไร 2. ค่า pH ของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบริเวณบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังกวัดเชียงราย เป็นอย่างไร 3. อุณหภูมิของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบริเวณบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เป็นอย่างไร สมมติฐานงานวิจัย 1. แม่น้ำงาวบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีความโปร่งใสน้อย 2. ค่า pH ของแม่น้ำงาว บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีค่าเป็นกรดอ่อน 3. อุณหภูมิของแม่น้ำงาว บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีอุณหภูมิสูง วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาความโปร่งใสของแม่น้ำงาว บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย 2. เพื่อศึกษาค่า pH ของแม่น้ำงาว บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย 3. เพื่อศึกษาอุณหภูมิของแม่น้ำงาว บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ผลที่ได้รับจากการวิจัย 1. ชาวบ้านหมู่บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ทราบถึงปัญหาสารเคมีในน้ำของคุณภาพแม่น้ำงาว และมีวิธีการปรับสารเคมีในแม่น้ำงาว ให้มีคุณภาพดีขึ้น 2. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำงาว บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ขอบเขตการศึกษา 1. พื้นที่ที่ศึกษา บริเวณแม่น้ำงาว บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย และบริเวณแม่น้ำงาว บ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ภาพที่ 1 แสดงภาพบริเวณแม่น้ำงาว บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ภาพที่ 2 แสดงภาพบริเวณแม่น้ำงาวบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย 2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ต้องการศึกษา 2.1 ความโปร่งใส 2.2 ค่า pH 2.3 อุณหภูมิ 3. ตัวแปรที่ศึกษา 3.1 ตัวแปรต้น คือ ความโปร่งใส, ค่า pH, อุณหภูมิ, 3.2 ตัวแปรตาม คือ คุณภาพของแม่น้ำงาว 3.3 ตัวแปรควบคุม คือ เวลาในการตรวจวัด บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาคุณภาพของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม กับบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1. แม่น้ำงาว 1.1 ที่มาและลักษณะของแม่น้ำงาว 1.2 ประโยชน์ของแม่น้ำงาว 2. ความโปร่งใส 2.1 ความหมายของความโปร่งใส 2.2 เครื่องมือในการตรวจวัดความโปร่งใส 2.3 วิธีการตรวจวัดความโปร่งใสของน้ำ 3. ค่า pH 3.1 ความหมายของค่า pH 3.2 เครื่องมือที่วัดค่า pH 3.3 วิธีการตรวจวัดค่า pH 4. อุณหภูมิ 4.1 ความหมายของอุณหภูมิ 4.2 เครื่องมือการวัดอุณหภูมิ 4.3 วิธีการวัดอุณหภูมิ 5. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. แม่น้ำงาว 1.1 ที่มาและลักษณะของแม่น้ำงาว แม่น้ำงาว เป็นแม่น้ำสายใหญ่ ที่ไหลผ่านพื้นที่ทั้งอำเภอ จากตำบลปอ ผ่านตำบล ท่าข้าม ตำบลม่วงยาย ตำบลหล่ายงาว ลงสู่แม่น้ำโขงในเขตท้องที่ตำบลหล่ายงาว (บ้านแจมป๋อง) แม่น้ำงาวนี้เปรียบเสมือนสายโลหิตของประชากรทั้ง 4 ตำบลซึ่งใช้ในการเกษตร อุปโภคบริโภค และยังอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำที่ราษฎรสามารถจับและบริโภคได้ทุกฤดูกกาลในหน้าแล้งจะมีน้ำน้อยมาก 1.2 ประโยชน์ของแม่น้ำงาว 1. ใช้สำหรับการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ 2. สามารถนำอุปโภคและบริโภคได้ 3. เป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสิ่งมีชีวิตในน้ำต่างๆ 2. ความโปร่งใส 2.1 ความหมายของความโปร่งใส ความโปร่งใส หมายถึง ภาวะของเหลวมีความขุ่นหรือมัวเพราะได้การปนเปื้อนจากอนุภาคต่างๆ หรือสารแขวนลอยหลากขนาด ภาวะนี้ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่นเดียวกับหมอกควันในอากาศและยังเป็นมาตรหนึ่งในการทดลองคุณภาพของน้ำและการวัดความขุ่นในของเหลวอื่นอีกด้วย ของเหลวสามารถมีวัตถุแขวนลอยอยู่ได้ซึ่งอาจประกอบจากอนุภาคที่มีขนาดแตกต่างกันได้ ซึ่งกรณีของเหลวมีวัตถุ หากวัตถุแขวนลอยนั้นมีขนาดใหญ่และหนักกว่าวัตถุนั้นก็จะจมลงอย่างรวดเร็วสู่ก้นภาชนะ ขณะที่อนุภาคของแข็งขนาดเล็กนี้เป็นสาเหตุให้ของเหลวเกิดการขุ่นได้เช่นกัน 2.2 เครื่องมือที่ใช้การตรวจวัด Secchi Disk ภาพที่ 3 แสดงภาพจานวัดความโปร่งใส 2.3 การตรวจวัดความโปร่งใสของน้ำ ค่อยๆ หย่อนจานวัดความโปร่งใสลงในน้ำจนกระทั่งถึงจุดที่มองไม่เห็นสีขาวสลับดำบนจานวัดความโปร่งใส ทำเครื่องหมายบนเชือก ณ จุดผิวหน้าน้ำ แต่ถ้าไม่สามารถทำเครื่องหมาย ณ จุดผิวหน้าน้ำได้โดยตรงต้องทำเครื่องหมายบนเชือกที่สูงจากผิวน้ำ ซึ่งจะรู้ค่าระยะที่แน่นอน 3. ค่า pH 3.1 ความหมายของค่า pH ค่า pH เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรด-เบส ของสาร โดยค่า pH จะอยู่ในช่วง 1-14 ถ้าค่า pH น้อยกว่า 7 สารชนิดนั้นจะมีฤทธิ์เป็นกรด และถ้าค่า pH มากกว่า 7 สารชนิดนั้นจะมีฤทธิ์เป็นเบสหรือด่าง แต่ถ้าค่า pH นั้นมีค่าเท่ากับ 7 แสดงว่าสารชนิดนั้นเป็นกลางไม่เป็นกรดเป็นเบสไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง การหาค่า pH ในสารต่างๆ มีประโยชน์มากมายในด้านการผลิตต่างๆ อย่างด้านอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง จนรวมไปถึงการเกษตรฯ 3.2 เครื่องมือที่วัดค่า pH กระดาษยูนิเวอร์ซัลดิเคเตอร์ ภาพที่ 4 แสดงภาพกระดาษยูนิเวอร์ซัลดิเคเตอร์ 3.3 วิธีวัดค่า pH 1. ใช้กระดาษยูนิเวอร์ซัลดิเคเตอร์ จุ่มในน้ำที่ต้องการวัด 2. ทิ้งไว้ประมาณ 10-30 วินาที 3. นำไปเทียบสี แล้วบันทึกผล 4. อุณหภูมิ 4.1 ความหมายของอุณหภูมิ อุณหภูมิ หมายถึง ปริมาณของระดับความร้อนหรือความเย็นใดๆ สามารถวัดระดับอุณหภูมิได้จากเครื่องมือที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) 4.2 เครื่องมือการวัดอุณหภูมิ เทอร์โมมิเตอร์(Thermometer) คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิ ซึ่งจะประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ ได้แก่ ส่วนตรวจวัดอุณหภูมิและส่วนแสดงผลซึ่งจะแปลงผลการวัดออกมาเป็นค่าที่แสดงถึงอุณหภูมิ ของเทอร์โมมิเตอร์นั้นมีหลายชนิด แต่ที่เราคุ้นเคยกันส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเทอร์โมมิเตอร์ที่ประกอบด้วยกระเปาะของของเหลวดังรูปด้านบน การสร้างเทอร์มอมิเตอร์แบบนี้นั้นอาศัยคุณสมบัติของการขยายตัวของของเหลวหรือแก๊ส เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น และหดตัวเมื่ออุณหภูมิลดลง ภาพที่ 5 แสดงภาพเทอร์โมมิเตอร์ 4.3 วิธีการตรวจวัดอุณหภูมิ 1. เก็บตัวอย่างน้ำอย่างน้อย 5 ลิตร เพื่อให้แน่ใจว่าอุณหภูมิที่ได้ไม่มีผลจากเทอร์โมมิเตอร์และอากาศ 2. จุ่มเทอร์โมมิเตอร์ลงไปในน้ำ (ลึกประมาณ 4 นิ้ว) 3. ค่อยอ่านค่าอุณหภูมิเมื่อของเหลวหยุดนิ่งคงที่ (ประมาณ 3-5 นาที) 4. ควรอ่านซ้ำอีกครั้งแล้วนำอุณหภูมิทั้ง 2 ครั้ง มาเฉลี่ยและบันทึกค่าอุณหภูมิที่วัดได้ลงในแบบบันทึก บทที่ 3 การดำเนินงานวิจัย จุดศึกษา บริเวณแม่น้ำงาวบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบริเวณแม่น้ำงาวบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ภาพที่ 6 แสดงภาพบริเวณแม่น้ำงาวบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ภาพที่ 7 แสดงภาพบริเวณแม่น้ำงาวบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย วัสดุอุปกรณ์ ภาพที่ 8 แสดงภาพบีกเกอร์ บีกเกอร์ ภาพที่ 9 แสดงภาพเทอร์โมมิเตอร์ เทอร์โมมิเตอร์ ภาพที่ 10 แสดงภาพกระดาษยูนิเวอร์ซัลดิเคเตอร์ กระดาษยูนิเวอร์ซัลดิเคเตอร์ ภาพที่ 11 แสดงภาพ Secchi Disk Secchi Disk ภาพที่ 12 แสดงภาพปากกาและสมุดจดบันทึก ปากกาและสมุดจดบันทึก วิธีดำเนินการวิจัย ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 3.1.1 ขั้นเตรียมการวิจัย 3.1.1.1 ศึกษาเอกสารและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แม่น้ำงาว ความโปร่งใส ค่าpH อุณหภูมิ 3.1.1.2 เลือกพื้นที่ที่ศึกษา โดยพิจารณาถึงความสะดวกในการเก็บตัวอย่างและพิจารณาว่าบริเวณที่ศึกษามีการใช้น้ำในการเกษตร คุณภาพของน้ำมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยตัวแทนศึกษาคือ บริเวณแม่น้ำงาวบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย 3.1.2 ขั้นดำเนินงาน 1. วิธีวัดความโปร่งใสของน้ำ ภาพที่ 13 แสดงวิธีวัดความโปร่งใส ค่อยๆ หย่อน Secchi Disk ลงในน้ำบริเวณที่ต้องการวัดความโปร่งใส ภาพที่ 14 แสดงจุดหน้าผิวน้ำ 1.2 สังเกตจุดที่มองไม่เห็นสีขาวสลับดำบน Secchi Disk ทำเครื่องหมายบนเชือก ณ จุดผิวหน้าน้ำ แล้วบันทึกผล 2. วัดค่า pH ภาพที่ 15 แสดงวิธีการวัดค่า pH 2.1 ใช้กระดาษยูนิเวอร์ซัลดิเคเตอร์ จุ่มลงไปในน้ำที่ต้องการวัด ภาพที่ 16 แสดงผลค่า pH ของน้ำงาว บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย 2.2 ทิ้งไว้ประมาณ 10-30 วินาที ภาพที่ 17 แสดงการเปรียบเทียบผลค่า pH กับตารางเปรียบเทียบ 2.3 นำไปเทียบสี อ่านค่า แล้วบันทึกผล ลงในแบบบันทึก 3. วิธีวัดอุณหภูมิ ภาพที่ 18 แสดงการเก็บตัวอย่างน้ำวัดอุณหภูมิ 3.1 เก็บตัวอย่างน้ำอย่างน้อย 5 ลิตร เพื่อให้แน่ใจวาอุณหภูมิที่ได้ไม่มีผลจากเทอร์โมมิเตอร์และอากาศ ภาพที่ 19 แสดงภาพวิธีการวัดอุณหภูมิ จุ่มเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะลงไปในน้ำ ภาพที่ 20 แสดงภาพเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ 3.3 ค่อยอ่านค่าอุณหภูมิ เมื่อของเหลวหยุดนิ่งคงที่ แล้วบันทึกผล 3.1.3 ขั้นวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย 1. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้ค่าเฉลี่ย และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วแสดงผลในรูปตารางและกราฟ 2. สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ค่าเฉลี่ย x ̅=(∑▒x)/N x ̅ = ค่าเฉลี่ย ∑▒x = ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด N = จำนวนข้อมูลทั้งหมด 2. ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D=√(n∑▒x^2-(∑▒〖x■(2@))〗)/(n(n-1)) S.D = ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน x = ข้อมูลแต่ละจำนวน n = จำนวนข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง บทที่ 4 ผลการวิจัย จากการศึกษาปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำงาว บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ได้ผลการวิจัย ดังนี้ 1. ผลการศึกษาความโปร่งใส ค่า pH และอุณหภูมิ ของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ตารางที่ 1 แสดงผลการศึกษาความโปร่งใส ค่า pH แลอุณหภูมิ ของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ครั้งที่ วัน/เดือน/ปี ความโปร่งใส ค่า pH อุณหภูมิ 1 8 ธันวาคม 2555 29 7 21 2 9 ธันวาคม 2555 29 7 23 3 10 ธันวาคม 2555 29 8 21 4 11 ธันวาคม 2555 30 8 21 5 12 ธันวาคม 2555 31 7 22 6 13 ธันวาคม 2555 29 9 23 7 14 ธันวาคม 2555 30 8 20 8 15 ธันวาคม 2555 31 7 21 9 16 ธันวาคม 2555 29 9 22 10 17 ธันวาคม 2555 29 8 20 11 18 ธันวาคม 2555 30 7 22 12 19 ธันวาคม 2555 31 9 21 13 20 ธันวาคม 2555 32 7 22 14 21 ธันวาคม 2555 30 7 23 15 22 ธันวาคม 2555 29 8 23 ค่าเฉลี่ย 30 8 22 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D 1.0 0.8 1.0 ภาพที่ 21 แสดงความโปร่งใสของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ภาพที่ 22 แสดงค่า pH ของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ภาพที่ 23 แสดงอุณหภูมิของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ตารางที่ 2 แสดงผลการศึกษาความโปร่งใส ค่า pH และอุณหภูมิ ของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ครั้งที่ วัน/เดือน/ปี ความโปร่งใส ค่า pH อุณหภูมิ 1 8 ธันวาคม 2555 30 7 23 2 9 ธันวาคม 2555 31 8 22 3 10 ธันวาคม 2555 30 8 20 4 11 ธันวาคม 2555 32 7 21 5 12 ธันวาคม 2555 33 9 23 6 13 ธันวาคม 2555 30 8 22 7 14 ธันวาคม 2555 32 7 22 8 15 ธันวาคม 2555 31 7 21 9 16 ธันวาคม 2555 30 8 22 10 17 ธันวาคม 2555 32 7 21 11 18 ธันวาคม 2555 33 7 21 12 19 ธันวาคม 2555 31 7 22 13 20 ธันวาคม 2555 32 9 23 14 21 ธันวาคม 2555 30 8 22 15 22 ธันวาคม 2555 31 8 23 ค่าเฉลี่ย 31 7 22 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D 1.2 0.8 1.0 ภาพที่ 24 แสดงความโปร่งใสของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ภาพที่ 25 แสดงค่า pH ของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ภาพที่ 26 แสดงอุณหภูมิของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ตารางที่ 3 แสดงผลการเปรียบเทียบความโปร่งใส ค่า pH อุณหภูมิ ของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย บริเวณ ความโปร่งใส ค่า ph อุณหภูมิ บ้านท่าข้าม 30 8 22 บ้านปอกลาง 31 7 22 ภาพที่ 27 แสดงการเปรียบเทียบความโปร่งใสของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ภาพที่ 28 แสดงการเปรียบเทียบค่า pH ของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ภาพที่ 29 แสดงการเปรียบเทียบอุณหภูมิของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยการศึกษาคุณภาพแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย พบว่า 1.ความโปร่งใสของเม่น้ำงาวบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีความโปร่งใส เท่ากับ 30 cm และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียง มีความโปร่งใส เท่ากับ 31 cm 2.ค่า ph ของแม่น้ำงาว บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เท่ากับ 8 มีความเป็นเบสอ่อน และค่า ph ของแม่น้ำงาว บ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เท่ากับ 7 มีความเป็นกลาง 3.อุณหภูมิของแม่น้ำงาวบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีอุณหภูมิ เท่ากับ 22 องศาเซลเซียส และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีอุณหภูมิ เท่ากับ 22 องศาเซลเซียส อภิปรายผลการวิจัย จากผลการศึกษาคุณภาพแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย นำมาอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ 1.ผลการศึกษาความโปร่งใส ของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีค่าความโปร่งใส เท่ากับ 31 cm และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีค่าความโปร่งใส เท่ากับ 30 cm ทั้งนี้เนื่องจากแม่น้ำงาวทั้งสองที่อยู่ใกล้กัน แต่แม่น้ำงาวบ้านปอกลางเป็นต้นน้ำ จึงทำให้มีความโปร่งใสกว่า และมีการหมุนเวียนน้ำตลอดเวลา จึงทำให้น้ำมีความโปร่งใสสูง 2.ผลการศึกษาค่า ph ของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีค่า ph เท่ากับ 8 มีความเป็นเบสอ่อน และค่า ph ของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีค่า ph เท่ากับ 7 มีความเป็นกลาง ทั้งนี้เนื่องจากแม่น้ำงาวบ้านท่าข้ามมีการปลูกพืชผลมากกว่าแม่น้ำงาวบ้านปอกลาง ทำให้มีการชะล้างสารเคมีมากกว่า 3.ผลการศึกษาอุณหภูมิของแม่น้ำงาว บริเวณบ้านท่าข้าม ตำบบลท่าข้าม และบ้านปอกลาง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีอุณหภูมิ เท่ากับ 22 องศาเซลเซียส เท่ากัน ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณโดยรอบของแม่น้ำงาวทั้งสองที่มีร่มไม้ใหญ่ที่ให้ความชื้นสูง มีการระเหยของไอน้ำในต้นไม้และพืชผักชนิดต่างๆ ที่อยูบริเวณรอบๆ แม่น้ำงาว ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยตรั้งต่อไป 1. การตรวจวัดควรวัดในเวลาที่เท่ากัน 2. ควรเปลี่ยนสถานที่ทำงานวิจัยบ้าง เช่น แม่น้ำโขง หรือจะทำวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพของดินก็ได้

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 468 คน กำลังออนไลน์