อาณาจักรกรุงธนบุรี

อาณาจักรธนบุรี

พ.ศ. 2310 – 2325

 

 

                                           เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว  บ้านเมืองก็เกิดจลาจลวุ่นวายอยุ่ทั่วไป  แต่ในชั่วเวลาเพียงประมาณ  7  เดือน  ไทยก็กลับเป็นอิสระได้อีกครั้งหนึ่ง  เพราะความสามารถของพระยาตาก  หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในเวลาต่อมา  โดยได้รวบรวมคนไทยต่อสู้เอาชนะพม่า  และสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีของไทยต่อจากรุงศรีอยุธยา

                                         สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2277  ชาติกำเนิดเป็นคนสามัญ บิดาชื่อ นายไหฮอง   (เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีบรรดาศักดิ์เป็น ขุนพัฒน์  มีมารดาชื่อ นางนกเอี้ยง )  ทรงเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยาจักรี  (ขุนนางผู้ใหญ่ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) ต่อมาได้รับราชการเป็นมหาดเล็ก  และได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นตามลำดับ  จนได้เป็น พระยาตาก  ครองเมืองตากในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ

                                        ในขณะที่สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2  กำลังดำเนินอยู่นั้น  พระยาตากได้รับคำสั่งให้มาช่วยรักษาพระนคร  ปรากฏว่าได้แสดงฝีมือในการรบอย่างเข้มแข็ง  ได้รับพระราชทานบำเหน็จความชอบเป็นพระยาวชิรปราการ  แต่ขณะปฏิบัติการรบอยู่นั้น  ได้เกิดความท้อใจในความอ่อนแอของพระเจ้าเอกทัศ  และเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาจะต้องเสียแก่พม่าอย่างแน่นอน  จึงได้นำกำลังทหารประมาณ  500  คนตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมา  เมื่อเดือนยี่ พ.ศ.2309  มุ่งไปทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก  เพื่อหาที่มั่นรวบรวมผู้คนย้อนกลับมาสู้รบกับพม่าในภายหลัง

                                        เส้นทางที่ใช้ในครั้งนี้ผ่านนครนายก  ปราจีนบุรี  วงลงมาฉะเชิงเทราไปทางใต้   เลียบฝั่งทะเลจนเข้าเขตเมืองระยอง  และที่เมืองระยองนี้เองที่พระยาตากได้ประกาศตั้งตนเป็นเจ้าด้วยความเห็นชอบของบรรดาทหารและผู้คนทั้งปวง

                                        กิตติศัพท์การมีชัยชนะเหนือผู้ต่อต้านระหว่างการเดินทาง  ทำให้เจ้าตากมีสมัครพรรคพวกมากขึ้น  จนในที่สุดก้สามารถตีได้หั้วเมืองชายทะเลตะวันออกทั้งหมด  คือ  ชลบุรี  ระยอง จันทบุรี  และตราด

                                       ที่จันทบุรี  เจ้าตากได้ทรงแสดงความสามารถในการใช้กำลังทหารเข้าตีป้อมค่าย  ซึ่งทางเจ้าเมืองต่อต้านอย่างแข็งขัน  หลังจากได้ชัยชนะแล้วเจ้าตากก็ได้ใช้เป็นฐฐานรวรวมกำลัง

                                      ถึงปลายปี พ.ศ. 2310  เมื่อทรงเตรียมการได้เรือ  100 ลำเศษ  ไพร่พลอีกประมาณ  5,000  คน  จึงได้เคลื่อนทัพทางน้ำมุ่งเข้าโจมตีกรุงธนบุรีเป็นด่านแรก  เกิดการปะทะกับกองกำลังของ  นายทองอิน  ซึ่งพม่าแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษากรุง  นายทองอินถูกจับประหารชีวิต

                                      จากนั้นทรงยกทัพต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา  ได้สู้รบกับสุกี้พระนายกอง  ซึ่งควบคุมกองทัพพม่าอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น  สุกี้ตายในที่ราบ  ทหารที่เหลือก็แตกพ่าย  เจ้าตากจึงได้อำนาจการปกครองประเทศกลับคืนจากพม่านับแต่วาระนั้น  บรรดาเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยตลอดจนผู้คนทั้งปวงจึงได้พร้อมใจอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็น  สมเด็จพระบรมราชาที่ 4  แต่คนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ตามความเคยชินว่า  พระเจ้าตากสิน

                                    ภายหลังการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีและกระทำพิธีอภิเษกตามขัตติยราชประเพณีแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้ทรงปูนบำเหน็จแก่แม่ทัพนายกองและไพร่พลโดยถ้วยหน้า

                                    สำหรับผู้ที่เป้นกำลังสำคัญของพระองค์  2  ท่าน  คือ  นายบุญมาได้รับการแต่งตั้งเป็น  พระมหามนตรี  ตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจในชวา  ส่วนหลวงยกกระบัตรราชบุรี (ทองด้วง)  พี่ของนายบุญมา ได้รับแต่งตั้งเป็น พระราชวรินทร์ (บุญมา)

                                    ในส่าวนอาณาประชาราษฎร์ทั่วไปนั้นพระองค์ได้ทรงดำเนินการปลุกปลอบ  ชักชวนผู้ที่ยังหลบซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ ให้ออกมาสู่ภูมิลำเนาเดิม  และได้ทรงพระเกรุณาแจกจ่ายอาหาร เสื้อผ้า  และเงินตรา  บรรเทาความเดือดร้อนที่กำลังประสบกันอยู่อย่างทั่วถึง

 

การปราบชุมนุมต่างๆ

                                   ในระยะที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310  นั้น  มีคนไทยพยายามตั้งตัวเป็นใหญ่   โดยการรวบรวมคนตั้งเป็นชุมนุมหรือก๊กต่างๆ  ชุมนุมทีสำคัญๆ นอกเหนือจากชุมนุมที่สำคัญๆ  นอกเหนือจากชุมนุมของพระยาตาก (สิน)  เองแล้ว ได้แก่  ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก  ชุมนุมเจ้าพิมาย  ชุมนุมเจ้าพิมาย  ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช  และชุมนุมเจ้าพระฝาง  เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้เวลาประมาณ  3  ปี  ปราบปรามชุมนุมต่างๆ  ให้อยู่ในอำนาจของกรุงธนบุรี  ทำให้คนไทยทีเคยแตกแยกกันกลับเข้ามารวมตัวเป็นปีกแผ่นได้ใหม่

 

การฟื้นฟูวัฒนธรรม

                                 แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปในการสร้างบ้านเมืองและป้องกันประเทศ  แต่ก็มิได้ทรงทอดทิ้งงานด้านวัฒนธรรม  การฟื้นฟูวัฒนธรรมที่สำคัญในสมัยนี้  ได้แก่

                                   ด้านศาสนา   สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา  ได้ทรงฟื้นฟูพระวินัยและชำระความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์  ทรงสสร้างและบูรณะวัดหลายแห่ง  โปรดเกล้าฯ  ให้คัดลอกพระไตรปิฎกไว้เป็นฉบับหลวง  และมีการอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองเวียงจันทร์มาประดิษฐฐานที่วัดอรุณราชวราราม

                                   ด้านศิลปะและวรรณกรรม     ศิลปะส่วนใหญ่เป็นงานสถาปัตยกรรม  ปรากฏในงานก่อสร้างพระราชวังเดิม  งานบูรณะซ่อมแซมวัดต่างๆ  ทางด้านนาฎศิลป์และดุริยางคศิลป์ก็ยังคงรักษาของเดิมเอาไว้ส่วนทางด้านวรรณกรรมมีผลงานน้อย  ที่สำคัญได้แก่  พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์บางตอน  และผลงานของหลวงสรวิชิต  คือ  ลิลิตเพชรมงกุฎ  และอิเหนาคำฉันท์

 

การปกครอง

                                 ลักษณะการปกครองของกรุงธนบุรีดำเนินตามแบบแผนสมัยอยุธยา  คือ  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีอาญาสิทธิ์เด็ดขาดในการรักษาบ้านเมือง  แบ่งราชการบริหารดังนี้

                                การปกครองส่วนกลาง     มีกรุงธนบุรีเป็นราชธานี  มีอัครมหาเสนาบดี  2  ตำแหน่ง  คือ  สมุหนายก  เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน กับ สมุหพระกลาโหม  เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร  ร่วมเป็นที่ปรึกษาข้อราชกิจของพระมหากษัตริย์  การบริหารราชการได้แบ่งออกเป็น  4  กรม  ที่เรียกว่า  จตุสดมภ์

                                การปกครองส่วนภูมิภาค    แบ่งออกเป็น

                                                            การปกครองหัวเมืองชั้นใน   คือ  เมืองที่อยู่รายรอบราชธานี  เป็นเมืองชั้นจัตวา  มีผู้ปกครองเรียกว่า  “ผู้รั้ง”   การบังคับบัญชาขึ้นต่อเสนาบดีจตุสดมภ์ในราชธานี

                                                            การปกครองหัวเมืองภายในราชอาณาจักร    เรียกว่า  หัวเมืองชั้นนอก  หรือเมืองพระยามหานครเป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป  แบ่งออกเป็นเมืองชั้นเอก โท  ตรี   พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งข้าราชการผู้ใหญ่ออกไปเป็นเจ้าเมือง

                                                            การปกครองหัวเมืองประเทศราช    ได้แก่  หัวเมืองที่อยู่ห่างไกลออกไป  หรือหัวเมืองที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอื่น  ได้แก่  กัมพูชา  ลาว  เชียงใหม่  และนครศรีธรรมราช  เมืองเหล่านี้ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามเวลากำหนด

 

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

1.               ความสัมพันธ์กับพม่า     การติดต่อเกี่ยวข้องกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี   เป็นไปในลักษณะความขัดแย้งโดยตลอด  เริ่มจากการรบครั้งแรกที่ค่ายโพธิ์สามต้น 

หลังจากนั้นก็มีการรบครั้งอื่นๆ  เกิดขึ้นอีกถึง  9  ครั้ง  ในช่วง  พ.ศ. 2311  ถึง  พ.ศ. 2319  ทุกครั้งไทยเป็นฝ่ายชนะ  ครั้งสำคัญได้แก่

                                                           การรบกับพม่าที่บางกุ้ง  สมุทรสงคราม  พ.ศ. 2311    พม่าเสียอาวุธ  เสบียงอาหาร  และเรือ  เป็นจำนวนมาก

                                                           พม่าตีเมืองพิชัย  พ.ศ. 2316    การรบตั้งนี้ทำให้เกิดวีรกรรม  พระยาพิชัยดาบหัก  ขึ้น

                                                           อะเซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ  พ.ศ. 2318 – 2319   เป็นสงครามครั้งสำคัญที่สุดสมัยกรุงธนบุรี  การรบครั้งนี้พม่าเสียอาวุธเป็นจำนวนมาก  ไพร่พลถูกจับเป็นเชลยหลายพันคน  และต้องยกทัพกลับไป  เพราะทางพม่ามีการผลัดเปลี่ยนกษัตริย์

2.               ความสัมพันธ์กับเขมร     เมื่อทรงจัดการกรุงธนบุรีเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชสาสน์ถึงเขมร  ซึ่งเคยเป็นประเทศราชของ

ไทยมาก่อนแล้วแข็งเมืองไป  ให้กลับมาสวามิภักดิ์ต่อไทยดังเดิม  เขมรไม่ยอม  จึงโปรดเกล้าฯ  ให้ส่งกองทัพไปตีเขมรเมื่อ พ.ศ. 2312  แต่ยังไม่สำเร็จอีก  2  ปีต่อมาจึงเสด็จยกทัพไปตีเขมรอีกครั้ง  และตีได้สำเร็จ

ครั้นถึง  พ.ศ. 2323   เกิดกบฏในเขมร  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  โปรดเกล้าฯ  ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปปราบ  พอดีเกิดจลาจลวุ่นวายทางกรุง

ธนบุรี  สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์คึกจึงต้องยกทัพกลับ

3.               ความสัมพันธ์กับลาว     กรุงธนบุรีทำศึกกับลาว  2  ครั้ง   ครั้งแรกไทยตีนครจำปาศักดิ์  เมื่อ พ.ศ. 2319  ครั้งที่   ไทยตีเมืองเวียงจันทน์และได้อัญเชิญพระแก้ว

มรกตมายังกรุงธนบุรี

4.               ความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ     ทางตะวันออกมีการค้าขายกับจีนและญี่ปุ่น  โดยเฉพาะจีนได้คบค้าอย่างใกล้ชิดมาแต่ต้นรัชกาล  ส่วนประเทศทางตะวันตกมีบาง

ประเทศเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้  ได้แก่  ฮอลันดา  อังกฤษ  และโปรตตุเกส

 

เหตุการณ์ตอนปลายสมัยธนบุรี

                              ในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  พระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ  ได้บันทึกไว้ว่า  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระสติฟั่นเฟื่อนไป  เข้าพระทัยว่าทรงบรรลุโสดาบัน  และจะให้พระสงฆ์กราบไหว้พระองค์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์  บ้านเมืองจึงเกิดความระส่ำระสาย  นอกจากนี้ราษฎรทั่วไปยังได้รับความเดือดร้อนจากข้าราชการที่ทุจริตกดขี่เหงหาประโยชน์ส่วนตัว  เป็นเหตุให้ราษฎรละทิ้งบ้านเรือนหนีเข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก

                              ขณะเดียวกันก็ได้เกิดกบฏขึ้นที่อยุธยา  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีรับสั่งให้ระยาสรรค์ขึ้นไปสอบสวน  แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้ากับพวกกบฏ  และยกพวกมาปล้นพระราชวังที่กรุงธนบุรี  ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2324   บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชออกผนวช  และคุมพระองค์ไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม  แล้วพระยาสรรค์ก้ตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน

                                เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ทราบข่าวการก่อจลาจลในกรุงธนบุรี  ก็ยกทัพกลับจากการตีเขมร  แต่ยังคงกองทัพบางส่วนตั้งมั่นคุมเชิงอยู่  และไม่ให้แจ้งข่าววแก่กรมขุนอินทรพิทักษ์  พระราชโอรสของพระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งคุมกองทัพอยู่ด้วย  สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเดินทัพมาทางเมืองปราจีนบุรี  ซึ่งบรรดาขุนนางผู้ใหญ่มาคอยต้อนรับอยู่แล้ว  เสด็จลงเรือข้ามแม่น้ำไปยังพระราชวังกรุงธนบุรีขึ้นประทับบนศาลาลูกขุนมหาดไทย  เพื่อพิจารณาวินิจฉัยเหตุการณ์บ้านเมือง  ไม่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม  ขุนนางและประชาราษฎร์เดือดร้อนไปทั่ว  จึงรับสั่งให้เอาตัวไปประหารชีวิตสำเร็จโทษา  บรรดาขุนนางข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย  พ่อค้าและอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงจึงพร้อมกันทูลอัญเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์  ในวันที่  6  เมษายน  พ.ศ. 2325  นั้นเอง



มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 443 คน กำลังออนไลน์