น.ส.กุลภัสสร์ เชยโชติ ม.4/1งานชิ้นที่ 4 ค่ะ (ส่งใหม่)

<html>
<head><title>เทคโนโลยีสารสนเทศ
ม.
4</title></head>

<body>
<br>บทที่ 1 ข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล (Data) คือ
ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ
อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก
การ ดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ
ข้อมูลเหล่านี้
ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที
จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว

        สารสนเทศ (Information) นั้นคือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้
เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน
เป็นต้น
เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์
หรือ
มีความเกี่ยว ข้องกัน
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้
สารสนเทศ
ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ
แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

<br>บทที่ 2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ
1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่ง
จากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อทำการประมวลผลต่อไป
2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)คือส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล และควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
3.หน่วยความจำหลัก (Main Memory)เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ 
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ1. รอม (ROM : Read Only Memory)
                   2. แรม (RAM
: Random Access Memory)
4.หน่วยความจำสำรอง
(Secondary Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล
และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้
   ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก
5.หน่วยแสดงผล
(
Output Unit)คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลการแสดงผลลัพธ์
แบ่งเป็น
2 แบบ1.แสดงผลทางบนจอภาพ  
                                 2.แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ 
<br>บทที่ 3 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

                คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (
Case) เมนบอร์ด (Mainboard)
และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง
เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์
และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า
"ระบบคอมพิวเตอร์
(Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น

2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้
โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์
(
Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์
(Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง
ๆ ขึ้นมา

ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม
ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง
ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น
ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application
Software)
หมายถึง
ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ
เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น
ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ

3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ
ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ
ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว
ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ
เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ
ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน
แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ

4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ
บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ
นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง
ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก
เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย
ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)

- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)

- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์
(
Electronic Data Processing Manager)

- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer
user)

5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้
ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน
ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน
ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน

<br>บทที่ 4 อุปกรณ์ต่อพ่วง

1.เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง
(Printer)เครื่องพิมพ์
เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ที่ได้จาก
การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร ์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ
นับเป็นอุปกรณ์แสดลงผลที่นิยมใช้ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น
4 ประเภท

                1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot
Matrix Printer)

2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)

3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)

4. พล็อตเตอร์ (plotter)

2.
เครื่องสแกนภาพ (Scanner)ชนิดของสแกนเนอร์
และความ สามารถในการทำงาน ของสแกนเนอร์แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

1. Flatbed scanners ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง
ๆ สแกนเนอร์ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น
ScanMader III

             2.
Transparency and slide scanners ScanMaker ซึ่งถูกใช้
สแกนโลหะโปร่ง เช่นฟิล์มและสไลด์ ตัวอย่างของสแกนเนอร์ชนิดนี้ เช่น
ScanMaker
35t ที่ใช้สแกนเนอร์ 35 mm และ
ScanMake 45t ใช้สแกนเนอร์ ฟิล์มขนาด 8"x10"การทำงานของสแกนเนอร์ การจับภาพ ของสแกนเนอร์ ทำโดย
ฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพจะถูกจับโดยเซลล์ ที่ไว ต่อแสง
เรียกว่า
Charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน กระดาษจะสะท้อนแสง ได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสง
ได้มาก กว่า
CCD จะสืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับจากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น
และ เปลี่ยนคลื่นของแสง ที่สะท้อนกลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอลหลังจากนั้นซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงสัญญาณเหล่านั่นกลับมาเป็นภาพบนคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง

3. โมเด็ม (Modem)

               เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภาย นอกได้อย่างง่ายดาย
โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบ คอมพิวเตอร์ของเราสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ
ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถ ทำงานของเราสามารสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก
โมเด็มจะสามารถทำงาน ของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วย
การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคุ่สายของ โทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็ม
จะทำการแปลงสัญญาณ ดิจิตอล (
digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณ
อนาล๊อก (
analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์

ความแตกต่างของโมเด็ม

                 1.
ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ  ความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณ
หมายถึง อัตรา (
rate) ที่โมเด็ม สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็ม
อื่นๆ มีหน่วยเป็นบิต /วินาที (
bps) หรือ กิโลบิต/ วินาที (kbps)
ในการบอกถึง ความเร็วขอโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการ พูดและจดจำ

2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล   ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้น
สามารทำให้มีขนาดกะทัดรัด ด้วย วิธีการบีบอัดข้อมูล (
compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวน มากๆ
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร(Fax
capabilities) ได้ดีเช่น เดียวกับ การรับ ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟแวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้
แฟคซ์ โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ (
printer) ได้เมื่อเราพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสาร
ของเราไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้

4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error
control) ต่าง ๆ มากมาย หลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่า
จะไม่ข้อมูลใด ๆสูญหายไประหว่างการส่ง ถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์
เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

5.
ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่ว
ๆ ไปจะมี
2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติด ตั้งภายนอก (external
modems) และแบบติดตั้งภายใน (internal modems)
6.ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถ
ในการรับ/ ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย

 </body>
</html>

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 464 คน กำลังออนไลน์