user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '18.224.184.149', 0, 'a301aa955b5c5478293077c32aa251b0', 114, 1716069176) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

ง30237 งานออกแบบป้ายโฆษณา ม.5/2 ภาคเรียนที่ 1/55

รูปภาพของ PNC_Songphon502

ง30237 งานออกแบบป้ายโฆษณา ม.5/2 ภาคเรียนที่ 1/55

รูปภาพของ PNC_Songphon502
รูปภาพของ PNC_Songphon502

ส่งงานที่1

 

ศึกษาการใช้งานโปรแกรม flash และ ส่วนประกอบของโปรแกรม  flash cs3

นายทรงพล ภูโคกเนิน เลขที่48 ชั้นม.5/2 

 

รูปภาพของ PNC_Songphon502

1. Introduction to Flash CS3 

1.1 โปรแกรม Flash คืออะไร

Flash CS3 เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาเพื่อสนับสนุนการสร้างงานกราฟิก ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว สำหรับการนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Flash มีฟังก์ชันช่วยอำนวยความสะดวก ในการสร้างผลงานหลากหลายรูปแบบ ตลอดจนชุดคำสั่งโปรแกรมมิ่งที่เรียกว่า Flash Action Script ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และสามารถคอมไพล์ (Compile) เป็นโปรแกรมใช้งาน (Application Program) เช่น การทำเป็น e-Card เพื่อแนบไปพร้อมกับ E-Mail ในโอกาสต่างๆ

Flash เดิมเป็นของ Macromedia แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นของ Adobe ซึ่งได้ถูกพัฒนาให้มีลักษณะการทำงานที่สอดคล้องต่อโปรแกรมต่างๆ ในชุด Adobe มากยิ่งขึ้น ซึ่งในการอบรมครั้งนี้ได้ใช้ Adobe Flash CS3 Professional

1.2 ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม Flash CS3

 

  1.  

    แถบชื่อหัวเรื่อง (Title Bar) แสดงปุ่มควบคุมหลัก (Control Menu)

    ชื่อโปรแกรม และปุ่มควบคุมหน้าต่างโปรแกรม

     

  2. เมนูบาร์ (Menu Bar) แสดงรายการคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม

  3. ทูลบ็อกซ์ (Toolbox) แสดงปุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการวาดภาพ สร้างภาพ ซึ่งสามารถ ซ่อน แสดง ได้ด้วยการคลิกเมนู Windows > Tools

  4.  

    สเตจ (Stage) พื้นที่ส่วนที่ใช้ในการวางวัตถุต่างๆ หรืออาจจะเรียกว่า "เวที"

    เมื่อมีการนำเสนอผลงานจะ แสดงเฉพาะวัตถุบน Stage เท่านั้น

     

  5.  

    ไทม์ไลน์ (Timeline) หน้าต่างแสดงเส้นควบคุมเวลาสำหรับการนำเสนอผลงาน 

    ประกอบด้วยส่วนทำงานเกี่ยวกับ Layer และ Timeline

     

  6. แถบแก้ไข (Edit Bar) ใช้แสดงชื่อซีน จัดการกับหน้าจอโปรแกรม ปรับขนาดมุมมองของสเตจ ซึ่งสามารถซ่อน/แสดง ได้ด้วยการคลิกเมนู Windows > Toolbars > Edit Bar

  7. แถบคุณสมบัติ (Properties) ใช้กำหนดค่าคุณสมบัติของ สเตจและออบเจ็กต์ต่างๆ โดยรายละเอียดที่ปรากฏขึ้นมาจะเปลี่ยนแปลงไปตามเครื่องมือหรือออบเจ็กต์ที่กำลังคลิกเลือก สามารถซ่อน/แสดง ได้ด้วยการคลิกเมนู Windows > Properties > Properties หรือกดปุ่ม Ctrl + F3

  8. พาเนล (Panel) หน้าต่างหรือชุดคำสั่งพิเศษที่ใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น พาเนล Color ใช้เลือกและผสมสี พาเนล Library ใช้จัดเก็บออบเจ็กต์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งสามารถเปิดเรียกได้ด้วยการคลิกที่เมนู Windows

 

1.3 Toolbox

ทูลบ็อกซ์ (Toolbox) เป็นกล่องเก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้าง ปรับแต่ง และแก้ไขวัตถุ เราสามรถเรียกใช้งานทูลบ็อกซ์ ได้โดยเลือกคำสั่งWindows > Tools แล้วคลิ้กเลือกเครื่องมือได้ตามต้องการ

เครื่องมือต่างๆ บนทูลบ็อกซ์

 Selection Tool ( V ) คำสั่ง Selection การเลือกวัตถุ

 Subselection Tool ( A ) คำสั่ง Selection การเลือกวัตถุ

 Free Transform Tool ( Q ) ยืด หด ย่อ หรือขยายขนาดของวัตถุ

 Gradient Transform Tool ( F ) ปรับแต่งการไล่โทนสีแบบ Linear และ Radial

 Lasso Tool ( L ) คำสั่ง Selection การเลือกวัตถุ

 Pen Tool ( P ) วาดเส้นและส่วนโค้งต่าง

 Add Anchor Point Tool ( = ) เพิ่มจุดแองเคอร์

 Delete Anchor Point Tool ( - ) ลบจุดแองเคอร์

 Convert Anchor Point Tool ( C ) ปรับเปลี่ยนเส้นโค้งให้เป็นมุม

 Text Tool ( T ) พิมพ์ตัวอักษร

 Line Tool ( N ) วาดเส้นตรง

 Rectangle Tool ( R ) วาดสี่เหลี่ยม

 Oval Tool ( O ) วาดวงกลม

 Rectangle Primitive Tool ( R ) วาดสี่เหลี่ยมแบบปรับแต่งรูปทรงได้

 Oval Primitive Tool ( O ) วาดวงกลมแบบปรับแต่งรูปทรงได้

 PolyStar Tool วาดรูปหลายเหลี่ยม/รูปดาว

 Pencil Tool ( Y ) ดินสอวาดภาพ

 Brush Tool ( B ) แปรงระบายสี

 Ink Bottle Tool ( S ) ปรับแต่งเส้นขอบของวัตถุ

 Paint Bucket Tool ( K ) เทสีพื้น

 Eyedropper Tool ( I ) คัดลอกสีที่ต้องการ

 Eraser Tool ( E ) ยางลบ

 Hand Tool ( H ) จับ Stage เลื่อนไปยังที่ต้องการ

 Zoom Tool ( M,Z ) ซูมย่อ/ขยายหน้าจอ

 Stroke color ปรับแต่งสีของเส้นขอบ

 Fill color ปรับแต่งสีของพื้น

 Black and white เปลี่ยนสี Stroke Color กับ Fill Color เป็นสีขาว/ดำ

 Swap colors สลับสีระหว่าง Stroke Color กับ Fill Color

 No color เปลี่ยนสี Stroke Color ให้ไม่มีสี

 

1.4 การสร้างไฟล์งาน

ในการเปิดโปรแกรมจะปรากฏหน้าจอ Welcome Screen เพื่อให้คลิกเลือกรูปแบบในการสร้างไฟล์งาน จากนั้นจึงสามารถปรับขนาดของสเตจได้ตามต้องการ

  1. คลิกเลือก Flash File (ActionScript 2.0) จากส่วนของ Create New เพื่อสร้างไฟล์งานใหม่

    2.คลิกปุ่ม  จากนั้นจะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์Document Properties ขึ้นมา

    3.พิมพ์กำหนดขนาดความกว้าง ความสูงของพื้นที่ทำงานลงในช่อง Dimensions ปรับสีพื้นหลังที่ Background color ตามต้องการ

    4.กำหนดอัตราการเล่นเฟรมต่อวินาทีที่ Frame rate โดยปกติจะอยู่ที่ 25 fps คลิกปุ่ม  เพื่อยืนยันคำสั่ง จากนั้นพื้นที่สเตจจะมีขนาดเปลี่ยนแปลงไปตามค่าที่กำหนดไว้ ออกแบบผลงานได้ตามต้องการ

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 292 คน กำลังออนไลน์