ชนิดของคำ

 

1. คำนาม 


          คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อสิ่งต่างๆ


1.1 สามานยนาม   = คำเรียกชื่อทั่วไป เช่น คน นางพยาบาล นางฟ้า นางงาม ดารา สัตว์ งู หมา กบ ยีราฟ หมู ขนมปัง ตะเกียง ต้นไม้


1.2 วิสามานยนาม = คำเรียกชื่อเฉพาะเจาะจง เช่น นายสะอาด คุณฉุย ไอ้ด่าง กทม. สะพานพุทธ


1.3 ลักษณนาม     = คำเรียกลักษณะสิ่งต่างๆ เช่น รถ 3 คัน ม้า 4 ตัว บุหรี่ 1 มวน ขลุ่ย 2 เลา แสตมป์ 3 ดวง


1.4 สมุหนาม        = คำเรียกหมวดหมู่สิ่งต่างๆ เช่น คณะ ฝูง หมู่ นิกาย สำรับ ก๊ก กลุ่ม ชุด พวก


1.5 อาการนาม     = การ, ความ + กริยา, วิเศษณ์


2. สรรพนาม 


          คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนนาม


2.1 บุรุษสรรพนาม


          - บุรุษที่ 1 แทนคนพูด เช่น ฉัน ผม ดิฉัน เรา อาตมา ข้าพระพุทธเจ้า


          - บุรุษที่ 2 แทนคนฟัง เช่น เธอ คุณ ท่าน ใต้เท้า พระคุณเจ้า ใต้ฝ่าละอองพระบาท


          - บุรุษที่ 3 แทนคนที่เราพูดถึง เช่น เขา พวกมัน พระองค์


2.2 ประพันธสรรพนาม = ที่ ซึ่ง อัน ผู้ ที่แทนนามข้างหน้า และใช้เชื่อมประโยคด้วย
      เช่น - คนที่พูดมากจะถูกหักคะแนน
            - วิทยุที่เธอซื้อมาใหม่ทันสมัยสุดสุด

2.3 วิภาคสรรพนาม (แสดงการแยก) = ต่าง บ้าง กัน ที่แทนนามข้างหน้า
      เช่น - ทุกคนต่างดีใจ
            - ใครบ้างชอบเตะบอล
            - เธอคุยกันซะเสียงดัง


2.4 นิยมสรรพนาม (แสดงความเจาะจง) = นี่ นี้ นั่น นั้น โน่น โน้น เช่น นี่คือฉัน  นั่นคือเธอ โน่นคือลา


2.5 อนิยมสรรพนาม (ไม่เจาะจง) = ใคร ใครๆ อะไร อะไรๆ ไหน ไหนๆ
      เช่น - ใครๆเขาก็ทำได้
            - เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม


2.6 ปฤจฉาสรรพนาม (แสดงคำถาม) = ใคร อะไร ไหน
      เช่น - อะไรอยู่ในตะกร้า
            - ใครจะกินพิซซ่าบ้าง


3. กริยา 

          กริยา คือ คำแสดงอาการต่างๆ


3.1 สกรรม : ต้องมีกรรม เช่น กิน หิ้ว ขาย แจก ให้ ถวาย


3.2 อกรรม : ไม่ต้องมีกรรม เช่น ยืน นั่ง เห่า หอม เหม็น สกปรก กระเซ็น


3.3 วิกตรรถ : กริยา “คือ เป็น คล้าย เท่า เหมือน (ดุจ ประดุจ ประหนึ่ง เสมือน)”
      เช่น เขาเป็นอาของฉันเอง หน้าเธอเหมือนริกกี้ จมูกเขาคล้ายลีโอนาร์โด


3.4 กริยานุเคราะห์ : กริยาช่วย ได้แก่ ย่อม กำลัง คงจะ อาจจะ จะ ต้อง ได้ แล้ว ถูก
      เช่น เขาอาจจะไปแล้ว เพราะต้องไปหาพ่อ เมื่อวานก็เพิ่งถูกพ่อดุเอง


3.5 กริยาสภาวมาลา : กริยาที่ทำหน้าที่เหมือนนาม
      เช่น - นอนหลับมากๆทำให้ร่างกายแข็งแรง
            - เขามาเพื่อดูหนัง


4. วิเศษณ์


          วิเศษณ์ คือ คำขยาย


4.1 ลักษณะ : วิเศษณ์บอกลักษณะ เช่น ดี ชั่ว ใหญ่ เล็ก ขาว กลม แบน หอม หวาน


4.2 กาละ : วิเศษณ์บอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น ค่ำ อดีต ปัจจุบัน อนาคต


4.3 สถานะ : วิเศษณ์บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล บน ล่าง เหนือ ใต้ ขวา ซ้าย
      ตัวอย่าง - เขาอยู่ไกล ฉันอยู่ใกล้
                  - เธออยู่ซ้าย ฉันอยู่ขวา
                  - เขาอยู่บน เธออยู่ล่าง


4.4 ประมาณ : วิเศษณ์บอกจำนวน เช่น หนึ่ง สอง สาม มาก น้อย หลาย บรรดา หมด บาง บ้าง คนละ


4.5 นิยม : วิเศษณ์ชี้เฉพาะ เช่น นี้ นั้น โน้น ทั้งนี้ ทั้งนั้น เอง เฉพาะ แน่นอน
      เช่น ฉันเองที่ผิด คนแบบฉัน เป็นฉันทั้งนั้น คือเธอแน่นอน


4.6 อนิยม : วิเศษณ์ไม่เจาะจง เช่น ใด อะไร กี่ ไหน อย่างไร อื่นๆ
      เช่น เธอพูดอย่างไร คนอื่นๆเชื่อเธอแน่ อ่านหนังสืออะไร


4.7 ปฤจฉา : วิเศษณ์แสดงคำถาม เช่น ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม
      เช่น เขาจะทำอย่างไร สิ่งไหนที่เธอต้องการ รู้ไหมใครแอบรักเธอ

4.8 ประติชญา : วิเศษณ์แสดงหางเสียงลงท้าย เช่น จ๊ะ ค่ะ ครับ ขอรับ โว้ย
      เช่น ท่านเจ้าขา คุนท่านครับ คุณผู้ชายขา แจ๋วจ๊ะ ไอ้มากโว้ย

4.9 ประติเษธ : วิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ เช่น ไม่ ไม่ใช่ หาไม่ หามิได้ ใช่
      เช่น เขาใช่จะรักเธอ เขาไม่เคยมองคนอื่นเลย เขาไม่ได้กินโค้กแคน

4.10 ประพันธ์ : วิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อม ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ที่เชื่อมประโยคและตามหลังคำวิเศษณ์
        เช่น เธอมีค่ามากซึ่งมิอาจประมาณได้ จุกเป็นเด็กฉลาดที่หาไม่ได้อีกแล้ว

 

5. บุพบท


          บุพบท คือ คำเชื่อมที่ตามด้วยคำหรือวลี เช่น ของ สำหรับ เพื่อ ใน แก่ กับ บน ล่าง
          ตัวอย่าง  - เขากินมะม่วงในจาน
                       - บ้านของเธอใหญ่มาก
                       - พ่อให้รางวัลแก่ฉัน
                       - เขานั่งอยู่บนเก้าอี้
                       - ข้าแต่ท่านทั้งหลาย
                       - ปลาหมอตายเพราะปาก


6. สันธาน


          สันธาน คือ คำเชื่อมที่ตามด้วยประโยค
          ตัวอย่าง  - เขาเตะบอลแต่เธอเล่นบาส
                       - แม่ดุจนลูกร้องไห้
                       - ปลาหมอตายเพราะปากไม่ดี

7. อุทาน


          อุทาน คือ คำแสดงอารมณ์ต่างๆ


7.1 อุทานบอกอาการ เช่น ตกใจ         : คุณพระช่วย ตาเถร
                                   ประหลาดใจ : อ๊ะ ฮ้า บ๊ะ เอ
                                   ดีใจ           : ไชโย
                                   เจ็บปวด      : โอ้ย
                                   สงสาร        : อนิจจา พุทโธ่


7.2 อุทานเสริมบท เช่น ได้ดิบได้ดี ชงชาม ละคงละคร อาหงอาหาร รถรา

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 415 คน กำลังออนไลน์

                       


Warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('', 'node/132502', '', '18.188.153.135', 0, 'dd49f1a5da76e7d6ae3504cc96ca28ab', 15, 1715676646) in /home/tgv/htdocs/includes/database.mysql.inc on line 135