เสียงในภาษาไทย

 

1. เสียงพยัญชนะต้น


1.1 อักษรนำ - อักษรควบ


1.) อักษรนำ

 

(1.) อักษรนำคือ คำที่เขียนหรืออ่านโดยมี “ห” นำพยัญชนะต้นอีกตัว รวมทั้งคำว่า อย่า อยู่ อย่าง อยาก

 

(2.) ตัวอย่างคำที่อ่านอย่างอักษรนำ - หนาม ตำหนิ ประหลาด ไหน หยุด หยอด (เขียน “ห” นำหน้าพยัญชนะอีกตัว)
                                            - ขนม ขรม สมัย ตลาด ผลึก ผลิต ปรอท ปลัด สนุก (เสียงที่ 2 มี “ห” นำพยัญชนะอีกตัว)

 

2.) อักษรควบ แบ่งเป็น

 

(1.) อักษรควบแท้ คือ คำที่ออกเสียงรูปพยัญชนะทั้ง 2 รูปที่ปรากฏ เช่น ปลา ผลุด ผลิ ผลีผลาม กราย แปร ขวนขวาย ปรักปรำ คลาน ขลัง

 

(2.) อักษรควบไม่แท้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

          1. ออกเสียงเฉพาะรูปพยัญชนะตัวหน้า เช่น จริง สร้าง เสริม ไซร้ เศรษฐกิจ เศร้า

          2. เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ 2 รูป เป็นเสียงพยัญชนะอื่น (/ทร/ เป็น /ซ/) เช่น ไทร ทราย ทรุดโทรม ทราม ทราบ

 

(3.) จุดที่น่าสนใจ


          1. อักษรนำ คือ พวกที่เขียนหรืออ่านมี “ห” มานำหน้าพยัญชนะต้น ไม่ใช่มี “ห” เฉยๆตัวเดียว เช่น  

              หมา   เป็นอักษรนำ (ห นำ ม)                  หาม ไม่ใช่ อักษรนำ
              หลอก เป็นอักษรนำ (ห นำ ล)                  หอก ไม่ใช่ อักษรนำ
  
          2. คำว่า “ทร” ถ้าออกเสียง /ซ/ จะเป็นควบไม่แท้ เช่น ไทร แต่ถ้าออกเสียง /ทร/ จะเป็นควบแท้ เช่น จันทรา


1.2 เสียงพยัญชนะต้น


1.) เสียงพยัญชนะต้น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ  - เสียงพยัญชนะเดี่ยว   : ออกเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียว เช่น คา ปา กอง แต หรู
                                                        - เสียงพยัญชนะประสม : ออกเสียงพยัญชนะต้น 2 เสียง เช่น ครู ปลา กลอง แตร คราว

 

2.) พยัญชนะต้นเดี่ยวของไทย มี 21 เสียง คือ /ก/ /ค/ /ง/ /จ/ /ช/ /ซ/ /ด/ /ต/ /ท/ /น/ /บ/ /ป/ /พ/ /ฟ/ /ม/ /ย/ /ร/ /ล/ /ว/ /อ/ /ฮ/ 

 

3.) จุดที่น่าสนใจ

 

(1.) ข ค ฆ           มีเสียงพยัญชนะต้นคือ /ค/
      ช ฉ              มีเสียงพยัญชนะต้นคือ /ช/  
      ด ฎ              มีเสียงพยัญชนะต้นคือ /ด/
      ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ มีเสียงพยัญชนะต้นคือ /ท/
      น ณ             มีเสียงพยัญชนะต้นคือ /น/
      พ ผ              มีเสียงพยัญชนะต้นคือ /พ/
      ฟ ฝ              มีเสียงพยัญชนะต้นคือ /ฟ/
      ซ ส ศ ษ        มีเสียงพยัญชนะต้นคือ /ซ/

 

(2.) เสียง /ร/ ไม่เหมือนกับเสียง /ล/


(3.) เสียง /ฤ/ ออกเสียง /ร/ ไม่ใช่ /ล/ เช่น ฤทธิ์ ฤดู ฤกษ์ ออกเสียงพยัญชนะต้นตรงกันคือ /ร/


(4.) ฑ ออกเสียงได้ 2 อย่าง คือ /ด/ เช่น บัณฑิต มณฑป /ท/ เช่น มณฑา มณฑก


(5.) คำที่เป็นอักษรนำจะออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหลัง เช่น  - อย่า อยู่ อย่าง อยาก ออกเฉพาะเสียง “ย” ไม่ออก “อ”
                                                                           - หมา หมู หมาก หมก ออกเฉพาะเสียง “ม” ไม่ออก “s”


4.) ฐานที่เกิดของพยัญชนะ

          - เกิดที่ช่องว่างระหว่างเส้นเสียง  ได้แก่ /อ/ /ฮ/
          - เกิดที่เพดานอ่อน                  ได้แก่ /ก/ /ค/ /ง/          
          - เกิดที่เพดานแข็ง                  ได้แก่ /จ/ /ช/ /ย/
          - เกิดที่ฟันและปุ่มเหงือก           ได้แก่ /ต/ /ท/ /น/ /ซ/ /ร/ /ล/ /ด/ 
          - เกิดที่ริมฝีปากและฟัน             ได้แก่ /ฟ/  
          - เกิดที่ริมฝีปาก                     ได้แก่ /ป/ /พ/ /ม/ /บ/ /ว/


5.) ประเภทเสียงพยัญชนะที่น่าสนใจ

          - เสียงนาสิก  ได้แก่ /น/ /ม/ /ง/ 
          - เสียงเสียดแทรก ได้แก่ /ซ/ /ฟ/ /ฮ/ 
          - เสียงรัว  ได้แก่ /ร/


2. เสียงพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด)


2.1 ไทยมีเสียงตัวสะกด 8 มาตรา คือ กก กด กบ กม กน กง เกย เกอว


2.2 เมื่อเขียนเสียงแทนแม่ตัวสะกดแต่ละมาตรา จะได้ว่า กก = /ก/ กด = /ต/ กบ = /ป/
                                                                   กม = /ม/ กน = /น/ กง = /ง/
                                                                   เกย = /ย/ เกอว = /ว/

ตัวอย่าง - เสียงตัวสะกดของคำว่า ภาพ พบ กรุ๊ป = แม่กบ = /ป/
            - เสียงตัวสะกดของคำว่า อิฐ มัธ วัฒ = แม่กด = /ต/
            - เสียงตัวสะกดของคำว่า นาค เลข มัก = แม่กก = /ก/


ระวัง: 1. อำ ไอ ใอ เอา มีเสียงตัวสะกด - เสียงตัวสะกดของ อำ   คือ ม
                                                - เสียงตัวสะกดของ ไอ และ ใอ คือ ย
                                                - เสียงตัวสะกดของ เอา  คือ ว
        2. คำที่มีรูปสระบางคำ ไม่ใช่รูปพยัญชนะตัวสะกด เช่น ผัว เมีย ชั่ว คือ เสือ ล่อ เบี้ย เรือ จอ ซื่อ


3. เสียงสระ


3.1 เสียงสระสั้น - ยาว

 

1.) เสียงสระสั้น คือ เสียงสระที่ออกมาสั้น ได้แก่ อิ เอะ แอะ อึ เออะ อะ อุ โอะ เอาะ เอียะ เอือะ อัวะ


2.) เสียงสระยาว คือ เสียงสระที่ออกมายาว ได้แก่ อี เอ แอ อือ เออ อา อู โอ ออ เอีย เอือ อัว


ตัวอย่าง รอย ออกเสียงสระ ยาว         ร่อย    ออกเสียงสระ สั้น 
           ช่อง ออกเสียงสระ สั้น           ร้อง    ออกเสียงสระ ยาว
           ช้ำ   ออกเสียงสระ สั้น          น้ำ      ออกเสียงสระ ยาว
           ท่าน ออกเสียงสระ สั้น          พาน    ออกเสียงสระ ยาว
           เจ้า  ออกเสียงสระ ยาว         เจ้าพ่อ ออกเสียงสระ สั้น
           ช่าง ออกเสียงสระ สั้น          ล้าง     ออกเสียงสระ ยาว
           ก็    ออกเสียงสระ สั้น          เห็ด     ออกเสียงสระ สั้น

 

3.2 เสียงสระเดี่ยว - ประสม


1.) สระเดี่ยว เรียกอีกชื่อว่า สระแท้ มี 18 เสียง คือ อิ อี เอะ เอ แอะ แอ อึ อือ เออะ เออ อะ อา อุ อู โอะ โอ เอาะ ออ


2.) สระประสม เรียกอีกชื่อว่า สระเลื่อน มี 3 เสียง คือ เอีย เอือ อัว


4. เสียงวรรณยุกต์


4.1 ไทยมีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง คือ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา


4.2 วรรณยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.) วรรณยุกต์ระดับ ได้แก่ เสียงวรรณยุกต์ สามัญ เอก ตรี

                                              2.) วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ ได้แก่ เสียงวรรณยุกต์ โท จัตวา

 

5. พยางค์


5.1 พยางค์ หมายถึง เสียงที่ออกมาในแต่ละครั้ง


5.2 โดยทั่วไปพยางค์แบ่งได้ 2 อย่างคือ พยางค์เปิด และพยางค์ปิด


1.) พยางค์เปิด เป็นพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น ที่ ลา ว่า มา หมู ปี ข้อ

 

2.) พยางค์ปิด เป็นพยางค์ที่มีเสียงตัวสะกด เช่น ทั้ง คลอง สอง นั่ง ใจ ไป น้ำ เรา เข้า เต่า

 

5.3 โครงสร้างพยางค์ (องค์ประกอบพยางค์)


          โครงสร้างพยางค์ หมายถึง เสียงพยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด และวรรณยุกต์ การตรวจสอบว่าคำแต่ละคำมีโครงสร้างพยางค์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สังเกตจาก เสียงพยัญชนะท้าย เสียงพยัญชนะต้น เสียงวรรณยุกต์ และเสียงสระ

ตัวอย่าง
- “จาก” มีโครงสร้างพยางค์ต่างกับ “ปา” เพราะ “จาก” มีตัวสะกด แต่ “ปา” ไม่มีตัวสะกด    
- “แสร้ง” มีโครงสร้างพยางค์ต่างกับ “กล้ำ” เพราะ “แสร้ง” มีเสียงพยัญชนะต้น 1 เสียง แต่ “กล้ำ” มี 2 เสียง
- “ท่อง” มีโครงสร้างพยางค์ต่างกับ “จำ” เพราะ “ท่อง” มีวรรณยุกต์เสียงโท แต่ “จำ” มีวรรณยุกต์เสียงสามัญ
- “ช่าง” มีโครงสร้างพยางค์ต่างกับ “แก้ว” เพราะ “ช่าง” ออกเสียงสระสั้น แต่ “แก้ว” ออกเสียงสระยาว

 

6. เสียงหนักเบา


 

6.1 คำครุ – ลหุ


1.) คำครุ (คำที่ออกเสียงหนัก) ได้แก่ - คำที่มีเสียงสะกด เช่น เป็ด น้อย คอย รัก น้ำ ใจ
                                              - คำที่ไม่มีเสียงตัวสะกด และสระเสียงยาว เช่น หมู หมา กา เสือ

2.) คำลหุ (คำที่ออกเสียงเบา) ได้แก่ คำที่ไม่มีตัวสะกด และสระเสียงสั้น เช่น ก็ ปิติ ปะทุ สละ มะละ

 

6.2 การออกเสียงหนักเบาเวลาพูด

- เสียงที่ออกมาชัดเจน (เต็มคำ) เรียกว่า เสียงหนัก

- เสียงที่ออกมาไม่ชัดเจน (ไม่เต็มคำ) เรียกว่า เสียงเบา

ข้อสังเกต: 1. คำพยางค์เดียวทุกคำออกเสียงหนัก เช่น ปลา ทู ดูด ยื่น แอบ สวย
               2. คำไทยทุกคำจะเน้นเสียงพยางค์สุดท้ายอยู่แล้ว เช่น ตะกละ ตะเข็บ มะเฟือง มะพร้าว มะนาว มะเขือ กะปิ มะลิ กางเกง
               3. คำตั้งแต่ 2 พยางค์
                   - บางคำออกเสียงเน้นเฉพาะพยางค์หลัง เช่น คะแนน ชนะ ระยอง กระทรวง
                   - บางคำออกเสียงเน้นทั้ง 2 พยางค์ เช่น คู่คี่ แจกแจง ดุเดือด ปิติ ฟู่ฟ่า ฟุ่มเฟือย เหลวไหล


6.3 การออกเสียงหนักเบาเพื่อเน้นความหมาย

          - เธอทำกับข้าวอร่อยมาก (เน้น “มาก” จะดูเหมือนประชด)
          - ฉันมันไม่ดี  (เน้น “ไม่ดี” จะดูเหมือนประชด)
          - เขากินข้าว ไม่ใช่ฉัน (จะบอกว่า เขานะไม่ใช่ฉันที่กินข้าว)
          - เขากินข้าว ไม่ใช่ขนม (จะบอกว่า ข้าวนะไม่ใช่ขนมที่เขากิน)

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 519 คน กำลังออนไลน์