ธรรมชาติของภาษา

 

1. ความหมายของภาษา


1.1 ภาษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การแสดงออกทั่วไปเพื่อสื่อความหมาย เช่น ภาษาท่าทาง ภาษาใบ้ ภาษาสัตว์ ภาษาคอมพิวเตอร์ เครื่องหมาย และสัญญาณต่างๆ (เช่น เสียงระฆัง เสียงหวอ สัญญาณไฟแดง)


1.2 ภาษาในความหมายอย่างแคบ หมายถึง ภาษาพูดของคน การที่กำหนดว่าภาษาใช้ “เสียง” ในการสื่อความหมาย เพราะว่ายังมีภาษาหลายภาษาที่ยังไม่มีภาษาเขียนใช้


2. เสียงและความหมาย


2.1 คนแต่ละกลุ่มต่างสร้างภาษาขึ้นมาใช้ในกลุ่มของตนเอง คนแต่ละกลุ่มจึงใช้ “คำ” ต่างกัน เมื่อพูดถึงสิ่งเดียวกันแสดงให้เห็นว่าเสียงและความหมายไม่สัมพันธ์กัน เช่น ความหมายว่า “เรา”    ภาษาไทยใช้ว่า “เรา” ภาษาอังกฤษใช้ว่า “we” 
                             ความหมายว่า “เดิน”   ภาษาไทยใช้ว่า “เดิน” ภาษาอังกฤษใช้ว่า “walk”
                             เสียงไก่ขัน ภาษาไทย คือ “เอ้กอีเอ้กเอ้ก” ภาษาอังกฤษ คือ “ค้อกอะดูเดิ้ลดู”

2.2 มีคนตั้งข้อสังเกตว่าเสียงกับความหมายเกี่ยวข้องกันก็มี เช่น

                             คำเลียนเสียงธรรมชาติ โครม หวูด ออด กริ่ง ตุ๊กตุ๊ก ตุ๊กแก ฉู่ฉี่ ก๊อบแก๊บ โหม่ง ทุ่ม โมง ซู่ อู๊ด มอ 
                             คำที่มีเสียงพยัญชนะสัมพันธ์กับความหมาย  /ค/ - ขุ่น แค้น เคียด ขึ้ง ขัด (โกรธ ไม่พอใจ)
                             คำที่มีเสียงสระสัมพันธ์กับความหมาย        /เอ/ - เก เข เย้ เป๋ เฉ เหร่ เซ เห (ไม่ตรง)
                                                                               /เออ/ - เป๋อ เด๋อ เหรอ เซ่อ (ไม่มีสติ งุนงง)


3. หน่วยในภาษาและการขยายหน่วยในภาษา


3.1 หน่วยในภาษา หมายถึง ส่วนประกอบของภาษา คือ เสียง คำวลี และประโยค


3.2 เราเรียงหน่วยเล็กที่สุดถึงใหญ่ที่สุดของภาษาได้ดังนี้ เสียง – พยางค์ – คำ – วลี – ประโยค


3.3 เราสามารถสร้างประโยคได้ไม่จำกัด แม้ว่าเราจะมี “เสียง” จำกัด (เสียงพยัญชนะ 21 เสียง เสียงสระ 21 เสียง เสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง)

 

4. ลักษณะคล้ายคลึงกันของภาษาพูด

4.1 ใช้เสียงคุยกัน   - ทุกภาษาจะมีเสียงพยัญชนะและเสียงสระ
                         - แต่วรรณยุกต์จะมีอยู่ในบางภาษา เช่น ภาษาไทย และภาษาจีน


4.2 สามารถขยายหน่วยในภาษาให้ใหญ่ขึ้นได้


4.3 มีชนิดของคำต่างๆคล้ายคลึงกัน เช่น คำนาม คำกริยา


4.4 มีการแสดงความคิดคล้ายๆกัน เช่น มีเนื้อความคำถาม ปฏิเสธ บอกเล่า บอกให้ทำ


4.5 มีการใช้คำในความหมายใหม่ (สำนวน) เช่น

ภาษาอังกฤษมีสำนวนว่า “It rains cats and dogs” ภาษาไทยมีสำนวนว่า “เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ”


4.6 ภาษามีการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากสาเหตุดังนี้


1.) สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป - บางคำเป็นคำสมัยเก่าที่คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยเข้าใจ เช่น ลางที ดงข้าว 
                                      - บางคำความหมายเปลี่ยนจากสมัยเดิม เช่น
                                        จริต     (เดิม = ความประพฤติ) ศักดินา (เดิม = เครื่องวัดฐานะคน)
                                        สำส่อน (เดิม = ปนกัน)          แกล้ง   (เดิม = ตั้งใจ)
                                        ห่ม      (เดิม = สวม)            หื่น      (เดิม = รื่นเริง)
                                      - บางคำเป็นคำรุ่นใหม่ที่คนรุ่นโบราณไม่รู้จัก เช่น เอทีเอ็ม อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์


2.) การพูดกันในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิด


          1. การกร่อนเสียง (การตัดเสียง) เช่น หมากพร้าว กร่อนเป็น มะพร้าว อันหนึ่ง กร่อนเป็น อนึ่ง
                                                       ฉันนั้น       กร่อนเป็น ฉะนั้น    อันไร   กร่อนเป็น อะไร
                                                       รื่นรื่น        กร่อนเป็น ระรื่น     วับวับ  กร่อนเป็น วะวับ


          2. การกลืนเสียง (การรวมเสียง) เช่น อย่างไร  เป็น ยังไง (เสียง ร โดน ง กลืน)
                                                       อย่างนี้   เป็น ยังงี้  (เสียง น โดน ง กลืน)
                                                       อย่างนั้น เป็น ยังงั้น (เสียง น โดน ง กลืน)


3.) อิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ ได้แก่


          1. คำยืมจากต่างประเทศ เช่น เทป คลินิก พีระมิด เต้าหู้ กุหลาบ ยูโด


          2. สำนวนภาษาต่างประเทศ เช่น มันยากนะที่จะทำอย่างงั้น (เลียนแบบการพูดของภาษาอังกฤษ)


4.) การเรียนภาษาของเด็ก เด็กออกเสียงไม่ชัด เสียงของคำเลยเพี้ยนไปได้ เช่น ไอติม หนม


  

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 441 คน กำลังออนไลน์