กฏบัตรอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน

พัฒนาการความร่วมมือของอาเซียน ในช่วงแรกๆ หลังการก่อตั้งเน้นความร่วมมือด้านการเมือง ก่อนที่จะขยายไปสู่ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสังคมในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา และมีการรวมกลุ่มที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงของบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาค ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ทางการเมืองในยุคสงครามเย็นยุติลง รวมทั้งการก้าวเข้าสู่โลกยุคโลกาภิวัตน์ที่มีมหาอำนาจใหม่คือ จีนและอินเดีย และต้องเผชิญกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ ทำให้อาเซียนต้องปรับตัว และปรับระบบการทำงาน โดยเน้นประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้นโลกปัจจุบันเป็นโลกของ ความร่วมมือในระดับภูมิภาคจะเห็นได้จากการรวมกลุ่มของประเทศต่างๆในยุโรป ละติน อเมริกา เอเชียใต้ และแอฟริกา เพื่อสร้างโอกาส เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และอำนาจต่อรอง อาเซียนจึงจำเป็นต้องวางรากฐานสำหรับการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลักคือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนภายในปี 2558

กฎบัตรอาเซียนเป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกที่กำหนดกรอบโครงสร้างองค์กร เป้าหมาย หลักการ และกลไกที่สำคัญต่างๆ ของอาเซียน และให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อ (1) เพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามเป้าหมายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558  (2) สร้างกลไกที่จะส่งเสริมให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามความตกลงต่างๆ ของอาเซียน และ (3) ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่าง แท้จริงมากขึ้น

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่บาหลี ปี 2546 ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) ต่อมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์ สปป.ลาว ปี 2547 ผู้นำได้เห็นชอบต่อแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme –VAP) ซึ่งกำหนดมาตรการในการขับเคลื่อนการสร้างประชาคมอาเซียน ซึ่งรวมถึงการจัดทำกฎบัตรอาเซียนด้วย ซึ่งผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 11 ปีถัดมา ได้เห็นชอบให้จัดทำกฎบัตรอาเซียนและตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัตร อาเซียน (Eminent Persons Group on the ASEAN Charter-EPG) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทิศทางการรวมตัวของอาเซียนและสาระสำคัญที่ควร มีปรากฏในกฎบัตรอาเซียน การร่างกฎบัตรอาเซียนทำกันในปี 2549 โดยให้คณะทำงานระดับสูง และได้เสนอให้ผู้นำอาเซียนลงนามในกฎบัตรอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ ปี 2550

ความสำคัญของกฎบัตรอาเซียนต่อประเทศไทย

  1. ไทยเป็น 1 ใน 5 ของผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน เป็นสถานที่กำเนิดของอาเซียน และมีบทบาทนำในอาเซียนมาโดยตลอด ไทยเป็นประธานอาเซียนในปี 2551-2552 และระหว่างปี 2551-2555  ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ จะเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นการตอกย้ำบทบาทนำของไทย ทั้งนี้ การมีกฎบัตรอาเซียนจะช่วยให้อาเซียนมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น จะเป็นการสะท้อนความสำเร็จทั้งของไทยและภูมิภาคนี้โดยรวม

  2. กฎบัตรอาเซียนให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตาม พันธกรณีต่างๆ ของประเทศสมาชิก ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมหลักประกันให้กับไทยว่าจะสามารถได้รับผลประโยชน์ตามที่ ตกลงกันไว้อย่างเต็มที่
    นอกจากนี้ การปรับปรุงการดำเนินงานและโครงสร้างองค์กรของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น และการเสริมสร้างความร่วมมือใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะเป็นฐานสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อ ความต้องการและผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก รวมทั้งยกสถานะและอำนาจต่อรอง และภาพลักษณ์ของประเทศสมาชิกในเวทีระหว่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เรื่องใหม่ในอาเซียนที่ไทยผลักดันให้ปรากฏในกฎบัตรฯ ได้แก่ (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน ทั้งนี้ จะต้องมีการจัดทำ Terms of Reference เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรนี้ต่อไป (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการปฏิบัติตามความตกลงของรัฐ สมาชิก (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิก (4) การระบุให้ผู้นำเป็นผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณี ตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ (6) การให้ความสำคัญกับการส่งเสริม  การปรึกษาหารือระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ ร่วม ซึ่งทำให้การตีความหลักการห้ามแทรกแซงกิจการภายในมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น

การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย

ไทยได้รับหน้าที่ประธานอาเซียน ต่อจากสิงคโปร์ ภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 41 ที่สิงคโปร์ในเดือน ก.ค. 2551 การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญเนื่องจาก (1) กฎบัตรอาเซียนจะมีผลใช้บังคับ (2) การจัดทำแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมเพื่อมุ่งไปสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 และ (3) อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับที่คนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรง ตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน (วาระ 5 ปี ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2551-31 ธ.ค. 2555)

โดยที่กฎบัตรอาเซียนกำหนดให้ วาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเป็นไปตามปีปฏิทิน ดังนั้น ไทยจะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือนคือ ตั้งแต่ ก.ค. 2551 – ธ.ค. 2552

ยุทธศาสตร์การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย

กระทรวงการต่างประเทศได้หารือ กับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในวาระที่ ไทยจะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ดังนี้

  1. สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้ประชาชนได้รับทราบ
  2. ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทไทยในฐานะประธานอาเซียน
  3. เสริมสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงภายในปี 2558
  4. เสริมสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558
  5. เสริมสร้างประชาคมสังคมและวัฒนธรรมภายในปี 2558
  6. ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน

ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้กำหนดเป้าหมายสำคัญที่ไทยจะผลักดันในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนไว้ 3 ประการ ได้แก่

  1. การอนุวัติข้อผูกพันภายใต้กฎบัตรอาเซียน (Realising the commitments under the ASEAN Charter) โดยเฉพาะการยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ที่จะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน และคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา เป็นต้น

  2. การทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชน เป็นจุดศูนย์กลาง (Revitalising ASEAN as a people-centred Community) ซึ่งหมายถึงการเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชนการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคมในการสร้างประชาคมอาเซียน

  3. การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงของ มนุษย์สำหรับประชาชนทุกคนในภูมิภาค (Reinforcing human development and security for all the peoples of the region) โดยส่งเสริมให้ความร่วมมือของอาเซียนตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนให้มาก ที่สุด โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน การจัดการภัยพิบัติและการเสริมสร้างเสถียรภาพด้านการเงินในภูมิภาค

นอกจากนี้ ไทยยังจะใช้โอกาสในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนผลักดันความร่วมมือของ อาเซียนและความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา ภายใต้กรอบอาเซียน+1 อาเซียน+3 และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit-EAS) ให้ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์และแก้ไขปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ตอบสนองต่อผล ประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริงและสามารถคงความสำคัญของอาเซียนในการดำเนิน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเอาไว้ได้

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 460 คน กำลังออนไลน์