ประเภทของภูมิปัญญาไทย


นายประยูร เล่าวิริยะกูล

ชั้น ม. 6 กลุ่ม 7 เลที่ 11

โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม  

ประเภทของภูมิปัญญาไทย

 1.ภูมิปัญญาด้านคติธรรมความคิดความเชื่อหลักการที่เป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ที่เกิดจากการสั่งถ่ายทอดกันมา

2.ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา

3.ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพในท้องถิ่นที่ยึดหลักการพึ่งตนเองและได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับกาลสมัย

4.ภูมิปัญญาด้านแนวความคิดหลักปฏิบัติและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ชาวบ้านนำมาดัดแปลงใช้ในชุมชนอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่นอกจากนี้ยังมีการกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทยเพื่อนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการเรียนรู้และส่งเสริมโดยแบ่งภูมิปัญญาออกเป็น10สาขาดังนี้

1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึงความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ทักษะ
และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยีโดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิมสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆได้เช่นการทำการเกษตรแบบผสมผสานการแก้ปัญหาการเกษตรการแก้ปัญหาด้านการผลิต
ด้านการตลาดเช่นการแก้ไขโรคและแมลงการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตรเป็นต้น

2.สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม(ด้านการผลิติและการบริโภค)หมายถึงการรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อชะลอการนำเข้าตลาดเพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัยประหยัดและเป็นธรรมอันเป็ขบวนการใช้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรมเช่นการรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารากลุ่มโรงสีกลุ่มหัตถกรรมเป็นต้น

3.สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึงความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชนโดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองทางสุขภาพและอนามัยได้

4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติละสิ่งแวดล้อม หมายถึงความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งการอนุรักษ์พัฒนาและใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึงความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสะสมและบริหารกองทุนและธุรกิจชุมชนทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์เพื่อเสริมสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของสมาชิกในชุมชน

6.สาขาสวัสดิการ หมายถึงความสามารถในการจัดการสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม

7.สาขาศิลปกรรม หมายถึงความสามารถในการผลิตผลงานทางศิลปะสาขาต่างๆ        เช่นจิตรกรรม
ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศีลป์เป็นต้น

8.สาขาการจัดการ หมายถึงความสามารถในการบริหารการจัดการดำเนินงานด้านต่างๆทั้งองค์กรชุมชนองค์ทางศาสนา องค์กรทางการศึกษา ตลอดทั้งองค์กรทางสังคมอื่นๆในสังคมไทยเช่นการจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้านระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนการจัดศาสนสถานการจัดการศึกษาตลอดทั้งการจัดการเรียนการสอน
เป็นต้นกรณีการจัดการศึกษาเรียนรู้นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาสาขาการจัดการที่มีความสำคัญเพราะการจัดการศึกษาเรียนรู้ที่ดีหมายถึงกระบวนการเรียนรู้พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ทางภูมิปัญญาไทยที่มีประสิทธิผล

9.สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึงความสามารถสร้างผลงานทางด้านภาษาทั้งภาษาโบราณ
ภาษาไทยและการใช้ภาษาตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท

10.สาขาศาสนาและประเพณีหมายถึงความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีค่าให้ความเหมะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 404 คน กำลังออนไลน์