ประวัติของท่านพุทธทาสภิกขุ

นายประยูร เล่าวิริยะกูล

ม.6/7  เลขที่ 11

โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม 

ประวัติพระพุทธทาสภิกขุ

 

๑. กำเนิดแห่งชีวิต

ท่านอาจารย์พุทธทาสมีนามเดิมว่าเงื่อม นามสกุลพานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๗ค่ำเดือน ๗ปีมะเมียวันที่๒๗พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ในสกุลของพ่อค้าที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี บิดาชื่อเซี้ยง มารดาชื่อเคลื่อนมีน้องสองคนเป็นชายชื่อยี่เก้ยและเป็นหญิงชื่อกิมซ้อยบิดาของท่านมีเชื้อสายจีนประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำเฉกเช่นที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไปแต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดากลับเป็นเรื่องของความสามารถทางด้านกวีและทางด้านช่างไม้ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่ของบิดา

ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือความสนใจในการศึกษาธรรมะอย่างลึกซึ้งอุปนิสัยที่เน้นเรื่องความประหยัดเรื่องละเอียดละออในการใช้จ่ายและการทำทุกสิ่งให้ดีที่สุดและต้องทำให้ดีกว่าครูเสมอท่านได้เรียนหนังสือเพียงแค่ชั้นม.๓แล้วต้องออกมาค้าขายแทนบิดาซึ่งเสียชีวิต

 

ครั้นอายุครบ ๒๐ปีก็ได้บวชเป็นพระตามคตินิยมของชายไทยที่วัดโพธารามไชยาได้รับฉายาว่า"อินทปัญโญ"แปลว่า ผู้มีปัญญา
อันยิ่งใหญ่
เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียนตามประเพณีเพียง ๓เดือน แต่ความสนใจความซาบซึ้งความรู้สึกเป็นสุขและสนุกในการศึกษาและเทศน์แสดงธรรมทำให้ท่านไม่อยากสึ เล่ากันว่าเจ้าคณะอำเภอเคยถามท่านขณะที่ เป็นพระเงื่อมว่ามีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิตท่านตอบว่า"ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์
แก่เพื่อนมนุษย์ ให้มากที่สุด"
"..แต่ถ้ายี่เก้ยจะบวชผมก็ต้องสึกออกไป อยู่บ้านค้าขาย"ท่านเจ้าคณะอำเภอก็เลยไปคุยกับโยมแม่ของท่านว่าท่านควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนยี่เก้ย
น้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้เพราะมีชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือเป็นคนมักน้อยสันโดษการกินอยู่ก็เรียบง่าย ตัดผมสั้นเกรียนตลอดเวลานายย
ี่เก้ยก็เลยไม่ได้บวช ให้พี่ชายบวชแทนมาตลอดนาย
ยี่เก้ย ต่อมาก็คือ
"ท่านธรรมทาส" ฆราวาสผู้เป็นกำลังหลักของคณะธรรมทานในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสวนโมกขพลาราม

๒. อุดมคติแห่งชีวิต

 

พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อที่กรุงเทพฯสอบได้นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ๓
ประโยค ระหว่
างที่เรียน
เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น
ด้วยความที่ท่านเป็นคนรักการศึกษาค้นคว้าจาพระไตรปิฎก
และศึกษาค้นคว้าออกไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา
อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก
ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือรูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป
ความย่อหย่อนในพระวินัยขอ
งสงฆ์
ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของพุทธศาสนิกชนในเวลานั้น
ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่าพระพุทธศาสนาที่สอนที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อนไปมากจากที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะท่านจึงตัดสินใหันหลังให้กับการศึกษาของสงฆ์ เวลานั้น
กลับไชยา เพื่อศึกษาและทดลองปฏิบัติ
ตามแนวทาง ที่ท่านเชื่อมั่น โดยร่วมกับ
นายธรรมทาส และคณะธรรมทาน
จัดตั้ง
สถานปฏิบัติธรรม"สวนโมกขพลาราม"ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จากนั้นท่านได้ศึกษา
และปฏิบัติธรรมะอย่างเข้มข้นจนเชื่อมั่นว่าท่านมาไม่ผิดทางแน่และได้ประกาศ
ใช้ชื่อนาม
"พุทธทาส" เพื่อแสดงว่า ให้เห็นถึงอุดมคติสูงสุดในชีวิตของท่าน

จากบันทึกของท่าน เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗
เขียนไว้ว่า
"...ชีวิตของข้าพเจ้าสละทุกอย่างๆ
มุ่งหมาย ต่อความสุขนี้ และประกาศ เผยแพร่ความสุขนี้ เท่านั้น ไม่มีอะไรดีกว่านี้
ในบรรดามีอยู่ใน พุทธศาสนา..."

๓. ปณิธานแห่งชีวิต

อุดมคติ ที่หยั่งรากลึกลงแล้วนี้ ทำให้ท่านสนใจใฝ่หาความรู้ทางธรรมะตลอดเวลาไม่เฉพาะแต่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหรือหินยาน
แต่ครอบคลุม
ไปถึงพระพุทธศาสนา
แบบมหายานแ
ละศาสนาอื่น เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู สิกข์ เป็นต้นจากความรอบรู้ที่กว้างขวางและลึกซึ้ง
นี้เอง
ทำให้ท่านสามารถ ประยุกต์ วิธีการสอนและปฏิบัติธรรมะได้อย่างหลากหลายให้คนได้เลือกปฏิบัติให้สอดคล้องกับพื้นความรู้และอุปนิสัยของตนได้โดยไม่จำกัดชนชั้นเชื้อชาติ
และศาสนา เพราะท่านเชื่อว่า มนุษย์ทุกคน
ก็คือ เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันหมดทั้งสิ้นและหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือ ต้องการให้คนพ้นจากความทุกข์ท่านจึง
ได้ตั้ง
ปณิธานในชีวิตไว้
๓ ข้อ คือ

๑.
ให้พุทธศาสนิกชน หรือ ศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม
เข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งที่สุดแห่งศาสนาของตน

๒.
ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา

๓.
ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยมแม้
ในความพยายามที่จะทำตามปณิธานนี้จะทำให้บางคนไม่เข้าใจท่านไม่ชอบท่านด่าว่าท่านหาว่า ท่านจ้วงจาบพระพุทธศาสนา เป็นเดียรถีย์ เป็นคอมมิวนิสต์หรือ รับจ้างคนคริสต์ มาทำลายล้างพระพุทธศาสนาก็ตามแต่ท่านกลับรับฟัง
คำวิจารณ์เหล่านี้ด้วยใจเป็นกลาง
ถือเป็นการแลกเปลี่ยนทางความคิด
ในเรื่อง เนื้อหา และหลักการ มากกว่า ที่จะก่อความขัดแย้งส่วนตัว เพราะท่านมีหลัก
ในการทำงาน
ว่า " พุทธบุตร ทุกคนไม่มีกังวลในการรักษาชื่อเสียงมีกังวลแต่การทำความบริสุทธิ์เท่านั้น เมื่อได้ทำความ บริสุทธิ์
มองเห็นชัดเจนใจ อยู่แล้วว่า
นี่มันบริสุทธิ์
เป็นธรรมแท้
ใครจะชอบหรือ
ไม่ชอบก็ตาม
เราต้องทำ ด้วยความพยายาม
อย่างสุดชีวิตจะมีชื่อเสียงหรือไม่นั้น อย่านึกถึงเลย เป็นอันขาดจะกลายเป็นเศร้าหมองและหลอกลวงไปไม่มาก ก็น้อย"ในที่สุดท่านก็ได้รับการยอมรับจากวงการคณะสงฆ์ไทย วงการศึกษาของไทยและวงการศึกษาธรรมะของโลก
ได้รับการยอมรับให้เป็นเสนาบดีแห่งกองทัพธรรมในยุคหลัง กึ่งพุทธกาล เยี่ยงพระมหากัสสป
ในครั้งพุทธกาล
สมณศักดิ์ที่ท่านได้รับ

๑. เป็นพระครูอินทปัญญาจารย์ พ.ศ. ๒๔๘๙

๒. เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่
พระอริยนันทมุนี พ.ศ. ๒๔๙๓

๓. เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่
พระราชชัยกวี พ.ศ. ๒๕๐๐

๔. เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่
พระเทพวิสุทธิเมธี พ.ศ. ๒๕๑๔

๕. เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่
พระธรรมโกศาจารย์ พ.ศ. ๒๕๒๐

แม้ท่านจะมีชื่อ สมณศักดิ์ ตามลำดับ
หลายชื่อ แต่ท่านจะใช้ ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นต้องติดต่อ ทางราชการ เท่านั้น
ถ้าเป็นเรื่องอื่นแล้ว ท่านจะใช้
ชื่อว่า"พุทธทาส
อินทปัญโญ"
เสมอ แสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อม ถ่อมตัวของท่าน
ประการหนึ่ง ชื่อ พุทธทาสนี้ เป็นที่มาแห่งอุดมคติ ของท่านนั่นเอง

 

ปริญญาทางโลก
ที่ท่านได้รับ

๑. พุทธศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๒๒

๒. อักษรศาสตร์
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา
จากมหาวิทยาลัย ศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๘

๓. ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย รามคำแหง พ.ศ. ๒๕๒๘

๔. ศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาปรัชญา
จากมหาวิทยาลัย
สงขลา นครินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๙

๕. อักษรศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาปรัชญา
จากจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐

๖. การศึกษา ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์
จากมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๓๒

๗. ศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๖ในระดับนานาชาติ
ปัจจุบัน ทุกมหาวิทย
าลัย ที่มีแผนก
สอนวิชาศาสนาสากล
ทั้งในยุโรป และ อเมริกาเหนือ ล้วน ศึกษางานของท่าน
หนังสือของท่าน กว่า
๑๔๐ เล่มได้รับการแปลเป็น
ภาษาอังกฤษ
, กว่า ๑๕ เล่ม เป็นภาษาฝรั่งเศส, และ อีก ๘ เล่ม เป็น ภาษาเยอรมันนอกจากนั้น
ยังแปลเป็นภาษา จีน อินโดนีเซีย ลาว และ ตากาล็อค อีกด้วย
กล่าวได้ว่า ในประวัติศาสตร์ไทยท่านอาจารย์พุทธทาส
มีผลงานที่เป็น หนังสือแปลสู่ต่างประเทศ มากที่สุด

๔. ผลงานแห่งชีวิต

ตลอดชีวิต ของ ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านย้ำอยู่เสมอว่า "ธรรมะคือหน้าที่"เป็นการทำหน้าที่
เพื่อความอยู่รอด ทั้งทางฝ่ายกาย และฝ่ายวิญญาณ ของมนุษย์
และท่าน ได้ทำหน้าที่ ในฐานะ
ทาสผู้ซื่อสัตย์ ของพระพุทธเจ้า ทุกอณูแห่งลมหายใจ เข้าออก จนแม้วาระสุดท้าย
แห่งชีวิต จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ผลงาน ที่ท่าน สร้างสรรค์ ไว้ เพื่อ เป็น มรดก
ทางธรรมนั้น จะมีมากมาย สักปานใด ซึ่งจะขอนำมากล่าวเฉพาะ ผลงานหลักๆ ดังนี้ คือ

๑. การจัดตั้ง สถานปฏิบัติธรรม
สวนโมกขพลาราม และ สวนโมกข์นานาชาติ

๒. การร่วมกับ คณะธรรมทาน
ในการออกหนังสือพิมพ์ "พุทธสาสนา" ราย ๓ เดือน นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง
พระพุทธศาสนา เล่มแรก ของไทย เริ่มตีพิมพ์ เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๖ และ
ต่อเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลารวม ๖๑ ปี นับเป็นหนังสือพิมพ์ ทาง
พระพุทธศาสนา ที่มีอายุยืนยาวที่สุดของไทย

๓. การพิมพ์หนังสือ ชุด
"ธรรมโฆษณ์" ซึ่งเป็นหนังสือที่ รวบรวม พิมพ์จากปาฐกถาธรรม
ที่ท่านแสดงไว้ในวาระต่างๆ และ งานหนังสือเล่ม เล่มอื่นๆของท่าน โดยแบ่งออก เป็น ๕
หมวด คือ

                ๑. หมวด"จากพระโอษฐ์"
เป็นเรื่องที่ท่านค้นคว้าจากพระไตรปิฎก ฉบับ ภาษา บาลี โดยตรง

                ๒. หมวด"ปกรณ์พิเศษ"
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะ ที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติ

                ๓. หมวด"ธรรมเทศนา"เป็นคำบรรยายแบบเทศนาในเทศกาลต่างๆ

                ๔. หมวด"ชุมนุมธรรมบรรยาย"
เป็นคำขยายความ ข้อธรรมะ เพื่อให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง

                ๕. หมวด"ปกิณกะ" เป็นการอธิบายข้อธรรมะ
เบ็ดเตล็ด ต่างๆประกอบ ความเข้าใจปัจจุบัน หนังสือชุดนี้ ได้ตีพิมพ์ เป็นหนังสือ
ขนาด ๘ หน้ายก หนาเล่มละ ประมาณ ๕๐๐ หน้า จำนวน ๖๑ เล่ม แล้ว ที่ยังรอการจัดพิมพ์
อีกประมาณ ร้อยเล่ม

๔. การปาฐกถาธรรมของท่าน
ที่ก่อให้เกิดกระแสการวิพากษ์ วิจารณ์ ทั้งในแง่วิธีการ และ การตีความพระพุทธศาสนา
ของท่าน กระตุ้นให้ผู้คนกลับมาสนใจธรรมะกันอย่างลึกซึ้งแพร่หลายมากขึ้น
ครั้งสำคัญๆ ได้แก่ ปาฐกถาธรรม เรื่อง "ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม"
"อภิธรรมคืออะไร" "ปฏิจจสมุปบาท คืออะไร" "จิตว่าง หรือ
สุญญตา" "นิพพาน" "การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม" "การศึกษาสุนัขหางด้วน"
เป็นต้น

๕. งานประพันธ์ ของท่านเอง เช่น
"ตามรอยพระอรหันต์" "ชุมนุมเรื่องสั้น" "ชุมนุมเรื่องยาว"
"ชุมนุมข้อคิดอิสระ" "บทประพันธ์ของ สิริวยาส" (เป็นนามปากกา
ที่ท่านใช้ ในการเขียน กวีนิพนธ์) เป็นต้น

๖. งานแปลจากภาษาอังกฤษของท่าน
เล่มสำคัญ คือ "สูตรของเว่ยหล่าง" "คำสอนของฮวงโป" ทั้งสองเล่ม
เป็นพระสูตรที่สำคัญของพุทธศาสนา นิกายเซ็น เป็นต้น

 

 




มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 336 คน กำลังออนไลน์