user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('.,.,#I . { Incomplete by Sisqo!', 'node/89289', '', '3.147.83.8', 0, '8e42ac5ce25e00948cea36d10332899b', 180, 1716688036) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

ใบงานที่2

รูปภาพของ pncperanut


1.ฮาร์ดแวร์ คือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral) ที่สามารถสัมผัสได้
โดยจะประกอบด้วยอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมการประมวลผล
ข้อมูล
การรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์
เป็นอุปกรณ์ที่จับต้อง สัมผัส
และสามารถมองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม
 มีทั้งที่ติดตั้งภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
(
Case)
และ เชื่อมต่อภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์

2.ซอฟต์แวร์  คือ  1. Software ระบบ
(
System
Software)
 คือ
ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป
ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของ
 Hardware ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน 
Software หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows,
Unix, Linux
 รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง
เช่น
ภาษา
 Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น 
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น
 Norton’s Utilities
ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
2.
 Software ประยุกต์ (Application Software)
คือ
 Software หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ
ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
 
Software ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2
ประเภท คือ
2.1
 Software สำหรับงานเฉพาะด้าน 
คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่าง บางที่เรียกว่า
 User’s
Program
 เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ
โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไขหรือแบบฟอร์ม
แตกต่างกันออกไปตามความต้องการหรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้
ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม
(
Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้
เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และ
 Software
ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
2.2
 Software สำหรับงานทั่วไป 
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป
โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้
แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน
และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องใช้เวลามากในการฝึกและปฏิบัติ
ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานที่ขาดบุคลากร
ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม
ดังนั้นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวก
และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
 
โปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ ได้แก่
 MS-Office, Lotus,
Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer
 และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
ในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมี
Software ทั้ง 2
ประเภทเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดย
 Software ระบบทำหน้าที่ควบคุมส่วนของ Hardware ให้ทำงานอย่างอัตโนมัติ
ส่วนของ
 Software
ประยุกต์นั้นจะทำหน้าที่ควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ตามที่ผู้ใช้ต้องการเพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ

3.บุคลากรหมายถึง
บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน
สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้
 4 ระดับ ดังนี้

1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ
ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ
ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม
ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน
เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ
ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้
โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

4. ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป
ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม
เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ
เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์
(Peopleware) ทั้งสิ้น

4.spss  คือ คือ โปรแกรมหาค่าสถิติ

5.รหัสแอสกี คือ  เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากในระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่
เป็นคำย่อมาจาก
 American Standard Code
Information Interchange
 เป็นรหัส 8 บิต แทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ 256 ตัว
เมื่อใช้แทนตัวอักษรภาษาอังกฤษแล้วยังมีเหลืออยู่
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หรือ สมอ. ได้กำหนดรหัสภาษาไทยเพิ่มลงไปเพื่อให้ใช้งานร่วมกันได้

6.รัหสเอบซีดิก
คือ
  
 พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม
รหัสแทนข้อมูลนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน

การกำหนดรหัสจะใช้
 8 บิต ต่อหนึ่งอักขระ
เหมือนกับรหัสแอสกี แต่แบบของรหัสที่กำหนดจะแตกต่างกัน
     รหัสแบบเอ็บซีดิก ก็สามารถใช้กำหนดให้กับอักษรภาษาไทยและเครื่องหมายอื่นๆ
ได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างรหัสแทนข้อมูลแบบเอ็บซีดิก

ที่มา: http://www.ns.ac.th/course/webit/lesson2/lesson2_25.htm

 7.รหัสยูนิโค้ด คือเป็นรหัสที่สร้างขึ้นมาในระยะหลังที่มีการสร้างแบบตัวอักษรของภาษาต่างๆ
รหัสยูนิโค้ดเป็นรหัสที่ต่างจาก
 2 ชนิดที่ได้กล่าวมาข้างต้น
คือใช้เลขฐานสอง
 16 บิตในการแทนตัวอักษร
เนื่องจากที่มาของการคิดค้นรหัสชนิดนี้ คือ
เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในหลายประเทศและมีการสร้างแบบตัวอักษร
(
font) ของภาษาต่างๆ ทั่วโลก
ในบางภาษาเช่น ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น
เป็นภาษาที่เรียกว่าภาษารูปภาพซึ่งมีตัวอักษรเป็นหมื่นตัว
หากใช้รหัสที่เป็นเลขฐานสอง
8 บิต
เราสามารถแทนรูปแบบตัวอักษรได้เพียง
 256 รูปแบบที่ได้อธิบายมาข้างต้น
ซึ่งไม่สามารถแทนตัวอักษรได้ครบ
จึงสร้างรหัสใหม่ขึ้นมาที่สามารถแทนตัวอักขระได้ถึง
65,536 ตัว
ซึ่งมากพอและสามารถแทนสัญลักษณ์กราฟิกและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย

ที่มา:
http://www.ns.ac.th/course/webit/lesson2/lesson2_26.htm

8.  8. อุุปกรณ์ส่งออก (Output Device) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำ
หรือผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล การแสดงนั้นอาจแสดงผ่านทางอุปกรณ์ได้หลายชนิด
เป็นต้นว่า
จอภาพ
เครื่องพิมพ์ พล็อตเตอร์
รวมทั้งหน่วยขับจานบันทึก ดู
 input
device
 เปรียบเทียบ

ที่มา:
http://www.ns.ac.th/course/webit/lesson2/lesson2_26.htm

 

9. ระบบเลขฐานสอง อธิบาย   ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ต้องได้พบเจอกับจำนวนและการคำนวณอยู่ทุกวัน
หากเราสังเกตจะพบว่าจำนวนที่เราคุ้นเคยอยู่ทุกวันนั้นไม่ว่าจะเป็นการซื้อของเป็นเงิน

39,587
 บาท จำนวนเงินฝากในธนาคาร 1,426,000 บาท
หรือจำนวนในใบแจ้งหนี้ค่าโทรศัพท์จำนวน
 2,560 บาท
ล้วนแล้วแต่ประกอบขึ้นจากตัวเลข

10
 ตัว คือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8 และ9 ทั้งสิ้น ตัวเลขทั้ง 10 ตัวนี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการนับจำนวนของมนุษย์
การที่มนุษย์เลือกเลข
 10 ตัวในการแทนการนับ
อาจเนื่องจากมนุษย์มีนิ้วมือที่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยนับได้เพียง
10 นิ้ว
จึงกำหนดระบบตัวเลขนี้ขึ้นมาและเรียกว่า
 ระบบเลขฐานสิบ (decimal)        ต่อมาเมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงาน
     แบบ ดิจิทัลและใช้ระดับแรงดันไฟฟ้าแสดงสถานะเพียง
2
 สถานะ คือ ปิด      
(แทนด้วย
 0) และเปิด (แทนด้วย 1)หรืออาจกล่าวได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ 0 และ 1 หากมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยทำงาน
มนุษย์ต้องเรียนรู้ระบบเลขที่ประกอบด้วยตัวเลขเพียง
 2 ตัวเช่นกัน
จึงได้มีการคิดค้น
ระบบเลขฐานสอง
(binary)

ขึ้นเพื่อช่วยในการสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยระบบเลขฐานสองเป็นระบบตัวเลขที่ประกอบด้วยตัวเลขเพียง
2
 ตัว คือ 0 และ 1 เท่านั้น ตัวอย่างเลขฐานสอง เช่น 1102 , 101102

10. ระบบเลขฐานแปด อธิบายระบบเลขฐานแปด
อธิบาย ระบบเลขฐานแปดเป็นระบบตัวเลขที่มีค่าฐานเป็นแปด มีตัวเลขอยู่ 8 ตัว คือ 0
, 1, 2, 3, 4, 5, 6,7
ซึ่งสามารถเปรียบเทียบค่าเลขฐานได้ตามตาราง ทีมา
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/sukanda_p/number/sec02p01.html

11.ระบบเลขฐานสิบหก  อธิบาย ระบบเลขฐานสิบหก
(
Hexadecimal)
ฐานของมันจะมีค่าเป็น 16 ซึ่งจะมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด16
ตัว คือ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
 A B C
D E
 F (ตัวอักษร6
ตัว แทน ตัวเลข 10
 15 ตามลำดับ)

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 237 คน กำลังออนไลน์