15 ปี "เวิลด์ ไวด์ เว็บ" วันนี้ยังเป็นแค่ "ทารก"
15 ปี "เวิลด์ ไวด์ เว็บ" วันนี้ยังเป็นแค่ "ทารก"
คอลัมน์ Clickworld
เกิดของ "World Wide Web" (www) ที่เปิดตัวสู่สาธารณะอย่างเป็นทางการ หลังจากได้รับการอนุมัติจากองค์การเพื่อการวิจัยด้านนิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Organization for Nuclear Research) หรือ CERN ซึ่งถือเป็นสถานที่แจ้งเกิด "เว็บ" ซึ่งยอมจรดปากกาเซ็นอนุญาตให้คนทั่วไปสามารถใช้ www ได้ฟรี
จวบจนถึงวันนี้ www จึงมีอายุครบ 15 ปีเต็ม และทำหน้าที่เป็นประตูเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้งานไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ใดๆ ทำให้ปัจจุบันมีเว็บไซต์ ปรากฏโฉมบนโลกไซเบอร์แล้วมากกว่า165 ล้านเว็บไซต์
ถึงแม้ว่า "ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี" บิดาแห่ง www จะออกมายอมรับว่า เขาเริ่มทำงานโปรเจ็กต์อินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี 1989 แต่การตัดสินใจให้ www อยู่ในสถานะ "ฟรี" แทนที่จะนำมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์นั้น ถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งและเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ www สามารถแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ในเวลาอันรวดเร็ว
"ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี" ให้สัมภาษณ์กับบีบีซี นิวส์ ว่า เว็บในปัจจุบันยังคงอยู่ในขั้นที่เรียกว่าระดับทารก หากเทียบกับความสามารถของเว็บไซต์ในอนาคตที่จะพัฒนาเป็น Semantic web ที่จะมีความสามารถในการเข้าใจความหมายทางภาษา ในการเป็นสถานที่บรรจุข้อมูลทุกอย่างบนโลก ภายใต้ปลายนิ้วของผู้ใช้งานทุกคน และกลายเป็นเครื่องมืออันยอดเยี่ยมสำหรับมนุษย์ในการทำสิ่งที่ดีต่างๆ แม้ว่าจะมีสิ่งที่ไม่ดีซ่อนอยู่เช่นกัน และในอนาคตเราจะพบว่าเว็บจะเป็นสถานที่ร่วมมือของคนจำนวนมากทั่วโลก เพื่อเปิดประสบการณ์แปลกใหม่อันน่ามหัศจรรย์และจะคงดำเนินเช่นนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง
"สิ่งที่น่าตื่นเต้น คือ คนสามารถสร้างระบบสังคมใหม่ ระบบการคิดทบทวนใหม่ และระบบการบริหารจัดการใหม่ สิ่งที่ผมหวังคือ กระบวนการต่างๆ จะสร้างหนทางใหม่ในการทำงานร่วมกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพและมีความยุติธรรมมากขึ้น และเราสามารถใช้ความเป็นสากลของเว็บเพื่อจัดการโลกที่เราอาศัยอยู่ได้"
"โรเบริต์ เคลล์ลัว" ผู้ทำงานร่วมกับ ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี เพื่อพัฒนาเว็บรุ่นบุกเบิก กล่าวว่า สิ่งที่อยากจะเห็นในอนาคต คือ กฎหมายที่เข้ามาจัดการกับเว็บที่มีอยู่ทั่วโลกได้ เพราะตั้งแต่เว็บถูกนำไปใช้แพร่หลาย ยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่เข้ามาควบคุมพฤติกรรม ผู้ใช้ หรือกฎหมายที่เป็นระดับสากลและได้รับการยอมรับทั่วโลก ขณะเดียวกัน ควรจะหยุดวงจรอุบาทว์ระหว่างผู้เขียน ผู้อ่าน และนักโฆษณา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อ่านเป็นคนตัดสินใจเองว่าเขาอยากจะเสียเวลาดูคอนเทนต์ที่ถูก ยัดเยียดเหล่านั้นหรือไม่
"เศรษฐศาสตร์บนเว็บควรที่จะถูกควบคุมโดยผู้เขียนและผู้อ่าน ไม่ใช่นักโฆษณา และผมเชื่อว่า Semantic web ที่กำลังจะเกิดขึ้นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะเราไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้ที่เข้ามาควบคุมอีก"
นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการหลายรายได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเว็บในอนาคตไว้อย่างน่าสนใจ เช่น
ศาสตราจารย์นิเกิล เชตบอลต์ คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเซาท์แทมตัน กล่าวว่า ปัจจุบันเราอยู่ในช่วงผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างคอนเทนต์ขึ้นเอง โดยประมาณ 80% ของคอนเทนต์ในปัจจุบันถูกสร้างจากผู้ใช้งานทั่วไป และมีเพียง 20% เท่านั้นที่หน่วยงานขนาดใหญ่เป็นผู้สร้างขึ้น ดังนั้น สิ่งที่น่าจับตามมองต่อไป คือ เราจะจัดการกับ "สึนามิ" ทางข้อมูลข่าวสารที่มีปริมาณมากในอนาคตได้อย่างไร
"อนาคตของเว็บ คือ Semantic web หรือเว็บ 3.0 ซึ่งจะสามารถช่วยจัดการข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่เป็นจำนวนมากได้ ความสามารถของเสิร์ชเอ็นจิ้นจะฉลาดขึ้น และจะสามารถประมวลผลหรือรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้แก่ผู้ใช้งานได้"
ส่วนศาสตราจารย์เวนดี้ ฮอลล์ จากสถาบันเดียวกัน กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะเข้าสู่รูปแบบการเคลื่อนที่ และ 2-3 ปีต่อจากนี้ เราจะสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลาและไม่จำเป็นต้องอยู่เฉพาะหน้าคอมพิวเตอร์อีกต่อไป คนที่ไม่สามารถซื้อคอมพิวเตอร์ได้จะเข้าสู่อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือหรืออุปกรณ์สื่อสารรูปแบบต่างๆซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการสื่อสาร ครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง
เดวิท จี บีแลนเกอร์ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ จากเอที แอนด์ ที กล่าวว่า ความท้าทายของเว็บในอนาคตหรือสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน คือ ความหลากหลายของแอปพลิเคชั่นที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและต้องการจะเข้ามาอยู่บนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ ภาพ ซึ่งก่อให้เกิด ราฟฟิกจำนวนมาหาศาล และในช่วงเวลาเดียวกันเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคการติดต่อสื่อสารทั้งด้านเสียงและมัลติมีเดียแบบเรียลไทม์ ดังนั้น ลักษณะพิเศษของแอปพลิเคชั่นแต่ละชนิดที่แตกต่างกันแต่ต้องการเข้ามาอยู่บนเครือข่ายเดียวกันจึงเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ เพราะการแก้ไขปัญหาจะต้องไม่กระทบกับประสิทธิภาพการทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ด้านคนในวงการสื่ออย่าง "ทิม โอ เรียลลี่" ผู้ก่อตั้งโอเรียลลี่ มีเดีย กล่าวว่า เรากำลังเข้าสู่โลกที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ตลอดเวลา รวมถึงระบบเซ็นเซอร์ที่จะพบได้ทุกที่ ดังนั้น เราอาจจะเห็นเครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายเซ็นเซอร์ สามารถทำงานร่วมกับเว็บได้มากขึ้น วิธีการสื่อสารของคนจะเปลี่ยนไป และจะส่งผลต่อวัฒนธรรมการทำงาน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงในอนาคตของเว็บจึงอาจจะยิ่งใหญ่กว่าครั้งยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
"ตอนนี้เรากำลังอยู่ในช่วงยุคฟื้นฟูใหม่ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะดี ไปหมด เพราะในช่วงเวลาเดียวกันสิ่งไม่ดีมีอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน"